😁 การขยับกล้ามเนื้อของเรานั้น มันทำให้เกิดการใช้พลังงานเกิดขึ้นนะครับ และไม่ใช่แค่การออกกำลังกาย การเคี้ยว การบด อาหารนั้นกลไกที่อยุ่เบื้องหลัง ก็คือกล้ามเนื้อเหมือนกัน เรียกว่า กล้ามเนื้อบดเคี้ยว (Masticatory muscle)
📚 งานที่เอามาแชร์ในวันนี้จริงๆ เขาพูดถึงว่ามนุษย์ในอดีตน่าจะมีการใช้พลังงานในการบดเคี้ยวอาหาร ที่มากกว่าเราในปัจจุบัน สาเหตุเพราะอะไร .. บางท่านอาจจะพอเดาได้แล้ว ก่อนอื่นเราไปดูในส่วนที่เขาศึกษาก่อนดีกว่า
📝 งานนี้เขาศึกษาดูผลของพลังงาน (Energy Expenditure) ที่เราใช้ไปในการเคี้ยวอาหาร (Chewing) เขาก็นำกลุ่มตัวอย่างมา 21 คน ผู้ชาย 15 อายุระหว่าง 18-45 ปี ไม่มีปัญหาที่เกี่ยวกับช่องปากในช่วงปีที่ผ่านมา
😎 ทีนี้พอจะศึกษาถึงพลังงานที่ใช้ในการเคี้ยวอย่างเดียว เขาจึงพยายามที่จะตัดสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการใช้พลังงานได้ออกไป เช่นการย่อยและดูดซึมอาหาร หรือพวกการรับรู้จากรูป รส และกลิ่น เพราะถ้าให้เคี้ยวเนื้อสัตว์ อ่ะเดี๋ยวพอกลืนลงไป ก็มีพลังงานที่ทำให้อาหารเคลื่อนที่ผ่านหลอดอาหาร ไปกระเพราะเพื่อย่อย เพื่ออะไรอีก
📌 เขาก็เลยใช้หมากฝรั่ง ที่ไม่มีสารอาหาร ไม่มีรสกฝรั่งที่ใช้ในงานนี้มี 2 แบบคือแบบนิ่ม กับแบบที่แข็งกว่า ส่วนการวัดพลังงาน เราใช้วิธี Indirect calorimetry ดูค่า O2 และ CO2 ก็ถือว่ามีความน่าเชื่อถือที่โอเคเลยสำหรับงานวิจัย นอกจากนั้นก็มีการใช้ EMG จัดเพื่อดูผลของกล้ามเนื้อในขณะเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีเนื้อแตกต่างกันสองแบบ
🔎 ผลที่ได้ก็คือ พลังงานที่ใช้ในในการเคี้ยว มันก็มีเพิ่มขึ้นจากตอนที่เราไม่ได้เคี้ยวจริงๆแหละครับ แล้วเมื่อเทียบกันระหว่างการเคี้ยวหมากฝรั่งแบบนิ่ม กับแบบแข็ง แบบแข็งก็ใช้พลังงานในการเคี้ยวมากกว่าจริงๆ ถ้าเทียบเป็นร้อยละส่วนที่เพิ่มมาเนี่ย เพิ่มมามากถึงร้อยละ 10-15% เลยนะครับ !!
😎 แต่เดี๋ยวก่อน ก่อนที่จะไปกดสั่งซื้อหมากฝรั่งมาเคี้ยวกัน ถ้าเทียบเป็นปริมาณพลังงานที่แตกต่างกัน ก็เพิ่มมาประมาณ 0.4-0.7 kJ/min โดยเฉลี่ย หรือถ้าคิดเป็นแคลอรี่ก็คือน้อยมากๆ เพราะว่า 1kJ นั้นเทียบคร่าวๆก็ราว 0.24 หรือ 1/4 แคลเท่านั้นเอง ต่อให้เคี้ยวแบบแข็งไป 1 ชั่วโมง ก็ใช้พลังงานราว 42kJ หรือประมาณ 1.75 แคล (คิดแบบกลมๆเลยนะ) เท่านั้นนะครับ
⚡️ อีกส่วนนึงที่เขาดูเรื่องสัญญาณไฟฟ้า EMG เปรียบเทียบระหว่างการเคี้ยวหมากฝรั่งแบบนิ่มกับแบบแข็งกว่า ก็พบว่าการเคี้ยวแบบแข็งก็ทำให้กล้ามเนื้อมีกิจกรรมที่มากกว่า (จริงๆมันก็พอจะนึกออกได้ว่ามันต้องเป็นแบบนี้แหละ แต่เมื่อเป็นวิทยาศาสตร์ มันต้องมีหลักฐานที่ทำออกมาให้เห็นชัดเจนกันแบบนี้)
🤔 ทีนี้เขาก็สงสัยว่า เอ๊ะ แล้วถ้าคนที่มีกล้ามเนื้อบดเคี้ยวหนากว่าอีกคนล่ะ (แน่นอนนะครับ เบ้าหน้าแต่ละคนกล้ามเนื้อโครงสร้างย่อมมีความแตกต่างกัน) จะใช้พลังงานจากการเคี้ยวมากกว่ารึเปล่า จากข้อมูลที่เขาพบพบว่า ขนาดความหนาของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวดูจะใช้คาดการณ์พลังงานที่แตกต่างกันไม่ได้ เพราะมันต่างกันน้อยมากจนเหมือนจะไม่ต่างกันเลยด้วยซ้ำ
🤔 เอ๊ะแล้วถ้าเคี้ยวไปเรื่อยๆนานๆล่ะ จะช่วยเพิ่มการเผาผลาญได้ขนาดไหน เขาก็ลองให้อาสาสมัครเนี่ยเคี้ยวหมากฝรั่งแต่ละแบบ ด้วยระยะเวลาที่นานแตกต่างกัน 7.2 นาที 35.3 นาที และ 75.7 นาที พบว่าการเคี้ยวแบบแข็ง นาน 75.7 นาที พลังงานที่เพิ่มมาจากการเคี้ยวหมากฝรั่ง คิดเป็นร้อยละจากพลังงานที่ใช้ทั้งวัน ได้ประมาณร้อยละ 0.5 นั่นเคี้ยวไปชั่วโมงกว่านะ
ใน😎 ส่วนของงานนี้เขาก็อภิปรายต่อไปถึงวิวัฒนาการการทานของมนุษย์ ในส่วนที่เราอาจจะนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้จากงานนี้ ก็มองได้หลายแบบนะครับ
📌 จะมองว่าเฮ้ย การทานอาหารที่มันมีความต้องบดเคี้ยว ไม่ใช่พวกที่ย่อยง่าย เข้าปากปุ๊บแทบจะไหลถึงลำไส้ใหญ่ หรือการทานอาหารแบบค่อยๆเคี้ยวนานๆ มันเพิ่มการเผาผลาญได้จริงนะ ถึงแม้จะน้อยแต่ก็เพิ่มได้มากขึ้น (แต่
น้อยจริงๆนะ) ก็ดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย อันนั้นก็ได้นะ
📌 หรือจะมองว่าเฮ้ย ขนาดนั่งเคี้ยวเอื้องเป็นชั่วโมง ใช้พลังงานเพิ่มมาปิ๋วเดียว อย่ากระนั้นเลย รีบกินรีบไปทำอย่างอื่น ใช้พลังงานได้มากกว่าเห็นๆ อันนั้นก็ได้เหมือนกัน
😎 สำหรับผมผมว่า ก็ทานให้มันพอดีๆแหละ ไม่ต้องเร็วไปจนเป็นภาระระบบย่อยอาหาร ไม่ต้องให้มันเนิบมากเพราะหวังว่าการเผาผลาญจะเพิ่มขึ้นมากกว่าการทานเร็วๆ เพราะที่เพิ่มมานี่กระปิ๋วหลิวมาก ไปหวังจากจุดอื่นที่มันควรสนใจน่าจะได้อะไรกว่า อันนั้นก็แล้วแต่จะคิดกันไปนะครับ
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-09-09-the-cost-of-chewing/
เคี้ยวหมากฝรั่งเพิ่มการเผาผลาญได้ 10-15% !! โอ้ววว จอร์จมันยอดมาก 😲
📚 งานที่เอามาแชร์ในวันนี้จริงๆ เขาพูดถึงว่ามนุษย์ในอดีตน่าจะมีการใช้พลังงานในการบดเคี้ยวอาหาร ที่มากกว่าเราในปัจจุบัน สาเหตุเพราะอะไร .. บางท่านอาจจะพอเดาได้แล้ว ก่อนอื่นเราไปดูในส่วนที่เขาศึกษาก่อนดีกว่า
📝 งานนี้เขาศึกษาดูผลของพลังงาน (Energy Expenditure) ที่เราใช้ไปในการเคี้ยวอาหาร (Chewing) เขาก็นำกลุ่มตัวอย่างมา 21 คน ผู้ชาย 15 อายุระหว่าง 18-45 ปี ไม่มีปัญหาที่เกี่ยวกับช่องปากในช่วงปีที่ผ่านมา
😎 ทีนี้พอจะศึกษาถึงพลังงานที่ใช้ในการเคี้ยวอย่างเดียว เขาจึงพยายามที่จะตัดสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการใช้พลังงานได้ออกไป เช่นการย่อยและดูดซึมอาหาร หรือพวกการรับรู้จากรูป รส และกลิ่น เพราะถ้าให้เคี้ยวเนื้อสัตว์ อ่ะเดี๋ยวพอกลืนลงไป ก็มีพลังงานที่ทำให้อาหารเคลื่อนที่ผ่านหลอดอาหาร ไปกระเพราะเพื่อย่อย เพื่ออะไรอีก
📌 เขาก็เลยใช้หมากฝรั่ง ที่ไม่มีสารอาหาร ไม่มีรสกฝรั่งที่ใช้ในงานนี้มี 2 แบบคือแบบนิ่ม กับแบบที่แข็งกว่า ส่วนการวัดพลังงาน เราใช้วิธี Indirect calorimetry ดูค่า O2 และ CO2 ก็ถือว่ามีความน่าเชื่อถือที่โอเคเลยสำหรับงานวิจัย นอกจากนั้นก็มีการใช้ EMG จัดเพื่อดูผลของกล้ามเนื้อในขณะเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีเนื้อแตกต่างกันสองแบบ
🔎 ผลที่ได้ก็คือ พลังงานที่ใช้ในในการเคี้ยว มันก็มีเพิ่มขึ้นจากตอนที่เราไม่ได้เคี้ยวจริงๆแหละครับ แล้วเมื่อเทียบกันระหว่างการเคี้ยวหมากฝรั่งแบบนิ่ม กับแบบแข็ง แบบแข็งก็ใช้พลังงานในการเคี้ยวมากกว่าจริงๆ ถ้าเทียบเป็นร้อยละส่วนที่เพิ่มมาเนี่ย เพิ่มมามากถึงร้อยละ 10-15% เลยนะครับ !!
😎 แต่เดี๋ยวก่อน ก่อนที่จะไปกดสั่งซื้อหมากฝรั่งมาเคี้ยวกัน ถ้าเทียบเป็นปริมาณพลังงานที่แตกต่างกัน ก็เพิ่มมาประมาณ 0.4-0.7 kJ/min โดยเฉลี่ย หรือถ้าคิดเป็นแคลอรี่ก็คือน้อยมากๆ เพราะว่า 1kJ นั้นเทียบคร่าวๆก็ราว 0.24 หรือ 1/4 แคลเท่านั้นเอง ต่อให้เคี้ยวแบบแข็งไป 1 ชั่วโมง ก็ใช้พลังงานราว 42kJ หรือประมาณ 1.75 แคล (คิดแบบกลมๆเลยนะ) เท่านั้นนะครับ
⚡️ อีกส่วนนึงที่เขาดูเรื่องสัญญาณไฟฟ้า EMG เปรียบเทียบระหว่างการเคี้ยวหมากฝรั่งแบบนิ่มกับแบบแข็งกว่า ก็พบว่าการเคี้ยวแบบแข็งก็ทำให้กล้ามเนื้อมีกิจกรรมที่มากกว่า (จริงๆมันก็พอจะนึกออกได้ว่ามันต้องเป็นแบบนี้แหละ แต่เมื่อเป็นวิทยาศาสตร์ มันต้องมีหลักฐานที่ทำออกมาให้เห็นชัดเจนกันแบบนี้)
🤔 ทีนี้เขาก็สงสัยว่า เอ๊ะ แล้วถ้าคนที่มีกล้ามเนื้อบดเคี้ยวหนากว่าอีกคนล่ะ (แน่นอนนะครับ เบ้าหน้าแต่ละคนกล้ามเนื้อโครงสร้างย่อมมีความแตกต่างกัน) จะใช้พลังงานจากการเคี้ยวมากกว่ารึเปล่า จากข้อมูลที่เขาพบพบว่า ขนาดความหนาของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวดูจะใช้คาดการณ์พลังงานที่แตกต่างกันไม่ได้ เพราะมันต่างกันน้อยมากจนเหมือนจะไม่ต่างกันเลยด้วยซ้ำ
🤔 เอ๊ะแล้วถ้าเคี้ยวไปเรื่อยๆนานๆล่ะ จะช่วยเพิ่มการเผาผลาญได้ขนาดไหน เขาก็ลองให้อาสาสมัครเนี่ยเคี้ยวหมากฝรั่งแต่ละแบบ ด้วยระยะเวลาที่นานแตกต่างกัน 7.2 นาที 35.3 นาที และ 75.7 นาที พบว่าการเคี้ยวแบบแข็ง นาน 75.7 นาที พลังงานที่เพิ่มมาจากการเคี้ยวหมากฝรั่ง คิดเป็นร้อยละจากพลังงานที่ใช้ทั้งวัน ได้ประมาณร้อยละ 0.5 นั่นเคี้ยวไปชั่วโมงกว่านะ
ใน😎 ส่วนของงานนี้เขาก็อภิปรายต่อไปถึงวิวัฒนาการการทานของมนุษย์ ในส่วนที่เราอาจจะนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้จากงานนี้ ก็มองได้หลายแบบนะครับ
📌 จะมองว่าเฮ้ย การทานอาหารที่มันมีความต้องบดเคี้ยว ไม่ใช่พวกที่ย่อยง่าย เข้าปากปุ๊บแทบจะไหลถึงลำไส้ใหญ่ หรือการทานอาหารแบบค่อยๆเคี้ยวนานๆ มันเพิ่มการเผาผลาญได้จริงนะ ถึงแม้จะน้อยแต่ก็เพิ่มได้มากขึ้น (แต่น้อยจริงๆนะ) ก็ดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย อันนั้นก็ได้นะ
📌 หรือจะมองว่าเฮ้ย ขนาดนั่งเคี้ยวเอื้องเป็นชั่วโมง ใช้พลังงานเพิ่มมาปิ๋วเดียว อย่ากระนั้นเลย รีบกินรีบไปทำอย่างอื่น ใช้พลังงานได้มากกว่าเห็นๆ อันนั้นก็ได้เหมือนกัน
😎 สำหรับผมผมว่า ก็ทานให้มันพอดีๆแหละ ไม่ต้องเร็วไปจนเป็นภาระระบบย่อยอาหาร ไม่ต้องให้มันเนิบมากเพราะหวังว่าการเผาผลาญจะเพิ่มขึ้นมากกว่าการทานเร็วๆ เพราะที่เพิ่มมานี่กระปิ๋วหลิวมาก ไปหวังจากจุดอื่นที่มันควรสนใจน่าจะได้อะไรกว่า อันนั้นก็แล้วแต่จะคิดกันไปนะครับ
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-09-09-the-cost-of-chewing/