การปล่อยวาง
คำว่า ปล่อยวาง จะตรงกันข้ามจากคำว่า ยึดมั่นถือมั่น
เวลาเราฟังนักเทศน์ เรามักจะได้ยินคำว่า ความทุกข์เกิดจากการที่เรา ไปยึดเอาขันธ์ห้าว่าเป็นเราเป็นของเรา เพราะขันธ์ห้า เป็นตัวทุกข์ เมื่อเราปล่อยวางขันธ์ห้า ความทุกข์ก็จะหายไป
แล้วจริงๆ เราปล่อยวางได้หรือเปล่า แล้ววิธีปล่อยวาง มันง่ายอย่างนั้นเลยหรือเปล่า
ในพระสูตร กล่าวถึงการปล่อยวางว่าอย่างไร
" พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูปอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป บุคคลจึงตามเห็น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อ
สังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ ... เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ บุคคลจึงตามเห็น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.
[๓๔๙] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา บุคคลพึงตามเห็นสิ่งนั้น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา บุคคลพึงตามเห็นว่า
นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี."
ถ้าคนอย่างเราอ่านแล้ว เข้าไหม เชื่อไหม เชื่อ และเข้าใจ จะบรรลุธรรมหรือไม่ ก็ไม่บรรลุ ก็เพราะเราเข้าใจในระดับจิต ไม่ใช่ระดับญาณ
การยึดมั่นถือมั่น เป็นกิเลสสังโยชน์อย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า สักกายะทิฐิ ถ้าละตัวนี้ได้ก็เป็นพระโสดาบัน
การละกิเลส ในพระสูตร กล่าวว่า เราไม่สามารถ ละกิเลสในอดีตได้เพราะมันเกิดไปแล้ว ละกิเลสที่เกิดในอนาคตไม่ได้เพราะมันยังไม่เกิด แม้แต่กิเลสในปัจจุบันก็ละไม่ได้เพราะมันกำลังเกิด
อย่างนั้น คำว่า ธรรมาภิสมัย ก็ไม่มี ลองอ่านพระสูตรครับ
“ [๗๐๐] บุคคลย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นอนาคต
หาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันหาได้ไม่ หรือ ถ้าอย่างนั้น มรรคภาวนาก็ไม่มี
การทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี ฯ
หามิได้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมีอยู่
ธรรมาภิสมัยมีอยู่ เหมือนอะไร เหมือนต้นไม้กำลังรุ่น ยังไม่เกิดผล บุรุษพึงตัด
ต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดแห่งต้นไม้นั้นก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่
บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้น แล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย
ฉันใด ความเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย
จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้ว จึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น เพราะ
ความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น กิเลสเหล่าใด
พึงบังเกิด เพราะความเกิดขึ้นเป็นปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดเลย
ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่
ปรากฏเลย ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับ ด้วยประการฉะนี้.......”
จะเห็นได้ว่า การละกิเลส ต้องมีการภาวนาให้เกิด วิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้น จิตก็จะละกิเลสได้เอง
คำสอนที่ถูกต้อง น่าจะให้พิจารณา ขันธ์ห้า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นั้นแหละเพื่อไปสู่เป้าหมาย การบรรลุธรรม การบรรลุธรรมเกิดได้อย่างไร ผมเคยเสนอกระทู้นี้นานแล้ว
สรูปวิธีปล่อยวางไม่มีจริง หรือมี คอมเม้นได้เลยครับ
วิธี การปล่อยวาง
คำว่า ปล่อยวาง จะตรงกันข้ามจากคำว่า ยึดมั่นถือมั่น
เวลาเราฟังนักเทศน์ เรามักจะได้ยินคำว่า ความทุกข์เกิดจากการที่เรา ไปยึดเอาขันธ์ห้าว่าเป็นเราเป็นของเรา เพราะขันธ์ห้า เป็นตัวทุกข์ เมื่อเราปล่อยวางขันธ์ห้า ความทุกข์ก็จะหายไป
แล้วจริงๆ เราปล่อยวางได้หรือเปล่า แล้ววิธีปล่อยวาง มันง่ายอย่างนั้นเลยหรือเปล่า
ในพระสูตร กล่าวถึงการปล่อยวางว่าอย่างไร
" พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูปอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป บุคคลจึงตามเห็น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อ
สังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ ... เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ บุคคลจึงตามเห็น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.
[๓๔๙] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา บุคคลพึงตามเห็นสิ่งนั้น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา บุคคลพึงตามเห็นว่า
นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี."
ถ้าคนอย่างเราอ่านแล้ว เข้าไหม เชื่อไหม เชื่อ และเข้าใจ จะบรรลุธรรมหรือไม่ ก็ไม่บรรลุ ก็เพราะเราเข้าใจในระดับจิต ไม่ใช่ระดับญาณ
การยึดมั่นถือมั่น เป็นกิเลสสังโยชน์อย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า สักกายะทิฐิ ถ้าละตัวนี้ได้ก็เป็นพระโสดาบัน
การละกิเลส ในพระสูตร กล่าวว่า เราไม่สามารถ ละกิเลสในอดีตได้เพราะมันเกิดไปแล้ว ละกิเลสที่เกิดในอนาคตไม่ได้เพราะมันยังไม่เกิด แม้แต่กิเลสในปัจจุบันก็ละไม่ได้เพราะมันกำลังเกิด
อย่างนั้น คำว่า ธรรมาภิสมัย ก็ไม่มี ลองอ่านพระสูตรครับ
“ [๗๐๐] บุคคลย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นอนาคต
หาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันหาได้ไม่ หรือ ถ้าอย่างนั้น มรรคภาวนาก็ไม่มี
การทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี ฯ
หามิได้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมีอยู่
ธรรมาภิสมัยมีอยู่ เหมือนอะไร เหมือนต้นไม้กำลังรุ่น ยังไม่เกิดผล บุรุษพึงตัด
ต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดแห่งต้นไม้นั้นก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่
บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้น แล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย
ฉันใด ความเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย
จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้ว จึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น เพราะ
ความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น กิเลสเหล่าใด
พึงบังเกิด เพราะความเกิดขึ้นเป็นปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดเลย
ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่
ปรากฏเลย ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับ ด้วยประการฉะนี้.......”
จะเห็นได้ว่า การละกิเลส ต้องมีการภาวนาให้เกิด วิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้น จิตก็จะละกิเลสได้เอง
คำสอนที่ถูกต้อง น่าจะให้พิจารณา ขันธ์ห้า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นั้นแหละเพื่อไปสู่เป้าหมาย การบรรลุธรรม การบรรลุธรรมเกิดได้อย่างไร ผมเคยเสนอกระทู้นี้นานแล้ว
สรูปวิธีปล่อยวางไม่มีจริง หรือมี คอมเม้นได้เลยครับ