โพล ตอกย้ำ โยกย้ายข้าราชการ ส่วนใหญ่ใช้ระบบอุปถัมภ์ ค่อนข้างบ่อย
https://www.thairath.co.th/news/politic/2503326
นิด้าโพล ชี้ แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน ส่วนใหญ่ 34.58% ใช้ระบบอุปถัมภ์ หรือเส้นสาย ค่อนข้างบ่อย ขณะหากไม่ได้รับความเป็นธรรม กว่า 54%ใช้วิธีอุทธรณ์ไปตามขั้นตอน
วันที่ 18 ก.ย. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ 2565” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2565 จากประชาชนที่เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ อายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 35.04 ระบุว่า ความสามารถและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่งใหม่ รองลงมา ร้อยละ 29.85 ระบุว่า ความสามารถและผลงานที่ผ่านมา ร้อยละ 13.36 ระบุว่า ความอาวุโสในตำแหน่ง ร้อยละ 8.47 ระบุว่า วิสัยทัศน์ในการทำงานตำแหน่งใหม่ ร้อยละ 7.94 ระบุว่า ความรู้ (เช่น ระดับการศึกษา การเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่างๆ เป็นต้น) ร้อยละ 3.74 ระบุว่า ระเบียบ วินัยและความประพฤติที่ผ่านมา ร้อยละ 1.45 ระบุอื่นๆ ได้แก่ การใช้ระบบอุปถัมภ์ ระบบเส้นสาย และร้อยละ 0.15 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นต่อความเป็นธรรมในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 39.85 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเป็นธรรม รองลงมา ร้อยละ 34.12 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเป็นธรรม ร้อยละ 12.29 ระบุว่า มีความเป็นธรรมมาก ร้อยละ 11.83 ระบุว่าไม่มีความเป็นธรรมเลย และร้อยละ 1.91 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นต่อการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 34.58 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายค่อนข้างบ่อย รองลงมา ร้อยละ 25.35 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายเลย ร้อยละ 23.13 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสาย ร้อยละ 15.57 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายอย่างมาก และร้อยละ 1.37 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 43.21 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เลย รองลงมา ร้อยละ 23.74 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ร้อยละ 19.69 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ค่อนข้างบ่อย ร้อยละ 10.08 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เป็นประจำ และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการดำเนินการหากไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.35 ระบุว่า จะใช้วิธีการอุทธรณ์ร้องไปตามขั้นตอนของระเบียบข้าราชการ รองลงมา ร้อยละ 26.34 ระบุว่า ไม่ทำอะไรเลย เพราะผู้บังคับบัญชาได้พิจารณามาแล้ว ไม่ได้คาดหวังเรื่องตำแหน่ง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ใกล้จะเกษียณอายุร้อยละ 6.72 ระบุว่า ฟ้องศาลปกครองทันที ร้อยละ 4.27 ระบุว่า ลาออก ร้อยละ 3.44 ระบุว่า ใช้ Social Network เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องขอความเป็นธรรม ร้อยละ 2.06 ระบุว่า พยายามหาเส้นสายที่ใหญ่กว่าไปกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 1.75 ระบุว่า ฟ้องสื่อมวลชนร้อยละ 0.31 ระบุว่าอื่นๆ ได้แก่ ร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรม และขอโอนย้ายสถานที่ทำงาน และร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
นักกฎหมายฟันธงประเด็นแพ้ชนะ"คดีวาระ 8 ปีนายกฯ"
https://siamrath.co.th/n/383527
วันที่ 18 ก.ย.2565 นาย
ไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กPaisal Puechmongkol ระบุว่า
บรรทัดฐานการนับเวลาการดำรงตำแหน่งที่ยังสับสนกันอยู่!!!!
ก่อนหน้าที่จะมีการจัดทำเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร และก่อนหน้าที่จะมีการอ้างเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญในเรื่องการนับเวลา เคยมีคำวินิจฉัย เรื่องการนับเวลาที่แตกต่างกันมาหลายเรื่อง
1 ในปี 2544 มีคดีเป็นปัญหาเกี่ยวกับการนับเวลา ในกรณีที่มีการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ต่อเนื่องจากรัฐธรรมนูญเก่ามีคำวินิจฉัยว่าให้นับเวลาตั้งแต่รัฐธรรมนูญใหม่ใช้บังคับ
2 คดีไม่แจ้งทรัพย์สินของนายดอน ปรมัตถ์วินัย มีคำวินิจฉัยว่า ให้นับเวลาการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ใช้บังคับ!!!
3 คดีขาดคุณสมบัติของนายสิระ เจนจาคะ ซึ่งเคยถูกคำพิพากษาจำคุกในปี 2538 วินิจฉัยว่าคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ2560 ต้องใช้กับกรณีการถูกจำคุกของนายสิระ ด้วย คือใช้ย้อนหลังไป 22 ปี
4 คดีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช เนื่องจากพ้นจากตำแหน่งนายกสมัยแรกและเข้ารับตำแหน่งนายกสมัยที่ 2 หลังเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 60 วินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 264 ให้ถือเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 จึงดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม57 และดำรงตำแหน่งต่อเนื่องมาหลังเลือกตั้งแล้ว จึงไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ปปช. เพราะเป็นการดำรงตำแหน่งต่อเนื่องตลอดมา!!!!!
คำวินิจฉัยเรื่องไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อปปช.นั้น เป็นบรรทัดฐานการนับเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ว่านับตั้งแต่มีพระบรมราชโองการ 24 สิงหาคม 57 และดำรงตำแหน่งต่อเนื่อง จนรับตำแหน่งใหม่เมื่อเลือกตั้งแล้วซึ่งจะสอดคล้องกับคดี 8 ปี!!!
สำหรับคดีดำรงตำแหน่ง 8 ปีครั้งนี้มีการอ้างเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 158 วรรค 4 ที่เป็นลายลักษณ์อักษรตามรายงานการประชุมครั้งที่ 500 ซึ่งรับรองโดยการประชุมครั้งที่ 501 เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีนี้ ซึ่งรายงานการประชุมดังกล่าวได้หักล้างคำชี้แจงของนายมีชัยและรองประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชนิดหงายท้องตกเก้าอี้ ว่าเป็นคำชี้แจงเท็จต่อศาล รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้!!!
ประเด็นแพ้ชนะอยู่ที่ตรงนี้!
ตามคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรีได้นับเวลาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ โดยอ้าง คดีนายดอนว่าเป็นบรรทัดฐานการนับเวลา แต่ไม่เอ่ยถึงบรรทัดฐานการนับเวลาในคดีไม่ยื่นทรัพย์สินของพลเอกประยุทธ์เอง!!!
ผมออกความเห็นทางกฎหมายโดยอาศัยหลักกฎหมายที่มีความแจ้งชัด โดยลายลักษณ์อักษร และยืนยันโดยเจตนารมณ์ที่ทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
มิได้ออกควา มเห็นเพราะความอยากหรือไม่อยากให้ใครอยู่หรือให้ใครพ้นจากตำแหน่งแต่ประการใด
https://www.facebook.com/Paisal.Fanpage/posts/pfbid02JLd5V52AuXbofta14WXLnefAUDmZiqksCNm3RsaxKe1MhruT9MmjhE5TukDzZRGTl
ประเทศไทยอยู่ไหน ใคร ๆ ก็ไปเวียดนาม
https://www.prachachat.net/columns/news-1051064
คอลัมน์ : สามัญสำนึก
ผู้เขียน : สุดใจ ชาญชาตรีรัตน์
ทำไม “เวียดนาม” กลายเป็นประเทศที่กำลังถูกจับตาถึงความโดดเด่นและร้อนแรงในทุกด้าน
หลังจาก “จีน” ในฐานะ “โรงงานของโลก” เจอมรสุมเศรษฐกิจและเกมการเมืองระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง หนุนให้สถานภาพของ “เวียดนาม” กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตแห่งใหม่ของโลกโดดเด่นมากขึ้นเรื่อย ๆ
ด้วยสัญญาณการย้ายฐานการผลิตครั้งใหญ่ของผู้ผลิตบริษัทข้ามชาติออกจากจีน จนเวียดนามได้ชื่อว่าเป็น “โรงงานโลก” แห่งใหม่
ไม่เฉพาะบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของสหรัฐอย่าง “แอปเปิล-อินเทล” และยักษ์เทคโนโลยีเกาหลีใต้อย่าง “ซัมซุง-แอลจี” ที่ย้ายฐานไปปักหมุดในเวียดนามมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เวียดนามเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโทรศัพท์มือถือ
นอกจากนี้ก็มีผู้ผลิตจากทั่วโลกอีกมากมายที่ย้ายจากไทยเข้าสู่เวียดนาม รวมถึง “แพนดอร่า” ผู้ผลิตและส่งออกเครื่องประดับเงินรายใหญ่สัญชาติเดนมาร์ก ที่มีโรงงานในประเทศไทย 2 แห่ง ล่าสุดก็ประกาศขยายการลงทุนตั้งโรงงานในเวียดนามขณะที่นักลงทุนไทยจำนวนมากก็แห่ขยายฐานไปลงทุนเวียดนามเช่นกัน ด้วยจำนวนประชากรในประเทศกว่า 100 ล้านคน ที่ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน ถือเป็นกำลังซื้อสำคัญ ขณะที่หลายประเทศกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย รวมทั้งประเทศไทย
ผู้ประกอบการไทยที่ตัดสินใจขยายการลงทุนในเวียดนาม นอกจากประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานแล้ว ต้นทุนค่าแรงที่ต่ำกว่าไทย ค่าไฟฟ้าก็ถูกกว่ามากด้วยอัตราประมาณ 2.90 บาทต่อยูนิต ขณะที่ของไทยล่าสุดขยับขึ้นไปที่ 4.92 บาทต่อยูนิต
รวมทั้งที่เวียดนามได้ทำความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ถึง 16 ฉบับ ครอบคลุม 53 ประเทศ เรียกว่าเกื้อหนุนการเป็นฐานผลิตเพื่อการส่งออกอย่างมาก ไม่รวมถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและอื่น ๆ ที่ไม่แพ้ชาติอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม ทิศทางการพัฒนาของเวียดนาม ไม่ได้ต้องการเป็นแค่โรงงานโลกเท่านั้น
เห็นได้จากกรณีการผลิตรถยนต์ภายใต้แบรนด์ “วินฟาสต์” รถยนต์สัญชาติเวียดนามเข้าสู่ตลาดโลก ที่ล่าสุดเริ่มส่งมอบรถเอสยูวีพลังงานไฟฟ้า 100 คันแรกให้ลูกค้าในประเทศ และกำลังเดิมพันในตลาดสหรัฐ ส่งรถยนต์ไฟฟ้าเอสยูวีเข้าไปเปิดตลาดในเดือน ธ.ค.นี้ พร้อมเตรียมเปิดโมเดลให้เช่าแบตเตอรี่ เพื่อที่จะลดราคาจำหน่ายรถอีวีลง ถือว่าเป็นอีกแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่มีการพูดถึงอย่างมาก
ขณะที่ประเทศไทยซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็น “ดีทรอยต์ออฟเอเชีย” ของการเป็นฐานผลิตรถยนต์สันดาป ซึ่งมีคำถามว่าประเทศไทยอยู่ตรงไหนของซัพพลายเชน ในยุคการเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (อีวี) ที่เห็นสัญญาณของค่ายรถต่าง ๆ ประกาศการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน
“ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ” รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด ในฐานะผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของประเทศไทย ตั้งคำถามว่า ขณะที่ประเทศไทยใช้งบประมาณทำมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมอีวี เพื่อที่จะรักษาการเป็นฐานผลิตรถยนต์
แต่แผนส่งเสริมอีวีของรัฐมองรอบด้านหรือยัง ในแง่ “ผู้บริโภค” รัฐมีเงินอุดหนุนเพื่อซื้อรถอีวีเพื่อสร้างตลาด ด้าน “ผู้ผลิตรถยนต์” ก็มีสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนต่าง ๆ มากมาย แต่ “ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศ” ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญ “ถูกลืม”
ขณะที่รัฐบาลมุ่งเน้นดึงการลงทุนจากต่างชาติ ด้วยแพ็กเกจส่งเสริมการลงทุนให้ค่ายรถต้องดึงผู้ผลิตชิ้นส่วนเข้ามาด้วย โดยไม่ได้มองถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศว่าจะอยู่อย่างไร แล้วอะไรจะเป็นจุดแข็งในการที่จะดึงดูดผู้ผลิตต่างชาติเข้ามาลงทุน
“ผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ เหมือนชาวนาในอุตสาหกรรมยานยนต์ ทำงานหนักมากแต่ไม่มีใครคิดถึง”
JJNY : โพลตอกย้ำย้ายขรก.ใช้ระบบอุปถัมภ์ค่อนข้างบ่อย│ฟันธง8ปี│ไทยอยู่ไหน ใครๆ ก็ไปเวียดนาม│ดร.พรรณชฎาวิเคราะห์ศึกภาคใต้
https://www.thairath.co.th/news/politic/2503326
นิด้าโพล ชี้ แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน ส่วนใหญ่ 34.58% ใช้ระบบอุปถัมภ์ หรือเส้นสาย ค่อนข้างบ่อย ขณะหากไม่ได้รับความเป็นธรรม กว่า 54%ใช้วิธีอุทธรณ์ไปตามขั้นตอน
วันที่ 18 ก.ย. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ 2565” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2565 จากประชาชนที่เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ อายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 35.04 ระบุว่า ความสามารถและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่งใหม่ รองลงมา ร้อยละ 29.85 ระบุว่า ความสามารถและผลงานที่ผ่านมา ร้อยละ 13.36 ระบุว่า ความอาวุโสในตำแหน่ง ร้อยละ 8.47 ระบุว่า วิสัยทัศน์ในการทำงานตำแหน่งใหม่ ร้อยละ 7.94 ระบุว่า ความรู้ (เช่น ระดับการศึกษา การเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่างๆ เป็นต้น) ร้อยละ 3.74 ระบุว่า ระเบียบ วินัยและความประพฤติที่ผ่านมา ร้อยละ 1.45 ระบุอื่นๆ ได้แก่ การใช้ระบบอุปถัมภ์ ระบบเส้นสาย และร้อยละ 0.15 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นต่อความเป็นธรรมในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 39.85 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเป็นธรรม รองลงมา ร้อยละ 34.12 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเป็นธรรม ร้อยละ 12.29 ระบุว่า มีความเป็นธรรมมาก ร้อยละ 11.83 ระบุว่าไม่มีความเป็นธรรมเลย และร้อยละ 1.91 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นต่อการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 34.58 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายค่อนข้างบ่อย รองลงมา ร้อยละ 25.35 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายเลย ร้อยละ 23.13 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสาย ร้อยละ 15.57 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายอย่างมาก และร้อยละ 1.37 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 43.21 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เลย รองลงมา ร้อยละ 23.74 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ร้อยละ 19.69 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ค่อนข้างบ่อย ร้อยละ 10.08 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เป็นประจำ และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการดำเนินการหากไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.35 ระบุว่า จะใช้วิธีการอุทธรณ์ร้องไปตามขั้นตอนของระเบียบข้าราชการ รองลงมา ร้อยละ 26.34 ระบุว่า ไม่ทำอะไรเลย เพราะผู้บังคับบัญชาได้พิจารณามาแล้ว ไม่ได้คาดหวังเรื่องตำแหน่ง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ใกล้จะเกษียณอายุร้อยละ 6.72 ระบุว่า ฟ้องศาลปกครองทันที ร้อยละ 4.27 ระบุว่า ลาออก ร้อยละ 3.44 ระบุว่า ใช้ Social Network เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องขอความเป็นธรรม ร้อยละ 2.06 ระบุว่า พยายามหาเส้นสายที่ใหญ่กว่าไปกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 1.75 ระบุว่า ฟ้องสื่อมวลชนร้อยละ 0.31 ระบุว่าอื่นๆ ได้แก่ ร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรม และขอโอนย้ายสถานที่ทำงาน และร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
นักกฎหมายฟันธงประเด็นแพ้ชนะ"คดีวาระ 8 ปีนายกฯ"
https://siamrath.co.th/n/383527
วันที่ 18 ก.ย.2565 นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กPaisal Puechmongkol ระบุว่า
บรรทัดฐานการนับเวลาการดำรงตำแหน่งที่ยังสับสนกันอยู่!!!!
ก่อนหน้าที่จะมีการจัดทำเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร และก่อนหน้าที่จะมีการอ้างเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญในเรื่องการนับเวลา เคยมีคำวินิจฉัย เรื่องการนับเวลาที่แตกต่างกันมาหลายเรื่อง
1 ในปี 2544 มีคดีเป็นปัญหาเกี่ยวกับการนับเวลา ในกรณีที่มีการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ต่อเนื่องจากรัฐธรรมนูญเก่ามีคำวินิจฉัยว่าให้นับเวลาตั้งแต่รัฐธรรมนูญใหม่ใช้บังคับ
2 คดีไม่แจ้งทรัพย์สินของนายดอน ปรมัตถ์วินัย มีคำวินิจฉัยว่า ให้นับเวลาการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ใช้บังคับ!!!
3 คดีขาดคุณสมบัติของนายสิระ เจนจาคะ ซึ่งเคยถูกคำพิพากษาจำคุกในปี 2538 วินิจฉัยว่าคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ2560 ต้องใช้กับกรณีการถูกจำคุกของนายสิระ ด้วย คือใช้ย้อนหลังไป 22 ปี
4 คดีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช เนื่องจากพ้นจากตำแหน่งนายกสมัยแรกและเข้ารับตำแหน่งนายกสมัยที่ 2 หลังเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 60 วินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 264 ให้ถือเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 จึงดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม57 และดำรงตำแหน่งต่อเนื่องมาหลังเลือกตั้งแล้ว จึงไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ปปช. เพราะเป็นการดำรงตำแหน่งต่อเนื่องตลอดมา!!!!!
คำวินิจฉัยเรื่องไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อปปช.นั้น เป็นบรรทัดฐานการนับเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ว่านับตั้งแต่มีพระบรมราชโองการ 24 สิงหาคม 57 และดำรงตำแหน่งต่อเนื่อง จนรับตำแหน่งใหม่เมื่อเลือกตั้งแล้วซึ่งจะสอดคล้องกับคดี 8 ปี!!!
สำหรับคดีดำรงตำแหน่ง 8 ปีครั้งนี้มีการอ้างเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 158 วรรค 4 ที่เป็นลายลักษณ์อักษรตามรายงานการประชุมครั้งที่ 500 ซึ่งรับรองโดยการประชุมครั้งที่ 501 เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีนี้ ซึ่งรายงานการประชุมดังกล่าวได้หักล้างคำชี้แจงของนายมีชัยและรองประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชนิดหงายท้องตกเก้าอี้ ว่าเป็นคำชี้แจงเท็จต่อศาล รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้!!!
ประเด็นแพ้ชนะอยู่ที่ตรงนี้!
ตามคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรีได้นับเวลาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ โดยอ้าง คดีนายดอนว่าเป็นบรรทัดฐานการนับเวลา แต่ไม่เอ่ยถึงบรรทัดฐานการนับเวลาในคดีไม่ยื่นทรัพย์สินของพลเอกประยุทธ์เอง!!!
ผมออกความเห็นทางกฎหมายโดยอาศัยหลักกฎหมายที่มีความแจ้งชัด โดยลายลักษณ์อักษร และยืนยันโดยเจตนารมณ์ที่ทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
มิได้ออกควา มเห็นเพราะความอยากหรือไม่อยากให้ใครอยู่หรือให้ใครพ้นจากตำแหน่งแต่ประการใด
https://www.facebook.com/Paisal.Fanpage/posts/pfbid02JLd5V52AuXbofta14WXLnefAUDmZiqksCNm3RsaxKe1MhruT9MmjhE5TukDzZRGTl
ประเทศไทยอยู่ไหน ใคร ๆ ก็ไปเวียดนาม
https://www.prachachat.net/columns/news-1051064
คอลัมน์ : สามัญสำนึก
ผู้เขียน : สุดใจ ชาญชาตรีรัตน์
ทำไม “เวียดนาม” กลายเป็นประเทศที่กำลังถูกจับตาถึงความโดดเด่นและร้อนแรงในทุกด้าน
หลังจาก “จีน” ในฐานะ “โรงงานของโลก” เจอมรสุมเศรษฐกิจและเกมการเมืองระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง หนุนให้สถานภาพของ “เวียดนาม” กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตแห่งใหม่ของโลกโดดเด่นมากขึ้นเรื่อย ๆ
ด้วยสัญญาณการย้ายฐานการผลิตครั้งใหญ่ของผู้ผลิตบริษัทข้ามชาติออกจากจีน จนเวียดนามได้ชื่อว่าเป็น “โรงงานโลก” แห่งใหม่
ไม่เฉพาะบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของสหรัฐอย่าง “แอปเปิล-อินเทล” และยักษ์เทคโนโลยีเกาหลีใต้อย่าง “ซัมซุง-แอลจี” ที่ย้ายฐานไปปักหมุดในเวียดนามมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เวียดนามเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโทรศัพท์มือถือ
นอกจากนี้ก็มีผู้ผลิตจากทั่วโลกอีกมากมายที่ย้ายจากไทยเข้าสู่เวียดนาม รวมถึง “แพนดอร่า” ผู้ผลิตและส่งออกเครื่องประดับเงินรายใหญ่สัญชาติเดนมาร์ก ที่มีโรงงานในประเทศไทย 2 แห่ง ล่าสุดก็ประกาศขยายการลงทุนตั้งโรงงานในเวียดนามขณะที่นักลงทุนไทยจำนวนมากก็แห่ขยายฐานไปลงทุนเวียดนามเช่นกัน ด้วยจำนวนประชากรในประเทศกว่า 100 ล้านคน ที่ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน ถือเป็นกำลังซื้อสำคัญ ขณะที่หลายประเทศกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย รวมทั้งประเทศไทย
ผู้ประกอบการไทยที่ตัดสินใจขยายการลงทุนในเวียดนาม นอกจากประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานแล้ว ต้นทุนค่าแรงที่ต่ำกว่าไทย ค่าไฟฟ้าก็ถูกกว่ามากด้วยอัตราประมาณ 2.90 บาทต่อยูนิต ขณะที่ของไทยล่าสุดขยับขึ้นไปที่ 4.92 บาทต่อยูนิต
รวมทั้งที่เวียดนามได้ทำความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ถึง 16 ฉบับ ครอบคลุม 53 ประเทศ เรียกว่าเกื้อหนุนการเป็นฐานผลิตเพื่อการส่งออกอย่างมาก ไม่รวมถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและอื่น ๆ ที่ไม่แพ้ชาติอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม ทิศทางการพัฒนาของเวียดนาม ไม่ได้ต้องการเป็นแค่โรงงานโลกเท่านั้น
เห็นได้จากกรณีการผลิตรถยนต์ภายใต้แบรนด์ “วินฟาสต์” รถยนต์สัญชาติเวียดนามเข้าสู่ตลาดโลก ที่ล่าสุดเริ่มส่งมอบรถเอสยูวีพลังงานไฟฟ้า 100 คันแรกให้ลูกค้าในประเทศ และกำลังเดิมพันในตลาดสหรัฐ ส่งรถยนต์ไฟฟ้าเอสยูวีเข้าไปเปิดตลาดในเดือน ธ.ค.นี้ พร้อมเตรียมเปิดโมเดลให้เช่าแบตเตอรี่ เพื่อที่จะลดราคาจำหน่ายรถอีวีลง ถือว่าเป็นอีกแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่มีการพูดถึงอย่างมาก
ขณะที่ประเทศไทยซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็น “ดีทรอยต์ออฟเอเชีย” ของการเป็นฐานผลิตรถยนต์สันดาป ซึ่งมีคำถามว่าประเทศไทยอยู่ตรงไหนของซัพพลายเชน ในยุคการเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (อีวี) ที่เห็นสัญญาณของค่ายรถต่าง ๆ ประกาศการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน
“ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ” รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด ในฐานะผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของประเทศไทย ตั้งคำถามว่า ขณะที่ประเทศไทยใช้งบประมาณทำมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมอีวี เพื่อที่จะรักษาการเป็นฐานผลิตรถยนต์
แต่แผนส่งเสริมอีวีของรัฐมองรอบด้านหรือยัง ในแง่ “ผู้บริโภค” รัฐมีเงินอุดหนุนเพื่อซื้อรถอีวีเพื่อสร้างตลาด ด้าน “ผู้ผลิตรถยนต์” ก็มีสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนต่าง ๆ มากมาย แต่ “ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศ” ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญ “ถูกลืม”
ขณะที่รัฐบาลมุ่งเน้นดึงการลงทุนจากต่างชาติ ด้วยแพ็กเกจส่งเสริมการลงทุนให้ค่ายรถต้องดึงผู้ผลิตชิ้นส่วนเข้ามาด้วย โดยไม่ได้มองถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศว่าจะอยู่อย่างไร แล้วอะไรจะเป็นจุดแข็งในการที่จะดึงดูดผู้ผลิตต่างชาติเข้ามาลงทุน
“ผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ เหมือนชาวนาในอุตสาหกรรมยานยนต์ ทำงานหนักมากแต่ไม่มีใครคิดถึง”