09 ตุลาคม 2559 เวลา 07:57 น.
โดย...ทีมข่าวโพสต์ทูเดย์
“สําหรับกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีฝนตกหนักบางแห่งฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงเย็น”
คำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสร้างความหวาดหวาให้คนกรุงเทพฯ รวมถึงชาวปริมณฑลรอบกรุงทั้งหลายไม่ว่า นนทบุรี คนคลองย่านปทุมธานี หรือพุทธมณฑล จ.นครปฐม รวมแล้วหลายล้านคน ที่ต้องกุลีกุจอ รีบขับรถจากในเมืองกลับบ้านแต่เนิ่นๆ หากชะล่าใจคุณจะได้รับประสบการณ์ที่จำไม่รู้ลืมเมื่อต้องติดกลางบึง ทะเลสาบที่โผล่ขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากฟ้าฝนถล่มกรุงเทพฯ
ภาพรถหรูเฟอร์รารี่นิ่งสนิทกลายเป็นเรือดำน้ำกลางถนนขณะฝนกระหน่ำ ตอกย้ำความสยองขวัญกับสายน้ำในเมือง ไม่ต่างจากภาพที่จอดรถชั้นใต้ดินตามคอนโดย่านแจ้งวัฒนะ แปรสภาพเป็นก้นบึ้งมหาสมุทร รถจมมิดกันถ้วนหน้าพรากเงินจากกระเป๋าเจ้าของร่วมหลักแสนกับค่าซ่อมที่ไม่ทันตั้งตัว
จากความหวาดผวากลายเป็นชินชา กว่าน้ำจะรอระบาย ก็คงกระอักกันไปข้าง คำถามคือทำไมกรุงเทพฯ เมืองหลวงประเทศไทยถึงภูมิคุ้มกันบกพร่องต่อฟ้าฝน ตกไม่นานก็ท่วม หรือน้ำมาเยอะจนเอาไม่อยู่ หรือปัญหาการบริหารจัดการของ กทม. หรือเพราะปัญหาเชิงโครงสร้างจากระบบป้องกันน้ำท่วมล้าสมัย ไม่รองรับกับการขยายตัวของกรุงเทพฯ ที่อาคาร ตึกสูง ปักหลักเติบโตอย่างรวดเร็ว สรุปไม่มีทางแก้ปัญหาน้ำท่วมได้นอกจากย้ายเมืองหลวง?
สมฤทัย ทะสดวก อาจารย์ภาควิชาทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) มองเช่นกันว่า นอกจาก กทม.บริหารจัดการไม่ดีแล้ว ฝนที่ตกในพื้นที่ กทม.ในช่วงที่ผ่านมา ตกหนักและมีปริมาณสูงขึ้นกว่าในอดีตสาเหตุหนึ่งคือฝนที่ตกหนักกว่าปกติ ได้รับอิทธิพลจากลานินญา
นอกจากนี้ ฝนยังตกมากเพราะ กทม.เป็น “เกาะความร้อน” ซึ่งเป็นความร้อนที่มาจากอาคารทุกแห่งที่มีเครื่องปรับอากาศ ถนนหลายสายมีปัญหารถติดทั้งวัน ฯลฯ ต่างมีส่วนสร้างความร้อนให้ลอยตัวขึ้นแผ่ปกคลุมไปทั้งเมือง ความร้อนนี้ดึงดูดเมฆฝนจากทะเลมารวมกัน ทำให้ฝนตกหนักขึ้นกว่าปกติ
ขณะเดียวกัน ระบบระบายน้ำหลายพื้นที่ใน กทม.เป็นระบบเก่าที่ถูกออกแบบมานาน มีท่อระบายน้ำขนาดเล็ก ตามผังเมืองเมื่อ 30 กว่าปี ซึ่งขณะนั้นออกแบบในช่วงที่จำนวนประชากรยังไม่มากเหมือนปัจจุบัน
“ตอนนี้เขตต่างๆ ของ กทม. ทราบหรือไม่ว่า ระบบท่อในพื้นที่ที่รับผิดชอบ จุดไหนมีศักยภาพในการระบายน้ำแค่ไหน การจะรื้อระบบท่อเก่าทั้งหมดที่มีอยู่ก็คงยาก อาจต้องหาพื้นที่แก้มลิงเพิ่มเพื่อมาช่วยบริหารจัดการ”
ศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ระบุว่า
น้ำท่วมขังใน กทม.ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เป็นเพราะการบริหารจัดการเป็นหลัก เพราะจุดที่ระบายน้ำหลักอย่างแม่น้ำเจ้าพระยายังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ ที่ผ่านมาพบว่าพื้นที่ที่มีแนวโน้มว่ามีน้ำท่วมเมื่อฝนตกหนักอย่างดินแดง ห้วยขวาง ลาดพร้าว บางเขน ซึ่งพื้นที่เสี่ยงระดับต้นๆ เกิดจากน้ำจากถนนระบายลงไปที่ท่อใต้ดิน และท่อระบายที่ไปต่อยังคลองต่างๆ มีปัญหา ประกอบกับท่อระบายน้ำใต้ดินอาจทรุดตัว น้ำลงจากถนนไปเต็มท่อ ก็ล้นเอ่อกลับขึ้นมาเพราะน้ำในท่อไหลไปต่อไม่ได้
ศศิน ระบุว่า
คนกทม.จำนวนไม่น้อยฝากความหวังการระบายน้ำไปที่อุโมงค์ยักษ์ แต่อุโมงค์ที่ว่านี้ ซึ่งวางแผนว่าจะสร้างถึง 7 แห่ง ทั่ว กทม. แต่ที่สร้างเสร็จจริงมีแค่ 2 แห่ง คือ อุโมงค์ระบายน้ำพระราม 9-รามคำแหง และอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ หรืออุโมงค์บึงมักกะสันอีก 5 แห่ง อยู่ระหว่างการก่อสร้างและของบประมาณ โดยอุโมงค์ที่สร้างเสร็จแล้ว ยังไม่มีระบบเชื่อมต่อยังไม่มีน้ำส่งไปถึง ขณะที่การระบายในส่วนสำคัญของหลายพื้นที่ที่ระบายน้ำไปออกคลองบางเขนยังไม่ได้มีการก่อสร้างระบบที่มีในการบริหารจัดการน้ำใน กทม.ตอนนี้ยังมีไม่ครบวงจรมีเพียงครึ่งระบบ โดยที่มีอยู่ก็ไม่สามารถบริหารจัดการได้
“
พื้นที่ต่างๆ ใน กทม.ป้องกันน้ำท่วมขังด้วยระบบปิดล้อม ยากที่จะรู้ว่าระบบปิดล้อมที่มีเป็นอย่างไร แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแล้วคือ เมื่อฝนตกหนักอยู่ในระบบพื้นที่หนึ่งพื้นที่อื่นๆ ที่ฝนไม่ตกก็จะพอรับน้ำกลับไม่มีระบบระบายไปได้เนื่องจากพื้นที่แบ่งเป็นเขตๆ ในแต่ละเขตก็ไม่สามารถประสานงานกัน สำนักการระบายน้ำ กทม.มีเพียงอำนาจหน้าที่ไปควบคุมแค่คลองและประตูน้ำ ไม่เกี่ยวกับสำนักการระบายน้ำจากจุดต่างๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของสำนักงานเขตต่างๆแต่สองหน่วยงานประสานกันไม่ได้” ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร กล่าว
ภราเดช พยัฆวิเชียร นายกสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย (TUDA) ระบุว่า
แม้ผังเมืองของ กทม. ในอดีตจะวางไว้ดี ให้ถนนและคูคลองทำงานสอดประสานกัน แต่การเติบโตของเมืองที่เร็วมาก จนแม้จะมีการคิดเรื่องผังเมืองไว้ แต่เมืองก็เติบโตไปเร็วกว่าแผนจนในที่สุดระบบระบายน้ำที่เคยมีใช้การได้ก็เริ่มไม่สัมพันธ์กัน
ภราเดช ระบุว่า ระบบป้องกันน้ำท่วมใน กทม. มี 2 ส่วน คือ ก่อสร้างคันกั้นน้ำปิดล้อมพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำหลากและน้ำทะเลหนุนสูง และการระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ด้วยการสร้างท่อระบายน้ำออกไปทางสองฝั่งของเมืองทางคลองรอบนอก แต่ระบบดังกล่าวก็ไม่สมบูรณ์เพราะมีสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำไว้
นายกสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย กล่าวว่า ตัวอย่างตามที่กล่าวมาสามารถพบเห็นได้ทางตะวันออก ด้านบนนอกเขต กทม. ซึ่งแม้จะมีท้องไร่ท้องนาให้น้ำผ่านไปได้ แต่เมื่อไปถึง จ.สมุทรปราการ ก็ติดสนามบินสุวรรณภูมิ ขวางทางน้ำไหลออกทะเลและยังพบการกีดขวางในลักษณะนี้อีกหลายพื้นที่ จึงถึงเวลาที่จะต้องคำนึงว่า กทม.ควรมีขีดจำกัดการเจริญเติบโตหรือไม่ เพราะเมืองที่เป็นอยู่นี้จะส่งผลให้ต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่สูงมาก
“ถ้าแก้ปัญหาโดยทุบระบบระบายน้ำของเก่าที่มีแล้วสร้างใหม่จะต้องใช้งบประมาณมหาศาล หาก กทม.ยังเติบโตอย่างกระจุกตัว การจัดการปัญหาเรื่องนี้จะยิ่งยากขึ้น เพราะการเพิ่มของประชากรกับการปรับตัวของโครงสร้างพื้นฐานไม่สัมพันธ์กัน ปัญหานี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างคาดการณ์ยากขึ้นทุกที ทั้งสองสิ่งจะบั่นทอนการจัดการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบขาดประสิทธิภาพและล้มเหลวไปเรื่อยๆ” ภราเดช กล่าว
ขณะที่
สมพงษ์ เวียงแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กล่าวว่า เมืองมีการพัฒนาถมที่ดินให้สูงขึ้น เพื่อสร้างอาคารสูงแห่งใหม่ที่ดินจึงทรุดตัว ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำมากขึ้น เมื่อน้ำไหลลงที่ต่ำท่อระบายน้ำใต้ถนนที่ถูกวางไว้ขนาด1.20 เมตร ซึ่งรับภาระไม่ไหวพื้นที่จุดอ่อนจึงไม่ลดลง
“ระบบท่อระบายน้ำมีการพัฒนาเพิ่มขนาดตั้งแต่วางผังเมืองในสมัยก่อนที่ 60 ซม. ต่อมาผ่านการศึกษาจากนักวิชาการว่าต้องขยายเพิ่มขนาดท่อให้เต็มที่เป็น 1.20 เมตร แต่เมื่อท่อต้องรับภาระน้ำทิ้งจากที่พักอาศัย บวกกับน้ำไหลจากพื้นที่สูงจากบริเวณอื่นเข้ามาสมทบ เมื่อเจอฝนตกหนัก ท่อขนาด 1.20 เมตร รับไม่ไหว สะท้อนว่าเมืองเจริญเติบโตไปเร็วจนตามไม่ทัน และต้องตามแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ” สมพงษ์ กล่าว
*ทำไมเหมือนบอกปัดๆเลยแฮะ--'
สมพงษ์ ระบุว่า
การวางมาตรการป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืนไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะติดอุปสรรคหลายอย่าง เช่น ถ้าจะวางท่อระบายน้ำใหม่ ด้วยการขุดดินลงไปอาจเจอเข้ากับท่อสาธารณูปโภค สายไฟ สายโทรศัพท์ของอาคารในพื้นที่ยิ่งถ้าเป็นถนนสายเก่าของพื้นที่ กทม.ชั้นใน ไม่สามารถเพิ่มขนาดท่อระบายให้กว้างมากกว่า 1.20 เมตรได้อีก เพราะถูกจำกัดความกว้างของฟุตปาทมีขนาดเล็ก สวนหย่อม ดังนั้นเมื่อฝนตกมาอย่างหนัก น้ำจึงท่วมขังและรอระบาย ซึ่งต้องอาศัยเวลา โดยต้องยอมรับว่า ถ้าฝนตกมาหนักเหมือนน้ำในถังถูกเทคว่ำลง ไม่มีทางระบายออกทันแน่
“ทุกวันนี้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยน แปลงไปมาก ส่วนหนึ่งการใช้ประสิทธิภาพของคลองยังไม่เต็มรูปแบบ เนื่องจากมีชุมชนบ้านเรือนลุกล้ำ น้ำจึงระบายออกไม่ทัน แม้ กทม.จะใช้เครื่องสูบน้ำดึงน้ำออกจากท่อใต้ถนนไปสู่คลองให้เร็วที่สุดแล้ว แต่ว่าดึงอย่างไรก็ต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง”สมพงษ์ กล่าวปิดท้าย
Credit : วัฏจักรร้าย "กทม." ฝนตก-น้ำท่วม-รถติด
http://www.posttoday.com/local/scoop_bkk/459219
ในกทม.เองยังเละถึงจะจวนตัวแค่ไหนน้ำจากภายนอกคงยากจะให้เข้า
วัฏจักรร้าย "กทม." ฝนตก-น้ำท่วม-รถติด...ทีมข่าวโพสต์ทูเดย์
โดย...ทีมข่าวโพสต์ทูเดย์
“สําหรับกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีฝนตกหนักบางแห่งฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงเย็น”
คำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสร้างความหวาดหวาให้คนกรุงเทพฯ รวมถึงชาวปริมณฑลรอบกรุงทั้งหลายไม่ว่า นนทบุรี คนคลองย่านปทุมธานี หรือพุทธมณฑล จ.นครปฐม รวมแล้วหลายล้านคน ที่ต้องกุลีกุจอ รีบขับรถจากในเมืองกลับบ้านแต่เนิ่นๆ หากชะล่าใจคุณจะได้รับประสบการณ์ที่จำไม่รู้ลืมเมื่อต้องติดกลางบึง ทะเลสาบที่โผล่ขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากฟ้าฝนถล่มกรุงเทพฯ
ภาพรถหรูเฟอร์รารี่นิ่งสนิทกลายเป็นเรือดำน้ำกลางถนนขณะฝนกระหน่ำ ตอกย้ำความสยองขวัญกับสายน้ำในเมือง ไม่ต่างจากภาพที่จอดรถชั้นใต้ดินตามคอนโดย่านแจ้งวัฒนะ แปรสภาพเป็นก้นบึ้งมหาสมุทร รถจมมิดกันถ้วนหน้าพรากเงินจากกระเป๋าเจ้าของร่วมหลักแสนกับค่าซ่อมที่ไม่ทันตั้งตัว
จากความหวาดผวากลายเป็นชินชา กว่าน้ำจะรอระบาย ก็คงกระอักกันไปข้าง คำถามคือทำไมกรุงเทพฯ เมืองหลวงประเทศไทยถึงภูมิคุ้มกันบกพร่องต่อฟ้าฝน ตกไม่นานก็ท่วม หรือน้ำมาเยอะจนเอาไม่อยู่ หรือปัญหาการบริหารจัดการของ กทม. หรือเพราะปัญหาเชิงโครงสร้างจากระบบป้องกันน้ำท่วมล้าสมัย ไม่รองรับกับการขยายตัวของกรุงเทพฯ ที่อาคาร ตึกสูง ปักหลักเติบโตอย่างรวดเร็ว สรุปไม่มีทางแก้ปัญหาน้ำท่วมได้นอกจากย้ายเมืองหลวง?
สมฤทัย ทะสดวก อาจารย์ภาควิชาทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) มองเช่นกันว่า นอกจาก กทม.บริหารจัดการไม่ดีแล้ว ฝนที่ตกในพื้นที่ กทม.ในช่วงที่ผ่านมา ตกหนักและมีปริมาณสูงขึ้นกว่าในอดีตสาเหตุหนึ่งคือฝนที่ตกหนักกว่าปกติ ได้รับอิทธิพลจากลานินญา
นอกจากนี้ ฝนยังตกมากเพราะ กทม.เป็น “เกาะความร้อน” ซึ่งเป็นความร้อนที่มาจากอาคารทุกแห่งที่มีเครื่องปรับอากาศ ถนนหลายสายมีปัญหารถติดทั้งวัน ฯลฯ ต่างมีส่วนสร้างความร้อนให้ลอยตัวขึ้นแผ่ปกคลุมไปทั้งเมือง ความร้อนนี้ดึงดูดเมฆฝนจากทะเลมารวมกัน ทำให้ฝนตกหนักขึ้นกว่าปกติ
ขณะเดียวกัน ระบบระบายน้ำหลายพื้นที่ใน กทม.เป็นระบบเก่าที่ถูกออกแบบมานาน มีท่อระบายน้ำขนาดเล็ก ตามผังเมืองเมื่อ 30 กว่าปี ซึ่งขณะนั้นออกแบบในช่วงที่จำนวนประชากรยังไม่มากเหมือนปัจจุบัน
“ตอนนี้เขตต่างๆ ของ กทม. ทราบหรือไม่ว่า ระบบท่อในพื้นที่ที่รับผิดชอบ จุดไหนมีศักยภาพในการระบายน้ำแค่ไหน การจะรื้อระบบท่อเก่าทั้งหมดที่มีอยู่ก็คงยาก อาจต้องหาพื้นที่แก้มลิงเพิ่มเพื่อมาช่วยบริหารจัดการ”
ศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ระบุว่า น้ำท่วมขังใน กทม.ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เป็นเพราะการบริหารจัดการเป็นหลัก เพราะจุดที่ระบายน้ำหลักอย่างแม่น้ำเจ้าพระยายังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ ที่ผ่านมาพบว่าพื้นที่ที่มีแนวโน้มว่ามีน้ำท่วมเมื่อฝนตกหนักอย่างดินแดง ห้วยขวาง ลาดพร้าว บางเขน ซึ่งพื้นที่เสี่ยงระดับต้นๆ เกิดจากน้ำจากถนนระบายลงไปที่ท่อใต้ดิน และท่อระบายที่ไปต่อยังคลองต่างๆ มีปัญหา ประกอบกับท่อระบายน้ำใต้ดินอาจทรุดตัว น้ำลงจากถนนไปเต็มท่อ ก็ล้นเอ่อกลับขึ้นมาเพราะน้ำในท่อไหลไปต่อไม่ได้
ศศิน ระบุว่า คนกทม.จำนวนไม่น้อยฝากความหวังการระบายน้ำไปที่อุโมงค์ยักษ์ แต่อุโมงค์ที่ว่านี้ ซึ่งวางแผนว่าจะสร้างถึง 7 แห่ง ทั่ว กทม. แต่ที่สร้างเสร็จจริงมีแค่ 2 แห่ง คือ อุโมงค์ระบายน้ำพระราม 9-รามคำแหง และอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ หรืออุโมงค์บึงมักกะสันอีก 5 แห่ง อยู่ระหว่างการก่อสร้างและของบประมาณ โดยอุโมงค์ที่สร้างเสร็จแล้ว ยังไม่มีระบบเชื่อมต่อยังไม่มีน้ำส่งไปถึง ขณะที่การระบายในส่วนสำคัญของหลายพื้นที่ที่ระบายน้ำไปออกคลองบางเขนยังไม่ได้มีการก่อสร้างระบบที่มีในการบริหารจัดการน้ำใน กทม.ตอนนี้ยังมีไม่ครบวงจรมีเพียงครึ่งระบบ โดยที่มีอยู่ก็ไม่สามารถบริหารจัดการได้
“พื้นที่ต่างๆ ใน กทม.ป้องกันน้ำท่วมขังด้วยระบบปิดล้อม ยากที่จะรู้ว่าระบบปิดล้อมที่มีเป็นอย่างไร แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแล้วคือ เมื่อฝนตกหนักอยู่ในระบบพื้นที่หนึ่งพื้นที่อื่นๆ ที่ฝนไม่ตกก็จะพอรับน้ำกลับไม่มีระบบระบายไปได้เนื่องจากพื้นที่แบ่งเป็นเขตๆ ในแต่ละเขตก็ไม่สามารถประสานงานกัน สำนักการระบายน้ำ กทม.มีเพียงอำนาจหน้าที่ไปควบคุมแค่คลองและประตูน้ำ ไม่เกี่ยวกับสำนักการระบายน้ำจากจุดต่างๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของสำนักงานเขตต่างๆแต่สองหน่วยงานประสานกันไม่ได้” ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร กล่าว
ภราเดช พยัฆวิเชียร นายกสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย (TUDA) ระบุว่า แม้ผังเมืองของ กทม. ในอดีตจะวางไว้ดี ให้ถนนและคูคลองทำงานสอดประสานกัน แต่การเติบโตของเมืองที่เร็วมาก จนแม้จะมีการคิดเรื่องผังเมืองไว้ แต่เมืองก็เติบโตไปเร็วกว่าแผนจนในที่สุดระบบระบายน้ำที่เคยมีใช้การได้ก็เริ่มไม่สัมพันธ์กัน
ภราเดช ระบุว่า ระบบป้องกันน้ำท่วมใน กทม. มี 2 ส่วน คือ ก่อสร้างคันกั้นน้ำปิดล้อมพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำหลากและน้ำทะเลหนุนสูง และการระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ด้วยการสร้างท่อระบายน้ำออกไปทางสองฝั่งของเมืองทางคลองรอบนอก แต่ระบบดังกล่าวก็ไม่สมบูรณ์เพราะมีสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำไว้
นายกสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย กล่าวว่า ตัวอย่างตามที่กล่าวมาสามารถพบเห็นได้ทางตะวันออก ด้านบนนอกเขต กทม. ซึ่งแม้จะมีท้องไร่ท้องนาให้น้ำผ่านไปได้ แต่เมื่อไปถึง จ.สมุทรปราการ ก็ติดสนามบินสุวรรณภูมิ ขวางทางน้ำไหลออกทะเลและยังพบการกีดขวางในลักษณะนี้อีกหลายพื้นที่ จึงถึงเวลาที่จะต้องคำนึงว่า กทม.ควรมีขีดจำกัดการเจริญเติบโตหรือไม่ เพราะเมืองที่เป็นอยู่นี้จะส่งผลให้ต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่สูงมาก
“ถ้าแก้ปัญหาโดยทุบระบบระบายน้ำของเก่าที่มีแล้วสร้างใหม่จะต้องใช้งบประมาณมหาศาล หาก กทม.ยังเติบโตอย่างกระจุกตัว การจัดการปัญหาเรื่องนี้จะยิ่งยากขึ้น เพราะการเพิ่มของประชากรกับการปรับตัวของโครงสร้างพื้นฐานไม่สัมพันธ์กัน ปัญหานี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างคาดการณ์ยากขึ้นทุกที ทั้งสองสิ่งจะบั่นทอนการจัดการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบขาดประสิทธิภาพและล้มเหลวไปเรื่อยๆ” ภราเดช กล่าว
ขณะที่ สมพงษ์ เวียงแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กล่าวว่า เมืองมีการพัฒนาถมที่ดินให้สูงขึ้น เพื่อสร้างอาคารสูงแห่งใหม่ที่ดินจึงทรุดตัว ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำมากขึ้น เมื่อน้ำไหลลงที่ต่ำท่อระบายน้ำใต้ถนนที่ถูกวางไว้ขนาด1.20 เมตร ซึ่งรับภาระไม่ไหวพื้นที่จุดอ่อนจึงไม่ลดลง
“ระบบท่อระบายน้ำมีการพัฒนาเพิ่มขนาดตั้งแต่วางผังเมืองในสมัยก่อนที่ 60 ซม. ต่อมาผ่านการศึกษาจากนักวิชาการว่าต้องขยายเพิ่มขนาดท่อให้เต็มที่เป็น 1.20 เมตร แต่เมื่อท่อต้องรับภาระน้ำทิ้งจากที่พักอาศัย บวกกับน้ำไหลจากพื้นที่สูงจากบริเวณอื่นเข้ามาสมทบ เมื่อเจอฝนตกหนัก ท่อขนาด 1.20 เมตร รับไม่ไหว สะท้อนว่าเมืองเจริญเติบโตไปเร็วจนตามไม่ทัน และต้องตามแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ” สมพงษ์ กล่าว
*ทำไมเหมือนบอกปัดๆเลยแฮะ--'
สมพงษ์ ระบุว่า การวางมาตรการป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืนไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะติดอุปสรรคหลายอย่าง เช่น ถ้าจะวางท่อระบายน้ำใหม่ ด้วยการขุดดินลงไปอาจเจอเข้ากับท่อสาธารณูปโภค สายไฟ สายโทรศัพท์ของอาคารในพื้นที่ยิ่งถ้าเป็นถนนสายเก่าของพื้นที่ กทม.ชั้นใน ไม่สามารถเพิ่มขนาดท่อระบายให้กว้างมากกว่า 1.20 เมตรได้อีก เพราะถูกจำกัดความกว้างของฟุตปาทมีขนาดเล็ก สวนหย่อม ดังนั้นเมื่อฝนตกมาอย่างหนัก น้ำจึงท่วมขังและรอระบาย ซึ่งต้องอาศัยเวลา โดยต้องยอมรับว่า ถ้าฝนตกมาหนักเหมือนน้ำในถังถูกเทคว่ำลง ไม่มีทางระบายออกทันแน่
“ทุกวันนี้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยน แปลงไปมาก ส่วนหนึ่งการใช้ประสิทธิภาพของคลองยังไม่เต็มรูปแบบ เนื่องจากมีชุมชนบ้านเรือนลุกล้ำ น้ำจึงระบายออกไม่ทัน แม้ กทม.จะใช้เครื่องสูบน้ำดึงน้ำออกจากท่อใต้ถนนไปสู่คลองให้เร็วที่สุดแล้ว แต่ว่าดึงอย่างไรก็ต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง”สมพงษ์ กล่าวปิดท้าย
Credit : วัฏจักรร้าย "กทม." ฝนตก-น้ำท่วม-รถติด
http://www.posttoday.com/local/scoop_bkk/459219
ในกทม.เองยังเละถึงจะจวนตัวแค่ไหนน้ำจากภายนอกคงยากจะให้เข้า