เอาบทความมาแลกโหวตครับ หากคิดว่ามันให้ความรู้ หรือทำให้สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศมากขึ้น ช่วยโหวตให้คะแนนผมได้ไปอวกาศด้วยครับที่https://www2.axeapollo.com/en_PH/33121/tawon-uthaicharoenpong
หนทางสู่ดวงจันทร์ ของโซเวียต Luna program
หลังจากประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมไปโคจรรอบโลกแล้ว จุดมุ่งหมายต่อไปของโซเวียตก็คือการไปสู่ดวงจันทร์ก่อนอเมริกัน
ลูน่าโปรแกรม (Luna programme) ได้ริเริ่มขึ้นระหว่างปี 1959 ถึงปี 1976 มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา องค์ประกอบทางเคมี แรงดึงดูด อุณหภูมิ และ รังสี บนดวงจันทร์ ยานอวกาศที่ได้ตั้งชื่อเป็นทางการว่า Luna มีทั้งหมด 24 ลำ แม้ว่าภารกิจที่ล้มเหลวจะไม่ถูกแต่งตั้งหมายเลขภารกิจให้ก็ตาม (ขนาดเฉพาะที่สำเร็จยังมีตั้ง 24 ครั้ง!)
แบบจำลอง ยานอวกาศ Luna 1 [http://en.wikipedia.org/wiki/Luna_1]
ยาวอวกาศลำแรกชื่อว่า Luna 1 มีจุดประสงค์ที่จะพุ่งเข้าชนดวงจันทร์ (จะไปให้ถึงก่อนนั้นแหละ) แต่ว่าศุนย์ควบคุมภาคพื้นดินที่รัสเซียกลับมีข้อผิดพลาดทำให้ระบบตั้งเวลาเดินเครื่องยนต์ทำงานผิดพลาด ทำให้ Luna 1 พลาดดวงจันทร์ไป 5,900 กิโลเมตร ถึงภารกิจจะล้มเหลวแต่ก็มีความสำคัญพอที่จะได้หมายเลขภารกิจ เพราะว่า Luna 1 เป็นสิ่งของที่มนุษย์ทำขึ้นชิ้นแรก ที่หลุดออกจากแรงโน้มถ่วงของโลก และเดินทางออกสู่อวกาศเบื้องลึกอย่างแท้จริง และเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในอวกาศ เช่น ลมสุริยะ แถบรังสี สนามแม่เหล็กของดวงจันทร์ เป็นต้น Luna 1 ถูกส่งขึ้นไปสู่อวกาศโดยจรวด R-7 (ชื่อทางการ 8K72) ที่เราได้พูดถึงในซีรีส์ก่อนหน้านี้ จรวด 8K72ได้ถูกปรับแต่งเพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจนี้และได้เปลี่ยนชื่อเป็น Luna 8K72 นั้นเองซึ่งหมายความว่ามันยังอยู่ในตระกูลของจรวด R-7 ที่ เซอร์เกย์ โคโรเลฟเป็นผู้ออกแบบนั้นเอง
ยานอวกาศ Pioneer 4 ของฝั่งสหรัฐ ซึ่งมีภารกิจเหมือนกับ Luna 1 ทุกประการ [http://en.wikipedia.org/wiki/Pioneer_4]
เรื่องที่น่าสนใจในช่วงเวลาเดียวกันก็คือ ทางฝั่งอเมริกาก็มีภารกิจแบบเดียวกันกับ Luna 1 แป้ะ! ซึ่งก็คือ การส่งยานอวกาศ Pioneer 4 ไปสู่ดวงจันทร์ โดยบินผ่านดวงจันทร์ไป 60,000 กิโลเมตร พร้อมด้วยเครื่องมือตรวจสอบกัมมันตภาพรังสี Pioneer 4 ถูกส่งภายหลัง Luna 1 ประมาณสองเดือนในวันที่ 3 มีนาคม 1959
12 กันยายน 1959 9 เดือนหลังจากภารกิจ Luna 1 ล้มเหลว ภารกิจ Luna 2 ที่ประสบความสำเร็จในการลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการประกาศความสำเร็จบนพื้นผิวดวงจันทร์ โซเวียตได้ใส่ของที่ระลึกเข้าไปใน Luna 2 และชิ้นส่วนของจรวดที่จะตกกระทบพื้นผิวดวงจันทร์ ด้วยซึ่งก็คือ ลูกบอลสเตนเลสและเส้นอลูมิเนียมบาง ที่สลักชื่อสหภาพโซเวียต และปีเอาไว้ (СССР СЕНТЯБРЬ 1959 , USSR SEPTEMBER 1959) วันที่ 15 กันยายน ผู้นำโซเวียต นิกิต้า ครุสเซฟ มอบแบบจำลองลูกบอลนี้เป็นของขวัญให้แก่ ประธานาธิบดี ของอเมริกา ไอเซ่นฮาวเออร์ (หยามหน้ากันเห็นๆ เหอะๆๆ)
ลูกบอลสเตนเลส และเส้นอลูมิเนียมที่ส่งไปกับ Luna 2
ภารกิจต่อมาก็มีเรื่องน่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน Luna 3 ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 1959 มีภารกิจที่สำคัญคือ เป็นภารกิจแรกที่เป็นการโคจร รอบดวงจันทร์และได้มีการถ่ายรูปด้านมืดของดวงจันทร์เป็นครั้งแรก (บนโลกเราจะเห็นด้านสว่างของดวงจันทร์เพียงด้านเดียวเท่านั้น) แม้รูปที่ได้จะมีคุณภาพต่ำแต่ว่าก็สามารถสร้างความสนใจได้ทั่วโลก หากคิดให้ดีๆแล้ว สมัยนั้นไม่มีทั้งกล้องถ่ายรูปดิจิตอลและระบบสื่อสารความเร็วสูง แล้ว Luna 3 เล็งกล้องและส่งรูปกลับมายังโลกได้อย่างไร?
Luna 3 ส่วนกล้องและเซนเซอร์ตรวจจับดวงจันทร์ อยู่ทางด้านซ้ายของภาพ [http://www.svengrahn.pp.se/trackind/luna3/Luna3story.html] (ในลิงค์มีเรื่องน่าอ่านด้วยนะ!)
Luna 3 เป็นยานอวกาศลำแรกที่ใช้เทคโนโลยีการทรงตัวแบบสามแกน ซึ่งจำเป็นในการหยุนการหมุนของยานและเล็งกล้องไปยังดวงจันทร์ เมื่อเซนเซอร์ตรวจจับแสง ได้รับแสงอาทิตย์ที่อยู่ด้านหลังของดวงจันทร์ ยาน Luna 3 ก็เริ่มต้นการถ่ายภาพ โดยระบบถ่ายภาพ Yenisey-2 ซึ่งเป็นระบบกล้องสองเลนส์ พร้อมด้วยระบบล้างรูปอัติโนมัติ และเครื่องสแกนภาพ! เมื่อภาพถ่ายได้และทำการล้างภาพเสร็จสิ้น ฟิล์มจะถูกส่งต่อไปยังเครื่องสแกนแบบหลอดคาโทดเปลี่ยนจุดขาว-ดำเป็นข้อมูลดิจิตอลและส่งไปยังโลก ซึ่งคล้ายคลึงกับการส่งแฟกส์นั้นเอง Luna 3ถ่ายรูปทั้งหมด 29 รูป ถ่ายใน 40 นาที แต่สามารถส่งข้อมูลมายังโลกสำเร็จเพียง 17 รูป และมีเพียง 6 รูปเท่านั้นที่ได้รับการตีพิมพ์
ภาพที่ส่งกลับมายังโลก [http://en.wikipedia.org/wiki/File:Luna_3_moon.jpg]
ระบบถ่ายภาพ yenisey-2
มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพิชิตอวกาศของโซเวียตเกิดขึ้นจำนวนมากภายใต้ Luna program ทั้ง 24 ภารกิจนี้ ทั้งการลงจอดบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรกและ การเก็บตัวอย่างพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลก แต่ยังมีภารกิจที่ข้ามไม่ลงเลยจริงๆนั้นก็คือภารกิจ Luna 15 (13 กรกฏาคม 1969 ) ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจส่งกลับตัวอย่างพื้นผิวดวงจันทร์ ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่ Apollo 11 ได้ลงจอดบนดวงจันทร์ และ นีล อาร์มสตรอง กับ บัซ อัลดรินได้เหยีบพื้นผิวดวงจันทร์ครั้งประวัติศาสตร์ และ Luna 15 ได้เริ่มการลดระดับลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ และพุ่งชนภูเขาในภายหลัง ภารกิจนี้ยังเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการร่วมมือกันระว่าง โซเวียต-อเมริกัน เพราะโซเวียตต้องการตรวจสอบว่ากำหนดการของทั้งสองภารกิจจะไม่ชนกัน แต่ว่าต่างฝ่ายก็ต่างไม่ได้ให้ข้อมูลของภารกิจฝ่ายตนเอง
จรวดที่ใช้ส่งยานส่งยานอวกาศใน Luna program นั้นเป็นจรวดที่ดัดแปลงมาจากจรวด R-7 ทั้งสิ้น
- Luna 1-3 ใช้จรวด Luna 8K72
http://en.wikipedia.org/wiki/Luna_(rocket)
- Luna 4 - 14 ใช้จรวด Molniya-M 8K78M ซึ่งก็ยังเป็นจรวดที่ดัดแปลงมาจากจรวด R-7
http://en.wikipedia.org/wiki/Molniya-M
- Luna 15-24 ใช้จรวด Proton-K 8K82K
http://en.wikipedia.org/wiki/Proton-K ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับจรวด R-7 เลย เนื่องจากเป็นคู่แข่งของ เซอเกย์ โคโรเลฟ บิดาแห่ง จรวดของโซเวียต ที่เกิดมีปัญหาการเมืองขึ้นมาจนโคโรเลฟถูกส่งไปค่ายกักกัน!
ดราม่าไม่เคยปราณีใครจริงๆ ตอนหน้าเราจะพูดถึงจรวด Proton-K และจรวดรุ่นต่อๆไปกันครับ
[Soyuz Series] Apollo11 ไม่ได้เป็นเพียงยานอวกาศลำเดียวบนดวงจันทร์ขณะนั้น
หนทางสู่ดวงจันทร์ ของโซเวียต Luna program
หลังจากประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมไปโคจรรอบโลกแล้ว จุดมุ่งหมายต่อไปของโซเวียตก็คือการไปสู่ดวงจันทร์ก่อนอเมริกัน
ลูน่าโปรแกรม (Luna programme) ได้ริเริ่มขึ้นระหว่างปี 1959 ถึงปี 1976 มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา องค์ประกอบทางเคมี แรงดึงดูด อุณหภูมิ และ รังสี บนดวงจันทร์ ยานอวกาศที่ได้ตั้งชื่อเป็นทางการว่า Luna มีทั้งหมด 24 ลำ แม้ว่าภารกิจที่ล้มเหลวจะไม่ถูกแต่งตั้งหมายเลขภารกิจให้ก็ตาม (ขนาดเฉพาะที่สำเร็จยังมีตั้ง 24 ครั้ง!)
แบบจำลอง ยานอวกาศ Luna 1 [http://en.wikipedia.org/wiki/Luna_1]
ยาวอวกาศลำแรกชื่อว่า Luna 1 มีจุดประสงค์ที่จะพุ่งเข้าชนดวงจันทร์ (จะไปให้ถึงก่อนนั้นแหละ) แต่ว่าศุนย์ควบคุมภาคพื้นดินที่รัสเซียกลับมีข้อผิดพลาดทำให้ระบบตั้งเวลาเดินเครื่องยนต์ทำงานผิดพลาด ทำให้ Luna 1 พลาดดวงจันทร์ไป 5,900 กิโลเมตร ถึงภารกิจจะล้มเหลวแต่ก็มีความสำคัญพอที่จะได้หมายเลขภารกิจ เพราะว่า Luna 1 เป็นสิ่งของที่มนุษย์ทำขึ้นชิ้นแรก ที่หลุดออกจากแรงโน้มถ่วงของโลก และเดินทางออกสู่อวกาศเบื้องลึกอย่างแท้จริง และเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในอวกาศ เช่น ลมสุริยะ แถบรังสี สนามแม่เหล็กของดวงจันทร์ เป็นต้น Luna 1 ถูกส่งขึ้นไปสู่อวกาศโดยจรวด R-7 (ชื่อทางการ 8K72) ที่เราได้พูดถึงในซีรีส์ก่อนหน้านี้ จรวด 8K72ได้ถูกปรับแต่งเพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจนี้และได้เปลี่ยนชื่อเป็น Luna 8K72 นั้นเองซึ่งหมายความว่ามันยังอยู่ในตระกูลของจรวด R-7 ที่ เซอร์เกย์ โคโรเลฟเป็นผู้ออกแบบนั้นเอง
ยานอวกาศ Pioneer 4 ของฝั่งสหรัฐ ซึ่งมีภารกิจเหมือนกับ Luna 1 ทุกประการ [http://en.wikipedia.org/wiki/Pioneer_4]
เรื่องที่น่าสนใจในช่วงเวลาเดียวกันก็คือ ทางฝั่งอเมริกาก็มีภารกิจแบบเดียวกันกับ Luna 1 แป้ะ! ซึ่งก็คือ การส่งยานอวกาศ Pioneer 4 ไปสู่ดวงจันทร์ โดยบินผ่านดวงจันทร์ไป 60,000 กิโลเมตร พร้อมด้วยเครื่องมือตรวจสอบกัมมันตภาพรังสี Pioneer 4 ถูกส่งภายหลัง Luna 1 ประมาณสองเดือนในวันที่ 3 มีนาคม 1959
12 กันยายน 1959 9 เดือนหลังจากภารกิจ Luna 1 ล้มเหลว ภารกิจ Luna 2 ที่ประสบความสำเร็จในการลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการประกาศความสำเร็จบนพื้นผิวดวงจันทร์ โซเวียตได้ใส่ของที่ระลึกเข้าไปใน Luna 2 และชิ้นส่วนของจรวดที่จะตกกระทบพื้นผิวดวงจันทร์ ด้วยซึ่งก็คือ ลูกบอลสเตนเลสและเส้นอลูมิเนียมบาง ที่สลักชื่อสหภาพโซเวียต และปีเอาไว้ (СССР СЕНТЯБРЬ 1959 , USSR SEPTEMBER 1959) วันที่ 15 กันยายน ผู้นำโซเวียต นิกิต้า ครุสเซฟ มอบแบบจำลองลูกบอลนี้เป็นของขวัญให้แก่ ประธานาธิบดี ของอเมริกา ไอเซ่นฮาวเออร์ (หยามหน้ากันเห็นๆ เหอะๆๆ)
ลูกบอลสเตนเลส และเส้นอลูมิเนียมที่ส่งไปกับ Luna 2
ภารกิจต่อมาก็มีเรื่องน่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน Luna 3 ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 1959 มีภารกิจที่สำคัญคือ เป็นภารกิจแรกที่เป็นการโคจร รอบดวงจันทร์และได้มีการถ่ายรูปด้านมืดของดวงจันทร์เป็นครั้งแรก (บนโลกเราจะเห็นด้านสว่างของดวงจันทร์เพียงด้านเดียวเท่านั้น) แม้รูปที่ได้จะมีคุณภาพต่ำแต่ว่าก็สามารถสร้างความสนใจได้ทั่วโลก หากคิดให้ดีๆแล้ว สมัยนั้นไม่มีทั้งกล้องถ่ายรูปดิจิตอลและระบบสื่อสารความเร็วสูง แล้ว Luna 3 เล็งกล้องและส่งรูปกลับมายังโลกได้อย่างไร?
Luna 3 ส่วนกล้องและเซนเซอร์ตรวจจับดวงจันทร์ อยู่ทางด้านซ้ายของภาพ [http://www.svengrahn.pp.se/trackind/luna3/Luna3story.html] (ในลิงค์มีเรื่องน่าอ่านด้วยนะ!)
Luna 3 เป็นยานอวกาศลำแรกที่ใช้เทคโนโลยีการทรงตัวแบบสามแกน ซึ่งจำเป็นในการหยุนการหมุนของยานและเล็งกล้องไปยังดวงจันทร์ เมื่อเซนเซอร์ตรวจจับแสง ได้รับแสงอาทิตย์ที่อยู่ด้านหลังของดวงจันทร์ ยาน Luna 3 ก็เริ่มต้นการถ่ายภาพ โดยระบบถ่ายภาพ Yenisey-2 ซึ่งเป็นระบบกล้องสองเลนส์ พร้อมด้วยระบบล้างรูปอัติโนมัติ และเครื่องสแกนภาพ! เมื่อภาพถ่ายได้และทำการล้างภาพเสร็จสิ้น ฟิล์มจะถูกส่งต่อไปยังเครื่องสแกนแบบหลอดคาโทดเปลี่ยนจุดขาว-ดำเป็นข้อมูลดิจิตอลและส่งไปยังโลก ซึ่งคล้ายคลึงกับการส่งแฟกส์นั้นเอง Luna 3ถ่ายรูปทั้งหมด 29 รูป ถ่ายใน 40 นาที แต่สามารถส่งข้อมูลมายังโลกสำเร็จเพียง 17 รูป และมีเพียง 6 รูปเท่านั้นที่ได้รับการตีพิมพ์
ภาพที่ส่งกลับมายังโลก [http://en.wikipedia.org/wiki/File:Luna_3_moon.jpg]
ระบบถ่ายภาพ yenisey-2
มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพิชิตอวกาศของโซเวียตเกิดขึ้นจำนวนมากภายใต้ Luna program ทั้ง 24 ภารกิจนี้ ทั้งการลงจอดบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรกและ การเก็บตัวอย่างพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลก แต่ยังมีภารกิจที่ข้ามไม่ลงเลยจริงๆนั้นก็คือภารกิจ Luna 15 (13 กรกฏาคม 1969 ) ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจส่งกลับตัวอย่างพื้นผิวดวงจันทร์ ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่ Apollo 11 ได้ลงจอดบนดวงจันทร์ และ นีล อาร์มสตรอง กับ บัซ อัลดรินได้เหยีบพื้นผิวดวงจันทร์ครั้งประวัติศาสตร์ และ Luna 15 ได้เริ่มการลดระดับลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ และพุ่งชนภูเขาในภายหลัง ภารกิจนี้ยังเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการร่วมมือกันระว่าง โซเวียต-อเมริกัน เพราะโซเวียตต้องการตรวจสอบว่ากำหนดการของทั้งสองภารกิจจะไม่ชนกัน แต่ว่าต่างฝ่ายก็ต่างไม่ได้ให้ข้อมูลของภารกิจฝ่ายตนเอง
จรวดที่ใช้ส่งยานส่งยานอวกาศใน Luna program นั้นเป็นจรวดที่ดัดแปลงมาจากจรวด R-7 ทั้งสิ้น
- Luna 1-3 ใช้จรวด Luna 8K72 http://en.wikipedia.org/wiki/Luna_(rocket)
- Luna 4 - 14 ใช้จรวด Molniya-M 8K78M ซึ่งก็ยังเป็นจรวดที่ดัดแปลงมาจากจรวด R-7 http://en.wikipedia.org/wiki/Molniya-M
- Luna 15-24 ใช้จรวด Proton-K 8K82K http://en.wikipedia.org/wiki/Proton-K ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับจรวด R-7 เลย เนื่องจากเป็นคู่แข่งของ เซอเกย์ โคโรเลฟ บิดาแห่ง จรวดของโซเวียต ที่เกิดมีปัญหาการเมืองขึ้นมาจนโคโรเลฟถูกส่งไปค่ายกักกัน!
ดราม่าไม่เคยปราณีใครจริงๆ ตอนหน้าเราจะพูดถึงจรวด Proton-K และจรวดรุ่นต่อๆไปกันครับ