🤔 ท่ามกลางกระแสในบ้านเรา ว่าคนเป็นเบาหวานต้องทำ IF (จริงๆน่ากังวลเรื่อง hypoglycemia อยู่เด้อสู) ผมเห็นหัวข้องานนี้แล้วเหมือนกบที่โผล่ออกจากกะลาไปเห็นแสง อะไรวะเนี่ย กินสองมื้อมันไม่ดีกว่าตรงไหน
📣 แล้วไหนจะที่ศาสดาเขาก็กรอกหูอยู่ตลอด บอกว่าให้อดเสียบ้างเพื่อสุขภาพที่ดี ไหนจะลูกศิษย์ลูกหาท่องที่ตามตำราเดียวกันหน้าใหม่ๆ โผล่มาแต่ละคนก็พูดซ้ำๆเรื่องเดียวกันอีก ยังไงซิยังไง
📚 ในงานนี้เนี่ยบอกก่อนว่ามันเป็นการศึกษาแบบ Retrospective study ซึ่งเป็นการดูความสัมพันธ์ของความเสี่ยงนะครับ ดังนั้นการตีความ การแปลผล เพื่อนำไปประยุกต์ หรือนำไปอะไรก็ตาม มันก็ต้องเข้าใจในจุดนี้ด้วย เหมือนกับพวกงาน Cohort ต่างๆ เราต้องเข้าใจรูปแบบการศึกษาด้วยว่ามันบอกหรือไม่บอกอะไรเรา
🤔 ในงานนี้เขาเริ่มด้วยการตั้งคำถามว่า รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน (lifestyle) แบบไหน ที่จะส่งผลให้เกิดไขมันในเนื้อตับอ่อน (intrapancreatic fat) ในคนที่เป็นเบาหวานประเภท 2 ได้บ้าง เขาคิดว่ามันต้องมีสิ่งที่เป็นปัจจัย และเขาก็ศึกษาข้อมูลเพื่อหาว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ว่าบ้าง
🏥 เขาก็ไปศึกษาจากผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยโอซาก้า ในช่วงปี 2008 ถึง 2020 ที่มีการตรวจแสกนช่องท้อง ระหว่างเข้ารับการรักษา ก็ได้กลุ่มตัวอย่างมา 185 คน จากนั้นเขาก็ศึกษาดูว่า Lifestyle ของแต่ละคนเป็นยังไบ้าง โดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ ที่ทำโดยแพทย์และพยาบาล ข้อมูลอาหารตรวจสอบโดยนักกำหนดอาหาร
🍕 ตัวอย่างข้อมูลที่เขาเก็บ เช่น กินขนมวันละเท่าไหร่ ออกกำลังกายมั้ย สูบบุหรี่รึเปล่า ดื่มเหล้ามากน้อยขนาดไหน มีปัญหาเรื่องการนอนรึเปล่า ทำงานเป็นกะมั้ย ฯลฯ จากนั้นก็ตรวจสอบการสะสมของไขมันในตับอ่อน ด้วยการ CT Scan แล้วก็มีการเก็บข้อมูลข้อบ่งชี้ชีวภาพทางสุขภาพอื่นๆอีก พวกสัดส่วน รูปร่าง ค่าเลือดต่างๆ จากนั้นก็นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
🔎 ผลของ Life style ที่พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ว่าส่งผลต่อการสะสมไขมันในเนื้อตับอ่อนคือจำนวนมื้ออาหารที่ทาน พบว่ากลุ่มที่ทานวันละ 2 มื้อ มีการสะสมของไขมันในตับอ่อนที่สูงกว่า ส่วนพวก Life style อื่นๆ ไม่พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนไขมันที่อยู่เกาะตับ ไขมันช่องท้องอะไรนี่ไม่พบความสัมพันธ์อะไรที่มีนัยสำคัญทางสถิตินะครับ
😎 หลังจากที่ Adjust ข้อมูลต่างๆ ดูจากพวกการทำงานกะดึก หรือพวกค่าไขมันต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป ก็ยังไม่พบความสัมพันธ์ที่แตกต่างไปจากที่พบเหมือนกัน
📌 สรุปว่าเขาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ทานอาหารวันละ 2 มื้อนั้น มีการสะสมไขมันภายในเนื้อตับอ่อน ที่สูงกว่าคนที่ทานวันละ 3 มื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอะไรคือกลไกของผลนี้ เขามองว่าอาจจะเป็นเพราะคนที่ทาน 2 มื้อ อาจจะมีภาวะโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพน้อยกว่า แล้วก็พอทานน้อยมื้อ มันทำให้ทานแต่ละมื้อเป็นมื้อใหญ่
😎 พอทานเป็นมื้อใหญ่โอกาสที่จะเจอ ไขมัน และน้ำตาล ในอาหารของแต่ละมื้อมากกว่าคนที่ทาน 3 มื้อ ซึ่งอาจจะทานแต่ละมื้อเป็นมื้อที่เล็กกว่า แล้วก็คนที่ทานสองมื้อก็มีการทำงานของเอนไซม์ Amylase ที่แตกต่างจากคนที่ทาน 3 มื้อด้วย อีกสิ่งที่พบก็คือไขมันในตับอ่อนเนี่ย ไม่สัมพันธ์กับความอ้วน (BMI) ด้วย
📌 ทั้งนี้ย้ำอีกครั้งว่างานนี้ศึกษาแบบ Retrospective สิ่งที่ได้คือความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงนะครับ ไม่ได้บอกว่าเป็นสาเหตุ อีกจุดนึงข้อมูลที่ได้มาจากการตอบแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ และไม่ได้มีข้อมูลทางด้านโภชนาการที่ละเอียดมากแม่นยำมาก เมื่อเทียบกับวิธี Gold standard อื่นๆ
😎 อย่างไรก็ตามข้อมูลที่เก็บ ก็กระทำโดย นักกำหนดอาหาร แพทย์ และพยาบาล ก็พอจะเป็นจุดแข็งให้ข้อมูลที่ได้มาเพิ่มได้บ้าง และการศึกษาครั้งนี้เขาไม่รวมเอาผู้ป่วยที่มีโรคอื่นๆร่วมด้วยเข้ามาศึกษา ก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่ทำให้ได้ข้อมูลจำเพาะในกลุ่มเบาหวาน
📌 สรุปของสรุป เขาก็พบว่าการทานวันละ 2 มื้อ มีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงในการเพิ่มขึ้นของไขมันในเนื้อตับอ่อนที่มากกว่าการทานวันละ 3 มื้อ ซึ่งก็สนับสนุนแนวทางคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในญี่ปุ่น ที่บอกว่าไม่ควรข้ามมื้อ (Skipping meals) ซึ่งเคยมีการแนะนำไว้สำหรับผู้เป็นเบาหวานนะครับ
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-09-30-consumption-of-two-meals-per-day-is-associated-with-increased-intrapancreatic-fat-deposition-in-patients-with-type-2-diabetes/
กินวันละสองมื้อ อาจเพิ่มไขมันตับอ่อนในคนเป็นเบาหวานได้ !?! 😱
📣 แล้วไหนจะที่ศาสดาเขาก็กรอกหูอยู่ตลอด บอกว่าให้อดเสียบ้างเพื่อสุขภาพที่ดี ไหนจะลูกศิษย์ลูกหาท่องที่ตามตำราเดียวกันหน้าใหม่ๆ โผล่มาแต่ละคนก็พูดซ้ำๆเรื่องเดียวกันอีก ยังไงซิยังไง
📚 ในงานนี้เนี่ยบอกก่อนว่ามันเป็นการศึกษาแบบ Retrospective study ซึ่งเป็นการดูความสัมพันธ์ของความเสี่ยงนะครับ ดังนั้นการตีความ การแปลผล เพื่อนำไปประยุกต์ หรือนำไปอะไรก็ตาม มันก็ต้องเข้าใจในจุดนี้ด้วย เหมือนกับพวกงาน Cohort ต่างๆ เราต้องเข้าใจรูปแบบการศึกษาด้วยว่ามันบอกหรือไม่บอกอะไรเรา
🤔 ในงานนี้เขาเริ่มด้วยการตั้งคำถามว่า รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน (lifestyle) แบบไหน ที่จะส่งผลให้เกิดไขมันในเนื้อตับอ่อน (intrapancreatic fat) ในคนที่เป็นเบาหวานประเภท 2 ได้บ้าง เขาคิดว่ามันต้องมีสิ่งที่เป็นปัจจัย และเขาก็ศึกษาข้อมูลเพื่อหาว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ว่าบ้าง
🏥 เขาก็ไปศึกษาจากผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยโอซาก้า ในช่วงปี 2008 ถึง 2020 ที่มีการตรวจแสกนช่องท้อง ระหว่างเข้ารับการรักษา ก็ได้กลุ่มตัวอย่างมา 185 คน จากนั้นเขาก็ศึกษาดูว่า Lifestyle ของแต่ละคนเป็นยังไบ้าง โดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ ที่ทำโดยแพทย์และพยาบาล ข้อมูลอาหารตรวจสอบโดยนักกำหนดอาหาร
🍕 ตัวอย่างข้อมูลที่เขาเก็บ เช่น กินขนมวันละเท่าไหร่ ออกกำลังกายมั้ย สูบบุหรี่รึเปล่า ดื่มเหล้ามากน้อยขนาดไหน มีปัญหาเรื่องการนอนรึเปล่า ทำงานเป็นกะมั้ย ฯลฯ จากนั้นก็ตรวจสอบการสะสมของไขมันในตับอ่อน ด้วยการ CT Scan แล้วก็มีการเก็บข้อมูลข้อบ่งชี้ชีวภาพทางสุขภาพอื่นๆอีก พวกสัดส่วน รูปร่าง ค่าเลือดต่างๆ จากนั้นก็นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
🔎 ผลของ Life style ที่พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ว่าส่งผลต่อการสะสมไขมันในเนื้อตับอ่อนคือจำนวนมื้ออาหารที่ทาน พบว่ากลุ่มที่ทานวันละ 2 มื้อ มีการสะสมของไขมันในตับอ่อนที่สูงกว่า ส่วนพวก Life style อื่นๆ ไม่พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนไขมันที่อยู่เกาะตับ ไขมันช่องท้องอะไรนี่ไม่พบความสัมพันธ์อะไรที่มีนัยสำคัญทางสถิตินะครับ
😎 หลังจากที่ Adjust ข้อมูลต่างๆ ดูจากพวกการทำงานกะดึก หรือพวกค่าไขมันต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป ก็ยังไม่พบความสัมพันธ์ที่แตกต่างไปจากที่พบเหมือนกัน
📌 สรุปว่าเขาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ทานอาหารวันละ 2 มื้อนั้น มีการสะสมไขมันภายในเนื้อตับอ่อน ที่สูงกว่าคนที่ทานวันละ 3 มื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอะไรคือกลไกของผลนี้ เขามองว่าอาจจะเป็นเพราะคนที่ทาน 2 มื้อ อาจจะมีภาวะโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพน้อยกว่า แล้วก็พอทานน้อยมื้อ มันทำให้ทานแต่ละมื้อเป็นมื้อใหญ่
😎 พอทานเป็นมื้อใหญ่โอกาสที่จะเจอ ไขมัน และน้ำตาล ในอาหารของแต่ละมื้อมากกว่าคนที่ทาน 3 มื้อ ซึ่งอาจจะทานแต่ละมื้อเป็นมื้อที่เล็กกว่า แล้วก็คนที่ทานสองมื้อก็มีการทำงานของเอนไซม์ Amylase ที่แตกต่างจากคนที่ทาน 3 มื้อด้วย อีกสิ่งที่พบก็คือไขมันในตับอ่อนเนี่ย ไม่สัมพันธ์กับความอ้วน (BMI) ด้วย
📌 ทั้งนี้ย้ำอีกครั้งว่างานนี้ศึกษาแบบ Retrospective สิ่งที่ได้คือความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงนะครับ ไม่ได้บอกว่าเป็นสาเหตุ อีกจุดนึงข้อมูลที่ได้มาจากการตอบแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ และไม่ได้มีข้อมูลทางด้านโภชนาการที่ละเอียดมากแม่นยำมาก เมื่อเทียบกับวิธี Gold standard อื่นๆ
😎 อย่างไรก็ตามข้อมูลที่เก็บ ก็กระทำโดย นักกำหนดอาหาร แพทย์ และพยาบาล ก็พอจะเป็นจุดแข็งให้ข้อมูลที่ได้มาเพิ่มได้บ้าง และการศึกษาครั้งนี้เขาไม่รวมเอาผู้ป่วยที่มีโรคอื่นๆร่วมด้วยเข้ามาศึกษา ก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่ทำให้ได้ข้อมูลจำเพาะในกลุ่มเบาหวาน
📌 สรุปของสรุป เขาก็พบว่าการทานวันละ 2 มื้อ มีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงในการเพิ่มขึ้นของไขมันในเนื้อตับอ่อนที่มากกว่าการทานวันละ 3 มื้อ ซึ่งก็สนับสนุนแนวทางคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในญี่ปุ่น ที่บอกว่าไม่ควรข้ามมื้อ (Skipping meals) ซึ่งเคยมีการแนะนำไว้สำหรับผู้เป็นเบาหวานนะครับ
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-09-30-consumption-of-two-meals-per-day-is-associated-with-increased-intrapancreatic-fat-deposition-in-patients-with-type-2-diabetes/