คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำวันที่ 5 ตุลาคม 2565 เวลา 11.30 น.
https://web.facebook.com/100068069971811/videos/795569248418872/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคโควิด 19
ณ ศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค
5 ตุลาคม 2565
วัคซีนโมเดอร์นาใกล้จะหมดแล้ว
เชิญฉีดวัคซีนโมเดอร์นา เข็มที่ 3 และ 4 ฟรี
ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนฯ อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง
• สำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ทุกสัญชาติ
เปิดจองผ่านแอปฯ QueQ และรับ Walk in
วันที่ 20 ก.ย. – 8 ต.ค. 65 เวลา 08.00 - 16.00 น.
• สำหรับอายุ 5 ปีขึ้นไป ผู้ประสงค์รับวัคซีนสามารถเข้ารับบริการได้
โดยจะจองผ่านแอปฯ QueQ และรับ Walk in
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 - 16.00 น. ถึงวันที่ 31 ต.ค. 65
ที่มา : สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02qxVJYgF2Q3RQzzmt6Zre2wJanVzqBVzDENpnw5TmRWrT2L3cn1hRDMoGptSKzadCl
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีจุดยืน ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาสำหรับประเทศไทย เนื่องด้วยประเทศไทยดำเนินนโยบายเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดตลอดมา ด้วยความที่ประเทศไทย มีความเป็นมิตรประเทศกับทุกฝ่าย โดยไม่เลือกข้างเข้ากับฝ่ายใด ทำให้ประเทศไทยได้รับน้ำใจจากมิตรประเทศตลอดมา
ในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดจากโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ก็เช่นกัน ที่ประเทศไทย ได้รับความช่วยเหลือด้านวัคซีนจากมิตรประเทศต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
---
จีน
---
จีนมอบวัคซีน 50.85 ล้านโดส และเวชภัณฑ์เพื่อสนับสนุนมาตรการการป้องกันและรับมือกับโควิด-19 แก่ประเทศไทย มูลค่ากว่า 10 ล้านหยวน
ล่าสุด วันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา จีนยังบริจาค “ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่หัว-เหยี่ยน” ให้กับทางรัฐบาลไทย โดยห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ดังกล่าวเป็นห้องปฏิบัติการที่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อใช้ในการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อโรค และเพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ทั้งด้านเทคนิค และการบริการภายในอย่างครบครัน
---
ญี่ปุ่น
---
ญี่ปุ่นส่งมอบวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2,043,100 โดส อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือไทยในการจัดเตรียมอุปกรณ์ในระบบลูกโซ่ความเย็น (Cold Chain System) ซึ่งจำเป็นต่อการขนส่งและเก็บรักษาวัคซีน รวมถึงให้ความร่วมมือในการยกระดับความสามารถการตรวจหา และเฝ้าระวังเชื้อไวรัส การจัดหาอุปกรณ์และอาคารสถานที่ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนายารักษาโรค
---
อังกฤษ
---
อังกฤษมอบแอสตร้าเซเนก้า 415,000 โดส อีกทั้งบริษัทแอสตร้าเซเนก้าของอังกฤษ ยังไว้วางใจให้บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ของประเทศไทย เป็นฐานการผลิตวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
---
สวิตเซอร์แลนด์
---
สวิตเซอร์แลนด์มอบชุดอุปกรณ์ตรวจ Rapid Antigent จำนวน 1,100,000 ล้านชุด และเครื่องช่วยหายใจ 102 เครื่อง
---
สหรัฐอเมริกา
---
สหรัฐอเมริกามอบวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส , วัคซีนโมเดอร์นา 1 ล้านโดส และตู้เย็นเก็บวัคซีนจำนวน 200 เครื่อง
---
เยอรมนี
---
เยอรมนีมอบวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 347,000 โดส, ยารักษาโควิด-19 2,000 ชุด, ตู้แช่เเข็ง 4 ตู้ และเข็มฉีดยาเเละกระบอกฉีดยา 51,000 ชุด
---
เกาหลีใต้
---
เกาหลีใต้มอบวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 470,000 โดส
---
อินเดีย
---
อินเดียมอบวัคซีน Covovax 2 แสนโดส
---
สิงคโปร์
---
สิงคโปร์มอบชุดตรวจ Antigen Rapid Test 200,000 ชุด และชุดตรวจแบบ Nasopharyngeal Swab 500,000 ชุด อีกทั้งยังมีโครงการแลกเปลี่ยนวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า จำนวน 122,400 โดส ซึ่งไทยส่งมอบคือให้แล้วในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
---
ภูฏาน
---
ภูฏานมีโครงการแลกเปลี่ยนวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า จำนวน 1.5 แสนโดส ซึ่งไทยสัญญาว่าจะส่งมอบวัคซีนคืนให้ในภายหลัง
https://web.facebook.com/PMOCNEWS/posts/pfbid0bPkS2GGStdXwzCad1FjV8RzAGhhKQZD1LUMkAP1CTGaaDqaB96wZMiWH4yo7rYfil
การให้บริการฉีดวัคซีนป้องการโรคโควิด-19 เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาให้ความสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้าง “ภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity)” ให้แก่สังคมไทย
ภูมิคุ้มกันหมู่ เป็นนิยามที่เกิดขึ้นโดย สพ. แดเนียล เอลเมอร์ แซลมอน สัตวแพทย์ชาวอเมริกันใน ค.ศ. 1894 และได้รับการศึกษาวิจัยต่อมาจนเป็นที่ยอมรับในช่วง ค.ศ. 1930 จากงานวิจัยด้านระบาดวิทยาของโรคหัดในบัลติมอร์ โดยเอ ดับบลิว เฮดริช และมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาตลอดทั้งในแง่ของการคำนวนหาจำนวนที่เหมาะสม และรูปแบบการกระจายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
นอกจากนี้ เทคโนโลยีในการสร้างวัคซีนป้องกันโรคโควิด ปัจจุบันมี 3 เทคโนโลยี ได้แก่วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated Vaccine),ไวรัล เว็กเตอร์ (Viral Vector Vaccine) และ เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA Vaccine) ซึ่งรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาสามารถจัดหามาให้บริการแก่พี่น้องประชาชนได้ทั้ง 3 ชนิด มีจำนวนดังต่อไปนี้
- Sinovac จำนวน 26,530,000 โดส
- Sinopharm จำนวน 14,860,000 โดส
- AstraZeneca จำนวน 48,620,000 โดส
- Pfizer จำนวน 43,490,000 โดส
- Moderna จำนวน 6,590,000 โดส
หากนับจำนวนโดสตามชนิดของวัคซีน สามารถแบ่งได้ดังนี้
- ชนิดเชื้อตาย 41,390,000 โดส
- Viral Vector 48,620,000 โดส
- mRNA 50,080,000 โดส
สำหรับจำนวนประชาชนผู้ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 มีดังนี้
- ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 57,000,000 ราย
- ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม จำนวน 53,200,000 ราย
- ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น จำนวน 29,900,000 ราย
ถึงแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลายลงไปมากแล้ว จนพี่น้องประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชายังมิได้นิ่งนอนใจ แต่ยังคงติดตามเฝ้าระวังป้องกันต่อไป เพื่อความมั่นคงทางสาธารณสุขของพี่น้องประชาชนต่อไป
https://web.facebook.com/PMOCNEWS/posts/pfbid02dTSe7AZGxF1mPhSRqWYwNbnqYhuRLmRcbTdmkSFde3t7gPwABrYxkS1zwEPjSnbul
https://web.facebook.com/100068069971811/videos/795569248418872/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคโควิด 19
ณ ศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค
5 ตุลาคม 2565
วัคซีนโมเดอร์นาใกล้จะหมดแล้ว
เชิญฉีดวัคซีนโมเดอร์นา เข็มที่ 3 และ 4 ฟรี
ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนฯ อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง
• สำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ทุกสัญชาติ
เปิดจองผ่านแอปฯ QueQ และรับ Walk in
วันที่ 20 ก.ย. – 8 ต.ค. 65 เวลา 08.00 - 16.00 น.
• สำหรับอายุ 5 ปีขึ้นไป ผู้ประสงค์รับวัคซีนสามารถเข้ารับบริการได้
โดยจะจองผ่านแอปฯ QueQ และรับ Walk in
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 - 16.00 น. ถึงวันที่ 31 ต.ค. 65
ที่มา : สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02qxVJYgF2Q3RQzzmt6Zre2wJanVzqBVzDENpnw5TmRWrT2L3cn1hRDMoGptSKzadCl
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีจุดยืน ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาสำหรับประเทศไทย เนื่องด้วยประเทศไทยดำเนินนโยบายเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดตลอดมา ด้วยความที่ประเทศไทย มีความเป็นมิตรประเทศกับทุกฝ่าย โดยไม่เลือกข้างเข้ากับฝ่ายใด ทำให้ประเทศไทยได้รับน้ำใจจากมิตรประเทศตลอดมา
ในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดจากโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ก็เช่นกัน ที่ประเทศไทย ได้รับความช่วยเหลือด้านวัคซีนจากมิตรประเทศต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
---
จีน
---
จีนมอบวัคซีน 50.85 ล้านโดส และเวชภัณฑ์เพื่อสนับสนุนมาตรการการป้องกันและรับมือกับโควิด-19 แก่ประเทศไทย มูลค่ากว่า 10 ล้านหยวน
ล่าสุด วันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา จีนยังบริจาค “ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่หัว-เหยี่ยน” ให้กับทางรัฐบาลไทย โดยห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ดังกล่าวเป็นห้องปฏิบัติการที่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อใช้ในการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อโรค และเพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ทั้งด้านเทคนิค และการบริการภายในอย่างครบครัน
---
ญี่ปุ่น
---
ญี่ปุ่นส่งมอบวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2,043,100 โดส อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือไทยในการจัดเตรียมอุปกรณ์ในระบบลูกโซ่ความเย็น (Cold Chain System) ซึ่งจำเป็นต่อการขนส่งและเก็บรักษาวัคซีน รวมถึงให้ความร่วมมือในการยกระดับความสามารถการตรวจหา และเฝ้าระวังเชื้อไวรัส การจัดหาอุปกรณ์และอาคารสถานที่ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนายารักษาโรค
---
อังกฤษ
---
อังกฤษมอบแอสตร้าเซเนก้า 415,000 โดส อีกทั้งบริษัทแอสตร้าเซเนก้าของอังกฤษ ยังไว้วางใจให้บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ของประเทศไทย เป็นฐานการผลิตวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
---
สวิตเซอร์แลนด์
---
สวิตเซอร์แลนด์มอบชุดอุปกรณ์ตรวจ Rapid Antigent จำนวน 1,100,000 ล้านชุด และเครื่องช่วยหายใจ 102 เครื่อง
---
สหรัฐอเมริกา
---
สหรัฐอเมริกามอบวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส , วัคซีนโมเดอร์นา 1 ล้านโดส และตู้เย็นเก็บวัคซีนจำนวน 200 เครื่อง
---
เยอรมนี
---
เยอรมนีมอบวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 347,000 โดส, ยารักษาโควิด-19 2,000 ชุด, ตู้แช่เเข็ง 4 ตู้ และเข็มฉีดยาเเละกระบอกฉีดยา 51,000 ชุด
---
เกาหลีใต้
---
เกาหลีใต้มอบวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 470,000 โดส
---
อินเดีย
---
อินเดียมอบวัคซีน Covovax 2 แสนโดส
---
สิงคโปร์
---
สิงคโปร์มอบชุดตรวจ Antigen Rapid Test 200,000 ชุด และชุดตรวจแบบ Nasopharyngeal Swab 500,000 ชุด อีกทั้งยังมีโครงการแลกเปลี่ยนวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า จำนวน 122,400 โดส ซึ่งไทยส่งมอบคือให้แล้วในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
---
ภูฏาน
---
ภูฏานมีโครงการแลกเปลี่ยนวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า จำนวน 1.5 แสนโดส ซึ่งไทยสัญญาว่าจะส่งมอบวัคซีนคืนให้ในภายหลัง
https://web.facebook.com/PMOCNEWS/posts/pfbid0bPkS2GGStdXwzCad1FjV8RzAGhhKQZD1LUMkAP1CTGaaDqaB96wZMiWH4yo7rYfil
การให้บริการฉีดวัคซีนป้องการโรคโควิด-19 เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาให้ความสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้าง “ภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity)” ให้แก่สังคมไทย
ภูมิคุ้มกันหมู่ เป็นนิยามที่เกิดขึ้นโดย สพ. แดเนียล เอลเมอร์ แซลมอน สัตวแพทย์ชาวอเมริกันใน ค.ศ. 1894 และได้รับการศึกษาวิจัยต่อมาจนเป็นที่ยอมรับในช่วง ค.ศ. 1930 จากงานวิจัยด้านระบาดวิทยาของโรคหัดในบัลติมอร์ โดยเอ ดับบลิว เฮดริช และมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาตลอดทั้งในแง่ของการคำนวนหาจำนวนที่เหมาะสม และรูปแบบการกระจายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
นอกจากนี้ เทคโนโลยีในการสร้างวัคซีนป้องกันโรคโควิด ปัจจุบันมี 3 เทคโนโลยี ได้แก่วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated Vaccine),ไวรัล เว็กเตอร์ (Viral Vector Vaccine) และ เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA Vaccine) ซึ่งรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาสามารถจัดหามาให้บริการแก่พี่น้องประชาชนได้ทั้ง 3 ชนิด มีจำนวนดังต่อไปนี้
- Sinovac จำนวน 26,530,000 โดส
- Sinopharm จำนวน 14,860,000 โดส
- AstraZeneca จำนวน 48,620,000 โดส
- Pfizer จำนวน 43,490,000 โดส
- Moderna จำนวน 6,590,000 โดส
หากนับจำนวนโดสตามชนิดของวัคซีน สามารถแบ่งได้ดังนี้
- ชนิดเชื้อตาย 41,390,000 โดส
- Viral Vector 48,620,000 โดส
- mRNA 50,080,000 โดส
สำหรับจำนวนประชาชนผู้ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 มีดังนี้
- ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 57,000,000 ราย
- ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม จำนวน 53,200,000 ราย
- ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น จำนวน 29,900,000 ราย
ถึงแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลายลงไปมากแล้ว จนพี่น้องประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชายังมิได้นิ่งนอนใจ แต่ยังคงติดตามเฝ้าระวังป้องกันต่อไป เพื่อความมั่นคงทางสาธารณสุขของพี่น้องประชาชนต่อไป
https://web.facebook.com/PMOCNEWS/posts/pfbid02dTSe7AZGxF1mPhSRqWYwNbnqYhuRLmRcbTdmkSFde3t7gPwABrYxkS1zwEPjSnbul
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭💚มาลาริน💚🇹🇭แนะติด "โควิด" กักตัว5วัน หากไปทำงานสวมหน้ากาก2ชั้น/แจ้ง ครม. ทูตหลายประเทศชื่นชมไทยควบคุมโควิดสำเร็จ
กรมการแพทย์ย้ำไม่ต้องตรวจ ATK ทุกวัน หากผลบวกรักษาตามอาการ ไม่มีอาการหรืออาการน้อย อาจกินยาตามอาการ แนะแยกตัวเอง 5 วัน หากจำเป็นต้องไปทำงานให้สวมหน้ากาก 2 ชั้น ยึด DMH 100% แต่หากมีอาการไอมาก ไอถี่ หรือน้ำมูกเยอะให้หยุดงานทันที พร้อมเผย 5 อาการรุนแรงที่ต้องไปพบแพทย์ ย้ำฉีดวัคซีน 4 เข็มช่วยลดรุนแรง แทบไม่ต้องกินยา
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์ แถลงข่าวติดโควิด 19 แนวทางการรักษาทุกกลุ่มวัย ว่า ขณะนี้โรคโควิด 19 มีความรุนแรงลดลง จำนวนผู้ป่วยอาการหนักและเสียชีวิตก็ลดลง โดยวันนี้ผู้เสียชีวิตไม่ถึงสิบราย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ยังเป็นสูงอายุ มีโรคประจำตัว มากกว่าครึ่งไม่ได้รับวัคซีนหรือรับวัคซีนไม่ครบตามกำหนด ซึ่งขณะนี้ต้องรับวัคซีนอย่างน้อย 4 เข็ม ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงจากการติดเชื้อลง แทบไม่ต้องรับประทานยา ดังนั้น ผู้ที่ยังรับวัคซีนไม่ครบขอให้ไปรับวัคซีนให้ครบตามกำหนด สำหรับการตรวจ ATK ยืนยันว่า ไม่ต้องตรวจทุกวัน แม้จะเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ก็ให้ตรวจเมื่อมีอาการ เช่น ครั่นเนื้อครั่นตัว ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก ให้พิจารณาอาการของตัวเอง ดังนี้ หากไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย เช่น เจ็บคอเล็กน้อย ไม่มีไอ มีน้ำมูก หรือไข้ต่ำๆ อาจไม่ต้องรับประทานยาอะไรเลยคล้ายไข้หวัด หรืออาจรับประทานยารักษาตามอาการ เช่น มีไข้รับประทานยาพาราเซตามอล หรือยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอลดเสมหะ ดื่มน้ำอุ่น พักผ่อนเยอะๆ แล้วสังเกตอาการตนเอง ส่วนคำถามว่าจะต้องอยู่บ้านตลอดเวลาหรือไม่ แม้จะไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ก็แนะนำควรกักตัวเองหรือแยกตัวเองออก หากมีความจำเป็นต้องออกไปสู่สังคม หรือไปทำงาน ขอให้ยึด DMH 100% คือ ใส่หน้ากากอนามัย 100% ใส่สองชั้น ล้างมือบ่อยๆ ไม่ควรใกล้ชิดผู้อื่น
"หากมีอาการไอมาก ไอบ่อย ไอถี่ หรือมีน้ำมูกเยอะๆ ต้องสั่งน้ำมูกออกบ่อยๆ อย่าออกไปทำงาน อย่าเพิ่งเดินทาง เพราะการไอมีโอกาสกระจายเชื้อออกไปได้มาก คนอื่นไปแตะจับก็อาจติดเชื้อได้ ขอให้หยุดงานอย่าเดินทาง 5 วัน" นพ.ธงชัยกล่าว
นพ.ธงชัยกล่าวว่า กรณีติดเชื้อแล้วเริ่มมีอาการรุนแรงมากขึ้นให้ไปพบแพทย์ โดยอาการรุนแรงที่ควรพบแพทย์ คือ 1.มีไข้สูงลอยตั้งแต่ 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป อย่างน้อย 2 คัร้ง ห่างกัน 4 ชั่วโมงใน 1 วัน 2.วัดความอิ่มตัวออกซิเจนพบว่าต่ำกว่า 94% 3.มีภาวะแทรกซ้อนหรือการกำเริบของโรคประจำตัวเดิมที่ยังควบคุมไม่ได้ 4.เป็นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง 5.มีภาวะอื่นๆ ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาใน รพ. และ 6.ผู้ป่วยเด็กให้รักษาใน รพ.เมื่อมีข้อบ่งชี้ เช่น ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หรือให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือต้องการออกซิเจน เช่น เด็กที่มีอาการซึม กินได้น้อย มีภาวะขาดน้ำจากอุจจาระร่วงหรือชักจากไข้สูง ฯลฯ โดย ไอมากขึ้น เจ็บหน่าอก ไข้สูงลอยเกิน 39 รุนแรงมากขึ้นอาจต้องไปพบแพทย์ให้แพทย์ประเมินว่าให้ยาหรือไม่ หรือต้องนอน รพ. ส่วนกรณีตรวจเป็นลบ ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ อาจจะสวมหน้ากากอนามัยป้องกันตนเอง 2-3 วัน ถ้าไม่มีอาการก็ไม่ต้องตรวจ ATK เพิ่ม โดยให้ตรวจเมื่อมีอาการ
นพ.ธงชัยกล่าวว่า แนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 หากไม่มีอาการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ไม่ให้ยาต้านไวรัส ปฏิบัติตาม DMH อย่างเคร่งครัด 5 วัน , กรณีมีอาการเล็กน้อย หรือเอกซเรย์ปอดปกติ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงหรือโรคร่วมที่สำคัญ รักษาแบบผู้ป่วยนอก อาจพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรหรือฟาวิพิราเวียร์ ตามดุลยพินิจของแพทย์ ปฏิบัติตาม DMH เคร่งครัด 5 วัน , หากมีปัจจัยเสี่ยงหรือโรคร่วมสำคัญ อาจมีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย หรือไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลาง พิจารณาตามดุลยพินิจแพทย์ในการให้ยาตัวใดตัวหนึ่ง คือ แพกซ์โลวิด/เรมดิซิเวียร์/โมลนูพิราเวียร์ และหากมีปอดอักเสบต้องให้ออกซิเจนหรือออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94% ให้รักษาแบบผู้ป่วยในให้ยาเรมดิซิเวียร์ ส่วนกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีและหญิงตั้งครรภ์ หากไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส หากมีปัจจัยเสี่ยงพิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์หรือเรมดิซิเวียร์ แต่หากมีปอดอักเสบให้ใช้ยาเรมดิซิเวียร์
"สำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดเชื้อ แนะนำว่ายังจำเป็นต้องพกหน้ากาก เจลล้างมือ ส่วนการใส่หน้ากากให้ประเมินพิจารณาความเสี่ยงตามความเหมาะสม" นพ.ธงชัยกล่าวและว่า สำหรับใบรับรองแพทย์เพื่อหยุดงานหรือเคลมประกัน แพทย์จะออกใบรับรองแพทย์สำหรับ 5 วัน ส่วนกรณีเป็นผู้ป่วยในขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งอาจจะรักษานานกว่า 5 วัน แพทย์ก็จะออกใบรับรองแพทย์ตามระยะเวลาที่รักษา
https://mgronline.com/qol/detail/9650000095524
'อนุทิน' แจ้ง ครม. ทูตหลายประเทศชื่นชมไทยควบคุมโควิดสำเร็จ เปิดประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจ
5 ต.ค.2565 - นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ในที่ประชุม ครม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ขอบคุณทุกหน่วยงานที่ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลังจากไทยมีการปรับให้เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65
ขณะที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ได้แจ้งในที่ประชุมว่า ปัจจุบันสถานการณ์สามารถที่จะควบคุมได้ สถานพยาบาลสามารถดูแลประชาชนได้อย่างดี เอกอัครราชทูตในหลายประเทศมีการชื่นชมความสำเร็จในเรื่องของการควบคุมและการป้องกันโควิด-19 ของไทย นำไปสู่การเปิดเที่ยวบินระหว่างกันมากขึ้น ฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องเน้นในเรื่องการป้องกัน การเฝ้าระวัง และการให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการ DMHTT ต่อเนื่อง
https://www.thaipost.net/covid-19-news/236248/
ติดตามข่าวโควิดกันต่อไปค่ะ....