ก้าวแรกของการกลับไปเยือนดวงจันทร์ของมนุษย์
.
วันนี้เวลา 19.33 น. ชวนติดตามก้าวแรกอันยิ่งใหญ่ของการกลับไปเยือนดวงจันทร์ของมนุษย์ กับภารกิจ "อาร์ทีมิส 1" ที่จะทดสอบการส่งยานไปโคจรรอบดวงจันทร์แล้วกลับมายังโลก ก่อนจะส่งมนุษย์ขึ้นไปด้วยจริง ๆ ในภารกิจถัด ๆ ไป
.
วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2022 องค์การนาซาจะส่งจรวดมุ่งหน้าไปยังดวงจันทร์อีกครั้งกับภารกิจอาร์ทีมิส 1 (Artemis I) ภารกิจนี้นับเป็นภารกิจแรกที่ได้ใช้งานจรวด SLS (Space Launch System) ที่ผ่านการพัฒนามานานกว่า 1 ทศวรรษ และนับเป็นเที่ยวบินที่ 2 ของยานบรรทุกนักบินอวกาศโอไรออน (Orion) หลังจากเที่ยวบินทดสอบครั้งแรกในปี ค.ศ. 2014
.
ในภารกิจอาร์ทีมิส 1 จรวด SLS จะพายานโอไรออน “ที่ไม่ได้บรรทุกนักบินอวกาศไปด้วย” โคจรรอบดวงจันทร์ก่อนที่ยานกลับมายังโลก โดยภารกิจนี้จะสิ้นสุดเมื่อยานโอไรออนลงสู่ผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้เมืองซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย และจะกลายเป็นภารกิจทดสอบความพร้อมครั้งสำคัญของจรวด SLS และยานโอไรออน ก่อนที่จะส่งมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์อีกครั้งในภารกิจอาร์ทีมิส 2
.
ทำไมภารกิจอาร์ทีมิส 1 ถึงสำคัญ?
หากภารกิจอาร์ทีมิส 1 สำเร็จด้วยดี จะเป็นกำลังสนับสนุนที่สำคัญต่อโครงการสำรวจอวกาศขององค์การนาซา ซึ่งต้องผจญอุปสรรคต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง งบประมาณ และปัญหาเชิงเทคนิค ขณะเตรียมการพามนุษย์กลับสู่การสำรวจห้วงอวกาศลึกอีกครั้ง โดยจรวด SLS เริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี ค.ศ.2011 อาศัยพื้นฐานเทคโนโลยีจากท่อนจรวดที่เคยใช้กับกระสวยอวกาศ
.
จรวด SLS จะถูกปรับปรุงให้มีจรวดเชื้อเพลิงแข็ง (จรวดสีขาว 2 ลำที่อยู่ขนาบข้าง) และท่อนจรวดเชื้อเพลิงเหลว (ท่อนจรวดหลักสีส้ม) ที่มีขนาดใหญ่กว่าจรวดเชื้อเพลิงแข็งของกระสวยอวกาศ พร้อมดัดแปลงให้ยานบรรทุกสัมภาระหรือยานบรรทุกนักบินอวกาศ (ยานโอไรออน) อยู่บนหัวจรวด ขณะที่เครื่องยนต์จรวดแบบที่เคยติดตั้งที่ท้ายกระสวยอวกาศ (เครื่องยนต์จรวด RS-25) จำนวน 4 ตัว จะนำมาใช้กับท่อนหลักของจรวด SLS โดยจะถูกปลดทิ้งลงมหาสมุทรพร้อมกับจรวดท่อนล่างเมื่อบรรลุเป้าหมายแล้ว
องค์การนาซาประกาศว่า Lockheed Martin บริษัทด้านการบินอวกาศในสหรัฐฯ จะเป็นผู้สร้างยานโอไรออนในปี ค.ศ. 2006 ก่อนที่ยานโอไรออนจะมีเที่ยวบินทดสอบด้วยการโคจรรอบโลกในปี ค.ศ. 2014 เพื่อทดสอบสภาวะที่ยานโอไรออนจะต้องเจอระหว่างการเดินทางด้วยอัตราเร็วสูงตอนกลับสู่พื้นผิวโลก ขณะที่เที่ยวบินในภารกิจอาร์ทีมิส 1 จะเป็นการทดสอบการเดินทางขากลับจากดวงจันทร์อย่างเต็มรูปแบบ
.
ภารกิจอาร์ทีมิส 1 ยังเป็นภารกิจทดสอบทั้งจรวด SLS และยานโอไรออนอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกด้วย แม้ว่าภารกิจนี้จะไม่มีนักบินอวกาศขึ้นไป แต่ที่นั่งของนักบินอวกาศจะติดตั้งหุ่นที่ติดตั้งเซนเซอร์วัดสภาพการแผ่รังสี ส่วนบริเวณที่นั่งจะมีเซนเซอร์ที่ใช้วัดข้อมูลอัตราเร่งและการสั่นของยานตลอดเที่ยวบิน ขณะที่ระบบการสื่อสาร ระบบเชื้อเพลิง และระบบนำทางของยานโอไรออนก็จะต้องทดสอบในเที่ยวบินอวกาศครั้งนี้เช่นกัน
.
การปล่อยจรวดในภารกิจอาร์ทีมิส 1 จะมีขึ้นเมื่อไหร่?
การปล่อยจรวดในภารกิจอาร์ทีมิส 1 มีกำหนดการในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2022 เวลา 19:33 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ซึ่งการปล่อยจรวดจริงสามารถล่าช้ากว่าช่วงเวลาที่กำหนดได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง
หากการปล่อยจรวดเป็นไปได้ด้วยดี กำหนดการโดยสังเขปของภารกิจอาร์ทีมิสจะเป็นไปตามนี้
- วันที่ 1 ของเที่ยวบิน : ปล่อยจรวด
- วันที่ 2-5 ของเที่ยวบิน : เดินทางมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์
- วันที่ 6-9 : เฉียดใกล้ดวงจันทร์และปรับวิถีของยาน
- วันที่ 10-23 : โคจรรอบดวงจันทร์
- วันที่ 24-34 : ออกจากวงโคจรรอบดวงจันทร์
- วันที่ 35-42 : เดินทางกลับสู่โลก
- วันที่ 43 : ลงสู่พื้นน้ำในมหาสมุทร
จากเพจ CM108
การปล่อยจรวด Artemis I ก้าวแรกของการกลับไปเยือนดวงจันทร์ของมนุษย์
ก้าวแรกของการกลับไปเยือนดวงจันทร์ของมนุษย์
.
วันนี้เวลา 19.33 น. ชวนติดตามก้าวแรกอันยิ่งใหญ่ของการกลับไปเยือนดวงจันทร์ของมนุษย์ กับภารกิจ "อาร์ทีมิส 1" ที่จะทดสอบการส่งยานไปโคจรรอบดวงจันทร์แล้วกลับมายังโลก ก่อนจะส่งมนุษย์ขึ้นไปด้วยจริง ๆ ในภารกิจถัด ๆ ไป
.
วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2022 องค์การนาซาจะส่งจรวดมุ่งหน้าไปยังดวงจันทร์อีกครั้งกับภารกิจอาร์ทีมิส 1 (Artemis I) ภารกิจนี้นับเป็นภารกิจแรกที่ได้ใช้งานจรวด SLS (Space Launch System) ที่ผ่านการพัฒนามานานกว่า 1 ทศวรรษ และนับเป็นเที่ยวบินที่ 2 ของยานบรรทุกนักบินอวกาศโอไรออน (Orion) หลังจากเที่ยวบินทดสอบครั้งแรกในปี ค.ศ. 2014
.
ในภารกิจอาร์ทีมิส 1 จรวด SLS จะพายานโอไรออน “ที่ไม่ได้บรรทุกนักบินอวกาศไปด้วย” โคจรรอบดวงจันทร์ก่อนที่ยานกลับมายังโลก โดยภารกิจนี้จะสิ้นสุดเมื่อยานโอไรออนลงสู่ผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้เมืองซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย และจะกลายเป็นภารกิจทดสอบความพร้อมครั้งสำคัญของจรวด SLS และยานโอไรออน ก่อนที่จะส่งมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์อีกครั้งในภารกิจอาร์ทีมิส 2
.
ทำไมภารกิจอาร์ทีมิส 1 ถึงสำคัญ?
หากภารกิจอาร์ทีมิส 1 สำเร็จด้วยดี จะเป็นกำลังสนับสนุนที่สำคัญต่อโครงการสำรวจอวกาศขององค์การนาซา ซึ่งต้องผจญอุปสรรคต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง งบประมาณ และปัญหาเชิงเทคนิค ขณะเตรียมการพามนุษย์กลับสู่การสำรวจห้วงอวกาศลึกอีกครั้ง โดยจรวด SLS เริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี ค.ศ.2011 อาศัยพื้นฐานเทคโนโลยีจากท่อนจรวดที่เคยใช้กับกระสวยอวกาศ
.
จรวด SLS จะถูกปรับปรุงให้มีจรวดเชื้อเพลิงแข็ง (จรวดสีขาว 2 ลำที่อยู่ขนาบข้าง) และท่อนจรวดเชื้อเพลิงเหลว (ท่อนจรวดหลักสีส้ม) ที่มีขนาดใหญ่กว่าจรวดเชื้อเพลิงแข็งของกระสวยอวกาศ พร้อมดัดแปลงให้ยานบรรทุกสัมภาระหรือยานบรรทุกนักบินอวกาศ (ยานโอไรออน) อยู่บนหัวจรวด ขณะที่เครื่องยนต์จรวดแบบที่เคยติดตั้งที่ท้ายกระสวยอวกาศ (เครื่องยนต์จรวด RS-25) จำนวน 4 ตัว จะนำมาใช้กับท่อนหลักของจรวด SLS โดยจะถูกปลดทิ้งลงมหาสมุทรพร้อมกับจรวดท่อนล่างเมื่อบรรลุเป้าหมายแล้ว
องค์การนาซาประกาศว่า Lockheed Martin บริษัทด้านการบินอวกาศในสหรัฐฯ จะเป็นผู้สร้างยานโอไรออนในปี ค.ศ. 2006 ก่อนที่ยานโอไรออนจะมีเที่ยวบินทดสอบด้วยการโคจรรอบโลกในปี ค.ศ. 2014 เพื่อทดสอบสภาวะที่ยานโอไรออนจะต้องเจอระหว่างการเดินทางด้วยอัตราเร็วสูงตอนกลับสู่พื้นผิวโลก ขณะที่เที่ยวบินในภารกิจอาร์ทีมิส 1 จะเป็นการทดสอบการเดินทางขากลับจากดวงจันทร์อย่างเต็มรูปแบบ
.
ภารกิจอาร์ทีมิส 1 ยังเป็นภารกิจทดสอบทั้งจรวด SLS และยานโอไรออนอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกด้วย แม้ว่าภารกิจนี้จะไม่มีนักบินอวกาศขึ้นไป แต่ที่นั่งของนักบินอวกาศจะติดตั้งหุ่นที่ติดตั้งเซนเซอร์วัดสภาพการแผ่รังสี ส่วนบริเวณที่นั่งจะมีเซนเซอร์ที่ใช้วัดข้อมูลอัตราเร่งและการสั่นของยานตลอดเที่ยวบิน ขณะที่ระบบการสื่อสาร ระบบเชื้อเพลิง และระบบนำทางของยานโอไรออนก็จะต้องทดสอบในเที่ยวบินอวกาศครั้งนี้เช่นกัน
.
การปล่อยจรวดในภารกิจอาร์ทีมิส 1 จะมีขึ้นเมื่อไหร่?
การปล่อยจรวดในภารกิจอาร์ทีมิส 1 มีกำหนดการในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2022 เวลา 19:33 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ซึ่งการปล่อยจรวดจริงสามารถล่าช้ากว่าช่วงเวลาที่กำหนดได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง
หากการปล่อยจรวดเป็นไปได้ด้วยดี กำหนดการโดยสังเขปของภารกิจอาร์ทีมิสจะเป็นไปตามนี้
- วันที่ 1 ของเที่ยวบิน : ปล่อยจรวด
- วันที่ 2-5 ของเที่ยวบิน : เดินทางมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์
- วันที่ 6-9 : เฉียดใกล้ดวงจันทร์และปรับวิถีของยาน
- วันที่ 10-23 : โคจรรอบดวงจันทร์
- วันที่ 24-34 : ออกจากวงโคจรรอบดวงจันทร์
- วันที่ 35-42 : เดินทางกลับสู่โลก
- วันที่ 43 : ลงสู่พื้นน้ำในมหาสมุทร
จากเพจ CM108