วันนี้ลุงตู่นั่งทำงานอยู่ที่กระทรวงกลาโหมค่ะ
ย้ำความเห็นของอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้งนะคะ
อดีตตุลาการศาลรธน. ชี้ชัดบทเฉพาะกาล ม.264 ดึงมาโยงกับวาระ 8 ปีนายกฯไม่ได้
12 ก.ย.2565 - อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รายหนึ่ง แสดงความคิดเห็นถึงแนวทางในการตีความวาระดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า ตามหลักกฎหมายทั่วไป บทเฉพาะกาลถือเป็นข้อยกเว้นจากหลักเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งในกรณีมาตรา 264 ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2560 ก็เช่นกัน เป็นข้อยกเว้นที่เขียนให้รัฐบาลที่อยู่ก่อนรัฐธรรมนูญบังคับใช้เป็นรัฐบาลโดยชอบตามรัฐธรรมนูญ ก็เพื่อให้ไม่มีรอยแหว่ง ให้มีความต่อเนื่อง เพราะไม่เช่นนั้นจะหาว่ารัฐบาลที่อยู่ก่อนรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นรัฐบาลเถื่อน แต่ตั้งใครไปก็เป็นโมฆะ ใช้เงินก็เป็นโมฆะ ดังนั้นจึงต้องมีข้อยกเว้นเป็นบทเฉพาะกาลดังกล่าวไว้ เหมือนกับกฎหมายทุกฉบับ
“เมื่อบทเฉพาะกาลถือเป็นข้อยกเว้น ก็มีหลักว่าข้อยกเว้นจะต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งมาตรา 264 ก็ตีความเฉพาะว่ารัฐบาลมีความต่อเนื่องตีความแค่เรื่องนี้ ไม่เกี่ยวกับเรื่องวาระการดำรงตำแหน่ง จะเอาเรื่องนี้ไปใช้ด้วยไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทีหลัง ทั้งนี้รัฐบาลตามรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะใช้เงื่อนไขทุกอย่างตามรัฐธรรมนูญ ทั้งคุณสมบัตินายกฯ คุณสมบัติรัฐมนตรี จะต้องเริ่มตั้งแต่วันที่มีการแต่งตั้งรัฐบาล วันที่ 9 มิ.ย.2562 ดังนั้นหากจะนับ 8 ปีก็จะต้องนับตั้งแต่ปี 2562 ส่วนใครจะเป็นนายกฯ ก็ให้เป็นให้เบื่อไปเลย แต่กติกาเป็นอย่างนี้”
อย่างไรก็ตาม กรณีการดำรงตำแหน่งนายกฯของ พล.อ.ประ ยุทธ์ จะเอามาเทียบเคียงกับกรณีของนายสิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ไม่ได้ เพราะนายสิระ สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ก็ต้องใช้คุณสมบัติที่เขียนไว้ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ดังนั้นจะไปเปรียบเทียบกันไม่ได้ เพราะเป็นคนละเรื่อง
“เรื่องนี้จริงๆแล้วทุกคนรู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เพียงแต่ตะแบง เพราะหลักกฎหมายทั่วไป บทเฉพาะกาลและข้อยกเว้นตามกฎหมายจะต้องตีความโดยเคร่งครัด หากใครลืมเอาปริญญานิติศาสตร์ไปคืนอาจารย์ได้ ทั้งที่เรื่องนี้ไม่ยากเลย แต่สุดท้ายไม่ว่าจะตัดสินว่าอย่างไร ก็โดนด่าทั้ง 2 ฝ่าย หากบอกว่าอยู่ต่อก็ถูกด่า บอกว่าไปก็ถูกด่า”
อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังกล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดส่งสำเนาบันทึกการประชุมและรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ครั้งที่ 501 เพื่อประกอบการพิจารณา ว่า ไม่แน่ใจว่าเป็นการลีลาหรือไม่ เพราะการจะตัดสินอะไรคงไม่ต้องไปถามคนร่างกฎหมาย ไม่อย่างนั้นก็คงจะต้องตามไปถามคนร่างกฎหมายกันหมด ทั้งที่กฎหมายเขียนไว้ชัดแล้ว ก็ต้องตีความกันอยู่ตรงนี้ จะไปเถียงอะไรกัน หรือการจะไปเอาผู้เชี่ยวชาญมาแสดงความคิดเห็นเดี๋ยวก็พูดอย่างนั้น เดี๋ยวก็พูดอย่างนี้ เพราะความคิดเห็นของคนเราเปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่จะต้องไปฟังความคิดเห็นคนร่างกฎหมายอะไรมาก เพราะศาลรัฐธรรมนูญเป็นคนใช้กฎหมาย คนเขียนกฎหมายไม่ได้เป็นคนใช้ ดังนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นคนใช้กฎหมายก็ต้องเป็นคนตีความเองว่าเขียนมาแบบนี้จะแปลความแบบไหน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอะไรเลย
วิษณุ’ ย้ำตั้งกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษถกปม 8 ปีนายกฯ ไม่ขัดระเบียบ ชี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เพราะเป็นตำแหน่งโปรดเกล้าฯ ถือเป็นปัญหาประเทศ แนะสื่อรอฟังศาล รธน. อย่าวิจารณ์มาก
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การตั้งข้อสังเกตการณ์ตั้งกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ พิจารณาปมนายกฯ 8 ปี ขัดหลักกฤษฎีกาหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวของพลเอกประยุทธ์ ว่า ไม่ขัดระเบียบ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นตำแหน่งทางราชการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ และมีปัญหาเกิดขึ้น ถือเป็นปัญหาของประเทศ
ส่วนที่สังคมออนไลน์ตั้งคำถามว่า นายกรัฐมนตรีขาดตอนหมายถึงอะไร นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ ขอให้รอฟังคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ อย่าวิพากษ์วิจารณ์ พร้อมระบุ นายกรัฐมนตรีตามบทเฉพาะกาล ยึดตาม รธน. มาตรา 264 และขอร้องสื่อฯ อย่ามาถามเรื่องนี้ เพราะนั้นคือ คำให้การที่ชี้แจง ถูกบ้าง ผิดบ้าง ก็ไม่รู้ แล้วแต่จะให้การไป และตอบไปตามประเด็นที่ผู้ร้องตั้งประเด็นไว้ สุดท้ายจะเป็นอย่างไร ถูกหรือผิด ฟังขึ้นหรือไม่ อยู่ที่ศาล ศาลอาจทิ้งประเด็นต่างๆ ก็ได้ อย่างบางประเด็นที่ให้การมา ตนก็ไม่เห็นด้วยที่จะต้องไปตอบทั้งหมด แต่เมื่อทีมกฎหมายเห็นว่า ตอบให้หมดทุกข้อก็ได้
ส่วนเรื่องที่ไม่ควรตอบคืออะไรนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า เรื่องนี้เคยมีคำวินิจฉัยของศาลมาแล้วว่า แบบนั้นแบบนี้ แต่ก็ไม่ตรงกับเรื่องปัจจุบัน แล้วจะชี้แจงทำไม แต่เมื่ออยากชี้แจงก็ชี้แจงไป อย่างมากก็เสมอตัวไม่ขาดทุน และย้ำอีกครั้งว่า ให้รอฟังศาล ไม่มีประโยชน์ที่มาวิพากษ์วิจารณ์
นายวิษณุ ยังระบุว่า ไม่ทราบว่าในวันที่ 14 ก.ย.นี้ ศาลจะวินิจฉัยหรือไม่ พร้อมยืนยันว่า รัฐบาลยังไม่ได้วางแนวทางรับมือว่า หลังจากนี้จะเป็นอย่างไร เพราะถ้าวินิจฉัยว่า 8 ปีไม่ได้เริ่มนับตั้งแต่ปี57 พลเอกประยุทธ์ก็กลับมาทำงานได้ในวันรุ่งขึ้น แต่ศาลนับตั้งแต่ปี 57 ซึ่งก็ครบตั้งแต่ 24 ส.ค. 65 ก็ไม่ต้องกลับมา โดยพลเอกประวิตรก็นั่งรักษาการไป จะกี่วันก็แล้วแต่ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ จะเรียกประชุมสภา และไม่มีอะไรโมฆะทั้งสิ้น
นายวิษณุ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ถ้าเริ่มนับตั้งแต่ปี 57 พลเอกประยุทธ์ จะพ้นไป และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดไปด้วย แต่ก็รักษาการไปไม่มีปัญหา โดยพลเอกประยุทธ์ก็สามารถรักษาการ แต่ก็มองว่า ไม่ควร โดยให้พลเอกประวิตรรักษาการไป จนกว่านายชวน จะมีการเรียกประชุม เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่
เมื่อถามว่า พลเอกประวิตร รักษาการมีอำนาจยุบสภาหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนตอบเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้วว่า ทฤษฎีมี แต่ในทางปฏิบัติไม่ใช่เรื่องง่าย พร้อมยกตัวอย่างสมัยพฤษภาทมิฬ ที่พลเอกสุจินดา คราประยูร ลาออกจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายมีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นรักษาการ และมีการเตรียมคิดที่จะยุบสภา ซึ่งมีอำนาจ แต่เมื่อคิดไปคิดมาก็ไม่ทำ ก็ให้เขาไปหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ แล้วให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ยุบสภาดีกว่า ซึ่งก็ได้นายอานันท์ ปันยารชุนแล้วก็ยุบสภา
นายวิษณุ ยอมรับว่า วันหยุดสุดสัปดาห์ ได้พบ
กับนายมีชัย แต่ไม่ได้พูดคุยกัน โดยพบในงานสังคมที่มีคนจำนวนมาก ไม่ได้คุยเรื่องนายกรัฐมนตรี 8 ปี และมองว่าไม่จำเป็นต้องคุย พร้อมย้อนถามสื่อว่า ตนใกล้ชิดกับนายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขานุการ กรธ.มาก ในฐานะผู้บังคับบัญชา ซึ่งนายมีชัยและนายปกรณ์ต่างก็ต้องชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญ แต่ทำไมสื่อสนใจเพียงนายมีชัยจะตอบอะไร แต่ไม่สนใจว่า นายปกรณ์จะตอบอะไร เมื่อถามย้ำว่าได้คุยกับนายปกรณ์หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่ตอบ
“ไม่มีปัญหา ไม่มีอะไรต้องเตรียมตัวเตรียมใจทั้งสิ้น ถ้าศาลบอกว่า นับตั้งแต่ปี 57 ก็ครบ 8 ปี ครม.ก็สิ้นสุดลง แต่ก็รักษาการต่อไป พลเอกประวิตรก็รักษาการจนกระทั่งประธานชวน เลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องตั้งครม.ใหม่ และถวายสัตย์ปฏิญาณตน จึงจะทำให้ครม.รักษาการพ้นไป” นายวิษณุ กล่าว
ให้กำลังใจลุงตู่กลับมาทำหน้าที่นายกฯต่อไปค่ะ...🤟💕🤟💕
💛มาลาริน💛รอลุงตู่มาปฏิบัติหน้าที่นายกฯค่ะ..วันนี้ย้ำความเห็นอดีตตลก.ศาลรธน. รองนายกฯวิษณุชี้ตั้งกรรมการฯไม่ขัดระเบียบ
อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังกล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดส่งสำเนาบันทึกการประชุมและรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ครั้งที่ 501 เพื่อประกอบการพิจารณา ว่า ไม่แน่ใจว่าเป็นการลีลาหรือไม่ เพราะการจะตัดสินอะไรคงไม่ต้องไปถามคนร่างกฎหมาย ไม่อย่างนั้นก็คงจะต้องตามไปถามคนร่างกฎหมายกันหมด ทั้งที่กฎหมายเขียนไว้ชัดแล้ว ก็ต้องตีความกันอยู่ตรงนี้ จะไปเถียงอะไรกัน หรือการจะไปเอาผู้เชี่ยวชาญมาแสดงความคิดเห็นเดี๋ยวก็พูดอย่างนั้น เดี๋ยวก็พูดอย่างนี้ เพราะความคิดเห็นของคนเราเปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่จะต้องไปฟังความคิดเห็นคนร่างกฎหมายอะไรมาก เพราะศาลรัฐธรรมนูญเป็นคนใช้กฎหมาย คนเขียนกฎหมายไม่ได้เป็นคนใช้ ดังนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นคนใช้กฎหมายก็ต้องเป็นคนตีความเองว่าเขียนมาแบบนี้จะแปลความแบบไหน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอะไรเลย
กับนายมีชัย แต่ไม่ได้พูดคุยกัน โดยพบในงานสังคมที่มีคนจำนวนมาก ไม่ได้คุยเรื่องนายกรัฐมนตรี 8 ปี และมองว่าไม่จำเป็นต้องคุย พร้อมย้อนถามสื่อว่า ตนใกล้ชิดกับนายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขานุการ กรธ.มาก ในฐานะผู้บังคับบัญชา ซึ่งนายมีชัยและนายปกรณ์ต่างก็ต้องชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญ แต่ทำไมสื่อสนใจเพียงนายมีชัยจะตอบอะไร แต่ไม่สนใจว่า นายปกรณ์จะตอบอะไร เมื่อถามย้ำว่าได้คุยกับนายปกรณ์หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่ตอบ