🏋🏼 การออกกำลังกายช่วยเพิ่มความไวอินซูลินให้สมองได้ !! 🧠

😎 ฮึ่ย เห็นหัวข้องานวิจัยนี้แล้วผมอยากจะมอบรางวัลโนเบลให้เลย ไม่น่าเชื่อเลยว่าการออกกำลังกายจะเพิ่มความไวอินซูลินได้ เพราะว่าปัจจุบัน ถ้าเราดูตามสื่อสังคมออนไลน์ จะพบแต่คลิปที่บอกว่าต้องอดอาหาร ต้องลดคาร์บ ตัดน้ำตาลเท่านั้น ว่อนเต็มไปหมด 555


🤔 แถมยังมี หมอ(มั้ง)บางคนบอกว่า คนที่ใช้ไขมันไม่ได้ไม่ควรออกกำลังกายอีก ถ้าไปออกกำลังกายเหมือนกดคนให้จมน้ำอะไรซักอย่างนี่แหละ ว่าไปนั่น น่ากลัวโคตรๆ ต้องไปอดอาหาร (IF) ไปทาน Low carb ทาน Keto สอนร่างกายให้ใช้ไขมันเป็นก่อนอีก OMG

📌 จริงๆ เรื่องที่การออกกำลังกายนั้นดีต่อการเพิ่มความไวอินซูลิน ก็เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วนะครับ แต่ข้อมูลเรื่องผลที่มีต่อความไวอินซูลินของสมอง อาจจะไม่ได้ค่อยมีการศึกษาหรือพูดถึงมากนัก (ถ้าเทียบกับงานที่ศึกษาในกล้ามเนื้อ ผมจะเจองานในกล้ามเนื้อเยอะกว่ามาก) 

🧠 บางท่านอาจจะไม่คุ้นว่าสมองเราดื้ออินซูลินได้ด้วยเหรอ ? ได้นะครับ สมองก็ดื้ออินซูลินได้เหมือนเซลล์อื่นๆ ที่ดื้อเป็น การดื้ออินซูลินของสมอง มีผลต่อเมตาบอลิซึมของส่วนอื่นๆด้วย แถมยังสัมพันธ์ต่อการที่เรากลับมาอ้วนใหม่หลังจากลดน้ำหนักไปแล้วได้ด้วย

🏃 งานนี้เขาก็เลยศึกษาผลของการออกกำลังกาย ต่อความไวอินซูลินของสมอง ว่ามีความสัมพันธ์ยังไงกันบ้าง โดยเฉพาะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลของเมตาบอลิซึมของทั้งร่างกาย และพฤติกรรมของเรายังไงบ้าง

🧑🏼‍💼 งานนี้เขาก็เอาคนผู้วัยผู้ใหญ่ จำนวน 21 คน ผู้ชาย 7 อายุระหว่าง 21-59 (เฉลี่ย 31) ซึ่งมีภาวะน้ำหนักเกินถึงอ้วน มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary) มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานประเภท 2 มาศึกษา 

😎 วิธีการที่ให้ทำคือให้ออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นการฝึก Endurance วันละ 1 ชั่วโมง มีผู้ควบคุมการออกกำลังกายดูแลอยู่ด้วย กิจกรรมที่ให้ทำ ก็มีทั้งวิ่ง และปั่นจักรยาน โดยให้ทำที่ 80% VO2peak โดยทำการศึกษาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์

🔎 พวกการวัดผลต่างๆนี่ละเอียดอยู่นะครับ มีทั้งการดู Gas analysis ระหว่างการออกกำลังกาย ดูความทนน้ำตาลทำ OGTT ทำ MRI ดูการกระจายตัวของไขมัน ดู Muscle biopsy มีการตรวจสอบสมองด้วย fMRI  ด้วย (เพราะเขาต้องการศึกษาเรื่องความไวอินซูลินของสมองนี่เนาะ) ดูผลหลายอย่างละเอียดเลยทีเดียว

📆 ผลที่ได้คือหลังจากออกกำลังกายครบ 8 สัปดาห์ ความฟิตของระบบหลอดเลือดหัวใจและปอด การหายใจระดับเซลล์ในกล้ามเนื้อพัฒนาดีขึ้น ไขมันในกล้ามเนื้อ และระดับน้ำตาล Fasting ลดลง (ซึ่งขัดกับที่ศาสดาบางคนไม่แนะนำให้ออกกำลังกายเป็นอันดับแรกอย่างสิ้นเชิง) peripheral insulin sensitivity มีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน 

🧠 ในส่วนของความไวอินซูลินของสมอง ก็ดีขึ้นหลังจากออกกำลังกายแบบแอโรบิค (วิ่งและปั่นจักรยาน) ครบ 8 สัปดาห์ ซึ่งก็สัมพันธ์กับผลดีที่ได้ต่อเมตาบอลิซึมส่วนอื่นๆ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปด้วย ซึ่งการที่ความไวอินซูลินของสมองดีขึ้น ก็อาจจะส่งผลดีต่อด้านอื่นๆ ตามมาด้วยก็ได้

😎 มาถึงตรงนี้ อาจจะมีคนคิดค้านในใจว่า การให้คนอ้วนไปออกกำลังกายนั้น เหมือนเอาเขาไปฆ่า จริงๆแล้วระดับ intensity ในการออกกำลังกายที่เขาให้ทำนั้น มันเป็น relative นะครับ เห็นกำหนด 80% VO2peak เนี่ย อย่าไปคิดถึง pace หรือ speed ของคนที่ฟิตมากๆ ความฟิตของแต่ละคนทำได้แค่ไหน ก็ทำไปที่ 80% ของความสามารถสูงสุด แค่นั้นเองครับ

ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-09-25-exercise-restores-brain-insulin-sensitivity-in-sedentary-adults-who-are-overweight-and-obese/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่