🏃 การออกกำลังกายแบบแอโรบิค นั้นพบว่าลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตลงได้
🏋🏼 ส่วนการยกน้ำหนัก ในรูปแบบต่างๆ ก็ส่งผลดีเช่นกัน
🤔 แต่เอ๊ะ แบบไหนส่งผลดีกว่ากัน หรือว่าทำทั้งสองอย่างมันจะส่งผลดีมั้ย
😣 หรือว่ากลายเป็นออกกำลังกายหนักเกินไปทำให้ตายไวขึ้นรึเปล่า ?
📚 งานนี้เขาก็ศึกษาผลของกิจกรรมแอโรบิค ผ่านทางการสอบถามเรื่อง Aerobic moderate to vigorous physical activity (MVPA) และ Muscle strengthening exercise (MSE) ว่าในแต่ละคนที่มีทั้ง MVPA และ MSE แตกต่างกันไปนั้น มีผลยังไงต่อความเสี่ยงการเสียชีวิต ในกลุ่มผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง ต่อมลูกหมาก , ปอด , ลำไส้ และรังไข่ บ้าง เป็นการศึกษาแบบ Prospective Cohort
📝 เขาศึกษาข้อมูลจากการคัดกรองมะเร็งชนิดต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งเริ่มทำตั้งแต่ปี 1993 เป็นต้นมา ก็ได้ข้อมูลเบื้องต้นมาจากทั้งผู้ชายและผู้หญิง 154,897 คน อายุระหว่าง 55-74 ปี จากนั้นเขาก็ทำการศึกษาเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถาม เพื่อติดตามผลกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ว่ามีความถี่ในการทำกันยังไงบ้าง สัปดาห์ละกี่ครั้ง พวกความหนักเบาของการทำกิจกรรมเป็นยังไงบ้าง ทั้งหมดนี้เขาก็มีรูปแบบมาตรฐานของแบบสอบถามอยู่นะครับ ก็ทำตามนั้น
🔎 จากข้อมูลทั้งหมดแสนกว่า ก็คัดเลือกที่ผ่านเกณฑ์การศึกษามาได้ 99,713 คน ในจำนวนนี้เมื่อติดตามผลไป พบว่าเสียชีวิต 28,477 คน ระยะเวลาติดตามผลเฉลี่ย 9.6 ปี อายุเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มติดตามผลอยู่ที่ 71.3 ปี ค่า BMI เฉลี่ย 27.8 ทั้งหมดนี้มีคนที่มีรายงานกิจกรรม MSE อยู่ 32% มี 16% ที่ยกน้ำหนักเป็นประจำสัปดาห์ละ 1-6 ครั้ง และมี 32% ที่ทำกิจกรรม MVPA ได้ตามคำแนะนำสุขภาพ มี 8% ที่ทำได้เกินเป้าคำแนะนำสุขภาพ
🧮 เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติ สิ่งที่เขาพบก็คือคนที่ยกน้ำหนักเนี่ย ก็มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่ลดลง เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ยกน้ำหนักเลย แล้วก็เมื่อออกกำลังกายรวมกันทั้งยกน้ำหนักและแอโรบิคด้วย ก็ทำให้ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตนั้นลดลงไปจากคนที่ยกน้ำหนักอย่างเดียวอีก
😎 ทั้งนี้การศึกษาลักษณะนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงนะครับ ก็อาจจะมีข้อจำกัดในการแปลผลอยู่สักหน่อย แต่ก็พอให้เห็นภาพความสัมพันธ์บางอย่างที่น่าสนใจได้
📌 ถ้าสะดวกทำ การทำกิจกรรมทั้งเวทเทรนนิ่ง หรือยกน้ำหนัก และกิจกรรมแอโรบิค เช่น เดินเร็ว วิ่ง เต้น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรืออื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย ก็จะส่งผลดีต่อความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต จริงๆไม่เฉพาะคนกลุ่มนี้หรอก แต่จากหลายๆงาน ก็พบว่าในคนกลุ่มอื่น ก็ส่งผลในลักษณะใกล้เคียงกัน
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-10-30-independent-and-joint-associations-of-weightlifting-and-aerobic-activity-with-all-cause-cardiovascular-disease-and-cancer-mortality/
ออกกำลังกายแอโรบิค ยกน้ำหนัก ส่งผลยังไงต่อความเสี่ยงจากการเสียชีวิต 💀
🏋🏼 ส่วนการยกน้ำหนัก ในรูปแบบต่างๆ ก็ส่งผลดีเช่นกัน
🤔 แต่เอ๊ะ แบบไหนส่งผลดีกว่ากัน หรือว่าทำทั้งสองอย่างมันจะส่งผลดีมั้ย
😣 หรือว่ากลายเป็นออกกำลังกายหนักเกินไปทำให้ตายไวขึ้นรึเปล่า ?
📚 งานนี้เขาก็ศึกษาผลของกิจกรรมแอโรบิค ผ่านทางการสอบถามเรื่อง Aerobic moderate to vigorous physical activity (MVPA) และ Muscle strengthening exercise (MSE) ว่าในแต่ละคนที่มีทั้ง MVPA และ MSE แตกต่างกันไปนั้น มีผลยังไงต่อความเสี่ยงการเสียชีวิต ในกลุ่มผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง ต่อมลูกหมาก , ปอด , ลำไส้ และรังไข่ บ้าง เป็นการศึกษาแบบ Prospective Cohort
📝 เขาศึกษาข้อมูลจากการคัดกรองมะเร็งชนิดต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งเริ่มทำตั้งแต่ปี 1993 เป็นต้นมา ก็ได้ข้อมูลเบื้องต้นมาจากทั้งผู้ชายและผู้หญิง 154,897 คน อายุระหว่าง 55-74 ปี จากนั้นเขาก็ทำการศึกษาเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถาม เพื่อติดตามผลกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ว่ามีความถี่ในการทำกันยังไงบ้าง สัปดาห์ละกี่ครั้ง พวกความหนักเบาของการทำกิจกรรมเป็นยังไงบ้าง ทั้งหมดนี้เขาก็มีรูปแบบมาตรฐานของแบบสอบถามอยู่นะครับ ก็ทำตามนั้น
🔎 จากข้อมูลทั้งหมดแสนกว่า ก็คัดเลือกที่ผ่านเกณฑ์การศึกษามาได้ 99,713 คน ในจำนวนนี้เมื่อติดตามผลไป พบว่าเสียชีวิต 28,477 คน ระยะเวลาติดตามผลเฉลี่ย 9.6 ปี อายุเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มติดตามผลอยู่ที่ 71.3 ปี ค่า BMI เฉลี่ย 27.8 ทั้งหมดนี้มีคนที่มีรายงานกิจกรรม MSE อยู่ 32% มี 16% ที่ยกน้ำหนักเป็นประจำสัปดาห์ละ 1-6 ครั้ง และมี 32% ที่ทำกิจกรรม MVPA ได้ตามคำแนะนำสุขภาพ มี 8% ที่ทำได้เกินเป้าคำแนะนำสุขภาพ
🧮 เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติ สิ่งที่เขาพบก็คือคนที่ยกน้ำหนักเนี่ย ก็มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่ลดลง เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ยกน้ำหนักเลย แล้วก็เมื่อออกกำลังกายรวมกันทั้งยกน้ำหนักและแอโรบิคด้วย ก็ทำให้ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตนั้นลดลงไปจากคนที่ยกน้ำหนักอย่างเดียวอีก
😎 ทั้งนี้การศึกษาลักษณะนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงนะครับ ก็อาจจะมีข้อจำกัดในการแปลผลอยู่สักหน่อย แต่ก็พอให้เห็นภาพความสัมพันธ์บางอย่างที่น่าสนใจได้
📌 ถ้าสะดวกทำ การทำกิจกรรมทั้งเวทเทรนนิ่ง หรือยกน้ำหนัก และกิจกรรมแอโรบิค เช่น เดินเร็ว วิ่ง เต้น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรืออื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย ก็จะส่งผลดีต่อความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต จริงๆไม่เฉพาะคนกลุ่มนี้หรอก แต่จากหลายๆงาน ก็พบว่าในคนกลุ่มอื่น ก็ส่งผลในลักษณะใกล้เคียงกัน
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-10-30-independent-and-joint-associations-of-weightlifting-and-aerobic-activity-with-all-cause-cardiovascular-disease-and-cancer-mortality/