เพื่อไทย แซะพปชร. ขึ้นค่าแรงกระปริบกระปรอย ไม่เหมือนตอนหาเสียง ให้ตั้ง 425 บาท
https://www.matichon.co.th/politics/news_3530118
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม นาย
อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีมติคณะกรรมการค่าจ้างเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2565 ในจ.ชลบุรี, จ.ระยอง และ จ.ภูเก็ต ค่าแรง 354 บาทต่อวัน ขณะที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้, จ.น่าน และ จ.อุดรธานี ค่าแรงอยู่ที่ 328 บาทต่อวัน ว่า พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่ตอนนี้มีหัวหน้าพรรคเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี รู้สึกอย่างไร ที่นโยบายหาเสียงเป็นสัญญาประชาคมกับประชาชน ไม่สามารถทำได้ตามสัญญาทั้งที่มีอำนาจล้นมือ ถือเป็นการตระบัดสัตย์หลอกลวงเพื่อหวังผลคะแนนตอนเลือกตั้งหรือไม่ ตอนหาเสียงบอกว่าจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 425 บาทเท่ากันทั่วประเทศ พอมาเป็นรัฐบาลปรับแต่ละครั้งกระปริบกระปรอย แต่ละพื้นที่ก็ปรับไม่เท่ากัน ซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำจนปลายอายุรัฐบาล จังหวัดที่ได้มากที่สุดก็ยังห่างไกลจาก 425 บาทที่หาเสียงอยู่มาก แทนที่จะพูดในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่พูด กลับพูดแล้วไม่ทำ และอาจเตรียมไปพูดโม้ใหม่ในการเลือกตั้งครั้งหน้า
“เกียรติภูมิของความเป็นพรรคการเมืองแทบไม่เหลือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะดำเนินการอย่างไร ถ้าพรรคการเมืองไปหาเสียงแล้วทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำ แล้วไม่เกิดผลอะไรทางกฎหมาย ต่อไปพรรคไหนอยากพูดอะไร อยากสัญญาอะไร พอทำไม่ได้ก็ไม่มีความผิด ไม่ต้องรับผิดชอบ กลายเป็นเพียงคำสัญญาที่ว่างเปล่าหลอกลวงประชาชน นโยบายที่ใช้หาเสียงแล้วทำไม่ได้ควรมีราคาที่ต้องจ่าย จะยุบพรรคหรือถูกลงโทษอย่างไรก็ควรต้องมีบรรทัดฐาน พรรคพลังประชารัฐยังหาเสียงนโยบายเงินเดือนปริญญาตรีเริ่มต้น 20,000 บาท เงินเดือนอาชีวะเริ่มต้น 18,000 บาท ปลดหนี้นอกระบบผู้ใช้แรงงาน 10 ล้านราย ที่มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท นโยบายมารดาประชารัฐ พรรคพลังประชารัฐทำแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ได้ทำหรือทำไม่ได้ จะรับผิดชอบอย่างไร ค่าแรงขึ้นยังไงให้เหมือนไม่ขึ้น แทนที่จะขึ้นค่าแรง แต่ดันไปขึ้นค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซ ค่าน้ำมัน เพิ่มภาระค่าครองชีพพุ่งสูง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หยุด ประเทศไทยต้องไม่หยุด ประชาชนเดือดร้อนจากนโยบายที่ใช้หาเสียงแล้วทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำ กกต.ต้องมีคำตอบ” นาย
อนุสรณ์ กล่าว
'ศิริกัญญา' แฉกระบวนการ ปิดดีลทรู-ดีแทค หลัง 'กสทช.' ลบโพสต์ 5 ข้อเท็จจริงควบรวม
https://www.matichon.co.th/economy/news_3530073
‘ศิริกัญญา’ แฉกระบวนการ ปิดดีลทรู-ดีแทค หลัง ‘กสทช.’ ลบโพสต์ 5 ข้อเท็จจริงควบรวม
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก
Sirikanya Tansakun – ศิริกัญญา ตันสกุล ถึงกรณีสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เปิดเผย 5 Facts กรณีควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรูและดีแทค ว่า
[เปิดภาพอินโฟกราฟิกที่กสทช.สั่งลบ!! 5 ข้อเท็จจริง กรณีควบรวมทรู ดีแทค]
เมื่อวันที่ 25 ส.ค. เพจ กสทช. ได้เผยแพร่ชุดภาพอินโฟกราฟิก 5 ข้อเท็จจริง กรณีควบรวม ทรู ดีแทค แต่เมื่อเข้าไปเช็คล่าสุด กลับถูกลบไปแล้ว พร้อมกับการให้ข่าวจากทางฝั่งทรู-ดีแทค ที่ยื่นหนังสือทักท้วง ว่าไม่เป็นกลาง ไม่ครบถ้วน
ดิฉันจึงขอนำภาพที่ถูกลบไปแล้วมาให้ได้พิจารณากันว่า ไม่เป็นกลางอย่างไร ไม่ครบถ้วน หรือไม่อย่างไร มีหลายเรื่องที่น่าสนใจ เช่น ระยะเวลา และเคสการพิจารณาการควบรวมในต่างประเทศ รวมไปถึงสรุปสาระสำคัญรายงานอนุกรรมการทั้ง 4 ชุด
ส่วนตัวดิฉันดูแล้วก็รู้สึกว่าเป็นกลางอย่างมาก แถมยังเป็นข้อเท็จจริงล้วนๆ !
แต่ทางบอร์ดกสทช. ก็รับลูก และมีคำสั่งให้ลบโพสต์นี้
เรื่องน่าประหลาดใจยังไม่หมดแค่นี้ บอร์ดกสทช.เพิ่งมีมติ 3:2 ยื่นกฤษฎีกาให้ตีความอำนาจตนเองเป็นรอบที่ 2
หลังจากถูกปฏิเสธในรอบแรก ด้วยเหตุผลว่าสำนักงานมีอำนาจตีความได้เองอยู่แล้ว และเรื่องนี้เป็นคดีอยู่ในศาลปกครอง ตามกฎหมายแล้วคณะกรรมการกฤษฎีกาจะไม่พิจารณาให้ความเห็นทางกฎหมายในเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาล เว้นแต่จะเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี ได้มีมติหรือคำสั่งเป็นการภายในให้พิจารณา
กสทช.จึงสบช่อง ตรงวรรคท้าย “เว้นแต่จะเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี ได้มีมติหรือคำสั่งเป็นการภายในให้พิจารณา”
ยื่นหนังสือถึงรักษาการนายกฯ ให้ออกคำสั่งรักษาการนายกฯ ก็เซ็นคำสั่งให้ทันที แว่วมาว่าสนิทสนมกับประธานเป็นการส่วนตัว
ที่ต้องตีความกันใหม่เพราะบอร์ดอยากจะเห็นต่างจากศาลปกครองหรือไม่ เพราะศาลเห็นว่า ประกาศ กสทช.ว่าด้วยมาตรการควบรวมฯปี 2561 ประกอบประกาศ กสทช.ว่าด้วยมาตรการป้องกันการผูกขาดปี 2549 นั้น ได้ให้อำนาจกสทช.ที่จะพิจารณา “อนุมัติ” หรือไม่อนุมัติการขอควบรวมธุรกิจได้อยู่แล้ว
สรุปคือ ศาลปกครองเห็นว่าบอร์ดกสทช.มีอำนาจอนุมัติ ไม่ใช่แค่รับทราบ ซึ่งตรงกับความเห็นตามรายงานอนุกรรมการด้านกฎหมายที่ออกมาก่อนหน้า
แต่คงยังไม่ได้ดั่งใจ จึงตั้งคณะอนุฯที่ปรึกษากฎหมายขึ้นมาอีก 1 ชุด ระดมนักกฎหมายเบอร์ใหญ่ชื่อดังจากทั่วฟ้าเมืองไทย ทั้งบวรศักดิ์ อุวรรณโณ สมคิด เลิศไพฑูรย์ สุรพล นิติไกรพจน์ จรัญ ภักดีธนากุล และข้อเสนอแนะเรื่องยื่นกฤษฎีกาผ่านนายกก็มาอนุฯชุดนี้นี่เอง
https://www.facebook.com/SirikanyaOfficial/posts/pfbid037wsvhWBvTTsmasVz6Ntqi6mbQWt6G3S4REh7hqxi3sgwWVUuSBsFWoVBc4mtVzGql
ต่างชาติชะลอลงทุนชั่วคราว ลุ้นสถานการณ์การเมืองไทยช่วง 1 เดือนนี้
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/307774
การนิคมอุตสาหกรรมฯ ยอมรับ นักลงทุนชะลอการลงทุน รอดูสถานการณ์การเมืองไทย แต่เชื่อว่าระยะยาวไม่มีผลกระทบ
นาย
วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว ยังไม่ส่งผลกระทบภาพรวมของการลงทุน แต่นักลงทุนอาจรอดูสถานการณ์ในช่วง 1 เดือนนี้ก่อน แต่ในระยะยาวยังมีความเชื่อมั่นและยังสนใจจะเข้ามาลงทุน และเชื่อว่าจะไม่ถึงขั้นย้ายการลงทุนไปยังประเทศอื่นในอาเซียน เช่น เวียดนาม เพราะประเทศไทยยังน่าลงทุนอยู่มาก แต่หากสถานการณ์ยืดเยื้อไปอีก 3-4 เดือน ก็ยอมรับว่า อาจจะมีผลกระทบ
ขณะที่นาย
อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ CEO บริษัท ปตท.กล่าวว่า จากปัญหาวิกฤติโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ ปตท.มีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนธุรกิจให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากเดิมที่เน้นสร้างความมั่นคงทางพลังงาน เป็นแนวคิดใหม่ Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังอนาคต พลังงานสะอาด ธุรกิจใหม่ที่ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของคนไทย และคนทั่วโลก
รับชมได้ทางยูทูป :
https://youtu.be/73pYL_ftlIQ
JJNY : เพื่อไทยแซะพปชร.ขึ้นค่าแรง│'ศิริกัญญา'แฉกระบวนการ ปิดดีลทรู-ดีแทค│ต่างชาติชะลอลงทุน│สัมภาษณ์พิเศษ“อ๋อม สกาวใจ”
https://www.matichon.co.th/politics/news_3530118
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีมติคณะกรรมการค่าจ้างเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2565 ในจ.ชลบุรี, จ.ระยอง และ จ.ภูเก็ต ค่าแรง 354 บาทต่อวัน ขณะที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้, จ.น่าน และ จ.อุดรธานี ค่าแรงอยู่ที่ 328 บาทต่อวัน ว่า พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่ตอนนี้มีหัวหน้าพรรคเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี รู้สึกอย่างไร ที่นโยบายหาเสียงเป็นสัญญาประชาคมกับประชาชน ไม่สามารถทำได้ตามสัญญาทั้งที่มีอำนาจล้นมือ ถือเป็นการตระบัดสัตย์หลอกลวงเพื่อหวังผลคะแนนตอนเลือกตั้งหรือไม่ ตอนหาเสียงบอกว่าจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 425 บาทเท่ากันทั่วประเทศ พอมาเป็นรัฐบาลปรับแต่ละครั้งกระปริบกระปรอย แต่ละพื้นที่ก็ปรับไม่เท่ากัน ซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำจนปลายอายุรัฐบาล จังหวัดที่ได้มากที่สุดก็ยังห่างไกลจาก 425 บาทที่หาเสียงอยู่มาก แทนที่จะพูดในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่พูด กลับพูดแล้วไม่ทำ และอาจเตรียมไปพูดโม้ใหม่ในการเลือกตั้งครั้งหน้า
“เกียรติภูมิของความเป็นพรรคการเมืองแทบไม่เหลือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะดำเนินการอย่างไร ถ้าพรรคการเมืองไปหาเสียงแล้วทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำ แล้วไม่เกิดผลอะไรทางกฎหมาย ต่อไปพรรคไหนอยากพูดอะไร อยากสัญญาอะไร พอทำไม่ได้ก็ไม่มีความผิด ไม่ต้องรับผิดชอบ กลายเป็นเพียงคำสัญญาที่ว่างเปล่าหลอกลวงประชาชน นโยบายที่ใช้หาเสียงแล้วทำไม่ได้ควรมีราคาที่ต้องจ่าย จะยุบพรรคหรือถูกลงโทษอย่างไรก็ควรต้องมีบรรทัดฐาน พรรคพลังประชารัฐยังหาเสียงนโยบายเงินเดือนปริญญาตรีเริ่มต้น 20,000 บาท เงินเดือนอาชีวะเริ่มต้น 18,000 บาท ปลดหนี้นอกระบบผู้ใช้แรงงาน 10 ล้านราย ที่มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท นโยบายมารดาประชารัฐ พรรคพลังประชารัฐทำแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ได้ทำหรือทำไม่ได้ จะรับผิดชอบอย่างไร ค่าแรงขึ้นยังไงให้เหมือนไม่ขึ้น แทนที่จะขึ้นค่าแรง แต่ดันไปขึ้นค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซ ค่าน้ำมัน เพิ่มภาระค่าครองชีพพุ่งสูง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หยุด ประเทศไทยต้องไม่หยุด ประชาชนเดือดร้อนจากนโยบายที่ใช้หาเสียงแล้วทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำ กกต.ต้องมีคำตอบ” นายอนุสรณ์ กล่าว
'ศิริกัญญา' แฉกระบวนการ ปิดดีลทรู-ดีแทค หลัง 'กสทช.' ลบโพสต์ 5 ข้อเท็จจริงควบรวม
https://www.matichon.co.th/economy/news_3530073
‘ศิริกัญญา’ แฉกระบวนการ ปิดดีลทรู-ดีแทค หลัง ‘กสทช.’ ลบโพสต์ 5 ข้อเท็จจริงควบรวม
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sirikanya Tansakun – ศิริกัญญา ตันสกุล ถึงกรณีสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เปิดเผย 5 Facts กรณีควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรูและดีแทค ว่า
[เปิดภาพอินโฟกราฟิกที่กสทช.สั่งลบ!! 5 ข้อเท็จจริง กรณีควบรวมทรู ดีแทค]
เมื่อวันที่ 25 ส.ค. เพจ กสทช. ได้เผยแพร่ชุดภาพอินโฟกราฟิก 5 ข้อเท็จจริง กรณีควบรวม ทรู ดีแทค แต่เมื่อเข้าไปเช็คล่าสุด กลับถูกลบไปแล้ว พร้อมกับการให้ข่าวจากทางฝั่งทรู-ดีแทค ที่ยื่นหนังสือทักท้วง ว่าไม่เป็นกลาง ไม่ครบถ้วน
ดิฉันจึงขอนำภาพที่ถูกลบไปแล้วมาให้ได้พิจารณากันว่า ไม่เป็นกลางอย่างไร ไม่ครบถ้วน หรือไม่อย่างไร มีหลายเรื่องที่น่าสนใจ เช่น ระยะเวลา และเคสการพิจารณาการควบรวมในต่างประเทศ รวมไปถึงสรุปสาระสำคัญรายงานอนุกรรมการทั้ง 4 ชุด
ส่วนตัวดิฉันดูแล้วก็รู้สึกว่าเป็นกลางอย่างมาก แถมยังเป็นข้อเท็จจริงล้วนๆ !
แต่ทางบอร์ดกสทช. ก็รับลูก และมีคำสั่งให้ลบโพสต์นี้
เรื่องน่าประหลาดใจยังไม่หมดแค่นี้ บอร์ดกสทช.เพิ่งมีมติ 3:2 ยื่นกฤษฎีกาให้ตีความอำนาจตนเองเป็นรอบที่ 2
หลังจากถูกปฏิเสธในรอบแรก ด้วยเหตุผลว่าสำนักงานมีอำนาจตีความได้เองอยู่แล้ว และเรื่องนี้เป็นคดีอยู่ในศาลปกครอง ตามกฎหมายแล้วคณะกรรมการกฤษฎีกาจะไม่พิจารณาให้ความเห็นทางกฎหมายในเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาล เว้นแต่จะเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี ได้มีมติหรือคำสั่งเป็นการภายในให้พิจารณา
กสทช.จึงสบช่อง ตรงวรรคท้าย “เว้นแต่จะเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี ได้มีมติหรือคำสั่งเป็นการภายในให้พิจารณา”
ยื่นหนังสือถึงรักษาการนายกฯ ให้ออกคำสั่งรักษาการนายกฯ ก็เซ็นคำสั่งให้ทันที แว่วมาว่าสนิทสนมกับประธานเป็นการส่วนตัว
ที่ต้องตีความกันใหม่เพราะบอร์ดอยากจะเห็นต่างจากศาลปกครองหรือไม่ เพราะศาลเห็นว่า ประกาศ กสทช.ว่าด้วยมาตรการควบรวมฯปี 2561 ประกอบประกาศ กสทช.ว่าด้วยมาตรการป้องกันการผูกขาดปี 2549 นั้น ได้ให้อำนาจกสทช.ที่จะพิจารณา “อนุมัติ” หรือไม่อนุมัติการขอควบรวมธุรกิจได้อยู่แล้ว
สรุปคือ ศาลปกครองเห็นว่าบอร์ดกสทช.มีอำนาจอนุมัติ ไม่ใช่แค่รับทราบ ซึ่งตรงกับความเห็นตามรายงานอนุกรรมการด้านกฎหมายที่ออกมาก่อนหน้า
แต่คงยังไม่ได้ดั่งใจ จึงตั้งคณะอนุฯที่ปรึกษากฎหมายขึ้นมาอีก 1 ชุด ระดมนักกฎหมายเบอร์ใหญ่ชื่อดังจากทั่วฟ้าเมืองไทย ทั้งบวรศักดิ์ อุวรรณโณ สมคิด เลิศไพฑูรย์ สุรพล นิติไกรพจน์ จรัญ ภักดีธนากุล และข้อเสนอแนะเรื่องยื่นกฤษฎีกาผ่านนายกก็มาอนุฯชุดนี้นี่เอง
https://www.facebook.com/SirikanyaOfficial/posts/pfbid037wsvhWBvTTsmasVz6Ntqi6mbQWt6G3S4REh7hqxi3sgwWVUuSBsFWoVBc4mtVzGql
ต่างชาติชะลอลงทุนชั่วคราว ลุ้นสถานการณ์การเมืองไทยช่วง 1 เดือนนี้
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/307774
การนิคมอุตสาหกรรมฯ ยอมรับ นักลงทุนชะลอการลงทุน รอดูสถานการณ์การเมืองไทย แต่เชื่อว่าระยะยาวไม่มีผลกระทบ
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว ยังไม่ส่งผลกระทบภาพรวมของการลงทุน แต่นักลงทุนอาจรอดูสถานการณ์ในช่วง 1 เดือนนี้ก่อน แต่ในระยะยาวยังมีความเชื่อมั่นและยังสนใจจะเข้ามาลงทุน และเชื่อว่าจะไม่ถึงขั้นย้ายการลงทุนไปยังประเทศอื่นในอาเซียน เช่น เวียดนาม เพราะประเทศไทยยังน่าลงทุนอยู่มาก แต่หากสถานการณ์ยืดเยื้อไปอีก 3-4 เดือน ก็ยอมรับว่า อาจจะมีผลกระทบ
ขณะที่นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ CEO บริษัท ปตท.กล่าวว่า จากปัญหาวิกฤติโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ ปตท.มีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนธุรกิจให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากเดิมที่เน้นสร้างความมั่นคงทางพลังงาน เป็นแนวคิดใหม่ Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังอนาคต พลังงานสะอาด ธุรกิจใหม่ที่ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของคนไทย และคนทั่วโลก
รับชมได้ทางยูทูป : https://youtu.be/73pYL_ftlIQ