5 ข้อเสนอ‘เอแบค’ ผลักดันเวทีผู้นำเอเปค
https://www.matichon.co.th/politics/news_3656480
หมายเหตุ – นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานการประชุมสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจ (APEC Business Advisory Council: ABAC) ระหว่างวันที่ 13-16 พฤศจิกายน 2565 และเจ้าภาพจัดงาน APEC CEO Summit 2022 ระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเสนอภาคเอกชนในการประชุมดังกล่าวเพื่อเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย–แปซิฟิก (เอเปค)
สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (ABAC) จัดตั้งโดยเอเปคตั้งแต่ปี 2538 เพื่อเป็นเวทีการหารือของภาคธุรกิจเอเปคในระดับพหุภาคี ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อประเด็นด้านการค้าและการลงทุนที่จะเอื้อประโยชน์ต่อภาคธุรกิจเอเปคโดยรวม
ทุกๆ ปีเจ้าภาพ ABAC จะจัดงานประชุมผู้นำภาคเอกชนของเอเปค (APEC CEO Summit) ในช่วงเดียวกับการจัดประชุมผู้นำเอเปค เพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างนักธุรกิจชั้นนำของเอเปคจาก 21 เขตเศรษฐกิจ โดยจะเชิญผู้มีชื่อเสียงจากภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้นำเอเปคหลายท่านขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อต่างๆ โดยแต่ละปีจะมีผู้แทนทางธุรกิจกว่า 2,000 คน จากทั่วภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก
การประชุม ABAC จัดขึ้นเพื่อผลักดันความก้าวหน้าของภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิกทั่วทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ กำหนดธีมของงานครั้งนี้สอดคล้องกับทางภาครัฐ โดยใช้ชื่อว่า “EMBRACE-ENGAGE-ENABLE” สื่อความหมาย ดังนี้
EMBRACE: แสดงให้เห็นถึงการเปิดรับโอกาสที่กำลังเข้ามาใหม่ เปิดกว้างเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรทางเศรษฐกิจหลังจากหยุดนิ่งจากสภาวการณ์ถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลก
ENGAGE: สื่อถึงการรวมพลังความคิดสร้างสรรค์ ร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อสรรค์สร้างทิศทางเศรษฐกิจใหม่ในอนาคตร่วมกัน
ENABLE: ขยายข้อจำกัดความสามารถทางเศรษฐกิจ ทุกอย่างสามารถเป็นไปได้ทุกที่ทุกเวลา
สำหรับข้อเสนอแนะ 5 ด้านของ ABAC ต่อผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคประกอบไปด้วย
1. ด้านการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Economic Integration) ที่มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกการเปิดการค้าเสรี (FTA) โดยการผลักดันให้เกิดเขตการค้าเสรีเอเชีย–แปซิฟิก (FTAAP) การส่งเสริมประสิทธิภาพการค้าการลงทุนด้านการบริการ และมาตรการการเดินทางและข้อปฏิบัติด้านสาธารณสุขที่สอดคล้องกันในภูมิภาค เพื่อให้การเปิดการเดินทางข้ามพรมแดนเป็นไปอย่างสะดวกและปลอดภัย
2. ด้านดิจิทัล (Digital) มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) การสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ผ่านการนำข้อมูลประจำตัวดิจิทัลที่เชื่อถือได้มาใช้ในการทำงานร่วมกัน และการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และการไหลของข้อมูลข้ามพรมแดนที่ปลอดภัย (Cybersecurity and Cross Border Data Flow)
3. ด้าน MSMEs และการมีส่วนร่วม (MSMEs & Inclusiveness) ที่ต้องการฟื้นฟู พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) หลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโควิด-19 และส่งเสริมการมีบทบาททางเศรษฐกิจของผู้หญิง เยาวชนและกลุ่มที่ยังไม่ได้รับโอกาส โดยเน้นการเสริมสร้างแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนของ MSMEs และด้วย MSMEs มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก จึงเห็นควรในการพัฒนามาตรการเพื่อสนับสนุนการเติบโตนี้อย่างต่อเนื่องภายใต้กรอบการทำงานและการค้าระดับโลก โดยมาตรการดังกล่าว หมายรวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง การ บูรณาการเข้ากับห่วงโซ่คุณค่า และการสนับสนุนในมาตรการนี้ให้เป็นสากล
4. ด้านความยั่งยืน (Sustainability) ที่มุ่งเน้นการนำสังคมไปสู่ Net Zero ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ พร้อมทั้งยังส่งเสริมให้มีความมั่นคงทางพลังงานและอาหารในอนาคต
5. ด้านเศรษฐกิจและการเงิน (Finance and Economics) ที่ส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและยั่งยืนโดยให้ความสำคัญของการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ และนโยบายทางการเงินด้านอัตราค่าจ้างแรงงาน โดยในระยะยาว คณะทำงานเชื่อว่ารัฐบาลควรปฏิบัติตามสองเป้าหมาย คือ การเพิ่มศักยภาพทางการคลัง และการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปโครงสร้างในการพัฒนาสู่ระบบดิจิทัลและความยั่งยืนอย่างครอบคลุม
ทั้งนี้ ABAC จัดทำรายงานที่ครอบคลุมถึงประเด็นความท้าทายหลักๆ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน อาทิ การจัดการกับภาวะเงินเฟ้อ การขจัดความไม่มั่นคงด้านอาหารและพลังงาน และการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในระยะกลางเราจะเรียกร้องให้สมาชิกเอเปค กระชับการ บูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค โดยสนับสนุนระบบการค้าตามกฎสากลและเร่งให้เกิด FTAAP และต้องการให้เอเปคส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวและการเติบโตทั้งผ่านการสนับสนุน MSMEs โดยเฉพาะในธุรกิจที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของและธุรกิจของชนพื้นเมือง และการนำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลมาใช้
ในประเด็นความยั่งยืน ภาคธุรกิจสามารถมีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ยืดหยุ่น และใช้คาร์บอนต่ำสำหรับคนรุ่นหลัง และสนับสนุน BCG Model ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่จะพัฒนา 3 เศรษฐกิจไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นแนวทางที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ
ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะของ ABAC จะเพิ่มบทบาทของไทยในการร่วมกำหนดนโยบายและทิศทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ และใช้ประโยชน์จากเอเปคในฐานะผู้นำความเปลี่ยนแปลงในการปฏิรูปและยกระดับมาตรฐานทางเศรษฐกิจของไทยให้ทันสมัย รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพในมิติต่างๆ ให้แก่ภาครัฐและเอกชน
ข้อเสนอของ ABAC จะช่วยให้ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น และมีการพัฒนาระบบเพื่อการอำนวยความสะดวกทางการค้า การลดและยกเลิกปัญหาอุปสรรคทางการค้า รวมทั้งการเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยของไทยให้เข้าสู่ระบบการค้าโลกได้ เป็นการสนับสนุนการนำไปสู่การการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานที่สอดรับกับบริบทโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption)
การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยจะทำให้ไทยได้รับประโยชน์ในการเสริมสร้างบทบาทไทยในเวทีโลกและกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าในระดับภูมิภาค รวมถึงสามารถกำหนดประเด็นที่ไทยสนใจและนำเสนอต่อเอเปค อาทิ เรื่อง BCG model ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของไทยให้เป็นที่ยอมรับในเวทีโลก เพื่อขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยหลังโควิด-19
อีกหนึ่งของการริเริ่มของ ABAC คือ การผลักดันเขตการค้าเสรีเอเชีย–แปซิฟิก (FTAAP) ที่มีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ภาควิชาการหรือนักธุรกิจและประชาชนทั่วไป เกิดความเข้าใจและรวมพลังขับเคลื่อนจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มเขตเศรษฐกิจเอเชีย–แปซิฟิก 21 เขตเศรษฐกิจไปเป็น FTAAP ในอนาคต ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2583
หากสำเร็จจะเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะมีประชากรรวมกันถึง 2,900 ล้านคน คิดเป็น 38% ของประชากรโลกและจะมี GDP คิดเป็น 62% ของ GDP โลกมีมูลค่าประมาณ 52 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,978 ล้านล้านบาท) มูลค่าการค้า 21 เขตเศรษฐกิจ มีมูลค่า 608 ล้านล้านบาท หรือ 18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
ผลประโยชน์ที่ 21 เขตเศรษฐกิจ รวมถึงประเทศไทยจะได้รับโดยตรงอย่างน้อย คือ ภาษีจะเป็นศูนย์ระหว่างกัน เมื่อเป็น FTA กฎระเบียบการค้าจะเป็นกฎระเบียบเดียวกัน และจะมีการเปิดตลาดระหว่างกันทั้งในส่วนของสินค้าและบริการ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน
หากถามว่าคนไทยจะได้รับประโยชน์อะไร จากข้อเสนอแนะดังกล่าวนั้น ABAC ในฐานะผู้แทนของภาคเอกชนทั้งที่เป็นผู้ประกอบการ แรงงานและคนรุ่นใหม่นั้น คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมเป็นหลักเสมอในการเสนอข้อเสนอแนะแก่ผู้นำเอเปคทุกครั้ง
ตัวอย่างที่ผลประโยชน์คนไทยจะได้รับ ได้แก่ โอกาสในการอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน และการรวมกลุ่มของเศรษฐกิจที่มีขนาดตลาดใหญ่ขึ้น และมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มธุรกิจ MSMEs จะได้รับการรองรับโอกาสของการลงทุนจากต่างประเทศที่จะมากระตุ้นเศรษฐกิจ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ยกระดับทักษะแรงงานในพื้นที่ต่อไป และด้านความยั่งยืน ประเด็นเรื่องการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต
ปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security) ที่เกิดขึ้นในหลายเขตเศรษฐกิจทั่วโลก แม้ประเทศไทยไม่ต้องเผชิญวิกฤตการขาดแคลนอาหาร แต่ในฐานะประเทศซึ่งเป็นครัวโลก เราจึงต้องเตรียมความพร้อมในการส่งออกอาหาร โดยจะต้องไม่ลืมที่จะคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนด้วย ดังนั้น อาหารแห่งอนาคต (Future Food) อาจเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของประชาชน
อีกทั้งผลลัพธ์ของการประชุมเอเปค จะช่วยฟื้นฟูและกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยภายหลังโควิด-19 ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการค้าดิจิทัล จะทำให้เกิดการกระจายรายได้และลดความเหลื่อมล้ำ ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การประชุม ABAC/APEC ในครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดี ในการแสดงศักยภาพของภาคธุรกิจไทยสู่เวทีโลก ด้วยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 19 ล้านล้านบาท) โดยที่ภาคเอกชนเป็นกลไกหลักในการเติบโตไม่ว่าจะเป็นการส่งออกกว่า 70% ของ GDP การมีภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งราว 40% ของ GDP และภาคบริการราว 50% ของ GDP
โดยจุดแข็งของไทย คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการทางการเงิน และด้านอาหาร ที่ประเทศไทยมีจุดเด่นด้านความมั่นคงของอาหารในเวทีโลกอีกด้วย
‘ศรีสุวรรณ’ ซัดแรงสุดแสนอัปยศ บางหน่วยงานให้ ‘ต่างด้าว’ ซื้อที่ดินได้ถึง 35 ไร่
https://www.dailynews.co.th/news/1649695/
"ศรีสุวรรณ จรรยา" ลุยเต็มเครื่อง! ฟ้องศาลปกครอง ลั่นแค่ยกแรกระงับมติ ครม. ให้ต่างชาติซื้อที่ดินไทยได้ พร้อมแฉบางหน่วยงานให้ต่างด้าวซื้อที่ดินได้ถึง 35 ไร่ ซัดสุดแสนอัปยศ เดี๋ยวเจอกัน
ยังคงเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง สำหรับมติ ครม. ของรัฐบาล พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่นำกฎหมายที่ถูกตราหน้าจากสังคมว่า เป็นกฎหมายขายชาติมาปัดฝุ่นใหม่ เพื่อหวังดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติที่มีฐานะมั่งคั่ง แลกกับการถือครองที่ดินจำนวน 1 ไร่ในไทย นั้น
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 5 พ.ย. เฟซบุ๊ก นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการองค์การสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้มีการโพสต์ภาพที่มีข้อความ
“ฟ้องศาลปกครอง ยกแรกขอระงับมติ ครม. ให้ต่างชาติซื้อที่ดินไทยได้ ยังๆ ไม่จบ ยังมีอีกบางหน่วยงานให้ต่างด้าวซื้อที่ดินได้ถึง 35 ไร่ เดี๋ยวเจอกัน!”
พร้อมระบุข้อความอีกว่า แบบนี้ถ้าไม่เรียกว่า
“สุดแสนอัปยศ” ก็ไม่รู้ว่าจะสรรหาถ้อยคำใดมาเปรียบเปรยครับ
ทั้งนี้ มีชาวเน็ตเข้ามากดไลค์และแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ต่างเห็นด้วยกับ “
ศรีสุวรรณ” ให้รีบร้องเรียนคัดค้านเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=682010739953131&id=100044326334588
JJNY : 5 ข้อเสนอ‘เอแบค’ | ‘ศรีสุวรรณ’ซัดแรง | ไมค์ถามจะส่งจริงๆ หรือ? |นักวิชาการชี้"โมลนูพิราเวียร์"อาจทำโควิดกลายพันธ์
https://www.matichon.co.th/politics/news_3656480
หมายเหตุ – นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานการประชุมสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจ (APEC Business Advisory Council: ABAC) ระหว่างวันที่ 13-16 พฤศจิกายน 2565 และเจ้าภาพจัดงาน APEC CEO Summit 2022 ระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเสนอภาคเอกชนในการประชุมดังกล่าวเพื่อเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย–แปซิฟิก (เอเปค)
สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (ABAC) จัดตั้งโดยเอเปคตั้งแต่ปี 2538 เพื่อเป็นเวทีการหารือของภาคธุรกิจเอเปคในระดับพหุภาคี ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อประเด็นด้านการค้าและการลงทุนที่จะเอื้อประโยชน์ต่อภาคธุรกิจเอเปคโดยรวม
ทุกๆ ปีเจ้าภาพ ABAC จะจัดงานประชุมผู้นำภาคเอกชนของเอเปค (APEC CEO Summit) ในช่วงเดียวกับการจัดประชุมผู้นำเอเปค เพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างนักธุรกิจชั้นนำของเอเปคจาก 21 เขตเศรษฐกิจ โดยจะเชิญผู้มีชื่อเสียงจากภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้นำเอเปคหลายท่านขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อต่างๆ โดยแต่ละปีจะมีผู้แทนทางธุรกิจกว่า 2,000 คน จากทั่วภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก
การประชุม ABAC จัดขึ้นเพื่อผลักดันความก้าวหน้าของภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิกทั่วทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ กำหนดธีมของงานครั้งนี้สอดคล้องกับทางภาครัฐ โดยใช้ชื่อว่า “EMBRACE-ENGAGE-ENABLE” สื่อความหมาย ดังนี้
EMBRACE: แสดงให้เห็นถึงการเปิดรับโอกาสที่กำลังเข้ามาใหม่ เปิดกว้างเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรทางเศรษฐกิจหลังจากหยุดนิ่งจากสภาวการณ์ถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลก
ENGAGE: สื่อถึงการรวมพลังความคิดสร้างสรรค์ ร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อสรรค์สร้างทิศทางเศรษฐกิจใหม่ในอนาคตร่วมกัน
ENABLE: ขยายข้อจำกัดความสามารถทางเศรษฐกิจ ทุกอย่างสามารถเป็นไปได้ทุกที่ทุกเวลา
สำหรับข้อเสนอแนะ 5 ด้านของ ABAC ต่อผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคประกอบไปด้วย
1. ด้านการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Economic Integration) ที่มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกการเปิดการค้าเสรี (FTA) โดยการผลักดันให้เกิดเขตการค้าเสรีเอเชีย–แปซิฟิก (FTAAP) การส่งเสริมประสิทธิภาพการค้าการลงทุนด้านการบริการ และมาตรการการเดินทางและข้อปฏิบัติด้านสาธารณสุขที่สอดคล้องกันในภูมิภาค เพื่อให้การเปิดการเดินทางข้ามพรมแดนเป็นไปอย่างสะดวกและปลอดภัย
2. ด้านดิจิทัล (Digital) มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) การสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ผ่านการนำข้อมูลประจำตัวดิจิทัลที่เชื่อถือได้มาใช้ในการทำงานร่วมกัน และการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และการไหลของข้อมูลข้ามพรมแดนที่ปลอดภัย (Cybersecurity and Cross Border Data Flow)
3. ด้าน MSMEs และการมีส่วนร่วม (MSMEs & Inclusiveness) ที่ต้องการฟื้นฟู พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) หลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโควิด-19 และส่งเสริมการมีบทบาททางเศรษฐกิจของผู้หญิง เยาวชนและกลุ่มที่ยังไม่ได้รับโอกาส โดยเน้นการเสริมสร้างแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนของ MSMEs และด้วย MSMEs มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก จึงเห็นควรในการพัฒนามาตรการเพื่อสนับสนุนการเติบโตนี้อย่างต่อเนื่องภายใต้กรอบการทำงานและการค้าระดับโลก โดยมาตรการดังกล่าว หมายรวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง การ บูรณาการเข้ากับห่วงโซ่คุณค่า และการสนับสนุนในมาตรการนี้ให้เป็นสากล
4. ด้านความยั่งยืน (Sustainability) ที่มุ่งเน้นการนำสังคมไปสู่ Net Zero ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ พร้อมทั้งยังส่งเสริมให้มีความมั่นคงทางพลังงานและอาหารในอนาคต
5. ด้านเศรษฐกิจและการเงิน (Finance and Economics) ที่ส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและยั่งยืนโดยให้ความสำคัญของการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ และนโยบายทางการเงินด้านอัตราค่าจ้างแรงงาน โดยในระยะยาว คณะทำงานเชื่อว่ารัฐบาลควรปฏิบัติตามสองเป้าหมาย คือ การเพิ่มศักยภาพทางการคลัง และการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปโครงสร้างในการพัฒนาสู่ระบบดิจิทัลและความยั่งยืนอย่างครอบคลุม
ทั้งนี้ ABAC จัดทำรายงานที่ครอบคลุมถึงประเด็นความท้าทายหลักๆ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน อาทิ การจัดการกับภาวะเงินเฟ้อ การขจัดความไม่มั่นคงด้านอาหารและพลังงาน และการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในระยะกลางเราจะเรียกร้องให้สมาชิกเอเปค กระชับการ บูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค โดยสนับสนุนระบบการค้าตามกฎสากลและเร่งให้เกิด FTAAP และต้องการให้เอเปคส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวและการเติบโตทั้งผ่านการสนับสนุน MSMEs โดยเฉพาะในธุรกิจที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของและธุรกิจของชนพื้นเมือง และการนำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลมาใช้
ในประเด็นความยั่งยืน ภาคธุรกิจสามารถมีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ยืดหยุ่น และใช้คาร์บอนต่ำสำหรับคนรุ่นหลัง และสนับสนุน BCG Model ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่จะพัฒนา 3 เศรษฐกิจไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นแนวทางที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ
ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะของ ABAC จะเพิ่มบทบาทของไทยในการร่วมกำหนดนโยบายและทิศทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ และใช้ประโยชน์จากเอเปคในฐานะผู้นำความเปลี่ยนแปลงในการปฏิรูปและยกระดับมาตรฐานทางเศรษฐกิจของไทยให้ทันสมัย รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพในมิติต่างๆ ให้แก่ภาครัฐและเอกชน
ข้อเสนอของ ABAC จะช่วยให้ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น และมีการพัฒนาระบบเพื่อการอำนวยความสะดวกทางการค้า การลดและยกเลิกปัญหาอุปสรรคทางการค้า รวมทั้งการเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยของไทยให้เข้าสู่ระบบการค้าโลกได้ เป็นการสนับสนุนการนำไปสู่การการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานที่สอดรับกับบริบทโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption)
การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยจะทำให้ไทยได้รับประโยชน์ในการเสริมสร้างบทบาทไทยในเวทีโลกและกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าในระดับภูมิภาค รวมถึงสามารถกำหนดประเด็นที่ไทยสนใจและนำเสนอต่อเอเปค อาทิ เรื่อง BCG model ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของไทยให้เป็นที่ยอมรับในเวทีโลก เพื่อขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยหลังโควิด-19
อีกหนึ่งของการริเริ่มของ ABAC คือ การผลักดันเขตการค้าเสรีเอเชีย–แปซิฟิก (FTAAP) ที่มีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ภาควิชาการหรือนักธุรกิจและประชาชนทั่วไป เกิดความเข้าใจและรวมพลังขับเคลื่อนจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มเขตเศรษฐกิจเอเชีย–แปซิฟิก 21 เขตเศรษฐกิจไปเป็น FTAAP ในอนาคต ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2583
หากสำเร็จจะเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะมีประชากรรวมกันถึง 2,900 ล้านคน คิดเป็น 38% ของประชากรโลกและจะมี GDP คิดเป็น 62% ของ GDP โลกมีมูลค่าประมาณ 52 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,978 ล้านล้านบาท) มูลค่าการค้า 21 เขตเศรษฐกิจ มีมูลค่า 608 ล้านล้านบาท หรือ 18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
ผลประโยชน์ที่ 21 เขตเศรษฐกิจ รวมถึงประเทศไทยจะได้รับโดยตรงอย่างน้อย คือ ภาษีจะเป็นศูนย์ระหว่างกัน เมื่อเป็น FTA กฎระเบียบการค้าจะเป็นกฎระเบียบเดียวกัน และจะมีการเปิดตลาดระหว่างกันทั้งในส่วนของสินค้าและบริการ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน
หากถามว่าคนไทยจะได้รับประโยชน์อะไร จากข้อเสนอแนะดังกล่าวนั้น ABAC ในฐานะผู้แทนของภาคเอกชนทั้งที่เป็นผู้ประกอบการ แรงงานและคนรุ่นใหม่นั้น คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมเป็นหลักเสมอในการเสนอข้อเสนอแนะแก่ผู้นำเอเปคทุกครั้ง
ตัวอย่างที่ผลประโยชน์คนไทยจะได้รับ ได้แก่ โอกาสในการอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน และการรวมกลุ่มของเศรษฐกิจที่มีขนาดตลาดใหญ่ขึ้น และมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มธุรกิจ MSMEs จะได้รับการรองรับโอกาสของการลงทุนจากต่างประเทศที่จะมากระตุ้นเศรษฐกิจ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ยกระดับทักษะแรงงานในพื้นที่ต่อไป และด้านความยั่งยืน ประเด็นเรื่องการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต
ปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security) ที่เกิดขึ้นในหลายเขตเศรษฐกิจทั่วโลก แม้ประเทศไทยไม่ต้องเผชิญวิกฤตการขาดแคลนอาหาร แต่ในฐานะประเทศซึ่งเป็นครัวโลก เราจึงต้องเตรียมความพร้อมในการส่งออกอาหาร โดยจะต้องไม่ลืมที่จะคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนด้วย ดังนั้น อาหารแห่งอนาคต (Future Food) อาจเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของประชาชน
อีกทั้งผลลัพธ์ของการประชุมเอเปค จะช่วยฟื้นฟูและกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยภายหลังโควิด-19 ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการค้าดิจิทัล จะทำให้เกิดการกระจายรายได้และลดความเหลื่อมล้ำ ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การประชุม ABAC/APEC ในครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดี ในการแสดงศักยภาพของภาคธุรกิจไทยสู่เวทีโลก ด้วยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 19 ล้านล้านบาท) โดยที่ภาคเอกชนเป็นกลไกหลักในการเติบโตไม่ว่าจะเป็นการส่งออกกว่า 70% ของ GDP การมีภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งราว 40% ของ GDP และภาคบริการราว 50% ของ GDP
โดยจุดแข็งของไทย คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการทางการเงิน และด้านอาหาร ที่ประเทศไทยมีจุดเด่นด้านความมั่นคงของอาหารในเวทีโลกอีกด้วย
‘ศรีสุวรรณ’ ซัดแรงสุดแสนอัปยศ บางหน่วยงานให้ ‘ต่างด้าว’ ซื้อที่ดินได้ถึง 35 ไร่
https://www.dailynews.co.th/news/1649695/
"ศรีสุวรรณ จรรยา" ลุยเต็มเครื่อง! ฟ้องศาลปกครอง ลั่นแค่ยกแรกระงับมติ ครม. ให้ต่างชาติซื้อที่ดินไทยได้ พร้อมแฉบางหน่วยงานให้ต่างด้าวซื้อที่ดินได้ถึง 35 ไร่ ซัดสุดแสนอัปยศ เดี๋ยวเจอกัน
ยังคงเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง สำหรับมติ ครม. ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่นำกฎหมายที่ถูกตราหน้าจากสังคมว่า เป็นกฎหมายขายชาติมาปัดฝุ่นใหม่ เพื่อหวังดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติที่มีฐานะมั่งคั่ง แลกกับการถือครองที่ดินจำนวน 1 ไร่ในไทย นั้น
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 5 พ.ย. เฟซบุ๊ก นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการองค์การสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้มีการโพสต์ภาพที่มีข้อความ
“ฟ้องศาลปกครอง ยกแรกขอระงับมติ ครม. ให้ต่างชาติซื้อที่ดินไทยได้ ยังๆ ไม่จบ ยังมีอีกบางหน่วยงานให้ต่างด้าวซื้อที่ดินได้ถึง 35 ไร่ เดี๋ยวเจอกัน!”
พร้อมระบุข้อความอีกว่า แบบนี้ถ้าไม่เรียกว่า “สุดแสนอัปยศ” ก็ไม่รู้ว่าจะสรรหาถ้อยคำใดมาเปรียบเปรยครับ
ทั้งนี้ มีชาวเน็ตเข้ามากดไลค์และแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ต่างเห็นด้วยกับ “ศรีสุวรรณ” ให้รีบร้องเรียนคัดค้านเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=682010739953131&id=100044326334588