😎 ประเด็นนี้ไม่ใช่มีแต่เราๆคนไทยเป็นกันนะครับ
เป็นกันทั้งโลก จนมีคำเรียกพฤติกรรมของคนที่วันธรรมดาไม่ได้ออกกำลังกาย แล้วไปออกกำลังกายอย่างหนักในวันเสาร์อาทิตย์ ว่า Weekend Warrior
📌 ซึ่งก่อนหน้านี้มีการกล่าวกันไว้ว่า พฤติกรรม Weekend Warrior นั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพ อันนี้มันมาจากงานวิจัยงานนึงในสมัยก่อนที่เขาศึกษาพบว่าคนกลุ่มนี้ มีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงเสียชีวิตที่มากกว่าคนออกกำลังกายประจำ แต่ถ้าเราอ่านงานพวกนี้บ่อยๆจะเข้าใจนะครับ ว่ามันคือความสัมพันธ์ ไม่ใช่สาเหตุ
😎 อย่างไรก็ตามจะบอกว่างานที่เป็นความสัมพันธ์ไม่น่าให้น้ำหนักอะไร ก็คงจะไม่ใช่ มันก็มีประโยชน์ของมันอยู่ แต่เราต้องตีความอย่างเข้าใจ อ่ะ เข้าเรื่องดีกว่า งานนี้ก็เป็นงานที่ศึกษา ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมดังกล่าว รวมถึงคนที่ทำกิจกรรมในเวลาว่างรูปแบบอื่นๆ ว่ามีประโยชน์อะไรมั้ย กับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
📚 ก็เป็นการศึกษาจาก ฐานข้อมูลการสำรวจสุขภาพของสหรัฐ (US National Health Interview Survey) ซึ่งเขาก็สำรวจเก็บข้อมูลระหว่างปี 1997-2013 ซึ่งก็มีข้อมูลหลายอย่างในฐานข้อมูลดังกล่าว ทีนี้ผู้วิจัยเขาก็นำมากรองข้อมูลที่ต้องการออกมา แยกเอาข้อมูลผู้ที่เสียชีวิตจาก มะเร็ง,หลอดลมอักเสบเรื้อรัง, โรคหัวใจและสโตรก ตั้งแต่ต้น และข้อมูลที่ไม่มีระบุเรื่องของ Physical Activity หรือคนที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้ตามเกณฑ์ออกไป
📝 หลังจากนั้นเขาก็แยกและวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนของ Physical Activty ออกมาเป็นกลุ่มต่างๆ แล้วก็แยกข้อมูลการเสียชีวิตออกมาจัดกลุ่ม จัดตัวแปรร่วมต่างๆ อีกสารพัดนะครับ รายละเอียดวิธีคิดไปดูในงานกันต่อได้เลย แล้วก็นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
🔎 ผลที่ได้คือ อันดับแรกข้อมูลกลุ่มประชากรทั้งหมด มีจำนวน 350,978 คน อายุเฉลี่ย 41.2 ปี ค่าเฉลี่ยการติดตามข้อมูลอยู่ที่ 10.4 ปี และถ้าเทียบความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงของการเสียชีวิต ไม่ว่าจะจากโรคหัวใจ มะเร็ง หรืออื่นๆ ระหว่างคนที่ Inactive เลย กับคนที่ออกกำลังกายประจำ และกลุ่ม Weekend Warrior ก็พบว่า ความเสี่ยงนั้นลดลงทั้งสองกลุ่ม เมื่อเทียบกับคนที่ Inactive
😎 ถ้าดูเฉพาะคนที่ Inactive เทียบกับคนที่ออกกำลังกายประจำ การออกกำลังกาย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือมากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ทั้งนั้น และดูเหมือนว่ายิ่งออกกำลังกายนานกว่าความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงดังกล่าวก็ยิ่งลดลง ถ้าดูเทียบ Inactive กับ Weekend Warrior ความถี่ต่อสัปดาห์ ระหว่าง 1 หรือ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีความต่างกันเล็กน้อย ส่วนใหญ่แล้วออกดีกว่าไม่ออก
📌 มีข้อมูลตรงส่วนของ Weekend Warrior ที่ออกกำลังกาย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่า Inactive และถ้าดู Intensity พบว่ามีความเสี่ยงที่สูงในกลุ่มที่ออกกำลังกายหนัก ที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่า Inactive ที่น่าสนใจ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า มีการออกกำลังกายหนัก เกินไปก็ได้ แต่ตรงนี้ก็ไม่ได้มีอะไรอธิบายไว้นะครับ ก็เป็นข้อสังเกตไว้ก่อน
📌 ถ้าเทียบกันเฉพาะออกประจำ กับ Weekend Warrior นั้นออกประจำจะได้ผลที่ดีกว่า โดยรวมแล้วก็ยังถือว่าออกได้แค่เสาร์อาทิตย์ ก็ยังดูดีกว่าไม่ได้ออกเลย แต่ถ้าออกได้ประจำสม่ำเสมอในวันอื่นๆด้วย ก็จะได้ผลที่ดีกว่า
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-09-1-association-of-the-weekend-warrior-and-other-leisure-time-physical-activity-patterns-with-all-cause-and-cause-specific-mortality/
😢 วันๆทำงานก็ไม่มีเวลาแล้ว ออกกำลังกายได้แค่เสาร์อาทิตย์ มันจะได้ผลอะไร ?
📌 ซึ่งก่อนหน้านี้มีการกล่าวกันไว้ว่า พฤติกรรม Weekend Warrior นั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพ อันนี้มันมาจากงานวิจัยงานนึงในสมัยก่อนที่เขาศึกษาพบว่าคนกลุ่มนี้ มีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงเสียชีวิตที่มากกว่าคนออกกำลังกายประจำ แต่ถ้าเราอ่านงานพวกนี้บ่อยๆจะเข้าใจนะครับ ว่ามันคือความสัมพันธ์ ไม่ใช่สาเหตุ
😎 อย่างไรก็ตามจะบอกว่างานที่เป็นความสัมพันธ์ไม่น่าให้น้ำหนักอะไร ก็คงจะไม่ใช่ มันก็มีประโยชน์ของมันอยู่ แต่เราต้องตีความอย่างเข้าใจ อ่ะ เข้าเรื่องดีกว่า งานนี้ก็เป็นงานที่ศึกษา ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมดังกล่าว รวมถึงคนที่ทำกิจกรรมในเวลาว่างรูปแบบอื่นๆ ว่ามีประโยชน์อะไรมั้ย กับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
📚 ก็เป็นการศึกษาจาก ฐานข้อมูลการสำรวจสุขภาพของสหรัฐ (US National Health Interview Survey) ซึ่งเขาก็สำรวจเก็บข้อมูลระหว่างปี 1997-2013 ซึ่งก็มีข้อมูลหลายอย่างในฐานข้อมูลดังกล่าว ทีนี้ผู้วิจัยเขาก็นำมากรองข้อมูลที่ต้องการออกมา แยกเอาข้อมูลผู้ที่เสียชีวิตจาก มะเร็ง,หลอดลมอักเสบเรื้อรัง, โรคหัวใจและสโตรก ตั้งแต่ต้น และข้อมูลที่ไม่มีระบุเรื่องของ Physical Activity หรือคนที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้ตามเกณฑ์ออกไป
📝 หลังจากนั้นเขาก็แยกและวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนของ Physical Activty ออกมาเป็นกลุ่มต่างๆ แล้วก็แยกข้อมูลการเสียชีวิตออกมาจัดกลุ่ม จัดตัวแปรร่วมต่างๆ อีกสารพัดนะครับ รายละเอียดวิธีคิดไปดูในงานกันต่อได้เลย แล้วก็นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
🔎 ผลที่ได้คือ อันดับแรกข้อมูลกลุ่มประชากรทั้งหมด มีจำนวน 350,978 คน อายุเฉลี่ย 41.2 ปี ค่าเฉลี่ยการติดตามข้อมูลอยู่ที่ 10.4 ปี และถ้าเทียบความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงของการเสียชีวิต ไม่ว่าจะจากโรคหัวใจ มะเร็ง หรืออื่นๆ ระหว่างคนที่ Inactive เลย กับคนที่ออกกำลังกายประจำ และกลุ่ม Weekend Warrior ก็พบว่า ความเสี่ยงนั้นลดลงทั้งสองกลุ่ม เมื่อเทียบกับคนที่ Inactive
😎 ถ้าดูเฉพาะคนที่ Inactive เทียบกับคนที่ออกกำลังกายประจำ การออกกำลังกาย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือมากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ทั้งนั้น และดูเหมือนว่ายิ่งออกกำลังกายนานกว่าความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงดังกล่าวก็ยิ่งลดลง ถ้าดูเทียบ Inactive กับ Weekend Warrior ความถี่ต่อสัปดาห์ ระหว่าง 1 หรือ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีความต่างกันเล็กน้อย ส่วนใหญ่แล้วออกดีกว่าไม่ออก
📌 มีข้อมูลตรงส่วนของ Weekend Warrior ที่ออกกำลังกาย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่า Inactive และถ้าดู Intensity พบว่ามีความเสี่ยงที่สูงในกลุ่มที่ออกกำลังกายหนัก ที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่า Inactive ที่น่าสนใจ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า มีการออกกำลังกายหนัก เกินไปก็ได้ แต่ตรงนี้ก็ไม่ได้มีอะไรอธิบายไว้นะครับ ก็เป็นข้อสังเกตไว้ก่อน
📌 ถ้าเทียบกันเฉพาะออกประจำ กับ Weekend Warrior นั้นออกประจำจะได้ผลที่ดีกว่า โดยรวมแล้วก็ยังถือว่าออกได้แค่เสาร์อาทิตย์ ก็ยังดูดีกว่าไม่ได้ออกเลย แต่ถ้าออกได้ประจำสม่ำเสมอในวันอื่นๆด้วย ก็จะได้ผลที่ดีกว่า
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-09-1-association-of-the-weekend-warrior-and-other-leisure-time-physical-activity-patterns-with-all-cause-and-cause-specific-mortality/