สภาพัฒน์ หวั่นหนี้เสียพุ่ง-วอนแบงก์ตรึง “ดอกกู้” รอเศรษฐกิจฟื้น
https://www.prachachat.net/finance/news-1029608
สภาพัฒน์ขอความร่วมมือแบงก์ตรึงดอกกู้รอเศรษฐกิจฟื้นตัวแข็งแรงขึ้น ห่วงครัวเรือนเปราะบางเสี่ยงเป็นหนี้เสียพุ่ง เหตุเจอผลกระทบค่าครองชีพ-ดอกเบี้ยขาขึ้น
ขณะที่หนี้ครัวเรือนล่าสุดยังอยู่ระดับสูง สิ้นไตรมาสแรกปี’65 อยู่ที่ 89.2% เหตุครัวเรือนขาดสภาพคล่อง แห่ขอสินเชื่ออุปโภคบริโภคเพิ่ม ด้านอัตราการว่างงานลดต่ำที่สุดตั้งแต่เกิดโควิด-19
นาย
ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า หนี้สินครัวเรือน ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2565 มีมูลค่า 14.65 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.6% ลดลงจากช่วงไตรมาส 4 ปี 2564 ซึ่งจากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 89.2% อย่างไรก็ดี ครัวเรือนยังมีปัญหาขาดสภาพคล่องจากการได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สะท้อนจากแนวโน้มสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 22.6% เร่งขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิต ขยายตัว 2.5%
ส่วนการก่อหนี้สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวในอัตราชะลอลง อยู่ที่ระดับ 4.6% จากที่ขยายตัว 5% ในไตรมาสก่อน ในขณะที่สินเชื่อยานยนต์ หดตัวถึง -0.6% จากไตรมาสก่อนขยายตัว 1.2% ด้านสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจก็ชะลอลงมาที่ 6% จาก 6.5% ในไตรมาสก่อนหน้า
สำหรับความสามารถในการชำระหนี้ทรงตัว โดยสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) มีมูลค่า 1.47 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.78% เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากไตรมาสก่อนที่มีสัดส่วน 2.73% เป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน และการปรับโครงสร้างหนี้ที่ช่วยชะลอไม่ให้เกิดหนี้เสียเพิ่ม
“ยังต้องเฝ้าระวังหนี้เสียของสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลอื่น และบัตรเครดิต เนื่องจากในไตรมาสแรก ของปี 2565 นี้ สินเชื่อทั้ง 2 ประเภท มีสัดส่วนสินเชื่อเป็นหนี้เสียปรับตัวสูงขึ้น โดยสินเชื่อส่วนบุคคลอื่นขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2.49% จากไตรมาสก่อนขยายตัวที่ 2.33%
ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัว 2.78% เพิ่มขึ้นจาก 2.49% ในไตรมาสก่อน รวมถึงต้องเฝ้าระวังสินเชื่อเพื่อยานยนต์ เนื่องจากมีสัดส่วนสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ (สินเชื่อค้างชำระน้อยกว่า 3 เดือน) อยู่ที่ระดับ 12.1% เพิ่มจากไตรมาสก่อนที่อยู่ระดับ 11.1% มีความเสี่ยงที่จะเกิดหนี้เสียในอนาคต โดยเฉพาะในครัวเรือนกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง”
นาย
ดนุชากล่าวว่า ในระยะถัดไป มีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่
1) ผลกระทบของภาระค่าครองชีพที่อาจกดดันให้ครัวเรือนมีความต้องการสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ครัวเรือนที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวและได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงมีการก่อหนี้มากขึ้น
2) อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของครัวเรือนเพิ่มขึ้น และกระทบต่อครัวเรือนที่ขอสินเชื่อใหม่ เนื่องจากจะต้องรับภาระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยมากขึ้น
3) คุณภาพสินเชื่อในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อยานยนต์ โดยสินเชื่อส่วนบุคคลอื่นและสินเชื่อบัตรเครดิต มีสัดส่วน NPLs ต่อสินเชื่อรวมปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่สินเชื่อรถยนต์มีสัดส่วนสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษเพิ่มขึ้น สะท้อนความเสี่ยงการเกิด NPLs โดยเฉพาะในครัวเรือนกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง หรือมีกันชนทางการเงินต่ำ
และ 4) การส่งเสริมมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง และมีมาตรการแก้หนี้ที่เฉพาะเจาะจง สำหรับกลุ่มเปราะบาง และรายได้ยังไม่ฟื้นตัว รวมทั้งใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ไม่ส่งเสริมให้มีการก่อหนี้ใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้หนี้ครัวเรือนมีมูลค่าสูงจนกลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอนาคต
“ภาวะเงินเฟ้อ และแนวโน้มการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งล่าสุด คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ก็ได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% แล้ว ภาครัฐจะต้องเร่งเข้าไปดูแลช่วยเหลือผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ภาคครัวเรือนโดยมุ่งเป้าหมายไปยังกลุ่มเปราะบาง
เนื่องจากขณะนี้รายได้ยังไม่ฟื้นตัว รวมทั้งจะต้องขอความร่วมมือสถาบันการเงินเอกชน และภาครัฐ ในเรื่องการตรึงดอกเบี้ยเงินกู้ไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาแข็งแรงมากกว่านี้ก่อน”
เลขาธิการ สศช.กล่าวด้วยว่า ส่วนอัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2565 ลดลงต่ำที่สุดตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีผู้ว่างงานจำนวน 5.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.37% ซึ่งลดลง ทั้งผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน และไม่เคยทำงานมาก่อน
“สถานการณ์แรงงาน ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้มีงานทำกว่า 39 ล้านคน ขยายตัว 3.1% จากการขยายตัวของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมที่มีการจ้างงาน 27.4 ล้านคน โดยเฉพาะสาขาการผลิต สาขาขายส่ง/ขายปลีก และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคและการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี” เลขาธิการ สศช.กล่าว
สมาคมโรงแรมหาดใหญ่ฯ โวยรัฐ เก็บค่าเหยียบแผ่นดิน ซ้ำเติมท่องเที่ยวชายแดน
https://www.matichon.co.th/economy/news_3530077
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม นาย
สิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา นายกสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา เปิดเผยว่าภาคธุรกิจการท่องเที่ยวกำลังประสบปัญหาผีซ้ำด้ำพลอยอีกครั้ง หลังธุรกิจการท่องเที่ยวประสบกับวิกฤตโควิดมาเป็นเวลา 2 ปีกว่า โดยรัฐบาลออก พ.ร.บ.เก็บเงินค่าเหยียบแผ่นดินจากกนักท่องเที่ยวคนละ 300 บาท เมื่อปี 2563 หลังจากได้ยกเลิกกองทุนนักท่องเที่ยว แต่มาบังคับใช้ปี 2565
นาย
สุทธิพงษ์ กล่าวว่า การเรียกเก็บค่าเหยียบแผ่นดินนักท่องเที่ยวทุกคน โดยไม่มีการยกเว้น ไม่ว่านักท่องเที่ยวจะเดินทางมากับอะไร มันสร้างปัญหาให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับรถยนต์ส่วนตัว หรือเดินทางเข้าประเทศมาเช้าเย็นกลับ จะต้องเสียเงินครั้งละ 300 บาททุกวัน แล้วนักท่องเที่ยวที่ไหนจะเดินทางเข้าประเทศ สุดท้ายผลเสียจะเกิดขึ้นกับการค้าขายที่เมืองชายแดนที่กำลังฟื้น จะซบเซาลงทันที
“รัฐบาลควรจะคิดให้รอบด้านก่อนที่จะออกระเบียบหรือกฎหมายบังคับ ควรจะยกเว้นนักท่องเที่ยวที่เข้าประเทศด้วยรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล และที่เข้าเช้า-เย็นกลับ ส่งเสริมการค้าเมืองชายแดน” นายสุทธิพงษ์ กล่าว
รายงานว่าเมืองชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบ มีบ้านด่านนอก ต.สำนักขาม ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา บ้านประกอบ อ.นาทวี จ.สงขลา อ.เบตง จ.ยะลา อ.สุไหงโก-ลก อ.ตากใบ อ.แว้ง จ.นราธิวาส วังประจัน จ.สตูล ซึ่งในแต่ละวันมีประชาชนทั้ง 2 ประเทศเดินทางเข้าออกตลอดเวลา
‘จตุพร-ทนายนกเขา’ ปักหมุดภารกิจม็อบ ‘หยุดอำนาจ 3 ป.’ เชื่อแค่สลับมือ-วางกับดัก ‘ไม่เลือกตั้ง’
https://www.matichon.co.th/politics/news_3530254
‘จตุพร-ทนายนกเขา’ ปักหมุดภารกิจม็อบ ‘หยุดอำนาจ 3 ป.’ เชื่อ แค่สลับมือ-วางกับดัก ม้วนอำนาจกลับ ‘ไม่เลือกตั้ง’
เมื่อเวลา 10.05 น. น. วันที่ 27 สิงหาคม ที่ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพระนคร นาย
จตุพร พรหมพันธุ์ พร้อมด้วย นาย
นิติธร ล้ำเหลือ หรือ
“ทนายนกเขา” และสมาชิกกลุ่ม แถลงจุดยืนคณะหลอมรวมประชาชน ภายหลังทำพิธีเคารพศาลหลักเมือง เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนชุมนุมใหญ่ในวันพรุ่งนี้ (28 ส.ค.)
นาย
จตุพรกล่าวว่า การเคลื่อนไหวในวันพรุ่งนี้ 28 สิงหาคม ได้กำหนดหัวข้อ
“หยุดอำนาจ 3 ป. เพื่อนับหนึ่งประเทศไทย” ดังนั้น แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะสั่งให้ พล.อ.
ประยุทธ์ หยุดพักการปฏิบัติหน้าที่นายกฯ ก็ตาม แต่เราได้ประกาศกันมาตั้งแต่ต้นว่า ไม่ประสงค์กดดันศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีข้อผูกพัน สุดแล้วแต่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย หน้าที่ของคณะหลอมรวมประชาชนนั้นก็คือ การทำความจริงให้ปรากฏ โดยได้นำรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่ามาตรา 158 มาตรา 264 และมาตราอื่นๆ การบันทึก พระราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ทั้ง 2 ครั้ง ปี พ.ศ.2557 และปี 2562 รวมทั้งกรณีอื่นๆ เช่น การไม่แสดงบัญชีทรัพย์สิน ช่วงระหว่างการเป็นนายกครั้งที่ 1-2 รวมทั้งคดีของ นายสิระ เจนจาคะ ซึ่งทั้งหมดเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
เพราะว่า มาตรา 158 ที่กำหนดวาระ 8 ปี ของผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ คุณ
มีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ได้มาการันตี ในบันทึกความมุ่งหมายและบันทึกเจตนารมณ์ หลังการทำประชามติ ซึ่งไม่มีใครเห็นเป็นอย่างอื่น โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เราเรียกร้องให้นาย
มีชัย ปรากฏตัว เพราะคือต้นเหตุของทุกเรื่องราว
“วันนึ้จึงขอชวนคุณมีชัยบ้าง ที่พูดว่าให้นับ 8 ปี ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 60 กลับไปบังคับกับอดีตนายกฯ ทุกคนที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านยังยืนยันเหมือนเดิมหรือไม่ สำคัญที่สุด มนุษย์เราต้องไม่ตระบัตย์สัตย์ และลายลักษณ์อักษรไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้” นายจตุพรกล่าว
นายจตุพรกล่าวต่อว่า ประการต่อมา ภารกิจของคณะหลอมรวมประชาชน ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะได้ พล.อ.ประวิตรมาทำหน้าที่ต่อ อำนาจ 3 ป. ยังอยู่ เพียงแค่สลับมือ และประชาชนก็ถูกสร้างความแตกแยก สร้างความคาดหวังต่างๆ นานา
“เรียนอีกครั้งว่า การเลือกตั้งยังห่างไกลมาก กฎหมายลูกยังไม่เรียบร้อย การแก้ไขจากบัตร 1 ใบ มาเป็น 2 ใบ ในมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ 60 แต่ไม่ยอมแก้มาตรา 93-94 ซึ่งเป็นหัวใจของบัตรใบเดียว เรื่องผู้แทนพึงมีนั้น จะถูกศาลรัฐญธรรมนูญวินิจฉัย จนจะกลายเป็นปัญหา ผมคาดการณ์อย่างนั้นเลย จากที่อ่านรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นไม่ว่า 100 หาร หรือจะกลับมา 100 หาร ก็จะไม่ผ่าน” นาย
จตุพรกล่าว และว่า
ที่สำคัญที่สุด รัฐธรรมนูญบัญญัติว่า กฎหมายลูก พ.ร.บ.เลือกตั้ง พ.ร.บ.พรรคการเมือง ต้องตราเป็น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) เท่านั้น นั่นแปลว่าสถานะเหนือกว่า พ.ร.บ.ธรรมดา ที่ฝ่ายบริหารไม่สามารถตราเป็น พ.ร.ก.ได้ เมื่อ พ.ร.ก.ยังตราไม่ได้ แล้วจะไปตราเป็นระเบียบข้อบังคับของ กกต.ได้อย่างไร จุดนี้จะกลายเป็นปัญหา เพราะกับดักนี้ถูกวางไว้ตั้งแต่ต้นว่าจะไม่มีการเลือกตั้ง
“ผมเตือนไปยังพรรคเพื่อไทย ให้มีสติอีกครั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจมาจากพรรคเพื่อไทย อยู่ดีๆ จะออกกติกา บัตร 2 ใบ 400 เขต 100 หาร ซึ่งเป็นจุดแข็งของพรรคเพื่อไทย โดยที่เขาไม่คิดอะไร อยู่ดีๆ คิดจะคืนอำนาจให้กับพรรคที่ตัวเองยึดอำนาจมา มันไม่ง่ายไปหน่อยหรือ ฉะนั้น ควรเห็นความสำคัญของภาคประชาชน รวมกระทั่งพรรคการเมืองอื่นๆ เช่นเดียวกัน เพราะเชื่อว่า การเลือกตั้งยังไม่บังเกิด ประเด็น ส.ว.250 ก็ยังอยู่
อย่าได้ลืม การเมืองภาคประชาชนบนท้องถนน แล้วมุ่งเพียงแค่การเลือกตั้งแล้วจะชนะ เพราะท้ายที่สุดก็จะจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ ประชาชนเดือดร้อน ถูกยึดอำนาจคืนมา การจะรักษาความไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชน คือบทเรียนที่สำคัญที่สุด” นาย
จตุพรกล่าว
JJNY : สภาพัฒน์หวั่นหนี้เสียพุ่ง│ส.โรงแรมหาดใหญ่ฯโวยรัฐ│‘จตุพร-ทนายนกเขา’เชื่อแค่สลับมือ-วางกับดัก│ธนพรฟันธงชิงปรับ ครม.
https://www.prachachat.net/finance/news-1029608
สภาพัฒน์ขอความร่วมมือแบงก์ตรึงดอกกู้รอเศรษฐกิจฟื้นตัวแข็งแรงขึ้น ห่วงครัวเรือนเปราะบางเสี่ยงเป็นหนี้เสียพุ่ง เหตุเจอผลกระทบค่าครองชีพ-ดอกเบี้ยขาขึ้น
ขณะที่หนี้ครัวเรือนล่าสุดยังอยู่ระดับสูง สิ้นไตรมาสแรกปี’65 อยู่ที่ 89.2% เหตุครัวเรือนขาดสภาพคล่อง แห่ขอสินเชื่ออุปโภคบริโภคเพิ่ม ด้านอัตราการว่างงานลดต่ำที่สุดตั้งแต่เกิดโควิด-19
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า หนี้สินครัวเรือน ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2565 มีมูลค่า 14.65 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.6% ลดลงจากช่วงไตรมาส 4 ปี 2564 ซึ่งจากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 89.2% อย่างไรก็ดี ครัวเรือนยังมีปัญหาขาดสภาพคล่องจากการได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สะท้อนจากแนวโน้มสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 22.6% เร่งขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิต ขยายตัว 2.5%
ส่วนการก่อหนี้สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวในอัตราชะลอลง อยู่ที่ระดับ 4.6% จากที่ขยายตัว 5% ในไตรมาสก่อน ในขณะที่สินเชื่อยานยนต์ หดตัวถึง -0.6% จากไตรมาสก่อนขยายตัว 1.2% ด้านสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจก็ชะลอลงมาที่ 6% จาก 6.5% ในไตรมาสก่อนหน้า
สำหรับความสามารถในการชำระหนี้ทรงตัว โดยสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) มีมูลค่า 1.47 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.78% เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากไตรมาสก่อนที่มีสัดส่วน 2.73% เป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน และการปรับโครงสร้างหนี้ที่ช่วยชะลอไม่ให้เกิดหนี้เสียเพิ่ม
“ยังต้องเฝ้าระวังหนี้เสียของสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลอื่น และบัตรเครดิต เนื่องจากในไตรมาสแรก ของปี 2565 นี้ สินเชื่อทั้ง 2 ประเภท มีสัดส่วนสินเชื่อเป็นหนี้เสียปรับตัวสูงขึ้น โดยสินเชื่อส่วนบุคคลอื่นขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2.49% จากไตรมาสก่อนขยายตัวที่ 2.33%
ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัว 2.78% เพิ่มขึ้นจาก 2.49% ในไตรมาสก่อน รวมถึงต้องเฝ้าระวังสินเชื่อเพื่อยานยนต์ เนื่องจากมีสัดส่วนสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ (สินเชื่อค้างชำระน้อยกว่า 3 เดือน) อยู่ที่ระดับ 12.1% เพิ่มจากไตรมาสก่อนที่อยู่ระดับ 11.1% มีความเสี่ยงที่จะเกิดหนี้เสียในอนาคต โดยเฉพาะในครัวเรือนกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง”
นายดนุชากล่าวว่า ในระยะถัดไป มีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่
1) ผลกระทบของภาระค่าครองชีพที่อาจกดดันให้ครัวเรือนมีความต้องการสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ครัวเรือนที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวและได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงมีการก่อหนี้มากขึ้น
2) อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของครัวเรือนเพิ่มขึ้น และกระทบต่อครัวเรือนที่ขอสินเชื่อใหม่ เนื่องจากจะต้องรับภาระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยมากขึ้น
3) คุณภาพสินเชื่อในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อยานยนต์ โดยสินเชื่อส่วนบุคคลอื่นและสินเชื่อบัตรเครดิต มีสัดส่วน NPLs ต่อสินเชื่อรวมปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่สินเชื่อรถยนต์มีสัดส่วนสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษเพิ่มขึ้น สะท้อนความเสี่ยงการเกิด NPLs โดยเฉพาะในครัวเรือนกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง หรือมีกันชนทางการเงินต่ำ
และ 4) การส่งเสริมมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง และมีมาตรการแก้หนี้ที่เฉพาะเจาะจง สำหรับกลุ่มเปราะบาง และรายได้ยังไม่ฟื้นตัว รวมทั้งใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ไม่ส่งเสริมให้มีการก่อหนี้ใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้หนี้ครัวเรือนมีมูลค่าสูงจนกลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอนาคต
“ภาวะเงินเฟ้อ และแนวโน้มการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งล่าสุด คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ก็ได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% แล้ว ภาครัฐจะต้องเร่งเข้าไปดูแลช่วยเหลือผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ภาคครัวเรือนโดยมุ่งเป้าหมายไปยังกลุ่มเปราะบาง
เนื่องจากขณะนี้รายได้ยังไม่ฟื้นตัว รวมทั้งจะต้องขอความร่วมมือสถาบันการเงินเอกชน และภาครัฐ ในเรื่องการตรึงดอกเบี้ยเงินกู้ไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาแข็งแรงมากกว่านี้ก่อน”
เลขาธิการ สศช.กล่าวด้วยว่า ส่วนอัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2565 ลดลงต่ำที่สุดตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีผู้ว่างงานจำนวน 5.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.37% ซึ่งลดลง ทั้งผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน และไม่เคยทำงานมาก่อน
“สถานการณ์แรงงาน ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้มีงานทำกว่า 39 ล้านคน ขยายตัว 3.1% จากการขยายตัวของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมที่มีการจ้างงาน 27.4 ล้านคน โดยเฉพาะสาขาการผลิต สาขาขายส่ง/ขายปลีก และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคและการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี” เลขาธิการ สศช.กล่าว
สมาคมโรงแรมหาดใหญ่ฯ โวยรัฐ เก็บค่าเหยียบแผ่นดิน ซ้ำเติมท่องเที่ยวชายแดน
https://www.matichon.co.th/economy/news_3530077
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม นายสิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา นายกสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา เปิดเผยว่าภาคธุรกิจการท่องเที่ยวกำลังประสบปัญหาผีซ้ำด้ำพลอยอีกครั้ง หลังธุรกิจการท่องเที่ยวประสบกับวิกฤตโควิดมาเป็นเวลา 2 ปีกว่า โดยรัฐบาลออก พ.ร.บ.เก็บเงินค่าเหยียบแผ่นดินจากกนักท่องเที่ยวคนละ 300 บาท เมื่อปี 2563 หลังจากได้ยกเลิกกองทุนนักท่องเที่ยว แต่มาบังคับใช้ปี 2565
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า การเรียกเก็บค่าเหยียบแผ่นดินนักท่องเที่ยวทุกคน โดยไม่มีการยกเว้น ไม่ว่านักท่องเที่ยวจะเดินทางมากับอะไร มันสร้างปัญหาให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับรถยนต์ส่วนตัว หรือเดินทางเข้าประเทศมาเช้าเย็นกลับ จะต้องเสียเงินครั้งละ 300 บาททุกวัน แล้วนักท่องเที่ยวที่ไหนจะเดินทางเข้าประเทศ สุดท้ายผลเสียจะเกิดขึ้นกับการค้าขายที่เมืองชายแดนที่กำลังฟื้น จะซบเซาลงทันที
“รัฐบาลควรจะคิดให้รอบด้านก่อนที่จะออกระเบียบหรือกฎหมายบังคับ ควรจะยกเว้นนักท่องเที่ยวที่เข้าประเทศด้วยรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล และที่เข้าเช้า-เย็นกลับ ส่งเสริมการค้าเมืองชายแดน” นายสุทธิพงษ์ กล่าว
รายงานว่าเมืองชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบ มีบ้านด่านนอก ต.สำนักขาม ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา บ้านประกอบ อ.นาทวี จ.สงขลา อ.เบตง จ.ยะลา อ.สุไหงโก-ลก อ.ตากใบ อ.แว้ง จ.นราธิวาส วังประจัน จ.สตูล ซึ่งในแต่ละวันมีประชาชนทั้ง 2 ประเทศเดินทางเข้าออกตลอดเวลา
‘จตุพร-ทนายนกเขา’ ปักหมุดภารกิจม็อบ ‘หยุดอำนาจ 3 ป.’ เชื่อแค่สลับมือ-วางกับดัก ‘ไม่เลือกตั้ง’
https://www.matichon.co.th/politics/news_3530254
‘จตุพร-ทนายนกเขา’ ปักหมุดภารกิจม็อบ ‘หยุดอำนาจ 3 ป.’ เชื่อ แค่สลับมือ-วางกับดัก ม้วนอำนาจกลับ ‘ไม่เลือกตั้ง’
เมื่อเวลา 10.05 น. น. วันที่ 27 สิงหาคม ที่ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพระนคร นายจตุพร พรหมพันธุ์ พร้อมด้วย นายนิติธร ล้ำเหลือ หรือ “ทนายนกเขา” และสมาชิกกลุ่ม แถลงจุดยืนคณะหลอมรวมประชาชน ภายหลังทำพิธีเคารพศาลหลักเมือง เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนชุมนุมใหญ่ในวันพรุ่งนี้ (28 ส.ค.)
นายจตุพรกล่าวว่า การเคลื่อนไหวในวันพรุ่งนี้ 28 สิงหาคม ได้กำหนดหัวข้อ “หยุดอำนาจ 3 ป. เพื่อนับหนึ่งประเทศไทย” ดังนั้น แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะสั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ หยุดพักการปฏิบัติหน้าที่นายกฯ ก็ตาม แต่เราได้ประกาศกันมาตั้งแต่ต้นว่า ไม่ประสงค์กดดันศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีข้อผูกพัน สุดแล้วแต่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย หน้าที่ของคณะหลอมรวมประชาชนนั้นก็คือ การทำความจริงให้ปรากฏ โดยได้นำรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่ามาตรา 158 มาตรา 264 และมาตราอื่นๆ การบันทึก พระราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ทั้ง 2 ครั้ง ปี พ.ศ.2557 และปี 2562 รวมทั้งกรณีอื่นๆ เช่น การไม่แสดงบัญชีทรัพย์สิน ช่วงระหว่างการเป็นนายกครั้งที่ 1-2 รวมทั้งคดีของ นายสิระ เจนจาคะ ซึ่งทั้งหมดเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
เพราะว่า มาตรา 158 ที่กำหนดวาระ 8 ปี ของผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ คุณมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ได้มาการันตี ในบันทึกความมุ่งหมายและบันทึกเจตนารมณ์ หลังการทำประชามติ ซึ่งไม่มีใครเห็นเป็นอย่างอื่น โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เราเรียกร้องให้นายมีชัย ปรากฏตัว เพราะคือต้นเหตุของทุกเรื่องราว
“วันนึ้จึงขอชวนคุณมีชัยบ้าง ที่พูดว่าให้นับ 8 ปี ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 60 กลับไปบังคับกับอดีตนายกฯ ทุกคนที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านยังยืนยันเหมือนเดิมหรือไม่ สำคัญที่สุด มนุษย์เราต้องไม่ตระบัตย์สัตย์ และลายลักษณ์อักษรไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้” นายจตุพรกล่าว
นายจตุพรกล่าวต่อว่า ประการต่อมา ภารกิจของคณะหลอมรวมประชาชน ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะได้ พล.อ.ประวิตรมาทำหน้าที่ต่อ อำนาจ 3 ป. ยังอยู่ เพียงแค่สลับมือ และประชาชนก็ถูกสร้างความแตกแยก สร้างความคาดหวังต่างๆ นานา
“เรียนอีกครั้งว่า การเลือกตั้งยังห่างไกลมาก กฎหมายลูกยังไม่เรียบร้อย การแก้ไขจากบัตร 1 ใบ มาเป็น 2 ใบ ในมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ 60 แต่ไม่ยอมแก้มาตรา 93-94 ซึ่งเป็นหัวใจของบัตรใบเดียว เรื่องผู้แทนพึงมีนั้น จะถูกศาลรัฐญธรรมนูญวินิจฉัย จนจะกลายเป็นปัญหา ผมคาดการณ์อย่างนั้นเลย จากที่อ่านรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นไม่ว่า 100 หาร หรือจะกลับมา 100 หาร ก็จะไม่ผ่าน” นายจตุพรกล่าว และว่า
ที่สำคัญที่สุด รัฐธรรมนูญบัญญัติว่า กฎหมายลูก พ.ร.บ.เลือกตั้ง พ.ร.บ.พรรคการเมือง ต้องตราเป็น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) เท่านั้น นั่นแปลว่าสถานะเหนือกว่า พ.ร.บ.ธรรมดา ที่ฝ่ายบริหารไม่สามารถตราเป็น พ.ร.ก.ได้ เมื่อ พ.ร.ก.ยังตราไม่ได้ แล้วจะไปตราเป็นระเบียบข้อบังคับของ กกต.ได้อย่างไร จุดนี้จะกลายเป็นปัญหา เพราะกับดักนี้ถูกวางไว้ตั้งแต่ต้นว่าจะไม่มีการเลือกตั้ง
“ผมเตือนไปยังพรรคเพื่อไทย ให้มีสติอีกครั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจมาจากพรรคเพื่อไทย อยู่ดีๆ จะออกกติกา บัตร 2 ใบ 400 เขต 100 หาร ซึ่งเป็นจุดแข็งของพรรคเพื่อไทย โดยที่เขาไม่คิดอะไร อยู่ดีๆ คิดจะคืนอำนาจให้กับพรรคที่ตัวเองยึดอำนาจมา มันไม่ง่ายไปหน่อยหรือ ฉะนั้น ควรเห็นความสำคัญของภาคประชาชน รวมกระทั่งพรรคการเมืองอื่นๆ เช่นเดียวกัน เพราะเชื่อว่า การเลือกตั้งยังไม่บังเกิด ประเด็น ส.ว.250 ก็ยังอยู่
อย่าได้ลืม การเมืองภาคประชาชนบนท้องถนน แล้วมุ่งเพียงแค่การเลือกตั้งแล้วจะชนะ เพราะท้ายที่สุดก็จะจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ ประชาชนเดือดร้อน ถูกยึดอำนาจคืนมา การจะรักษาความไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชน คือบทเรียนที่สำคัญที่สุด” นายจตุพรกล่าว