💚มาลาริน💚แค่ทวิภาคีซาอุฯกับจีน ไทยก็เกินคุ้ม !! จะมีก็แต่บางคนที่อาจอกแตกตายหลังจากนี้ก็ได้ !!

แค่ทวิภาคีซาอุฯกับจีน ไทยก็เกินคุ้ม !!



อีกไม่กี่ชั่วโมงก็จะมีการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเซีย-แปซิฟิก หรือ “เอเปค” ซึ่งจะเริ่มอย่างเป็นทางการในวันที่ 18-19 พฤศจิกายนนี้ โดยในการประชุมวันนั้นจะมีผู้นำและตัวแทนจำนวน 21 เขตเข้าร่วม อย่างไรก็ดีที่ต้องจับตาไม่แพ้กันหรืออาจจะต้องโฟกัสไปที่การหารือแบบทวิภาคีกับผู้นำบางประเทศทั้งที่เป็น “แขกรับเชิญพิเศษ” และผู้นำที่มาร่วมประชุมเอเปค แต่แยกออกมาหารือต่างหาก

ดังนั้นก็ต้องมาพิจารณาจากกำหนดการการต้อนรับผู้นำบางประเทศที่เป็น “แขกรับเชิญ” ทั้งที่ทำเนียบรัฐบาล และที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ดังนี้

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นอกเหนือจากกรอบการประชุมเอเปกในช่วงสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปกแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ยังมีกำหนดการต้อนรับผู้นำในการเยือนประเทศไทย และการหารือแบบเต็มคณะที่ ทำเนียบรัฐบาล ดังนี้ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ช่วงบ่าย นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการต้อนรับการมาเยือนอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดี เหวียน ซวน ฟุก ของเวียดนาม พร้อมมีการหารือทวิภาคี การเป็นสักขีพยานในพิธีแลกเปลี่ยนความตกลงและบันทึกความเข้าใจ การแถลงข่าวร่วม และเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้นำเวียดนามและภริยา
 
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ช่วงค่ำ นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการรับเสด็จฯเยือนอย่างเป็นทางการของ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีซาอุดีฯ พร้อมมีการหารือทวิภาคี พิธีการแลกเปลี่ยนความตกลงและบันทึกความเข้าใจ และเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงถวายพระกระยาหารค่ำแก่มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีซาอุดีอาระเบีย
 
และวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ช่วงเที่ยง นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการต้อนรับการมาเยือนขอประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน พร้อมมีการหารือทวิภาคี พิธีการแลกเปลี่ยนความตกลงและบันทึกความเข้าใจ และเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ผู้นำจีนและภริยา

นอกจากการหารือแบบเต็มคณะกับ 3 ประเทศนี้แล้ว นายกรัฐมนตรียังมีกำหนดการหารือทวิภาคีกับแขกพิเศษของรัฐบาล รวมถึงผู้นำและผู้แทนเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ทำเนียบรัฐบาลเพิ่มเติม ดังนี้

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ช่วงสาย นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการหารือทวิภาคีกับนายเอมานูว์แอล มาครง ประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศส พร้อมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน และช่วงเย็น พบหารือทวิภาคีกับ นายคิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ณ ทำเนียบรัฐบาล วันที่18 พฤศจิกายน 2565 เวลา ช่วงบ่าย นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการหารือทวิภาคีกับนางคริสตาลินากอร์เกียวา กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

และวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา ช่วงเช้า นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการหารือทวิภาคีกับนายแอนโทนี แอลบาเนซี นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย และการหารือทวิภาคีแบบสั้นในช่วงการประชุมฯ (Pull-aside) กับนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และช่วงเย็น พบหารือทวิภาคีกับนางคามาลา เดวี แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯณ ทำเนียบรัฐบาล

“การเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคของไทย ตลอดจนการพบหารือกับผู้นำประเทศต่างๆ นี้ เป็นช่วงเวลาสำคัญของไทยที่จะแสดงบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ เป็นโอกาสให้ได้กระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันกับผู้นำแบบพบหน้ากัน (In person) และเป็นโอกาสให้ได้ขยายความร่วมมือกับมิตรประเทศ การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยจึงสะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และคงเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในเวทีโลก รัฐบาลจึงหวังว่าทุกฝ่ายจะได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพพร้อมร่วมกันสร้างความประทับใจและความทรงจำที่ดีให้แก่ผู้นำ และผู้เข้าร่วมการประชุม ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประชุมฯครั้งนี้” นายอนุชา กล่าว

เพียงแค่พิจารณาจากรายชื่อผู้นำแต่ละประเทศที่เรามีพิธีต้อนรับ และหารือแบบทวิภาคี เช่น ประธานาธิบดีเวียดนาม มกุฎราชกุมาร บิลซัลมานฯ ของซาอุดิอาระเบีย ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ประธานาธิบดี เอ็มมานุเอล มาครง ของฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ และรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ

เอาเป็นว่าแค่สองสามประเทศที่จะมีการหารือแบบทวิภาคีเต็มคณะ ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ เช่น มกุฎราชกุมาร บิลซัลมานฯ ที่ตามข่าวนำคณะใหญ่มาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ เรียกว่ามาแบบได้น้ำได้เนื้อ และก่อนหน้านั้นไม่ถึงสัปดาห์ก็มีรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับการค้าของซาอุฯ ก็นำคณะนักธุรกิจมาเยือนไทยตามคำเชิญของกระทรวงต่างประเทศ มีการหารือแลกเปลี่ยนการลงทุนร่วมกันนักธุรกิจของไทยในหลายโครงการที่สนใจ ดังนั้นความสัมพันธ์ไทยกับซาอุในยุคนี้ถือว่าน่าติดตาม และพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรมอย่างเหลือเชื่อ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนขนาดใหญ่ และที่สำคัญคือ ด้านการท่องเที่ยว

ขณะเดียวกันก็ต้องจับตาการหารือกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ที่เพิ่งเดินทางออกนอกประเทศในรอบหลายปี และจะเป็นการเยือนไทยครั้งแรกนับตั้งแต่ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำสมัยที่สาม เป็นการเยือนไทยที่ถูกจับตามองอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ที่สำคัญคือเรื่องการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ส่วนประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ก็ล้วนสำคัญ มีผลกับเศรษฐกิจบ้านเราทั้งสิ้น ถึงได้บอกว่าเพียงแค่นี้ก็เกินคุ้มแล้ว

ส่วนเวทีวงใหญ่เอเปค เป็นกรอบพหุภาคีก็ปล่อยให้มีการแสดงกันอย่างเต็มที่ บางทีก็เหมือนกับการเอาหน้าเอาตาประเทศ ล้วนเป็นกรอบกว้างๆ ต้องใช้เวลาและหาจุดร่วมกันค่อนข้างยาก แต่เอาเป็นว่าหากเราสามารถผลักดันเป็นหลักการในเรื่อง “เขตการค้าเสรีเอเปค” หรือ FTAAP เพื่อให้สานต่อในอนาคตก็ถือว่าโอเคแล้ว แต่ของจริงล้วนอยู่ที่การถกทวิภาคี โดยเฉพาะกับบางประเทศที่ว่า นั่นแหละเป็นคำตอบว่าเราจะได้อะไร ขณะเดียวกันหากทุกอย่างผ่านไปอย่างเรียบร้อยก็ต้องถือว่าเราได้ภาพลักษณ์เต็มๆย่อมมีผลต่อเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวที่ทุกอย่างกำลังฟื้นตัวแบบก้าวกระโดด 

จะมีก็แต่บางคนที่อาจอกแตกตายหลังจากนี้ก็ได้ !!

https://mgronline.com/politics/detail/9650000109279



.....ยิ้มของลุงตู่จสร้างพลังใจให้คนไทยมีความสุขมีความหวังที่จะก้าวไปในอนาคตอย่างมั่นคงทางเศรษฐกิจผลจากงานการประชุมเอเปกครั้งนี้ค่ะ

ลุงตู่ผูกมิตรกับผู้นำทั่วโลกเป็นผู้นำสร้างความสามัคคีร่วมใจกันมุ่งมั่นสู่ความมั่งคั่ง ยั่งยืน ไปพร้อมๆกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ผู้นำดีจะพาเรามีชีวิตที่ดี  มีคุณภาพในสายตาชาวโลก

เชื่อมั่นในนายกฯลุงตู่ค่ะ.....🤟👍💕💕🤟👍
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  การเมือง รัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่