๙. ธีตุสูตร
[๔๕๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
[..อนมตคฺโคยํ ภิกฺขเว สํสาโร ปุพฺพา โกฏิ น ปญฺญายติ
อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหาสญฺโญชนานํ สนฺธาวตํ สํสรตํ ฯ ]
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
เมื่อ
เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่
ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
[..น โส ภิกฺขเว สตฺโต สุลภรูโป โย น ธีตา ภูตปุพฺโพ ..]
สัตว์ที่ไม่เคยเป็นธิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลายพวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ
ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่าย
ในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๙
สรุป..
1. สิ่งที่เวียนว่ายในสังสารวัฏ.. สี่งนั้น..พระศาสดทรงเรียกว่า
" สัตว์ - สตฺต - สตฺตา - สตฺโต "..
นี่จากข้อความบาลีที่ว่า "
อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหาสญฺโญชนานํ สนฺธาวตํ สํสรตํ "
2. พระองค์กล่าวว่า.. เพราะเหตุที่สังสารวัฏ..มันมีนานมาก..จนไม่สามารถหาเบื้องต้น..และ..เบื้องปลายได้
ดังนั้น... สัตว์ผู้ยึดติด(ในอุปาทานขันธ์5)..ผู้ซึ่งไมเคยได้การเกิดเป็นบุตรสาว..นั้น หายากมาก
ทุกๆคน..เคยได้การเกิดเป็นบุตรสาวมาแล้วกันทุกๆคน..
3. เราจึงคิดพิจารณาต่อไปได้..ว่า...
แม้นปัจจุบันจะได้การเกิดอย่างไร ในอดีตล้วนได้เป็นบุตรสาวมาแล้ว...
เพราะว่า...ในอดีต..และ..ปัจจุบัน..เราก็คือ " สัตว์ตัวเดียวกัน - ตัวเดิม "
4. เมื่อเกิดชาติ...สัตว์ไม่ได้เกิด แต่...สัตว์ได้การเกิด...สิ่งที่เกิดชาติ..คือ..ขันธ์5เท่านั้น
เมื่อตายมรณะ...สัตว์ไม่ได้ตาย..มรณะ แต่...สัตว์ได้การตาย..ได้มรณะ...สิ่งที่ตายมรณะ..คือ..ขันธ์5เท่านั้น
ดังพุทธพจน์ที่ว่า..
" ทุกฺขเมว อุปฺปชฺชมานํ อุปฺปชฺชติ ทุกฺขํ นิรุชฺฌมานํ นิรุชฺฌตีติ น กงฺขติ น วิจิกิจฺฉติ ฯ "
แปลว่า..
"
ทุกข์นั่นหละ..เมื่ออุบัติขึ้น..ก็อุบัติขึ้นมา ทุกข์..เมื่อดับ..ก็ดับไป <---(อริยสาวก)ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัย.. "
ตรงนี้..พระองค์หมายถึง..กฏอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท..
ที่ว่า "
ทุกข์เกิด ---> อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ --- เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ --- เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
ทุกข์ดับ ---> อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ --- เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นัรุชฺฌติ ---เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป "
" สัตว์ "ตอนที่ 30 :สัตว์ท่องไปมา..ในสังสารวัฏมานานมาก.. จนสัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็น " บุตรสาว "..นั้นไม่ง่ายเลย
๙. ธีตุสูตร
[๔๕๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
[..อนมตคฺโคยํ ภิกฺขเว สํสาโร ปุพฺพา โกฏิ น ปญฺญายติ
อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหาสญฺโญชนานํ สนฺธาวตํ สํสรตํ ฯ ]
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่
ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
[..น โส ภิกฺขเว สตฺโต สุลภรูโป โย น ธีตา ภูตปุพฺโพ ..]
สัตว์ที่ไม่เคยเป็นธิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลายพวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่าย
ในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๙
สรุป..
1. สิ่งที่เวียนว่ายในสังสารวัฏ.. สี่งนั้น..พระศาสดทรงเรียกว่า " สัตว์ - สตฺต - สตฺตา - สตฺโต "..
นี่จากข้อความบาลีที่ว่า " อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหาสญฺโญชนานํ สนฺธาวตํ สํสรตํ "
2. พระองค์กล่าวว่า.. เพราะเหตุที่สังสารวัฏ..มันมีนานมาก..จนไม่สามารถหาเบื้องต้น..และ..เบื้องปลายได้
ดังนั้น... สัตว์ผู้ยึดติด(ในอุปาทานขันธ์5)..ผู้ซึ่งไมเคยได้การเกิดเป็นบุตรสาว..นั้น หายากมาก
ทุกๆคน..เคยได้การเกิดเป็นบุตรสาวมาแล้วกันทุกๆคน..
3. เราจึงคิดพิจารณาต่อไปได้..ว่า...
แม้นปัจจุบันจะได้การเกิดอย่างไร ในอดีตล้วนได้เป็นบุตรสาวมาแล้ว...
เพราะว่า...ในอดีต..และ..ปัจจุบัน..เราก็คือ " สัตว์ตัวเดียวกัน - ตัวเดิม "
4. เมื่อเกิดชาติ...สัตว์ไม่ได้เกิด แต่...สัตว์ได้การเกิด...สิ่งที่เกิดชาติ..คือ..ขันธ์5เท่านั้น
เมื่อตายมรณะ...สัตว์ไม่ได้ตาย..มรณะ แต่...สัตว์ได้การตาย..ได้มรณะ...สิ่งที่ตายมรณะ..คือ..ขันธ์5เท่านั้น
ดังพุทธพจน์ที่ว่า..
" ทุกฺขเมว อุปฺปชฺชมานํ อุปฺปชฺชติ ทุกฺขํ นิรุชฺฌมานํ นิรุชฺฌตีติ น กงฺขติ น วิจิกิจฺฉติ ฯ "
แปลว่า..
" ทุกข์นั่นหละ..เมื่ออุบัติขึ้น..ก็อุบัติขึ้นมา ทุกข์..เมื่อดับ..ก็ดับไป <---(อริยสาวก)ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัย.. "
ตรงนี้..พระองค์หมายถึง..กฏอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท..
ที่ว่า "
ทุกข์เกิด ---> อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ --- เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ --- เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
ทุกข์ดับ ---> อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ --- เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นัรุชฺฌติ ---เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป "