EP.14 "เมาคิ้วแตก กับการใช้ชีวิตสุดเหวี่ยงที่อินเดีย"
https://ppantip.com/topic/41650899
.
ออกจาก Comfort Zone บ่อยๆ ยังคงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผมป้องกันอาการเบื่อหน่าย อยู่เมืองปูเน่มาครบ 3 เดือน เมืองแห่งนี้แทบจะกลายเป็น Comfort Zone เหมือนบ้านหลังที่ 2 ที่จะไปไหนมาไหนก็แทบไม่หลงเหลือความรู้สึกตื่นเต้น ถึงเวลาที่ต้องออกเดินทางอีกครั้ง
.
วันพุธ (5 oct) ที่จะถึงนี้ผมจะเดินทางโดยรถไฟขึ้นอินเดียเหนือ จากปูเน่ 21 ชม.สู่เมือง Jaipur (6 oct) เพื่อนที่ไจปูชวนไปงานแต่ง จากนั้นต่อรถไฟอีก 10 ชม. ไปเมืองหลวงของรัฐปัจจาญ Chandigarh ( 8 oct) เมืองขนาดเล็กที่ขึ้นชื่อว่าสะอาดและอบอุ่นอีกเมืองหนึ่งในอินเดีย จากนั้นต่อรถบัสเข้าสู่รัฐหิมาจัลประเทศ จุดหมายปลายทางที่เมือง Manali ( 9 oct) เมืองที่ซ่อนตัวอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย ผมต้องไปถึงที่นั่นก่อน 15 ตุลาคม หากต้องการเทรกกิ้งที่ Hamta pass (10 oct) ถ้าไปทันผมคงได้ไปเดินย่ำเท้าบนเทือกเขาหิมาลัยสักครั้งหนึ่งในชีวิต ก่อนที่ขากลับถ้าเวลาเหลือคงจะไม่พลาดที่จะไปชมความสวยงามของทัชมาฮาล (18 oct)
.
แค่คิดก็น่าสนุก แต่ก็ไม่ได้คาดหวังว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามแผน การเดินทางไปในที่ที่ไม่เคยไป คงไม่ได้ง่ายอย่างใจคิด โดยเฉพาะที่อินเดีย แต่ก็คงดีกว่ามานั่งคิดกังวลจนไม่ได้ไป ไหนๆ ก็มาถึงอินเดียแล้วก็ควรที่จะออกเดินทางเท่าที่ทำได้ การเดินทางที่กำลังจะเข้ามาถึง คงมีเรื่องราวอีกมากมายรอให้เราเล่ามันออกมาอยู่ อย่างไรฝากติดตามกันด้วยนะครับ
.
สำหรับเรื่องอื่นๆ อาทิตย์ที่ผ่านมาเพิ่งสอบกลางภาคเสร็จ การมาเรียนภาษาอังกฤษการสอบแทบไม่ได้สลักสำคัญอะไรนัก เหมือนที่อาจารย์ที่โรงเรียนกล่าวไว้ว่า การสอบได้คะแนนดีก็ไม่ได้การันตีว่า ออกไปข้างนอกคุณจะสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ในขณะเดียวกันถ้าผลการสอบออกมาไม่ดี ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะมาตัดสินว่าคุณจะไม่สามารถสื่อสารอังกฤษได้
.
.
ผลการสอบในห้องเรียนเป็นอย่างไรคงรู้เมื่อคะแนนออก แต่นอกห้องเรียนผมกลายเป็นอะไรสักอย่าง ที่คนอินเดียในโรงเรียนรายล้อมผมในทุกเช้า คนเก่าเรียนจบคนใหม่ก็เข้ามาแทนที่ บางคนบอกว่าผมเป็น เซเลบริตี้ประจำโรงเรียน! ก็แน่ละ เป็นคนต่างชาติคนเดียวที่มาโรงเรียนแต่เช้า ทุกคนมาเรียนที่นี่ก็อยากฝึกภาษาอังกฤษด้วยกันทั้งนั้น และผมเป็นคนเดียวที่เขาจะฝึกคุยด้วยได้ ไม่น่าแปลกใจที่ใครๆ ก็อยากคุยด้วย
.
แต่การมีแต่คนอยากคุยก็สร้างปัญหาให้กับผม วันนี้ผมคุยกลุ่มกับคนกลุ่มนี้ เพื่อนอีกกลุ่มก็กวักมือบอกให้ผมมานั่งกับเขา แต่พอไปนั่งคุยด้วยก็เอาแต่กดมือถือ บางคนก็หาสาระในการคุยแทบไม่เจอ ส่วนบางคนพอผมไม่คุยก็พาลงอนหาว่าผมไม่สนใจเขาอีก คนอินเดียบางคนขี้งอน! และไม่ค่อยเคารพความเป็นส่วนตัวของคนอื่น (บางคน) มันรู้สึกดีนะที่มีเพื่อนเยอะ แต่มากคนก็มากความ ผมเองก็ต้องหาจุดสมดุลของตัวเองในการวางตัวกับพวกเขา แต่ถึงอย่างไรก็ขอบคุณพวกเขาที่มอบมิตรภาพที่ดีให้กับผม
.
นอกจากนี้ช่วงนี้กลับมาคุยกับกลุ่มไตแลนด์ (ความเดิมตอนที่แล้ว: EP.9 ไตแลนด์ ไม่ใช่ ไทยแลนด์
https://ppantip.com/topic/41594703)
หลังจากที่ไม่คุยกับพวกเขาเกือบเดือน สถานการณ์เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องคุย แต่คิดว่ากลับไปคุยเขาคงเปลี่ยนแปลง แต่เปล่าเลยยังคงจิตวิญญาณช่างสอนเหมือนเดิม ผมจะแก้เผ็ดด้วยการ สอนมากูสอนกลับบ้าง คอยดูใครจะอดทนได้มากกว่ากัน
.
3 เดือนผ่านไปไวมาก อีก 3 เดือนก็จะหมดปี และเมื่อไหร่ที่หมดปีก็หมายความว่าเราเดินทางมาครึ่งทาง กว่าจะถึงวันนั้นคงมีอะไรให้เรียนรู้ ประหลาดใจ ประทับใจ และทำความเข้าใจอีกเต็มไปหมด แต่ที่แน่ๆ 3 เดือนที่ผ่านมา อินเดียเปลี่ยนแปลงความคิด ให้เราพยายามเข้าใจในความต่าง ยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบ และยังมีอะไรอีกมากมายในโลกใบนี้ ที่เราไม่อาจเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งได้
.
.
โดยเซทภาพในบทความชิ้นนี้ผมถ่ายจากงานนวราตรี เมืองปูเน่
.
นวราตรีถือเป็นอีกหนึ่งเทศกาลใหญ่ในอินเดีย แต่ก็ขึ้นอยู่กับเมืองและภูมิภาค เพื่อนอินเดียเล่าให้ฟังว่า ทางฝั่งตะวันออกของประเทศ เช่น เบงกอล จะมีการจัดงานที่ใหญ่กว่าในรัฐมหาราษฏระที่ผมอาศัยอยู่
.
ความเป็นมาของนวราตรี คือการที่พระแม่ทุรคา (ปรางค์หนึ่งของพระแม่ปารวตี ผู้เป็นภรรยาของพระศิวะ) ได้ต่อสู้กับมหิษาสูร ผู้เป็นอสูรดุร้ายที่ได้รับพรจากพระพรหม ว่าบุรุษทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นคนหรือเทพเจ้าไม่สามารถสังหารเขาได้ เทพทั้งหลายจึงอัญเชิญพระแม่ทุรคามาปราบ โดยใช้เวลาทั้งหมด 9 คืน จนสุดท้ายก็สามารถปราบอสูรผู้นี้ได้
.
เพื่อนชาวฮินดูบอกต่อว่า แท้จริงแล้วเทพเจ้าของฮินดูไม่ได้มีเยอะหรอก เอาเข้าจริงก็หลัก 10 แต่ที่เยอะคือ การที่เทพเจ้าต่างๆ อวตารไปเป็นปรางนู้นปรางนี้ เพื่อลงไปปราบอสูร หรือสร้างวีรกรรมต่างๆ อวตารทีหนึ่งก็เปลี่ยนชื่อเป็นรูปร่างไปเรื่อยๆ
.
โดยเมื่อคืนผมได้ร่วมการฉลองด้วยการเต้นดันดิยาราส (Dandiya-raas) เป็นการเต้นเป็นวงกลม และสร้างจังหวะด้วยการเอาไม้กระทบกัน ระหว่างชาย-หญิง ตบสบตาปิ๊งๆ ก่อนที่ไอหนุ่มอินเดียข้างๆ จะอิจฉา ด้วยการผลักผมบอกให้รีบๆ หน่อย ผมหยุดมองหน้า ก่อนจะบ่นออกไปว่า เป็นห่าอะไรของ แน่นอนเขาฟังไม่รู้เรื่อง
.
ปล. ผมของดการเล่าเรื่อง 2 สัปดาห์นะครับ เนื่องจากต้องเดินทางไปอินเดียเหนือ 2-3 อาทิตย์ อย่างไรคอยติดตามเรื่องราวหลังการเดินทางกันด้วยนะครับ
ตอนต่อไป: Yesh in India เที่ยวอินเดีย 17 วัน 5 เมือง 4 รัฐ ด้วยเงิน 9,600 บาท
https://ppantip.com/topic/41708187
Yesh in India อยู่อินเดียไม่มีเหงา EP.15 คนอินเดียขี้งอน!
EP.14 "เมาคิ้วแตก กับการใช้ชีวิตสุดเหวี่ยงที่อินเดีย"
https://ppantip.com/topic/41650899
.
ออกจาก Comfort Zone บ่อยๆ ยังคงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผมป้องกันอาการเบื่อหน่าย อยู่เมืองปูเน่มาครบ 3 เดือน เมืองแห่งนี้แทบจะกลายเป็น Comfort Zone เหมือนบ้านหลังที่ 2 ที่จะไปไหนมาไหนก็แทบไม่หลงเหลือความรู้สึกตื่นเต้น ถึงเวลาที่ต้องออกเดินทางอีกครั้ง
.
วันพุธ (5 oct) ที่จะถึงนี้ผมจะเดินทางโดยรถไฟขึ้นอินเดียเหนือ จากปูเน่ 21 ชม.สู่เมือง Jaipur (6 oct) เพื่อนที่ไจปูชวนไปงานแต่ง จากนั้นต่อรถไฟอีก 10 ชม. ไปเมืองหลวงของรัฐปัจจาญ Chandigarh ( 8 oct) เมืองขนาดเล็กที่ขึ้นชื่อว่าสะอาดและอบอุ่นอีกเมืองหนึ่งในอินเดีย จากนั้นต่อรถบัสเข้าสู่รัฐหิมาจัลประเทศ จุดหมายปลายทางที่เมือง Manali ( 9 oct) เมืองที่ซ่อนตัวอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย ผมต้องไปถึงที่นั่นก่อน 15 ตุลาคม หากต้องการเทรกกิ้งที่ Hamta pass (10 oct) ถ้าไปทันผมคงได้ไปเดินย่ำเท้าบนเทือกเขาหิมาลัยสักครั้งหนึ่งในชีวิต ก่อนที่ขากลับถ้าเวลาเหลือคงจะไม่พลาดที่จะไปชมความสวยงามของทัชมาฮาล (18 oct)
.
แค่คิดก็น่าสนุก แต่ก็ไม่ได้คาดหวังว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามแผน การเดินทางไปในที่ที่ไม่เคยไป คงไม่ได้ง่ายอย่างใจคิด โดยเฉพาะที่อินเดีย แต่ก็คงดีกว่ามานั่งคิดกังวลจนไม่ได้ไป ไหนๆ ก็มาถึงอินเดียแล้วก็ควรที่จะออกเดินทางเท่าที่ทำได้ การเดินทางที่กำลังจะเข้ามาถึง คงมีเรื่องราวอีกมากมายรอให้เราเล่ามันออกมาอยู่ อย่างไรฝากติดตามกันด้วยนะครับ
.
สำหรับเรื่องอื่นๆ อาทิตย์ที่ผ่านมาเพิ่งสอบกลางภาคเสร็จ การมาเรียนภาษาอังกฤษการสอบแทบไม่ได้สลักสำคัญอะไรนัก เหมือนที่อาจารย์ที่โรงเรียนกล่าวไว้ว่า การสอบได้คะแนนดีก็ไม่ได้การันตีว่า ออกไปข้างนอกคุณจะสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ในขณะเดียวกันถ้าผลการสอบออกมาไม่ดี ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะมาตัดสินว่าคุณจะไม่สามารถสื่อสารอังกฤษได้
.
.
ผลการสอบในห้องเรียนเป็นอย่างไรคงรู้เมื่อคะแนนออก แต่นอกห้องเรียนผมกลายเป็นอะไรสักอย่าง ที่คนอินเดียในโรงเรียนรายล้อมผมในทุกเช้า คนเก่าเรียนจบคนใหม่ก็เข้ามาแทนที่ บางคนบอกว่าผมเป็น เซเลบริตี้ประจำโรงเรียน! ก็แน่ละ เป็นคนต่างชาติคนเดียวที่มาโรงเรียนแต่เช้า ทุกคนมาเรียนที่นี่ก็อยากฝึกภาษาอังกฤษด้วยกันทั้งนั้น และผมเป็นคนเดียวที่เขาจะฝึกคุยด้วยได้ ไม่น่าแปลกใจที่ใครๆ ก็อยากคุยด้วย
.
แต่การมีแต่คนอยากคุยก็สร้างปัญหาให้กับผม วันนี้ผมคุยกลุ่มกับคนกลุ่มนี้ เพื่อนอีกกลุ่มก็กวักมือบอกให้ผมมานั่งกับเขา แต่พอไปนั่งคุยด้วยก็เอาแต่กดมือถือ บางคนก็หาสาระในการคุยแทบไม่เจอ ส่วนบางคนพอผมไม่คุยก็พาลงอนหาว่าผมไม่สนใจเขาอีก คนอินเดียบางคนขี้งอน! และไม่ค่อยเคารพความเป็นส่วนตัวของคนอื่น (บางคน) มันรู้สึกดีนะที่มีเพื่อนเยอะ แต่มากคนก็มากความ ผมเองก็ต้องหาจุดสมดุลของตัวเองในการวางตัวกับพวกเขา แต่ถึงอย่างไรก็ขอบคุณพวกเขาที่มอบมิตรภาพที่ดีให้กับผม
.
นอกจากนี้ช่วงนี้กลับมาคุยกับกลุ่มไตแลนด์ (ความเดิมตอนที่แล้ว: EP.9 ไตแลนด์ ไม่ใช่ ไทยแลนด์ https://ppantip.com/topic/41594703)
หลังจากที่ไม่คุยกับพวกเขาเกือบเดือน สถานการณ์เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องคุย แต่คิดว่ากลับไปคุยเขาคงเปลี่ยนแปลง แต่เปล่าเลยยังคงจิตวิญญาณช่างสอนเหมือนเดิม ผมจะแก้เผ็ดด้วยการ สอนมากูสอนกลับบ้าง คอยดูใครจะอดทนได้มากกว่ากัน
.
3 เดือนผ่านไปไวมาก อีก 3 เดือนก็จะหมดปี และเมื่อไหร่ที่หมดปีก็หมายความว่าเราเดินทางมาครึ่งทาง กว่าจะถึงวันนั้นคงมีอะไรให้เรียนรู้ ประหลาดใจ ประทับใจ และทำความเข้าใจอีกเต็มไปหมด แต่ที่แน่ๆ 3 เดือนที่ผ่านมา อินเดียเปลี่ยนแปลงความคิด ให้เราพยายามเข้าใจในความต่าง ยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบ และยังมีอะไรอีกมากมายในโลกใบนี้ ที่เราไม่อาจเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งได้
.
.
โดยเซทภาพในบทความชิ้นนี้ผมถ่ายจากงานนวราตรี เมืองปูเน่
.
นวราตรีถือเป็นอีกหนึ่งเทศกาลใหญ่ในอินเดีย แต่ก็ขึ้นอยู่กับเมืองและภูมิภาค เพื่อนอินเดียเล่าให้ฟังว่า ทางฝั่งตะวันออกของประเทศ เช่น เบงกอล จะมีการจัดงานที่ใหญ่กว่าในรัฐมหาราษฏระที่ผมอาศัยอยู่
.
ความเป็นมาของนวราตรี คือการที่พระแม่ทุรคา (ปรางค์หนึ่งของพระแม่ปารวตี ผู้เป็นภรรยาของพระศิวะ) ได้ต่อสู้กับมหิษาสูร ผู้เป็นอสูรดุร้ายที่ได้รับพรจากพระพรหม ว่าบุรุษทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นคนหรือเทพเจ้าไม่สามารถสังหารเขาได้ เทพทั้งหลายจึงอัญเชิญพระแม่ทุรคามาปราบ โดยใช้เวลาทั้งหมด 9 คืน จนสุดท้ายก็สามารถปราบอสูรผู้นี้ได้
.
เพื่อนชาวฮินดูบอกต่อว่า แท้จริงแล้วเทพเจ้าของฮินดูไม่ได้มีเยอะหรอก เอาเข้าจริงก็หลัก 10 แต่ที่เยอะคือ การที่เทพเจ้าต่างๆ อวตารไปเป็นปรางนู้นปรางนี้ เพื่อลงไปปราบอสูร หรือสร้างวีรกรรมต่างๆ อวตารทีหนึ่งก็เปลี่ยนชื่อเป็นรูปร่างไปเรื่อยๆ
.
โดยเมื่อคืนผมได้ร่วมการฉลองด้วยการเต้นดันดิยาราส (Dandiya-raas) เป็นการเต้นเป็นวงกลม และสร้างจังหวะด้วยการเอาไม้กระทบกัน ระหว่างชาย-หญิง ตบสบตาปิ๊งๆ ก่อนที่ไอหนุ่มอินเดียข้างๆ จะอิจฉา ด้วยการผลักผมบอกให้รีบๆ หน่อย ผมหยุดมองหน้า ก่อนจะบ่นออกไปว่า เป็นห่าอะไรของ แน่นอนเขาฟังไม่รู้เรื่อง
.
ปล. ผมของดการเล่าเรื่อง 2 สัปดาห์นะครับ เนื่องจากต้องเดินทางไปอินเดียเหนือ 2-3 อาทิตย์ อย่างไรคอยติดตามเรื่องราวหลังการเดินทางกันด้วยนะครับ
ตอนต่อไป: Yesh in India เที่ยวอินเดีย 17 วัน 5 เมือง 4 รัฐ ด้วยเงิน 9,600 บาท
https://ppantip.com/topic/41708187