🏃 การออกกำลังกายปกติเนี่ยก็จะทราบกันดีอยู่นะครับ ว่าส่งผลดีต่อความดันโลหิต แต่ว่าในกลุ่มสตรีมีครรภ์เนี่ย ในงานนี้เขาบอกว่ามันมีประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน มีความขัดแย้งกันในข้อมูลว่าออกแล้วดี หรือควรระวังไม่ควรออก
🔎 ในงานนี้เขาเลยพยายามที่จะหาคำตอบ โดยทำการศึกษาแบบ Meta-analysis จากงานวิจัยต่างๆ ที่เคยทำกันมาก่อนหน้านี้แบบ RCT ที่ดูผลของการออกกำลังกาย ในกลุ่มสตรีมีครรภ์ ต่อผลในเรื่องของความดันโลหิต
📚 ซึ่งก็ได้ข้อมูลจากงานที่เข้าเกณฑ์ที่ตั้งไว้มา 18 งาน มี 7 งานทำในกลุ่มคนท้องที่สุขภาพดี และ 10 งานทำในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์ (Pregnancy Induced Hypertension) ซึ่งก็มีกลุ่มที่น้ำหนักเกิน มีภาวะอ้วน หรือมีความดันโลหิตสูงเรื้อรัง หรือมีประวัติครอบครัวเสี่ยง และ 1 งานที่ทำในทั้งสองกลุ่ม
📝 เมื่อได้งานที่เข้าเกณฑ์มาแล้ว เขาก็ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบการศึกษา Meta-analysis นะครับ ผลก็คือ การออกกำลังกายนั้น ส่งผลให้ความดันตัวบน (Systolic pressure) ลดลง 3.19mmHg และความดันตัวล่าง (Diastolic blood pressure) ลดลง 2.14mmHg เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
🏃 ซึ่งการออกกำลังกายที่เขาให้ทำกันในงานที่นำมาศึกษา ก็ไม่ได้โลดโผลอะไรมากนะครับ หลักๆแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ เดินระดับกลางๆ ไม่ได้เร็วมาก ไม่ได้ช้ามาก หรือถ้าวิ่งก็เป็นจ๊อกกิ้ง กลุ่มที่สอง ก็คือปั่นจักรยาน และกลุ่มที่สาม ออกกำลังกายตามคำแนะนำของ สมาคมสูตินรีแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่จะทำตามข้อสามนี้
🚴♀️ การออกกำลังกายตามคำแนะนำดังกล่าว ก็จะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คืออบอุ่นร่างกายแป๊บนึง ไม่กี่นาที จากนั้นก็ทำกิจกรรมแอโรบิค แล้วก็ฝึกกล้ามเนื้อ ด้วยการออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน ทั้งร่างกายช่วงบน และล่าง ข้อต่อต่างๆ และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (pelvic floor muscle) แล้วก็จบด้วยการยืดเหยียด และผ่อนคลาย
😎 มีงานนึงที่ออกกำลังกายในน้ำด้วย ซึ่งวัตถุประสงค์ของการออกกำลังกายในน้ำ ก็เพื่อลดแรงกระแทก ข้อจำกัดในงานนี้ ก็มีอยู่บ้างตามปกตินะครับ หลักๆก็คือเขาไม่ได้ศึกษาเรื่องของโภชนาการ ซึ่งโภชนาการก็มีผลอย่างมากต่อเรื่องของความดันโลหิต สองก็คืองานเกินครึ่งทำในกลุ่มคนที่ อ้วน น้ำหนักเกิน หรือมีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน ก็อาจจะไม่ครอบคลุมกลุ่มอื่น
📌 โดยรวมในข้อมูลที่เขาศึกษา ก็พบว่าการออกกำลังกายนั้นส่งผลดีต่อความดันโลหิต ทั้งตัวบนและตัวล่าง ในกลุ่มสตรีมีครรภ์นะครับ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์
😎 ทั้งนี้ก็อยากจะแนะนำว่า การออกกำลังกายนั้นมีผลดี แต่ยังไงถ้าสะดวก ก็อยากให้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ฝึกสอน ที่ผ่านการศึกษา หรืออบรมเกี่ยวกับการฝึกสอนออกกำลังกายในกลุ่มสตรีมีครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจข้อจำกัด สิ่งที่ทำได้ ที่ควรเลี่ยง เพื่อความปลอดภัยนะครับ
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-09-28-effects-of-physical-exercise-on-blood-pressure-during-pregnancy/
การออกกำลังกาย ส่งผลยังไงต่อความดันโลหิตในสตรีมีครรภ์ 🤰🏼
🔎 ในงานนี้เขาเลยพยายามที่จะหาคำตอบ โดยทำการศึกษาแบบ Meta-analysis จากงานวิจัยต่างๆ ที่เคยทำกันมาก่อนหน้านี้แบบ RCT ที่ดูผลของการออกกำลังกาย ในกลุ่มสตรีมีครรภ์ ต่อผลในเรื่องของความดันโลหิต
📚 ซึ่งก็ได้ข้อมูลจากงานที่เข้าเกณฑ์ที่ตั้งไว้มา 18 งาน มี 7 งานทำในกลุ่มคนท้องที่สุขภาพดี และ 10 งานทำในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์ (Pregnancy Induced Hypertension) ซึ่งก็มีกลุ่มที่น้ำหนักเกิน มีภาวะอ้วน หรือมีความดันโลหิตสูงเรื้อรัง หรือมีประวัติครอบครัวเสี่ยง และ 1 งานที่ทำในทั้งสองกลุ่ม
📝 เมื่อได้งานที่เข้าเกณฑ์มาแล้ว เขาก็ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบการศึกษา Meta-analysis นะครับ ผลก็คือ การออกกำลังกายนั้น ส่งผลให้ความดันตัวบน (Systolic pressure) ลดลง 3.19mmHg และความดันตัวล่าง (Diastolic blood pressure) ลดลง 2.14mmHg เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
🏃 ซึ่งการออกกำลังกายที่เขาให้ทำกันในงานที่นำมาศึกษา ก็ไม่ได้โลดโผลอะไรมากนะครับ หลักๆแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ เดินระดับกลางๆ ไม่ได้เร็วมาก ไม่ได้ช้ามาก หรือถ้าวิ่งก็เป็นจ๊อกกิ้ง กลุ่มที่สอง ก็คือปั่นจักรยาน และกลุ่มที่สาม ออกกำลังกายตามคำแนะนำของ สมาคมสูตินรีแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่จะทำตามข้อสามนี้
🚴♀️ การออกกำลังกายตามคำแนะนำดังกล่าว ก็จะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คืออบอุ่นร่างกายแป๊บนึง ไม่กี่นาที จากนั้นก็ทำกิจกรรมแอโรบิค แล้วก็ฝึกกล้ามเนื้อ ด้วยการออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน ทั้งร่างกายช่วงบน และล่าง ข้อต่อต่างๆ และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (pelvic floor muscle) แล้วก็จบด้วยการยืดเหยียด และผ่อนคลาย
😎 มีงานนึงที่ออกกำลังกายในน้ำด้วย ซึ่งวัตถุประสงค์ของการออกกำลังกายในน้ำ ก็เพื่อลดแรงกระแทก ข้อจำกัดในงานนี้ ก็มีอยู่บ้างตามปกตินะครับ หลักๆก็คือเขาไม่ได้ศึกษาเรื่องของโภชนาการ ซึ่งโภชนาการก็มีผลอย่างมากต่อเรื่องของความดันโลหิต สองก็คืองานเกินครึ่งทำในกลุ่มคนที่ อ้วน น้ำหนักเกิน หรือมีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน ก็อาจจะไม่ครอบคลุมกลุ่มอื่น
📌 โดยรวมในข้อมูลที่เขาศึกษา ก็พบว่าการออกกำลังกายนั้นส่งผลดีต่อความดันโลหิต ทั้งตัวบนและตัวล่าง ในกลุ่มสตรีมีครรภ์นะครับ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์
😎 ทั้งนี้ก็อยากจะแนะนำว่า การออกกำลังกายนั้นมีผลดี แต่ยังไงถ้าสะดวก ก็อยากให้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ฝึกสอน ที่ผ่านการศึกษา หรืออบรมเกี่ยวกับการฝึกสอนออกกำลังกายในกลุ่มสตรีมีครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจข้อจำกัด สิ่งที่ทำได้ ที่ควรเลี่ยง เพื่อความปลอดภัยนะครับ
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-09-28-effects-of-physical-exercise-on-blood-pressure-during-pregnancy/