JobThai Tips กระทู้นี้เราจะมาพูดถึงสิ่งที่คนเป็นหัวหน้าควรระวังเพราะการกระทำที่ไม่รู้ตัว อาจทำให้ลูกน้องเกิดแผลเป็นเรื่องการทำงานที่ฝังอยู่ในใจพวกเขาไปอีกนาน ซึ่งจะมีเรื่องอะไรบ้างเราไปดูกันดีกว่า
สั่งงานนอก JD โดยที่ยังไม่ได้ถามความสมัครใจ
Job Description (JD) หรือหน้าที่ที่ต้องทำในประกาศงาน เป็นส่วนที่บอกว่าเรามีหน้าที่อะไร รับผิดชอบงานส่วนไหนของบริษัท ซึ่งบางครั้งหัวหน้าก็อาจวานคนในทีมให้ทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่หลักจนมากเกินไป ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยอย่างการวานซื้อกาแฟหรือถ่ายเอกสาร จนไปถึงงานของตำแหน่งอื่น อย่างแอดมินต้องคิดคอนเทนต์ลงโซเชียลมีเดียหรือกราฟิกต้องตัดต่อวิดีโอ ซึ่งเป็นงานคนละศาสตร์ เพียงแต่หัวหน้าเห็นว่าทีมสามารถทำได้ หรือหวังว่าเขาต้องทำงานให้คุ้มกับเงินเดือนจะสั่งอะไรก็ได้เลยวานโดยไม่ได้คิดอะไร
การสั่งหรือวานให้ทำงานนอก Job Description เมื่อฉุกเฉิน อาจเป็นเรื่องที่สามารถตกลงหรือคุยกันได้กับทีม แต่ตัวหัวหน้าเองต้องหาวิธีแก้ไขในครั้งหน้าด้วย ว่าปัญหานี้เกิดขึ้นเพราะอะไรและจะมีวิธีแก้ไขยังไง อย่างการรับพนักงานเพิ่มเพื่อมาทำหน้าที่นั้นโดยตรง หรือลองคุยเรื่องหน้าที่และเสนอปรับเงินเดือนให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่เขาต้องทำ
เลือกการทำงานที่ถูกใจมากกว่าถูกต้อง
‘อะไรที่ถูกใจก็คืออะไรที่ถูกต้อง’ หัวหน้าหลายคนมี Mindset แบบนี้อยู่กับตัว แม้สิ่งนั้นจะถูกต้องหรือไม่ก็ตาม ซึ่งในกรณีนี้หัวหน้าบางท่านอาจเผลอนำ Ego ส่วนตัวมาใช้กับการตัดสินใจเรื่องสำคัญหลาย ๆ เรื่อง ทำให้ผลงานออกมาไม่ตรงกับสิ่งที่ควรจะเป็น ซึ่งความจริงแล้วการทำงาน ย่อมมีเรื่องผิดพลาดเกิดขึ้นเสมอ แต่ถ้าหัวหน้าไม่ยอมรับว่าตัวเองผิด และยังดึงดันให้ลูกน้องทำตามสิ่งที่ตัวเองคิด การที่สินค้าหรือบริการจะพัฒนาก็คงเป็นเรื่องยาก
การที่คุณมีระดับ Ego ที่เหมาะสมจะสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเสนอแนะข้อดี ข้อเสีย เพื่อให้มีจุดลงตัวร่วมกัน แต่ในขณะเดียวกันการมองว่าตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของทุกอย่าง Ego ก็จะเป็นตัวขัดขวางไม่ให้คุณทำงานได้สำเร็จ และอาจส่งผลไปถึงเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง และองค์กรในภาพรวมได้
เข้าข้างพนักงานที่สนิทกับตัวเองมากกว่า
คนทำงานมีอยู่หลายประเภท บางครั้งคนที่สร้างความประทับใจให้หัวหน้า เขาอาจสร้างความลำบากใจให้เพื่อนร่วมงานอยู่ก็ได้ ซึ่งเหตุผลก็ไม่ได้เป็นเพราะเรื่องงาน แต่อาจเป็นเรื่องทัศนคติ การใช้คำพูด หรือการกระทำ ของเขาก็ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ระหว่างสองฝ่ายขึ้นหัวหน้าบางคนมักจะเผลอเชื่อคำพูดจากลูกน้องที่ตัวเองสนิทมากกว่า ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
จริง ๆ แล้วเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างพนักงานสองฝ่าย อาจไม่มีคำตอบที่ถูกที่สุดหรือไม่มีใครผิดเลยด้วยซ้ำ เพราะปัญหาอาจเกิดขึ้นจากแนวทางการทำงานและความคิดที่ต่างกัน คุณในฐานะที่เป็นหัวหน้าจึงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนและให้ฟีดแบ็กที่เหมาะสมกับทั้งสองฝ่าย หลังจากปัญหาถูกแก้ไขแล้ว คุณก็ควรที่จะตั้งกฎระเบียบหรือข้อตกลงขึ้นมา เพื่อสร้างระบบในการทำงานว่างานแบบนี้ควรทำอย่างไรให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นอีก
ละเลยความรู้สึกของลูกน้อง
ข้อผิดพลาดที่หัวหน้ามักทำคือการรับรู้ทุกปัญหาแต่กลับมองข้าม และคิดว่าไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับตัวเนื้องาน ปล่อยให้แต่ละคนในทีมไปจัดการกับปัญหาเอาเองก็ได้ ทำให้ไม่แปลกเลยที่ทีมอาจมองว่าคุณไม่ยุติธรรม หรือทำงานกับหัวหน้าแบบนี้ต่อไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากคนทำงานด้วยกัน พนักงานทะเลาะกัน หรือการเมืองภายในองค์กร
สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องรีบแก้ไข เพื่อให้พนักงานทุกคนยังคงอยากทำงานร่วมกับคุณ ซึ่งขึ้นชื่อว่าทรัพยากรมนุษย์อาจมีส่วนที่ลำบากหรือยากที่จะเข้าใจบ้าง ถึงบางครั้งคนในทีมอาจไม่ได้แสดงออกมา แต่ในฐานะที่เป็นหัวหน้า การถามไถ่เรื่องในชีวิตประจำวันก็เป็นเรื่องที่ควรทำ อาจเริ่มจากเรื่องที่ทุกคนต้องเจออย่างการเดินทางมาทำงาน ก็ถือเป็นการเริ่มบทสนทนาที่ดีแล้ว
เกรงใจลูกน้องมากเกินไป
การให้เกียรติกันเป็นเรื่องที่ดีและเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่การเกรงใจลูกน้องมากเกินไป นอกจากไม่สร้างประโยชน์ต่อภาพรวมของการทำงานแล้ว ยังอาจส่งผลเสียอีกด้วย เพราะเมื่อหัวหน้าไม่กล้าสั่งงาน ไม่กล้ามอบหมายงาน และเมื่อทีมทำงานผิดพลาดก็ไม่กล้าเรียกมาพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาหรือตักเตือน การวางตัวแบบนี้อาจทำให้หัวหน้าต้องทำงานหนักอยู่คนเดียว หรือเกิดปัญหาที่ใหญ่มากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ความเกรงใจลูกน้องที่มีมากเกินไป อาจเป็นการทำร้ายพวกเขาโดยที่คุณไม่รู้ตัว เพราะพวกเขาอาจนำวิธีหรือแนวคิดในการทำงานแบบนี้ติดตัวไปใช้ที่อื่น และไม่ได้มีโอกาสพัฒนาตัวเองมากเท่าที่ควร
การคอมเมนต์งานหรือให้ฟีดแบ็กลูกน้องตัวเอง ไม่ได้แปลว่านั่นคือความไม่เกรงใจหรือหักหน้ากัน เพียงแต่คุณต้องเลือกใช้คำพูดและเลือกสถานที่ที่เหมาะสม ตรงไปตรงมา ที่สำคัญคุณไม่ควรให้ความเกรงใจมาทำให้ศักยภาพการทำงานของทีมตัวเองไม่พัฒนา
หัวหน้าแบบนี้ลูกน้องไม่ปลื้ม
สั่งงานนอก JD โดยที่ยังไม่ได้ถามความสมัครใจ
Job Description (JD) หรือหน้าที่ที่ต้องทำในประกาศงาน เป็นส่วนที่บอกว่าเรามีหน้าที่อะไร รับผิดชอบงานส่วนไหนของบริษัท ซึ่งบางครั้งหัวหน้าก็อาจวานคนในทีมให้ทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่หลักจนมากเกินไป ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยอย่างการวานซื้อกาแฟหรือถ่ายเอกสาร จนไปถึงงานของตำแหน่งอื่น อย่างแอดมินต้องคิดคอนเทนต์ลงโซเชียลมีเดียหรือกราฟิกต้องตัดต่อวิดีโอ ซึ่งเป็นงานคนละศาสตร์ เพียงแต่หัวหน้าเห็นว่าทีมสามารถทำได้ หรือหวังว่าเขาต้องทำงานให้คุ้มกับเงินเดือนจะสั่งอะไรก็ได้เลยวานโดยไม่ได้คิดอะไร
การสั่งหรือวานให้ทำงานนอก Job Description เมื่อฉุกเฉิน อาจเป็นเรื่องที่สามารถตกลงหรือคุยกันได้กับทีม แต่ตัวหัวหน้าเองต้องหาวิธีแก้ไขในครั้งหน้าด้วย ว่าปัญหานี้เกิดขึ้นเพราะอะไรและจะมีวิธีแก้ไขยังไง อย่างการรับพนักงานเพิ่มเพื่อมาทำหน้าที่นั้นโดยตรง หรือลองคุยเรื่องหน้าที่และเสนอปรับเงินเดือนให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่เขาต้องทำ
เลือกการทำงานที่ถูกใจมากกว่าถูกต้อง
‘อะไรที่ถูกใจก็คืออะไรที่ถูกต้อง’ หัวหน้าหลายคนมี Mindset แบบนี้อยู่กับตัว แม้สิ่งนั้นจะถูกต้องหรือไม่ก็ตาม ซึ่งในกรณีนี้หัวหน้าบางท่านอาจเผลอนำ Ego ส่วนตัวมาใช้กับการตัดสินใจเรื่องสำคัญหลาย ๆ เรื่อง ทำให้ผลงานออกมาไม่ตรงกับสิ่งที่ควรจะเป็น ซึ่งความจริงแล้วการทำงาน ย่อมมีเรื่องผิดพลาดเกิดขึ้นเสมอ แต่ถ้าหัวหน้าไม่ยอมรับว่าตัวเองผิด และยังดึงดันให้ลูกน้องทำตามสิ่งที่ตัวเองคิด การที่สินค้าหรือบริการจะพัฒนาก็คงเป็นเรื่องยาก
การที่คุณมีระดับ Ego ที่เหมาะสมจะสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเสนอแนะข้อดี ข้อเสีย เพื่อให้มีจุดลงตัวร่วมกัน แต่ในขณะเดียวกันการมองว่าตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของทุกอย่าง Ego ก็จะเป็นตัวขัดขวางไม่ให้คุณทำงานได้สำเร็จ และอาจส่งผลไปถึงเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง และองค์กรในภาพรวมได้
เข้าข้างพนักงานที่สนิทกับตัวเองมากกว่า
คนทำงานมีอยู่หลายประเภท บางครั้งคนที่สร้างความประทับใจให้หัวหน้า เขาอาจสร้างความลำบากใจให้เพื่อนร่วมงานอยู่ก็ได้ ซึ่งเหตุผลก็ไม่ได้เป็นเพราะเรื่องงาน แต่อาจเป็นเรื่องทัศนคติ การใช้คำพูด หรือการกระทำ ของเขาก็ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ระหว่างสองฝ่ายขึ้นหัวหน้าบางคนมักจะเผลอเชื่อคำพูดจากลูกน้องที่ตัวเองสนิทมากกว่า ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
จริง ๆ แล้วเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างพนักงานสองฝ่าย อาจไม่มีคำตอบที่ถูกที่สุดหรือไม่มีใครผิดเลยด้วยซ้ำ เพราะปัญหาอาจเกิดขึ้นจากแนวทางการทำงานและความคิดที่ต่างกัน คุณในฐานะที่เป็นหัวหน้าจึงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนและให้ฟีดแบ็กที่เหมาะสมกับทั้งสองฝ่าย หลังจากปัญหาถูกแก้ไขแล้ว คุณก็ควรที่จะตั้งกฎระเบียบหรือข้อตกลงขึ้นมา เพื่อสร้างระบบในการทำงานว่างานแบบนี้ควรทำอย่างไรให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นอีก
ละเลยความรู้สึกของลูกน้อง
ข้อผิดพลาดที่หัวหน้ามักทำคือการรับรู้ทุกปัญหาแต่กลับมองข้าม และคิดว่าไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับตัวเนื้องาน ปล่อยให้แต่ละคนในทีมไปจัดการกับปัญหาเอาเองก็ได้ ทำให้ไม่แปลกเลยที่ทีมอาจมองว่าคุณไม่ยุติธรรม หรือทำงานกับหัวหน้าแบบนี้ต่อไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากคนทำงานด้วยกัน พนักงานทะเลาะกัน หรือการเมืองภายในองค์กร
สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องรีบแก้ไข เพื่อให้พนักงานทุกคนยังคงอยากทำงานร่วมกับคุณ ซึ่งขึ้นชื่อว่าทรัพยากรมนุษย์อาจมีส่วนที่ลำบากหรือยากที่จะเข้าใจบ้าง ถึงบางครั้งคนในทีมอาจไม่ได้แสดงออกมา แต่ในฐานะที่เป็นหัวหน้า การถามไถ่เรื่องในชีวิตประจำวันก็เป็นเรื่องที่ควรทำ อาจเริ่มจากเรื่องที่ทุกคนต้องเจออย่างการเดินทางมาทำงาน ก็ถือเป็นการเริ่มบทสนทนาที่ดีแล้ว
เกรงใจลูกน้องมากเกินไป
การให้เกียรติกันเป็นเรื่องที่ดีและเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่การเกรงใจลูกน้องมากเกินไป นอกจากไม่สร้างประโยชน์ต่อภาพรวมของการทำงานแล้ว ยังอาจส่งผลเสียอีกด้วย เพราะเมื่อหัวหน้าไม่กล้าสั่งงาน ไม่กล้ามอบหมายงาน และเมื่อทีมทำงานผิดพลาดก็ไม่กล้าเรียกมาพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาหรือตักเตือน การวางตัวแบบนี้อาจทำให้หัวหน้าต้องทำงานหนักอยู่คนเดียว หรือเกิดปัญหาที่ใหญ่มากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ความเกรงใจลูกน้องที่มีมากเกินไป อาจเป็นการทำร้ายพวกเขาโดยที่คุณไม่รู้ตัว เพราะพวกเขาอาจนำวิธีหรือแนวคิดในการทำงานแบบนี้ติดตัวไปใช้ที่อื่น และไม่ได้มีโอกาสพัฒนาตัวเองมากเท่าที่ควร
การคอมเมนต์งานหรือให้ฟีดแบ็กลูกน้องตัวเอง ไม่ได้แปลว่านั่นคือความไม่เกรงใจหรือหักหน้ากัน เพียงแต่คุณต้องเลือกใช้คำพูดและเลือกสถานที่ที่เหมาะสม ตรงไปตรงมา ที่สำคัญคุณไม่ควรให้ความเกรงใจมาทำให้ศักยภาพการทำงานของทีมตัวเองไม่พัฒนา