ผมได้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมส่งคนไปอวกาศของAxe และต้องการคะแนนโหวตจากทุกท่านเพื่อที่ผมจะได้ไปอวกาศ ผมไม่ได้อยากไปอวกาศ เพียงเพื่อที่จะได้ออกทีวี หรือมีชื่อเสียง แต่ผมเชื่อว่าผมสามารถใช้โอกาสนี้ในการให้ความรู้ และแรงบันดาลใจแก่เด็ก และประชาชนทั่วไป ในเรื่องี่เกี่ยวกับอวกาศ และเทคโนโลยีอวกาศได้ครับ หากท่านคิดว่าสิ่งที่ผมนำเสนอให้ความรู้ มีประโยชน์ รบกวนท่านช่วยโหวตให้คะแนนผมด้วยครับที่
https://www2.axeapollo.com/en_PH/33121/tawon-uthaicharoenpong
ก่อนที่จะมาเป็น Soyuz โซเวียตได้มีการพัฒนาอย่างมากมายในด้านของเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อที่จะแข่งขันกับสหัรฐในช่วงสงครามเย็น (1947-1991) ซึ่งบรรพบุรุษของ Soyuz นั้นก็มาจากความพยายามที่จะสร้างขีปนาวุธนิวเคลียร์มาห่ำหั่นกับสหรัฐนั่นเอง
การพัฒนาจรวดของโซเวียตนั้นเชื่อกันว่าเริ่มต้นมาจากการยึดจรวด V-2 มาจากนาซีเยอรมันในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 พร้อมทั้งนักวิทยาศาสตร์และคนงานที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาจรวด V-2 และย้ายมายังสถานีวิจัยพิเศษใกล้กรุงมอสโควในปี 1946 และได้ก่อตั้ง สถาบันวิจัยขีปนาวุธขึ้นชื่อว่า OKB-1 ภายใต้การนำของ หัวหน้านักออกแบบ (Cheif designer) ผู้ซึ่งชื่อถูกปิดไว้เป็นความลับ จนมาถูกเปิดเผยในภายหลังว่าคือ เซอเกย์ โคโรเลฟ (Sergey Korolev) โคโรเลฟนี้เองที่เป็นตัวหลักในการพัฒนาทางด้านอวกาศของโซเวียตในภายหลัง
จรวด R-1 บนแท่นปล่อย [http://www.russianspaceweb.com/r1.html]
ในปี 1947 สตาลินได้สั่งให้เริ่มการสร้างจรวด R-1 ซึ่งลอกแบบมาจาก V-2 ทั้งสิ้นแต่หากว่าส่วนประกอบทั้งหมดได้ทำขึ้นโดยโซเวียตเอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาจรวดในรุ่นต่อๆมาของโซเวียต
R-1 มีความสูง 14 เมตร พิสัยไกลสุด 270 กิโลเมตร ความแม่นยำ 5 กิโลเมตร
R-7 บนแท่นปล่อย http://www.russianspaceweb.com/r7.html
R-7 ในมุมมองต่างๆ [http://en.wikipedia.org/wiki/R-7_Semyorka]
จนถึงปี 1959 จากจรวด R-1 ได้พัฒนามาถึงจรวด R-7 ซึ่งมีลักษณะในการออกแบบ แบบกลุ่มเครื่องยนต์ เครื่องยนต์แต่ละเครื่องจะมีถังน้ำมันเป็นของตัวเองและความคุมให้ทำงานร่วมกันผ่านสัญญาณวิทยุ เครื่องยนต์ขั้นที่1จะประกบอยู่รอบๆเครื่องยนต์ขั้นที่2 จะเห็นได้จากภาพข้างล่าง
ภาพจรวด R-7 แยกส่วน แสดงเครื่องยนต์ขั้นที่1 4เครื่องยนต์ และขั้นที่2 1เครื่องยนต์ [
http://www.russianspaceweb.com/r7.html
]
เครื่องยนต์ขั้นที่1แต่ละส่วนนั้นประกอบด้วย 6 เครื่องยนต์ย่อย แบ่งเป็นเครื่องยนต์ขับดัน 4 เครื่องและเครื่องยนต์ช่วยในการเลี้ยว 2 เครื่อง (สังเกตุท่อไอเสียเล็กๆ 2 อันในรูป) การพัฒนาไม่ได้มีให้เห็นเพียงเครื่องยนต์ที่ใหญ่และซับซ้อนขึ้นเท่านั้น ฐานปล่อยจรวดก็ต้องมีการพัฒนาเช่นกัน โดยแทนที่จะตั้งปล่อยแบบจรวด R-1 จรวด R-7 จะถูกตรึงไว้กับที่โดยแขน 4 ข้างที่ยกมันลอยขึ้นจากพื้น เพื่อป้องกันแรงประทะจากลมขณะปล่อย
R-7 สามารถปล่อยหัวรบนิวเคลียร์ได้ 1 ลูกและมีพิสัยไกลถึง 8800 กิโลเมตร แต่อย่างไรก็ตามราคาค่าใช้จ่ายของ R-7 นั้นแพงมากเพราะต้องสร้างฐานปล่อยขนาดใหญ่ในที่ห่างไกล และสามารถตรวจจับได้ง่ายโดยเครื่องบินสอดแนม U-2 ของสหรัฐ R-7 ต้องใช้เวลาเตรียมการในการปล่อยนานถึง 20 ชั่วโมง ซึ่งนั้นหมายความว่า ทันทีที่สหรัฐสืบได้ว่ามีการเริ่มการยิงนิวเคลียร์ ฐานปล่อยก็จะสามารถถูกทำลายได้อย่างง่ายดาย และความสามารถในการขนขีปนาวุธขนาดใหญ่ของมันนั้นก็ไม่จำเป็นอีกต่อไปเพราะการพัฒนาของเทคโนโลยีระเบิดสมัยใหม่ที่ทำให้มีน้ำหนักลดลง เหตุผลทั้งหลายที่กล่าวมานั้นทำให้ R-7 เป็นขีปนาวุธที่ไม่น่าใช้อีกต่อไป แต่ว่ามันเหมาะอย่างยิ่งสำหรับระบบขนส่งสู่อวกาศ! จรวด R-7 นี่เองที่ใช้ส่ง Sputnik1 ดาวเทียมดวงแรกของโลก และ Sputnik2 ซึ่งก็คือ ไลก้า สิ่งมีชีวิตนอกโลกชนิดแรก
Sputnik1 ดาวเทียมดวงแรกของโลก ไม่มีอะไรนอกจากเครื่องวิทยุและแบตเตอรี่ [http://en.wikipedia.org/wiki/Sputnik_1]
Laika สิ่งมีชีวิตนอกโลกรายแรก ส่งโดยจรวด R-7 ที่ถูกดัดแปลง [http://en.wikipedia.org/wiki/Laika]
จรวด R-7 ได้ถูกถอนออกจากกองทัพในปี 1968 แต่ว่ามันยังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ในกิจกรรมสำรวจอวกาศซึ่งโซเวียตเป็นผู้นำในขณะนั้น
ผมขอจบตอน Soyuz มรดกจากโซเวียต สู่วงการอวกาศโลก [ยุคเริ่มต้น] ไว้เพียงเท่านี้ก่อน ต่อไปผมจะพูดถึงการไปสู่ดวงจันทร์ของโซเวียต ซึ่งเป็นประเทศแรกในการ "ไปถึง"ดวงจันทร์ ก่อนหน้าสหรัฐ คู่ปรับตลอดการ
เอาบทความมาแลกโหวตครับ [Soyuz Series] Soyuz มรดกจากโซเวียต สู่วงการอวกาศโลก [ยุคเริ่มต้น]
ก่อนที่จะมาเป็น Soyuz โซเวียตได้มีการพัฒนาอย่างมากมายในด้านของเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อที่จะแข่งขันกับสหัรฐในช่วงสงครามเย็น (1947-1991) ซึ่งบรรพบุรุษของ Soyuz นั้นก็มาจากความพยายามที่จะสร้างขีปนาวุธนิวเคลียร์มาห่ำหั่นกับสหรัฐนั่นเอง
การพัฒนาจรวดของโซเวียตนั้นเชื่อกันว่าเริ่มต้นมาจากการยึดจรวด V-2 มาจากนาซีเยอรมันในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 พร้อมทั้งนักวิทยาศาสตร์และคนงานที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาจรวด V-2 และย้ายมายังสถานีวิจัยพิเศษใกล้กรุงมอสโควในปี 1946 และได้ก่อตั้ง สถาบันวิจัยขีปนาวุธขึ้นชื่อว่า OKB-1 ภายใต้การนำของ หัวหน้านักออกแบบ (Cheif designer) ผู้ซึ่งชื่อถูกปิดไว้เป็นความลับ จนมาถูกเปิดเผยในภายหลังว่าคือ เซอเกย์ โคโรเลฟ (Sergey Korolev) โคโรเลฟนี้เองที่เป็นตัวหลักในการพัฒนาทางด้านอวกาศของโซเวียตในภายหลัง
จรวด R-1 บนแท่นปล่อย [http://www.russianspaceweb.com/r1.html]
ในปี 1947 สตาลินได้สั่งให้เริ่มการสร้างจรวด R-1 ซึ่งลอกแบบมาจาก V-2 ทั้งสิ้นแต่หากว่าส่วนประกอบทั้งหมดได้ทำขึ้นโดยโซเวียตเอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาจรวดในรุ่นต่อๆมาของโซเวียต
R-1 มีความสูง 14 เมตร พิสัยไกลสุด 270 กิโลเมตร ความแม่นยำ 5 กิโลเมตร
R-7 บนแท่นปล่อย http://www.russianspaceweb.com/r7.html
R-7 ในมุมมองต่างๆ [http://en.wikipedia.org/wiki/R-7_Semyorka]
จนถึงปี 1959 จากจรวด R-1 ได้พัฒนามาถึงจรวด R-7 ซึ่งมีลักษณะในการออกแบบ แบบกลุ่มเครื่องยนต์ เครื่องยนต์แต่ละเครื่องจะมีถังน้ำมันเป็นของตัวเองและความคุมให้ทำงานร่วมกันผ่านสัญญาณวิทยุ เครื่องยนต์ขั้นที่1จะประกบอยู่รอบๆเครื่องยนต์ขั้นที่2 จะเห็นได้จากภาพข้างล่าง
ภาพจรวด R-7 แยกส่วน แสดงเครื่องยนต์ขั้นที่1 4เครื่องยนต์ และขั้นที่2 1เครื่องยนต์ [
http://www.russianspaceweb.com/r7.html
]เครื่องยนต์ขั้นที่1แต่ละส่วนนั้นประกอบด้วย 6 เครื่องยนต์ย่อย แบ่งเป็นเครื่องยนต์ขับดัน 4 เครื่องและเครื่องยนต์ช่วยในการเลี้ยว 2 เครื่อง (สังเกตุท่อไอเสียเล็กๆ 2 อันในรูป) การพัฒนาไม่ได้มีให้เห็นเพียงเครื่องยนต์ที่ใหญ่และซับซ้อนขึ้นเท่านั้น ฐานปล่อยจรวดก็ต้องมีการพัฒนาเช่นกัน โดยแทนที่จะตั้งปล่อยแบบจรวด R-1 จรวด R-7 จะถูกตรึงไว้กับที่โดยแขน 4 ข้างที่ยกมันลอยขึ้นจากพื้น เพื่อป้องกันแรงประทะจากลมขณะปล่อย
R-7 สามารถปล่อยหัวรบนิวเคลียร์ได้ 1 ลูกและมีพิสัยไกลถึง 8800 กิโลเมตร แต่อย่างไรก็ตามราคาค่าใช้จ่ายของ R-7 นั้นแพงมากเพราะต้องสร้างฐานปล่อยขนาดใหญ่ในที่ห่างไกล และสามารถตรวจจับได้ง่ายโดยเครื่องบินสอดแนม U-2 ของสหรัฐ R-7 ต้องใช้เวลาเตรียมการในการปล่อยนานถึง 20 ชั่วโมง ซึ่งนั้นหมายความว่า ทันทีที่สหรัฐสืบได้ว่ามีการเริ่มการยิงนิวเคลียร์ ฐานปล่อยก็จะสามารถถูกทำลายได้อย่างง่ายดาย และความสามารถในการขนขีปนาวุธขนาดใหญ่ของมันนั้นก็ไม่จำเป็นอีกต่อไปเพราะการพัฒนาของเทคโนโลยีระเบิดสมัยใหม่ที่ทำให้มีน้ำหนักลดลง เหตุผลทั้งหลายที่กล่าวมานั้นทำให้ R-7 เป็นขีปนาวุธที่ไม่น่าใช้อีกต่อไป แต่ว่ามันเหมาะอย่างยิ่งสำหรับระบบขนส่งสู่อวกาศ! จรวด R-7 นี่เองที่ใช้ส่ง Sputnik1 ดาวเทียมดวงแรกของโลก และ Sputnik2 ซึ่งก็คือ ไลก้า สิ่งมีชีวิตนอกโลกชนิดแรก
Sputnik1 ดาวเทียมดวงแรกของโลก ไม่มีอะไรนอกจากเครื่องวิทยุและแบตเตอรี่ [http://en.wikipedia.org/wiki/Sputnik_1]
Laika สิ่งมีชีวิตนอกโลกรายแรก ส่งโดยจรวด R-7 ที่ถูกดัดแปลง [http://en.wikipedia.org/wiki/Laika]
จรวด R-7 ได้ถูกถอนออกจากกองทัพในปี 1968 แต่ว่ามันยังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ในกิจกรรมสำรวจอวกาศซึ่งโซเวียตเป็นผู้นำในขณะนั้น
ผมขอจบตอน Soyuz มรดกจากโซเวียต สู่วงการอวกาศโลก [ยุคเริ่มต้น] ไว้เพียงเท่านี้ก่อน ต่อไปผมจะพูดถึงการไปสู่ดวงจันทร์ของโซเวียต ซึ่งเป็นประเทศแรกในการ "ไปถึง"ดวงจันทร์ ก่อนหน้าสหรัฐ คู่ปรับตลอดการ