ที่สุดของการภาวนา “พุทโธ”
ภาวนา พุทโธๆๆๆไปเรื่อยๆและระลึกรู้พุทโธไปด้วย เมื่อจิตสงบแสงขาว สว่างไสวไม่แสบตาที่กลางกระหม่อม ตัวจะเบาลงเรื่อยๆ โปร่งสบายเหมือนไม่มีกาย
จิตจะสงบลงเรื่อยๆตั้งมั่นแล้วรวมสงบนิ่งที่กลางกระหม่อม เมื่อสงบมากๆจิตจะไม่อยากภาวนาพุทโธแล้ว จะทิ้งพุทโธเอง จะภาวนาต่อจิตก็ไม่ภาวนาแล้วอยากอยู่กับความสงบ ความรู้สึกทางกายดับลงแต่ลมหายใจเด่นชัดละเอียดมาก สติรู้ตามลมหายใจเข้าออก ตามรู้ไปเรื่อยๆแบบแนบสนิท ลมหายใจจะค่อยๆแผ่วเบา แผ่วเบาลงจนดับหายไปจนดับสนิทไม่รับรู้ถึงลมหายใจ
จิตที่รวมสงบนิ่งที่กลางกระหม่อมเหมือนจมดิ่งไปกับความว่าง ไม่มืดและไม่สว่าง มีสติรู้เต็ม 100% แต่ไม่คิดอะไร และไม่อยากออกจากความสงบ ว่างนั้น ในขณะนั้นจะออกจากสมาธิเองไม่ได้ตัองให้จิตเป็นผู้ออกเอง โดยค่อยๆคลายตัวลงทีละน้อยๆ ค่อยๆรู้สึกถึงลมหายใจ ความสุขและปีติทีาแผ่ทั้งกาย กายและความคิดตามลำดับ ออกจากสมาธิจิตจะสงบเบาสบายมากๆ
จิตตอนนี้คู้ควรต่อการทำวิปัสสนาอย่างยิ่ง นำมาพิจารณาความไม่เที่ยงของ กระดูก ขน ผม เล็บ ฟันและหนัง เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เกิดปัญญาเห็นรูปไม่เที่ยง
สรุป การภาวนาพุทโธ เมื่อจิตสงบจะทิ้งพุทโธ (เอง) เหลือแต่ความสงบที่มีสติแนบชิดกับลมหายใจเข้าออกเป็นอานาปานสติที่ละเอียดมีกำลัง
ปล.เล่าจากประสบการณ์ข้าพเจ้า
ที่สุดของการภาวนา “พุทโธ”
ภาวนา พุทโธๆๆๆไปเรื่อยๆและระลึกรู้พุทโธไปด้วย เมื่อจิตสงบแสงขาว สว่างไสวไม่แสบตาที่กลางกระหม่อม ตัวจะเบาลงเรื่อยๆ โปร่งสบายเหมือนไม่มีกาย
จิตจะสงบลงเรื่อยๆตั้งมั่นแล้วรวมสงบนิ่งที่กลางกระหม่อม เมื่อสงบมากๆจิตจะไม่อยากภาวนาพุทโธแล้ว จะทิ้งพุทโธเอง จะภาวนาต่อจิตก็ไม่ภาวนาแล้วอยากอยู่กับความสงบ ความรู้สึกทางกายดับลงแต่ลมหายใจเด่นชัดละเอียดมาก สติรู้ตามลมหายใจเข้าออก ตามรู้ไปเรื่อยๆแบบแนบสนิท ลมหายใจจะค่อยๆแผ่วเบา แผ่วเบาลงจนดับหายไปจนดับสนิทไม่รับรู้ถึงลมหายใจ
จิตที่รวมสงบนิ่งที่กลางกระหม่อมเหมือนจมดิ่งไปกับความว่าง ไม่มืดและไม่สว่าง มีสติรู้เต็ม 100% แต่ไม่คิดอะไร และไม่อยากออกจากความสงบ ว่างนั้น ในขณะนั้นจะออกจากสมาธิเองไม่ได้ตัองให้จิตเป็นผู้ออกเอง โดยค่อยๆคลายตัวลงทีละน้อยๆ ค่อยๆรู้สึกถึงลมหายใจ ความสุขและปีติทีาแผ่ทั้งกาย กายและความคิดตามลำดับ ออกจากสมาธิจิตจะสงบเบาสบายมากๆ
จิตตอนนี้คู้ควรต่อการทำวิปัสสนาอย่างยิ่ง นำมาพิจารณาความไม่เที่ยงของ กระดูก ขน ผม เล็บ ฟันและหนัง เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เกิดปัญญาเห็นรูปไม่เที่ยง
สรุป การภาวนาพุทโธ เมื่อจิตสงบจะทิ้งพุทโธ (เอง) เหลือแต่ความสงบที่มีสติแนบชิดกับลมหายใจเข้าออกเป็นอานาปานสติที่ละเอียดมีกำลัง
ปล.เล่าจากประสบการณ์ข้าพเจ้า