https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=9&item=26&items=25&preline=1
[๓๓] ๗. (๓) อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า
บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่ามโนปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นมักเพ่งโทษกันและกัน
เกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันเกินควร ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน
จึงลำบากกายลำบากใจ พากันจุติจากชั้นนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้
เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส
อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท
อาศัยมนสิการโดยชอบแล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต
ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้
เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า....
" ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่ามโนปโทสิกะ ย่อมไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร
เมื่อไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ก็ไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน
แล้ว ก็ไม่ลำบากกาย ไม่ลำบากใจ พวกนั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ มีอัน
ไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว "
" ส่วนพวกเราได้เป็นพวกมโนปโทสิกะ มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร
ก็คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน ก็พากันลำบากกาย ลำบากใจ พวกเราจึงพากันจุติจาก
ชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้ "....เช่นนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นฐานะที่ ๓
ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
สรุป...
1. สัตว์..ที่เดิมเป็นเทวดาพวก " มโนปโทสิกะ "... ตายจาะเทวดา..มาได้การเกิดเป็นมนุษย์
แล้วมีคุณวิเศษโดยระลึกชาติได้..แค่ตอนที่เป็นเทวดา..นั้น หลังจากนั้นระลึกไม่ได้..
ก็รู้ว่า.. เพราะมัวเพ่งโทษมุ่งร้ายกัน..จึงตายจากสวรรค์
จึงสรุปว่า.." ตนนะ.ไม่เที่ยง "
ส่วนพวกที่ไม่ใช่เทวดา
พวกมโนปโทสิกะ...ไม่เพ่งโทษมุ่งร้ายกัน.. " พวกอื่นนั้น..เป็นผู้เที่ยง "
เมื่อรู้แค่นี้..ก็เลย..บัญญัติว่า
" บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง. "
2.
การที่เข้ารู้ว่า..เขาก่อนมาเกิด..ได้กาย มโนปโทสิกะ.. และตอนนี้ได้กายมนุษย์
เพราะการระลึกชาติได้... สิ่งนี้เป็นจริง...พระศาสดาท่านรับรอง
3. ส่วนที่ไม่จริง.. เป็นมิจฉาทิฏฐิ..ก็คือ... "
สัตว์ทั้งหลายไม่เที่ยง ".. ไม่มีสัตว์เที่ยง..
สิ่งที่เที่ยงคือ..." หากไม่สิ้นตัณหา...เพราะว่ารู้โดยชอบแล้ว.. ก็จะท่องไปในวัฏฏะอย่างไม่มีสิ้นสุด "
ดังพุทธพจน์ที่ว่า...
"
เราไม่กล่าว่า.. สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น..มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่
จะกระทำที่สุดทุกข์ได้... "
" สัตว์ "ตอนที่ 39 :ทิฏฐิ62..เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔ ..แบบที่ 3...มัวเพ่งโทษมุ่งร้ายกัน.....จนตกสวรรค์
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=9&item=26&items=25&preline=1
[๓๓] ๗. (๓) อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า
บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่ามโนปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นมักเพ่งโทษกันและกัน
เกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันเกินควร ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน
จึงลำบากกายลำบากใจ พากันจุติจากชั้นนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้
เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส
อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท
อาศัยมนสิการโดยชอบแล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต
ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้
เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า....
" ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่ามโนปโทสิกะ ย่อมไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร
เมื่อไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ก็ไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน
แล้ว ก็ไม่ลำบากกาย ไม่ลำบากใจ พวกนั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ มีอัน
ไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว "
" ส่วนพวกเราได้เป็นพวกมโนปโทสิกะ มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร
ก็คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน ก็พากันลำบากกาย ลำบากใจ พวกเราจึงพากันจุติจาก
ชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้ "....เช่นนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นฐานะที่ ๓
ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
สรุป...
1. สัตว์..ที่เดิมเป็นเทวดาพวก " มโนปโทสิกะ "... ตายจาะเทวดา..มาได้การเกิดเป็นมนุษย์
แล้วมีคุณวิเศษโดยระลึกชาติได้..แค่ตอนที่เป็นเทวดา..นั้น หลังจากนั้นระลึกไม่ได้..
ก็รู้ว่า.. เพราะมัวเพ่งโทษมุ่งร้ายกัน..จึงตายจากสวรรค์ จึงสรุปว่า.." ตนนะ.ไม่เที่ยง "
ส่วนพวกที่ไม่ใช่เทวดาพวกมโนปโทสิกะ...ไม่เพ่งโทษมุ่งร้ายกัน.. " พวกอื่นนั้น..เป็นผู้เที่ยง "
เมื่อรู้แค่นี้..ก็เลย..บัญญัติว่า
" บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง. "
2. การที่เข้ารู้ว่า..เขาก่อนมาเกิด..ได้กาย มโนปโทสิกะ.. และตอนนี้ได้กายมนุษย์
เพราะการระลึกชาติได้... สิ่งนี้เป็นจริง...พระศาสดาท่านรับรอง
3. ส่วนที่ไม่จริง.. เป็นมิจฉาทิฏฐิ..ก็คือ... " สัตว์ทั้งหลายไม่เที่ยง ".. ไม่มีสัตว์เที่ยง..
สิ่งที่เที่ยงคือ..." หากไม่สิ้นตัณหา...เพราะว่ารู้โดยชอบแล้ว.. ก็จะท่องไปในวัฏฏะอย่างไม่มีสิ้นสุด "
ดังพุทธพจน์ที่ว่า...
" เราไม่กล่าว่า.. สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น..มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่
จะกระทำที่สุดทุกข์ได้... "