นิด้าโพลชี้ปปช.63% คาด "ประยุทธ์" จะกลับมาเป็นนายกฯหลังเลือกตั้ง แต่กว่า 50.7% หลังเลือกตั้งไม่ควรทำงานการเมืองต่อ
นิด้าโพลชี้ปปช.63% คาด "ประยุทธ์" จะกลับมาเป็นนายกฯหลังเลือกตั้ง แต่กว่า 50.7% หลังเลือกตั้งไม่ควรทำงานการเมืองต่อ
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “อนาคตทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 - 26 ตุลาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,258 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) ควรทำงานการเมืองต่อหรือไม่ หลังการเลือกตั้งในปีหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.71 ระบุว่า ไม่ควรทำงานการเมืองต่อ เพราะอยู่มานานแต่การบริหารงานต่าง ๆ ยังไม่ดีเท่าที่ควร เช่น การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของประชาชน บ้านเมืองขาดความเป็นประชาธิปไตย มีการเอื้ออำนวยให้กับราชการด้วยกันเอง ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยากเห็นกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ พัฒนาบ้านเมืองบ้าง รองลงมา ร้อยละ 48.73 ระบุว่า ควรทำงานการเมืองต่อ เพราะ การบริหารงานดี บ้านเมืองสงบสุข สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆได้ดี และร้อยละ 0.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรทำอย่างไร หากจะทำงานการเมืองต่อ หลังจากการเลือกตั้งในปีหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.22 ระบุว่า เข้าสังกัดพรรคการเมืองและอยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี รองลงมา ร้อยละ 31.08 ระบุว่า เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกที่ไม่ได้มาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ร้อยละ 9.06 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่ควรกลับมาเล่นการเมืองอีกเลย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ให้ปฏิบัติงานในกระทรวง และร้อยละ 0.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
โดยผู้ที่ระบุว่า ให้เข้าสังกัดพรรคการเมืองและอยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.62 ระบุว่า สังกัดพรรคพลังประชารัฐ (นายอุตตม สาวนายน เป็นหัวหน้าพรรค) รองลงมา ร้อยละ 27.11 ระบุว่า สังกัดพรรคไหนก็ได้ ร้อยละ 11.28 ระบุว่า สังกัดพรรคประชาชนปฏิรูป (นายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นหัวหน้าพรรค) ร้อยละ 8.05 ระบุว่า สังกัดพรรครวมพลังประชาชาติไทย (สนับสนุนโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ) ร้อยละ 0.94 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ จัดตั้งพรรคใหม่ พรรคประชาธิปัตย์พรรคเพื่อไทย และพรรคตะวันใหม่
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหรือไม่ หลังการเลือกตั้ง ในปีหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.51 ระบุว่า คิดว่าจะกลับมา รองลงมา ร้อยละ 35.77 ระบุว่า คิดว่าจะไม่กลับมา และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการสนับสนุนให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหลังการเลือกตั้งในปีหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.74 ระบุว่า ไม่สนับสนุน เพราะ ผลงานที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยากได้คนใหม่ที่มีความสามารถในการบริหารมาพัฒนาประเทศ รองลงมา ร้อยละ 47.54 ระบุว่า สนับสนุน เพราะ ชอบแนวทางการทำงาน และมั่นใจในการบริหารงานต่าง ๆ สามารถเป็นคนกลางที่ดีที่ทำให้ประเทศชาติพัฒนา และทำให้บ้านเมืองสงบ และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/816895
ดุสิตโพล หนุนยุบพรรค ทุจริตเลือกตั้งสมควรโดนที่สุด มองยุบพท.แค่กระแสข่าว
สวนดุสิตโพล สำรวจเรื่องยุบพรรคฯ ส่วนใหญ่มองทุจริตการเลือกตั้ง สมควรโดนมากที่สุด มองข้อดียุบพรรคเป็นกรณีตัวอย่างทำให้ไม่กล้าทำผิด ข้อเสียพรรคขาดเสถียรภาพ ส่วนมากหนุนเป็นการกระทำที่ถูกต้อง ชี้ยุบพรรคพท.เป็นแค่กระแสข่าว มองตั้งพรรคสำรองเป็นสิทธิทำได้
วันนี้ (27ต.ค.) “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจเรื่อง คนไทยคิดอย่างไร? กับกรณียุบพรรคการเมือง จากที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง กกต. เตรียมสอบกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ออกมา
เคลื่อนไหว เช่น การนัดประชุมแกนนำ วิดิโอคอลมายังที่ประชุมพรรค ถือเป็นการครอบงำพรรคเพื่อไทยหรือไม่และ
หากเข้าข่ายผิดกฎหมายจริงอาจถึงขั้นโดนยุบพรรค กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองและส่งผลต่อพรรคเพื่อไทย
เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่สนใจติดตามข่าวการเมือง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,182 คน ระหว่างวันที่ 24-27 ตุลาคม
2561 สรุปได้ ดังนี้
1. ประชาชนคิดว่ากรณีความผิดแบบใด? ที่ควรลงโทษด้วยการยุบพรรค
อันดับ 1 ทุจริตการเลือกตั้ง โกง ซื้อเสียง 43.48%
อันดับ 2 ฝ่าฝืน ทำผิดกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ 41.09%
อันดับ 3 ออกมาเคลื่อนไหวสร้างความวุ่นวาย ทำให้บ้านเมืองไม่สงบ 20.70%
อันดับ 4 ผู้บริหารพรรค หัวหน้าพรรคเกี่ยวข้องกับคดีทุจริตคอรัปชั่น 12.04%
อันดับ 5 แสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง รับเงินทุนจากคนนอก 9.35%
2. ข้อดี/ข้อเสียของการยุบพรรคการเมือง
• ข้อดี
อันดับ 1 เป็นกรณีตัวอย่าง ทำให้พรรคการเมืองไม่กล้ากระทำผิด 45.64%
อันดับ 2 ควบคุมดูแลง่ายขึ้น เป็นระเบียบมากขึ้น 29.66%
อันดับ 3 ลดคู่แข่งทางการเมือง พรรคอื่นได้ประโยชน์ มีโอกาส 24.70%
• ข้อเสีย
อันดับ 1 พรรคการเมืองขาดเสถียรภาพ เสื่อมเสียภาพลักษณ์ 47.54%
อันดับ 2 มีการเคลื่อนไหว เรียกร้อง สร้างความวุ่นวาย 30.91%
อันดับ 3 กลายเป็นประเด็นขัดแย้งทางการเมือง ท าให้บรรยากาศแย่ลง 21.55%
3. ประชาชนคิดว่าการยุบพรรคเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่
อันดับ 1 ถูกต้อง 69.70%
เพราะ ถ้าหากมีการกระทำผิดจริง ก็ต้องมีการลงโทษ ทำให้พรรคอื่น ๆ ไม่กล้ากระทำผิด ควรเป็นไปตามกฎหมาย ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ถูกต้อง 30.30%
เพราะ ควรลงโทษตามขั้นตอน ควรมีการสอบสวนข้อมูลข้อเท็จจริงก่อน อาจเป็นเกมการเมือง ต้องการตัดคู่แข่ง ฯลฯ
4. ประชาชนคิดอย่างไร? กับกรณีกระแสข่าวการยุบพรรคเพื่อไทย
อันดับ 1 เป็นเพียงกระแสข่าว ยังไม่มีการยุบพรรค 33.04%
อันดับ 2 ขอให้พิจารณาตัดสินอย่างเป็นธรรม ไม่สองมาตรฐาน 21.51%
อันดับ 3 หากกระทำผิดจริง ก็ควรด าเนินการตามกฎหมาย 19.07%
อันดับ 4 หากมีการยุบพรรค ก็สามารถจัดตั้งพรรคใหม่ได้ 16.63%
อันดับ 5 อาจเป็นการกลั่นแกล้ง ต้องการตัดพรรคเพื่อไทยออกจากการเมือง 12.64%
5. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ กรณีที่พรรคเพื่อไทยจะมีการตั้งพรรคสำรองไว้หากโดนยุบพรรค
อันดับ 1 เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ เป็นไปตามกฎระเบียบ 38.84%
อันดับ 2 ทำให้สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่เสียเวลา 37.05%
อันดับ 3 อาจไม่ได้มีการยุบพรรค ต้องรอติดตามข้อมูลข้อเท็จจริง 31.47%
https://mgronline.com/politics/detail/9610000107474
ประชาชนก็ยังคาดว่านายกฯลุงตู่จะกลับมาอีก ตามที่ใครๆก็คาดไว้ค่ะ
ประชาชนสองฝ่ายยังก้ำกึ่งกันระหว่างสนับสนุนและไม่สนับสนุนให้นั่งนายกฯต่อ
ที่ชัดเจนคือประชาชนสนับสนุนยุบพรรคที่ทุจริตชัดเจนค่ะ
ติดตามโพลกันต่อไปนะคะ
🍉~มาลาริน~นิด้าโพลชี้ปปช.63% คาด "ประยุทธ์" จะกลับมาเป็นนายกฯหลังเลือกตั้ง..ดุสิตโพล หนุนยุบพรรค ที่ทุจริตเลือกตั้ง
นิด้าโพลชี้ปปช.63% คาด "ประยุทธ์" จะกลับมาเป็นนายกฯหลังเลือกตั้ง แต่กว่า 50.7% หลังเลือกตั้งไม่ควรทำงานการเมืองต่อ
นิด้าโพลชี้ปปช.63% คาด "ประยุทธ์" จะกลับมาเป็นนายกฯหลังเลือกตั้ง แต่กว่า 50.7% หลังเลือกตั้งไม่ควรทำงานการเมืองต่อ
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “อนาคตทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 - 26 ตุลาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,258 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) ควรทำงานการเมืองต่อหรือไม่ หลังการเลือกตั้งในปีหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.71 ระบุว่า ไม่ควรทำงานการเมืองต่อ เพราะอยู่มานานแต่การบริหารงานต่าง ๆ ยังไม่ดีเท่าที่ควร เช่น การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของประชาชน บ้านเมืองขาดความเป็นประชาธิปไตย มีการเอื้ออำนวยให้กับราชการด้วยกันเอง ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยากเห็นกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ พัฒนาบ้านเมืองบ้าง รองลงมา ร้อยละ 48.73 ระบุว่า ควรทำงานการเมืองต่อ เพราะ การบริหารงานดี บ้านเมืองสงบสุข สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆได้ดี และร้อยละ 0.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรทำอย่างไร หากจะทำงานการเมืองต่อ หลังจากการเลือกตั้งในปีหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.22 ระบุว่า เข้าสังกัดพรรคการเมืองและอยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี รองลงมา ร้อยละ 31.08 ระบุว่า เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกที่ไม่ได้มาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ร้อยละ 9.06 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่ควรกลับมาเล่นการเมืองอีกเลย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ให้ปฏิบัติงานในกระทรวง และร้อยละ 0.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
โดยผู้ที่ระบุว่า ให้เข้าสังกัดพรรคการเมืองและอยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.62 ระบุว่า สังกัดพรรคพลังประชารัฐ (นายอุตตม สาวนายน เป็นหัวหน้าพรรค) รองลงมา ร้อยละ 27.11 ระบุว่า สังกัดพรรคไหนก็ได้ ร้อยละ 11.28 ระบุว่า สังกัดพรรคประชาชนปฏิรูป (นายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นหัวหน้าพรรค) ร้อยละ 8.05 ระบุว่า สังกัดพรรครวมพลังประชาชาติไทย (สนับสนุนโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ) ร้อยละ 0.94 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ จัดตั้งพรรคใหม่ พรรคประชาธิปัตย์พรรคเพื่อไทย และพรรคตะวันใหม่
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหรือไม่ หลังการเลือกตั้ง ในปีหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.51 ระบุว่า คิดว่าจะกลับมา รองลงมา ร้อยละ 35.77 ระบุว่า คิดว่าจะไม่กลับมา และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการสนับสนุนให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหลังการเลือกตั้งในปีหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.74 ระบุว่า ไม่สนับสนุน เพราะ ผลงานที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยากได้คนใหม่ที่มีความสามารถในการบริหารมาพัฒนาประเทศ รองลงมา ร้อยละ 47.54 ระบุว่า สนับสนุน เพราะ ชอบแนวทางการทำงาน และมั่นใจในการบริหารงานต่าง ๆ สามารถเป็นคนกลางที่ดีที่ทำให้ประเทศชาติพัฒนา และทำให้บ้านเมืองสงบ และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/816895
ดุสิตโพล หนุนยุบพรรค ทุจริตเลือกตั้งสมควรโดนที่สุด มองยุบพท.แค่กระแสข่าว
สวนดุสิตโพล สำรวจเรื่องยุบพรรคฯ ส่วนใหญ่มองทุจริตการเลือกตั้ง สมควรโดนมากที่สุด มองข้อดียุบพรรคเป็นกรณีตัวอย่างทำให้ไม่กล้าทำผิด ข้อเสียพรรคขาดเสถียรภาพ ส่วนมากหนุนเป็นการกระทำที่ถูกต้อง ชี้ยุบพรรคพท.เป็นแค่กระแสข่าว มองตั้งพรรคสำรองเป็นสิทธิทำได้
วันนี้ (27ต.ค.) “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจเรื่อง คนไทยคิดอย่างไร? กับกรณียุบพรรคการเมือง จากที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง กกต. เตรียมสอบกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ออกมา
เคลื่อนไหว เช่น การนัดประชุมแกนนำ วิดิโอคอลมายังที่ประชุมพรรค ถือเป็นการครอบงำพรรคเพื่อไทยหรือไม่และ
หากเข้าข่ายผิดกฎหมายจริงอาจถึงขั้นโดนยุบพรรค กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองและส่งผลต่อพรรคเพื่อไทย
เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่สนใจติดตามข่าวการเมือง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,182 คน ระหว่างวันที่ 24-27 ตุลาคม
2561 สรุปได้ ดังนี้
1. ประชาชนคิดว่ากรณีความผิดแบบใด? ที่ควรลงโทษด้วยการยุบพรรค
อันดับ 1 ทุจริตการเลือกตั้ง โกง ซื้อเสียง 43.48%
อันดับ 2 ฝ่าฝืน ทำผิดกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ 41.09%
อันดับ 3 ออกมาเคลื่อนไหวสร้างความวุ่นวาย ทำให้บ้านเมืองไม่สงบ 20.70%
อันดับ 4 ผู้บริหารพรรค หัวหน้าพรรคเกี่ยวข้องกับคดีทุจริตคอรัปชั่น 12.04%
อันดับ 5 แสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง รับเงินทุนจากคนนอก 9.35%
2. ข้อดี/ข้อเสียของการยุบพรรคการเมือง
• ข้อดี
อันดับ 1 เป็นกรณีตัวอย่าง ทำให้พรรคการเมืองไม่กล้ากระทำผิด 45.64%
อันดับ 2 ควบคุมดูแลง่ายขึ้น เป็นระเบียบมากขึ้น 29.66%
อันดับ 3 ลดคู่แข่งทางการเมือง พรรคอื่นได้ประโยชน์ มีโอกาส 24.70%
• ข้อเสีย
อันดับ 1 พรรคการเมืองขาดเสถียรภาพ เสื่อมเสียภาพลักษณ์ 47.54%
อันดับ 2 มีการเคลื่อนไหว เรียกร้อง สร้างความวุ่นวาย 30.91%
อันดับ 3 กลายเป็นประเด็นขัดแย้งทางการเมือง ท าให้บรรยากาศแย่ลง 21.55%
3. ประชาชนคิดว่าการยุบพรรคเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่
อันดับ 1 ถูกต้อง 69.70%
เพราะ ถ้าหากมีการกระทำผิดจริง ก็ต้องมีการลงโทษ ทำให้พรรคอื่น ๆ ไม่กล้ากระทำผิด ควรเป็นไปตามกฎหมาย ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ถูกต้อง 30.30%
เพราะ ควรลงโทษตามขั้นตอน ควรมีการสอบสวนข้อมูลข้อเท็จจริงก่อน อาจเป็นเกมการเมือง ต้องการตัดคู่แข่ง ฯลฯ
4. ประชาชนคิดอย่างไร? กับกรณีกระแสข่าวการยุบพรรคเพื่อไทย
อันดับ 1 เป็นเพียงกระแสข่าว ยังไม่มีการยุบพรรค 33.04%
อันดับ 2 ขอให้พิจารณาตัดสินอย่างเป็นธรรม ไม่สองมาตรฐาน 21.51%
อันดับ 3 หากกระทำผิดจริง ก็ควรด าเนินการตามกฎหมาย 19.07%
อันดับ 4 หากมีการยุบพรรค ก็สามารถจัดตั้งพรรคใหม่ได้ 16.63%
อันดับ 5 อาจเป็นการกลั่นแกล้ง ต้องการตัดพรรคเพื่อไทยออกจากการเมือง 12.64%
5. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ กรณีที่พรรคเพื่อไทยจะมีการตั้งพรรคสำรองไว้หากโดนยุบพรรค
อันดับ 1 เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ เป็นไปตามกฎระเบียบ 38.84%
อันดับ 2 ทำให้สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่เสียเวลา 37.05%
อันดับ 3 อาจไม่ได้มีการยุบพรรค ต้องรอติดตามข้อมูลข้อเท็จจริง 31.47%
https://mgronline.com/politics/detail/9610000107474
ประชาชนก็ยังคาดว่านายกฯลุงตู่จะกลับมาอีก ตามที่ใครๆก็คาดไว้ค่ะ
ประชาชนสองฝ่ายยังก้ำกึ่งกันระหว่างสนับสนุนและไม่สนับสนุนให้นั่งนายกฯต่อ
ที่ชัดเจนคือประชาชนสนับสนุนยุบพรรคที่ทุจริตชัดเจนค่ะ
ติดตามโพลกันต่อไปนะคะ