https://www.bangkokbiznews.com/social/1023380
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า การป้องกันตนเองจากโควิด-19 ด้วยหลัก UP (Universal Prevention) ยังคงเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ต้องปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง
จากผลการสำรวจอนามัยโพล ในเดือนสิงหาคม 2565 แนวโน้มพฤติกรรมการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมสวมหน้ากากมากขึ้น จากร้อยละ 94.2 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 95.5
คนไทยมีพฤติกรรมป้องกันโควิด-19 มากขึ้นเมื่ออยู่กับผู้อื่น
โดยเหตุผลที่สวมหน้ากากมากขึ้นเนื่องจากเข้าสถานที่หรืออาคารปิด ใกล้ชิดผู้ป่วย ผู้เสี่ยงสูง ผู้สูงอายุ และเข้าร่วมกิจกรรมที่มีคนรวมตัวกันหนาแน่น พบมีการล้างมือเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 86.9 เป็นร้อยละ 88.4 โดยสาเหตุที่ล้างมือมากขึ้น เนื่องจากต้องหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งล้างมือ ก่อนรับประทานอาหาร
ขณะที่ การเว้นระยะห่างเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 86.3 เป็นร้อยละ 87.2 โดยมีสาเหตุเพราะจะต้องไปเจอกลุ่ม 608 หรือพบเจอคนที่ไม่รู้จัก จึงต้องเว้นระยะห่างจากผู้อื่นมากขึ้น
นอกจากนี้ ข้อมูลการสังเกตเห็นผู้อื่นปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค พบว่า พบเห็นเด็กนักเรียนสวมหน้ากากเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ร้อยละ 93.3 เห็นประชาชนทั่วไปสวมหน้ากากเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ร้อยละ 92.7 ส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป พบว่า ร้อยละ 92.2 สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น
ย้ำประชาชนพึงปฎิบัติพฤติกรรมสุขอนามัยที่ดี
“ขณะนี้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศดีขึ้น ส่งผลให้มีการดำเนินชีวิตภายใต้มาตรการที่ผ่อนคลายมากขึ้น แต่เพื่อความไม่ประมาทและป้องกันตนเองจากความเสี่ยง ประชาชนยังคงพึงปฏิบัติพฤติกรรมสุขอนามัยที่ดี ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีเมื่อมีอาการป่วย รวมถึงเมื่อใกล้ชิดผู้ป่วย”อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ทั้งนี้ ผู้เสี่ยงสูง กลุ่ม 608 และผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือเมื่อร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นที่ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้ หมั่นล้างมือเป็นประจำเมื่อสัมผัสสิ่งของ หลีกเลี่ยงไปในสถานที่ที่แออัด พร้อมทั้งควรตรวจ ATK ทันที เมื่อมีอาการน่าสงสัย หรือตรวจหลังสัมผัสผู้ป่วยหรือผู้เสี่ยงสูง 3-5 วัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19
https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1022518
‘หมอ ยง’เลคเชอร์‘ไข้หวัดมะเขือเทศ’ ย้ำไม่รุนแรง หายได้เอง ไม่มีผู้เสียชีวิต
'หมอ ยง’เลคเชอร์‘ไข้หวัดมะเขือเทศ’ ย้ำไม่รุนแรง หายได้เอง ไม่มีผู้เสียชีวิต
28 สิงหาคม 2565 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” เกี่ยวกับ “ไข้หวัดมะเขือเทศ (Tomato Flu)” มีเนื้อหาดังนี้...
“ไข้หวัดมะเขือเทศ (Tomato Flu)
ยง ภู่วรวรรณ
ราชบัณฑิต
28 สิงหาคม 2565
ดังที่เป็นข่าวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีการกล่าวถึงไข้หวัดมะเขือเทศ (Tomato Flu) เกิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย เมือง Kerala ในเด็กต่ำกว่า 5 ปี ร่วมร้อยคน และยังมีการพบเพิ่มเติมที่เมือง Tamil Nadu และ Odisha
การตั้งชื่อไข้หวัดมะเขือเทศ เพราะเด็กที่ป่วยจะมีลักษณะ ผื่นแดง เป็นตุ่มน้ำ คล้ายมะเขือเทศ
ลักษณะอาการ จะมีอาการเริ่มต้นคล้ายไข้หวัด คือมีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว และต่อมามีผื่นขึ้น ผื่นที่ขึ้นจะมีลักษณะแดง และเป็นตุ่มน้ำ
โรคไม่รุนแรงและหายได้เอง ไม่มีผู้ใดเสียชีวิต
จากการสันนิษฐานลักษณะอาการคล้าย ไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) ไข้เลือดออก มือเท้าปาก
ที่จริงแล้วการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุไวรัสในปัจจุบัน ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอินเดียน่าจะรู้แล้วว่าเกิดจากไวรัสตัวไหน แต่ปัจจุบันยังไม่มีประกาศออกมาเป็นทางการ
จากที่ผมได้ติดตาม และดูลักษณะผื่นที่ขึ้นจากรูปถ่าย ที่รายงานตามหนังสือพิมพ์ของอินเดีย แทบจะบอกได้เลยว่า ลักษณะนี้คือผื่นที่ขึ้นเหมือนกับ โรคมือเท้าปาก ที่พบในบ้านเรา โดยเชื้อหลักของลักษณะผื่นแบบนี้ คือ Coxsackie A6 ลักษณะผื่นๆที่ขึ้นที่มือ ที่เท้า ที่ข้อศอก ข้อเข่า รอบก้น และถ้าเป็นมาก ก็จะดูค่อนข้างรุนแรง ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของเชื้อไวรัส CA6 ที่เราได้ติดตามมาตั้งแต่ปี 2012 เคยระบาดในบ้านเรา และในปีนี้ ในบ้านเราก็ระบาดด้วยสายพันธุ์ CA6 และมีลักษณะผื่นค่อนข้างรุนแรง ดังแสดงในรูป เป็นโรคมือเท้าปากที่พิสูจน์แล้วว่าเป็น จากเชื้อไวรัส CA6
ส่วนมากเป็นในเด็ก แต่ก็เคยพบในผู้ใหญ่
รูปที่แสดง เป็น โรคมือเท้าปาก เชื้อ CA6
ส่วนไข้ปวดข้อยุงลาย เท่าที่ติดตามอยู่ขณะนี้ ในเด็กเล็กจะมีอาการปวดข้อน้อยมาก ไม่เหมือนผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ
เราคงต้องติดตามว่าไวรัสที่เกิดในอินเดียเกิดจากตัวไหน จากการคาดการณ์ของผมเชื่อว่าเกิดจากเชื้อไวรัส Coxsackie ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมือเท้าปาก และไม่รุนแรง ไม่เหมือนเชื้อ enterovirus A 71 ที่อาจทำให้เกิดสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก”
https://www.naewna.com/local/676214
คร.แจง "หวัดมะเขือเทศ" ไม่น่ากังวล ยังไม่พบรายงานในไทย อาการไม่รุนแรง หายเองได้ มียารักษา
กรมควบคุมโรค ติดตาม "ไข้หวัดมะเขือเทศ" ในอินเดีย พบเด็กป่วยร้อยกว่าคน มีตุ่มน้ำคล้ายมะเขือเทศ ไม่ใช่เชื้อใหม่ คล้ายโรคมือเท้าปาก ยังไม่มีรายงานในไทย ย้ำอาการไม่รุนแรง หายเองได้ มียารักษา เตือนพ่อแม่ทำความสะอาดของเล่น พื้นที่ที่เด็กอยู่ ลดเสี่ยงสัมผัสเชื้อ
เมื่อวันที่ 28 ส.ค. นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีอินเดียพบผู้ป่วยโรคไข้หวัดมะเขือเทศ (Tomato Flu) ว่า จากการติดตามพบว่า ผู้ป่วยในอินเดียเป็นกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบผู้ติดเชื้อเกือบร้อยคน ไม่มีผู้เสียชีวิต เชื้อไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายได้ง่ายจากการสัมผัส เช่น สัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด หรือนำสิ่งของเข้าปาก ทำให้กลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ง่ายเป็นพิเศษ อาการเริ่มต้นจะคล้ายไข้หวัด คือ มีไข้ ปวดเมื่อยตัว ต่อมามีผื่นขึ้น มีลักษณะแดง และเป็นตุ่มน้ำคล้ายมะเขือเทศ อาการไม่รุนแรง หายเองได้
"โรคนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการรับประทานมะเขือเทศแต่อย่างใด แค่มีตุ่มน้ำคล้ายมะเขือเทศ จากการสันนิษฐานลักษณะทางระบาดวิทยาและอาการเด็กที่ป่วย จะคล้ายกับโรคมือ เท้า ปาก ที่พบได้บ่อยในเด็ก ไม่ใช่โรคติดเชื้อชนิดใหม่ จากข้อมูลเบื้องต้นที่มี ถือว่าสถานการณ์ของโรคไข้หวัดมะเขือเทศยังไม่น่ากังวล และยังไม่มีรายงานการพบผู้ป่วยในประเทศไทย" นพ.โอภาสกล่าว
นพ.โอภาสกล่าวว่า ขณะนี้โรคดังกล่าวยังแพร่ระบาดอยู่ในวงจำกัด กระบวนการคัดกรองและรักษาในประเทศสามารถทำได้เช่นเดียวกับโรคมือ เท้า ปากในเด็ก และปัจจุบันมีชุดตรวจคัดกรอง ยารักษาในสถานพยาบาลทุกระดับ ทั้งนี้ ช่วงฤดูฝนอากาศเย็นและชื้น เชื้อโรคแพร่กระจายได้ง่าย ขอความร่วมมือผู้ปกครองระมัดระวังดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ทำความสะอาดของเล่นเด็ก และบริเวณที่เด็กอยู่เป็นประจำ เพื่อลดเชื้อโรคในสิ่งแวดล้อม
https://mgronline.com/qol/detail/9650000082487
ติดตามข่าวโควิดและโรคอื่นๆวันนี้ค่ะ..
🇹🇭❤️มาลาริน❤️🇹🇭28ส.ค.โควิดไทยที่29โลก/ป่วย1,769คน หาย2,305คน เสียชีวิต27คน/คนไทยป้องกันโควิดมากขึ้น/ไข้หวัดมะเขือเทศ
https://www.bangkokbiznews.com/social/1023380
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า การป้องกันตนเองจากโควิด-19 ด้วยหลัก UP (Universal Prevention) ยังคงเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ต้องปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง
จากผลการสำรวจอนามัยโพล ในเดือนสิงหาคม 2565 แนวโน้มพฤติกรรมการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมสวมหน้ากากมากขึ้น จากร้อยละ 94.2 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 95.5
คนไทยมีพฤติกรรมป้องกันโควิด-19 มากขึ้นเมื่ออยู่กับผู้อื่น
โดยเหตุผลที่สวมหน้ากากมากขึ้นเนื่องจากเข้าสถานที่หรืออาคารปิด ใกล้ชิดผู้ป่วย ผู้เสี่ยงสูง ผู้สูงอายุ และเข้าร่วมกิจกรรมที่มีคนรวมตัวกันหนาแน่น พบมีการล้างมือเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 86.9 เป็นร้อยละ 88.4 โดยสาเหตุที่ล้างมือมากขึ้น เนื่องจากต้องหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งล้างมือ ก่อนรับประทานอาหาร
ขณะที่ การเว้นระยะห่างเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 86.3 เป็นร้อยละ 87.2 โดยมีสาเหตุเพราะจะต้องไปเจอกลุ่ม 608 หรือพบเจอคนที่ไม่รู้จัก จึงต้องเว้นระยะห่างจากผู้อื่นมากขึ้น
นอกจากนี้ ข้อมูลการสังเกตเห็นผู้อื่นปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค พบว่า พบเห็นเด็กนักเรียนสวมหน้ากากเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ร้อยละ 93.3 เห็นประชาชนทั่วไปสวมหน้ากากเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ร้อยละ 92.7 ส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป พบว่า ร้อยละ 92.2 สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น
ย้ำประชาชนพึงปฎิบัติพฤติกรรมสุขอนามัยที่ดี
“ขณะนี้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศดีขึ้น ส่งผลให้มีการดำเนินชีวิตภายใต้มาตรการที่ผ่อนคลายมากขึ้น แต่เพื่อความไม่ประมาทและป้องกันตนเองจากความเสี่ยง ประชาชนยังคงพึงปฏิบัติพฤติกรรมสุขอนามัยที่ดี ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีเมื่อมีอาการป่วย รวมถึงเมื่อใกล้ชิดผู้ป่วย”อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ทั้งนี้ ผู้เสี่ยงสูง กลุ่ม 608 และผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือเมื่อร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นที่ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้ หมั่นล้างมือเป็นประจำเมื่อสัมผัสสิ่งของ หลีกเลี่ยงไปในสถานที่ที่แออัด พร้อมทั้งควรตรวจ ATK ทันที เมื่อมีอาการน่าสงสัย หรือตรวจหลังสัมผัสผู้ป่วยหรือผู้เสี่ยงสูง 3-5 วัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19
https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1022518
‘หมอ ยง’เลคเชอร์‘ไข้หวัดมะเขือเทศ’ ย้ำไม่รุนแรง หายได้เอง ไม่มีผู้เสียชีวิต
'หมอ ยง’เลคเชอร์‘ไข้หวัดมะเขือเทศ’ ย้ำไม่รุนแรง หายได้เอง ไม่มีผู้เสียชีวิต
28 สิงหาคม 2565 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” เกี่ยวกับ “ไข้หวัดมะเขือเทศ (Tomato Flu)” มีเนื้อหาดังนี้...
“ไข้หวัดมะเขือเทศ (Tomato Flu)
ยง ภู่วรวรรณ
ราชบัณฑิต
28 สิงหาคม 2565
ดังที่เป็นข่าวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีการกล่าวถึงไข้หวัดมะเขือเทศ (Tomato Flu) เกิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย เมือง Kerala ในเด็กต่ำกว่า 5 ปี ร่วมร้อยคน และยังมีการพบเพิ่มเติมที่เมือง Tamil Nadu และ Odisha
การตั้งชื่อไข้หวัดมะเขือเทศ เพราะเด็กที่ป่วยจะมีลักษณะ ผื่นแดง เป็นตุ่มน้ำ คล้ายมะเขือเทศ
ลักษณะอาการ จะมีอาการเริ่มต้นคล้ายไข้หวัด คือมีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว และต่อมามีผื่นขึ้น ผื่นที่ขึ้นจะมีลักษณะแดง และเป็นตุ่มน้ำ
โรคไม่รุนแรงและหายได้เอง ไม่มีผู้ใดเสียชีวิต
จากการสันนิษฐานลักษณะอาการคล้าย ไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) ไข้เลือดออก มือเท้าปาก
ที่จริงแล้วการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุไวรัสในปัจจุบัน ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอินเดียน่าจะรู้แล้วว่าเกิดจากไวรัสตัวไหน แต่ปัจจุบันยังไม่มีประกาศออกมาเป็นทางการ
จากที่ผมได้ติดตาม และดูลักษณะผื่นที่ขึ้นจากรูปถ่าย ที่รายงานตามหนังสือพิมพ์ของอินเดีย แทบจะบอกได้เลยว่า ลักษณะนี้คือผื่นที่ขึ้นเหมือนกับ โรคมือเท้าปาก ที่พบในบ้านเรา โดยเชื้อหลักของลักษณะผื่นแบบนี้ คือ Coxsackie A6 ลักษณะผื่นๆที่ขึ้นที่มือ ที่เท้า ที่ข้อศอก ข้อเข่า รอบก้น และถ้าเป็นมาก ก็จะดูค่อนข้างรุนแรง ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของเชื้อไวรัส CA6 ที่เราได้ติดตามมาตั้งแต่ปี 2012 เคยระบาดในบ้านเรา และในปีนี้ ในบ้านเราก็ระบาดด้วยสายพันธุ์ CA6 และมีลักษณะผื่นค่อนข้างรุนแรง ดังแสดงในรูป เป็นโรคมือเท้าปากที่พิสูจน์แล้วว่าเป็น จากเชื้อไวรัส CA6
ส่วนมากเป็นในเด็ก แต่ก็เคยพบในผู้ใหญ่
รูปที่แสดง เป็น โรคมือเท้าปาก เชื้อ CA6
ส่วนไข้ปวดข้อยุงลาย เท่าที่ติดตามอยู่ขณะนี้ ในเด็กเล็กจะมีอาการปวดข้อน้อยมาก ไม่เหมือนผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ
เราคงต้องติดตามว่าไวรัสที่เกิดในอินเดียเกิดจากตัวไหน จากการคาดการณ์ของผมเชื่อว่าเกิดจากเชื้อไวรัส Coxsackie ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมือเท้าปาก และไม่รุนแรง ไม่เหมือนเชื้อ enterovirus A 71 ที่อาจทำให้เกิดสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก”
https://www.naewna.com/local/676214
คร.แจง "หวัดมะเขือเทศ" ไม่น่ากังวล ยังไม่พบรายงานในไทย อาการไม่รุนแรง หายเองได้ มียารักษา
กรมควบคุมโรค ติดตาม "ไข้หวัดมะเขือเทศ" ในอินเดีย พบเด็กป่วยร้อยกว่าคน มีตุ่มน้ำคล้ายมะเขือเทศ ไม่ใช่เชื้อใหม่ คล้ายโรคมือเท้าปาก ยังไม่มีรายงานในไทย ย้ำอาการไม่รุนแรง หายเองได้ มียารักษา เตือนพ่อแม่ทำความสะอาดของเล่น พื้นที่ที่เด็กอยู่ ลดเสี่ยงสัมผัสเชื้อ
เมื่อวันที่ 28 ส.ค. นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีอินเดียพบผู้ป่วยโรคไข้หวัดมะเขือเทศ (Tomato Flu) ว่า จากการติดตามพบว่า ผู้ป่วยในอินเดียเป็นกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบผู้ติดเชื้อเกือบร้อยคน ไม่มีผู้เสียชีวิต เชื้อไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายได้ง่ายจากการสัมผัส เช่น สัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด หรือนำสิ่งของเข้าปาก ทำให้กลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ง่ายเป็นพิเศษ อาการเริ่มต้นจะคล้ายไข้หวัด คือ มีไข้ ปวดเมื่อยตัว ต่อมามีผื่นขึ้น มีลักษณะแดง และเป็นตุ่มน้ำคล้ายมะเขือเทศ อาการไม่รุนแรง หายเองได้
"โรคนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการรับประทานมะเขือเทศแต่อย่างใด แค่มีตุ่มน้ำคล้ายมะเขือเทศ จากการสันนิษฐานลักษณะทางระบาดวิทยาและอาการเด็กที่ป่วย จะคล้ายกับโรคมือ เท้า ปาก ที่พบได้บ่อยในเด็ก ไม่ใช่โรคติดเชื้อชนิดใหม่ จากข้อมูลเบื้องต้นที่มี ถือว่าสถานการณ์ของโรคไข้หวัดมะเขือเทศยังไม่น่ากังวล และยังไม่มีรายงานการพบผู้ป่วยในประเทศไทย" นพ.โอภาสกล่าว
นพ.โอภาสกล่าวว่า ขณะนี้โรคดังกล่าวยังแพร่ระบาดอยู่ในวงจำกัด กระบวนการคัดกรองและรักษาในประเทศสามารถทำได้เช่นเดียวกับโรคมือ เท้า ปากในเด็ก และปัจจุบันมีชุดตรวจคัดกรอง ยารักษาในสถานพยาบาลทุกระดับ ทั้งนี้ ช่วงฤดูฝนอากาศเย็นและชื้น เชื้อโรคแพร่กระจายได้ง่าย ขอความร่วมมือผู้ปกครองระมัดระวังดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ทำความสะอาดของเล่นเด็ก และบริเวณที่เด็กอยู่เป็นประจำ เพื่อลดเชื้อโรคในสิ่งแวดล้อม
https://mgronline.com/qol/detail/9650000082487
ติดตามข่าวโควิดและโรคอื่นๆวันนี้ค่ะ..