สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
การทำผังเมืองใหม่คือให้คนอยู่เก่าย้ายออกไปแล้วเวนคืนใหม่ทั้งเมือง ปชช.เองนั่นแหละที่ไม่ยอม
แม้แต่อเมริกาที่ว่าผังเมืองดีมากๆ ก็คือการขับไล่คนอินเดียนแดงพื้นเมืองออกไปแล้วสร้างเมืองขึ้นมาใหม่
บางเมืองในยุโรปก็โดนไฟไหม้ระเบิดลงสงครามทำลายเมืองราบเป็นหน้ากลอง ถึงได้สร้างวางผังเมืองใหม่ขึ้นมาได้
ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ที่ผังเมืองดีๆก็เคยตกเป็นอาณานิคมของฝรั่ง เขาจะขับไล่เจ้าของเดิมออกไปมาสร้างเมืองใหม่มาวางผังเมืองใหม่ยังไงก็ได้
พอดีประเทศไทยไม่เคยตกอยู่ในสถานการณ์ข้างบน บ้านเมืองถนนหนทางก็ขยายไปตามที่ชุมชนเดิมเคยตั้งรกรากอยู่กันมา
แม้แต่อเมริกาที่ว่าผังเมืองดีมากๆ ก็คือการขับไล่คนอินเดียนแดงพื้นเมืองออกไปแล้วสร้างเมืองขึ้นมาใหม่
บางเมืองในยุโรปก็โดนไฟไหม้ระเบิดลงสงครามทำลายเมืองราบเป็นหน้ากลอง ถึงได้สร้างวางผังเมืองใหม่ขึ้นมาได้
ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ที่ผังเมืองดีๆก็เคยตกเป็นอาณานิคมของฝรั่ง เขาจะขับไล่เจ้าของเดิมออกไปมาสร้างเมืองใหม่มาวางผังเมืองใหม่ยังไงก็ได้
พอดีประเทศไทยไม่เคยตกอยู่ในสถานการณ์ข้างบน บ้านเมืองถนนหนทางก็ขยายไปตามที่ชุมชนเดิมเคยตั้งรกรากอยู่กันมา
ความคิดเห็นที่ 5
สมัยร. 5 นั่นไงครับ รับการออกแบบผังเมืองมาจากยุโรปเต็มๆ (ความจริงก็เริ่มตัดถนนแบบสมัยใหม่ตั้งแต่ร.4 แล้ว พวกเจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร) แต่รูปแบบผังเมืองอย่างยุโรปนี่เห็นกันได้ชัดๆก็คือ ถนนราชดำเนิน นั้นเอง เป็นอเวนิว กว้างขวาง ต้นไม้ปลูกสองข้างและเอาสถานที่สำคัญทางราชการไปไว้รอบข้าง นอกจากนั้นยังขุดคลองมหาศาลเพราะ อย่างว่า กทม.เป็นเมืองลุ่มต่ำ แถมชาวบ้านสัญจรทางน้ำกันเยอะ เป็นการระบายน้ำเหนือ จัดพื้นที่ทางการเกษตรก็มีอีก(คลองรังสิต) ทำระบบประปาอีก(คลองสามเสน เป็นต้น) รวมถึงให้มีโฉนดที่ดินด้วย หรือก็คือมีการจัดโซนนิ่งครั้งแรกสมัย ร.5 นั่นเองครับ
แผนที่สมัยร.5 แถวเจริญกรุงเป็นย่านการค้า เกาะรัตนโกสินทร์เป็นศูนย์กลางเมือง แถวดุสิตก็วางตัวให้เป็นย่านผู้อยู่อาศัย จะเห็นได้ว่าขนาดแถวจุฬาปัจจุบันยังเป็นทุ่งอยู่เลย ฝั่งธนฯไม่ต้องพูดถึงสวนทั้งนั้น
อนึ่ง ผังเมืองเราปรับปรุงอย่างมีแบบแผนมาเรื่อยจนหมดยุคสฤษดิ์ นี่ละมังครับ พอเข้าถนอมปุ๊บกว่ากฏหมายโซนนิ่งสมัยใหม่ที่อุตส่าห์ให้อเมริกันมาช่วยร่างจะใช้งานได้จริงก็ผ่านไปเป็น 10 กว่าปี เมืองมันได้โตแบบตามมีตามเกิดไปไกลแล้ว (ต้องอย่าลืมว่าสมัยนั้นเป็น Baby boom ด้วยประชากรเพิ่มมหาศาล) และหลังจากนั้นกทม.ก็ได้กลายสภาพมาสู่เมืองไร้ระเบียบอย่างที่เป็นทุกวันนี้ครับ
ปล.เสียดายผมหารูปไม่เจอ แต่เคยอ่านจากหนังสือนานแล้วว่า สมัยสฤษดิ์ ได้มีการจัดทำแผน feasibility study ที่จะทำรถไฟชานเมืองลูปไลน์รอบกรุงเทพฯ จ้างเยอรมันมาสำรวจเสร็จสรรพแล้วด้วย ซึ่งหน้าตาก็จะออกมาเป็นแบบ yamanote ของโตเกียวทำนองนั้น คือ เป็นโครงข่ายของรฟท.เองเลย แล้วสายแยกย่อยก็ค่อยว่ากันต่อ และตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว จุดที่จะเป็นสถานีกลางแห่งใหม่ก็คือ บริเวณสถานีกลางบางซื่อปัจจุบันนี่เองครับ (ถ้าจำไม่ผิด ก็สมัยสฎษดิ์อีกนั่นแหละที่สร้างย่านพหลฯ และซื้อที่ดินโล่งๆโดยรอบไว้แถวบางซื่อ เพื่อจะทำสถานีกลางในอนาคต) น่าเสียดายที่ทุกอย่างก็โดนพับไปหมด และต้องใช้เวลาอีก 60 ปี สถานีกลางใหม่จึงจะเกิดได้จริงๆ และจนถึงทุกวันนี้เส้นทางรฟท.ในกรุงเทพอย่าง yamanote ก็ยังไม่มี (แต่คิดว่าคงไม่ต้องแล้วล่ะครับ เพราะสมัยใหม่เอา mrt สีน้ำเงินวางแทนไปแล้ว ส่วนตัวก็ยังมองว่า ถ้าเป็น heavy rail แบบรฟท. จะมีการกระจายสินค้าออกจากทางลูปไลน์นี้ด้วย ตอบสนองด้านการลดจำนวนรถบรรทุกเข้าเมืองได้ดีกว่า จุดขนถ่ายของ ก็จะมีแต่รอบๆเส้นลูปไลน์นั้นแทน ปัญหารถติดระยะยาวหากตามแม่บทนี้น่าจะแก้ได้ยั่งยืนกว่า)
ปล.2 ถ้าพูดถึงผังเมืองแบบ grid อย่างแบบบอกชื่อแยกนั้นตัดถนนนี้ อันนั้นเป็นสไตล์อเมริกันครับ ซึ่งก็มีความต่างจากวิธีคิดของยุโรปอีก (แม้แต่ Barcelona ที่เป็น super grid ก็ไม่ใช่คอนเซปเดียวกับของอเมริกัน) ส่วนตัวชอบแบบยุโรปมากกว่าเพราะมีความเป็นมนุษย์มากกว่าครับ ของอเมริกันมันทื่อไป (ฮา)
แผนที่สมัยร.5 แถวเจริญกรุงเป็นย่านการค้า เกาะรัตนโกสินทร์เป็นศูนย์กลางเมือง แถวดุสิตก็วางตัวให้เป็นย่านผู้อยู่อาศัย จะเห็นได้ว่าขนาดแถวจุฬาปัจจุบันยังเป็นทุ่งอยู่เลย ฝั่งธนฯไม่ต้องพูดถึงสวนทั้งนั้น
อนึ่ง ผังเมืองเราปรับปรุงอย่างมีแบบแผนมาเรื่อยจนหมดยุคสฤษดิ์ นี่ละมังครับ พอเข้าถนอมปุ๊บกว่ากฏหมายโซนนิ่งสมัยใหม่ที่อุตส่าห์ให้อเมริกันมาช่วยร่างจะใช้งานได้จริงก็ผ่านไปเป็น 10 กว่าปี เมืองมันได้โตแบบตามมีตามเกิดไปไกลแล้ว (ต้องอย่าลืมว่าสมัยนั้นเป็น Baby boom ด้วยประชากรเพิ่มมหาศาล) และหลังจากนั้นกทม.ก็ได้กลายสภาพมาสู่เมืองไร้ระเบียบอย่างที่เป็นทุกวันนี้ครับ
ปล.เสียดายผมหารูปไม่เจอ แต่เคยอ่านจากหนังสือนานแล้วว่า สมัยสฤษดิ์ ได้มีการจัดทำแผน feasibility study ที่จะทำรถไฟชานเมืองลูปไลน์รอบกรุงเทพฯ จ้างเยอรมันมาสำรวจเสร็จสรรพแล้วด้วย ซึ่งหน้าตาก็จะออกมาเป็นแบบ yamanote ของโตเกียวทำนองนั้น คือ เป็นโครงข่ายของรฟท.เองเลย แล้วสายแยกย่อยก็ค่อยว่ากันต่อ และตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว จุดที่จะเป็นสถานีกลางแห่งใหม่ก็คือ บริเวณสถานีกลางบางซื่อปัจจุบันนี่เองครับ (ถ้าจำไม่ผิด ก็สมัยสฎษดิ์อีกนั่นแหละที่สร้างย่านพหลฯ และซื้อที่ดินโล่งๆโดยรอบไว้แถวบางซื่อ เพื่อจะทำสถานีกลางในอนาคต) น่าเสียดายที่ทุกอย่างก็โดนพับไปหมด และต้องใช้เวลาอีก 60 ปี สถานีกลางใหม่จึงจะเกิดได้จริงๆ และจนถึงทุกวันนี้เส้นทางรฟท.ในกรุงเทพอย่าง yamanote ก็ยังไม่มี (แต่คิดว่าคงไม่ต้องแล้วล่ะครับ เพราะสมัยใหม่เอา mrt สีน้ำเงินวางแทนไปแล้ว ส่วนตัวก็ยังมองว่า ถ้าเป็น heavy rail แบบรฟท. จะมีการกระจายสินค้าออกจากทางลูปไลน์นี้ด้วย ตอบสนองด้านการลดจำนวนรถบรรทุกเข้าเมืองได้ดีกว่า จุดขนถ่ายของ ก็จะมีแต่รอบๆเส้นลูปไลน์นั้นแทน ปัญหารถติดระยะยาวหากตามแม่บทนี้น่าจะแก้ได้ยั่งยืนกว่า)
ปล.2 ถ้าพูดถึงผังเมืองแบบ grid อย่างแบบบอกชื่อแยกนั้นตัดถนนนี้ อันนั้นเป็นสไตล์อเมริกันครับ ซึ่งก็มีความต่างจากวิธีคิดของยุโรปอีก (แม้แต่ Barcelona ที่เป็น super grid ก็ไม่ใช่คอนเซปเดียวกับของอเมริกัน) ส่วนตัวชอบแบบยุโรปมากกว่าเพราะมีความเป็นมนุษย์มากกว่าครับ ของอเมริกันมันทื่อไป (ฮา)
แสดงความคิดเห็น
ทั้งๆที่ไทยเองก็มีต่างชาติเข้ามาหลายร้อยปีก่อน และรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามากมาย แต่ทำไมผังเมืองถึงไม่ได้รับอิทธิพลครับ
แต่ทำไมผังเมือง ถึงไม่ได้เป็นแบบบล็อกๆ ที่เดินทางสะดวก บอกที่ตั้งง่าย
เช่น เวลาจะบอกว่าบ้านฉันอยู่ตรงถนนอะไร ตัดกับถนนอะไร ง่ายแบบนี้ ทำไม่ได้เลย