‘ทรู-ดีแทค’บุก กสทช. ขอเร่งเคาะดีลควบรวม หากไม่ตัดสินอาจโดนฟ้อง มาตรา 157

กระทู้ข่าว

“ทรู-ดีแทค”ยื่นหนังสือ”กสทช.”เร่งรัดดีลควบรวม กสทช.คาดจบก่อนสิ้นเดือน

“ทรู-ดีแทค”ยื่นหนังสือต่อ”กสทช.”ให้เร่งรัดตัดสินควบรวมธุรกิจโดยเร็ว หวั่นธุรกิจเกิดความเสียหาย ด้าน กสทช .ยันไม่มีการดึงยื้อ คาดจะจบในสิ้นเดือนนี้ หากไม่ตัดสินอาจโดนฟ้อง มาตรา 157

 วันนี้( 11 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(สำนักงาน กสทช.) นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู และนายเลิศรัตน์ รตะนานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายประสานงานภาครัฐ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เข้ายื่นหนังสือต่อ นพ. สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. โดยมี พล.อ.กิตติ เกตุศรี ผู้ปฏิบัติงาน ส่วนงานประธาน กสทช. เป็นผู้แทนรับมอบ โดยหนังสือระบุเรื่องขอให้ กสทช.พิจารณาการควบรวมธุรกิจระหว่างทรู และ ดีแทค ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู กล่าวว่า  การเข้ายื่นหนังสือ เนื่องจากรับทรายจากข่าว ในการประชุมของบอร์ด กสทช.ในวันที่ 12 ต.ค. อาจจังคาดว่าจะยังไม่ได้ข้อยุติและยังไม่มีการตัดสินใจอย่างชัดเจนในเรื่องการควบรไม่ได้ข้อสรุปในการลงมติ จึงได้เดินทางมายื่นหนังสือ ให้ กรรมการ กสทช.ทุกท่าน ช่วยเร่งรัดการพิจารณาการควบรวม หฃังจากได้ยื่นหลักฐานและข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่เดือน ม.ค.  แต่เวลาล่วงเลยมาถึงวันนี้เป็นเวลา  9 เดือน  ยังไม่มีความชีดเจน ซึ่งกังวลว่าหากปล่อยเวลาให้ยืดยาวจะเกิดผลกระทบต่อบริษัท และผู้บริโภค ที่จะได้ร่วมกันใช้เครือข่ายร่วมกัน จึงมาขอความเป็นธรรมกับ กสทช. ให้ช่วยเร่งรัดการพิจารณา

“จอยืนยันว่าการควบรวมธุรกิจของทั้งสองบริษัทจะเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคได้ประโยชน์ เนื่องจากลูกค้าจะสามารถใช้คลื่นที่เป็นโครงข่ายร่วมกันได้ แม้จะมีข้อกังขาเรื่องเงื่อนไขที่ห้ามไม่ให้ผู้ขอควบรวมใช้โครงข่ายร่วมกันนั้น ก็ต้องมาดูเรื่องการกำหนดเงื่อนไขที่เป็นหลักการตามประกาศปี 2561 ข้อ 12 ที่กำหนดว่าหาก กสทช.พิจารณาว่าถ้ามีการควบรวมธุรกิจแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์ หรือเสียประโยชน์ต่อสาธารณะ หรือเกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม  รวมถึงในเรื่องราคาค่าบริการ  ซึ่งภายใต้อำนาจที่ กสทช.มีก็สามารถกำหนดมาตรการให้ผู้ขอควบรวมได้ปฏิบัติตาม เพื่อลดผลกระทบในด้านต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้”
นอกจากนี้ อยากให้แยกประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภคกับประเด็นเรื่องการดำเนินธุรกิจออกจากกัน ที่ผ่านมา ทรูได้ดำเนินการทำธุรกิจลักษณะที่คำนึงถึงผู้บริโภคมาตลอดและอัตราค่าบริการก็ลดลงทุกปี ซึ่งสำหรับประเด็นที่เสนอให้ผู้ขอควบรวมคืนคลื่นความถี่ที่เมื่อรวมกันแล้วมีคลื่นความถี่ที่มากกว่ากฎหมายกำหนดและมีผลต่อการแข่งขันนั้น ก็เป็นเรื่องในอนาคตที่อาจมีการพิจารณาคืนคลื่นได้ ตาม กสทช.กำหนด

ด้านนายเลิศรัตน์ รตนานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายประสานงานภาครัฐ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า กรณีหากมีการควบรวมกันแล้ว ลูกค้าของดีแทคไม่ต้องการใช้บริการของทรูก็เป็นสิทธิของผู้บริโภคที่จะย้ายค่ายได้ แต่ขอให้มองอีกมุม ที่ลูกค้าดีแทคจะได้ประโยชน์ เพราะคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ ที่ถือเป็นมาตรฐานของ 5G ดีแทคไม่มีให้บริการ เนื่องจากได้ให้บริการบนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้นการควบรวมธุรกิจจึงเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคได้ประโยชน์ในการใช้คลื่นความถี่ได้หลากหลายมากขึ้น

น.ส.พิรงรอง รามสูต กรรมการกสทช. กล่าวว่า การประชุมวันที่ 12 ต.ค.นี้ บอร์ดกสทช.ต้องหารือข้อมูลใหม่ตามที่บอร์ดมีมติให้จ้างบริษัทวิจัยต่างประเทศศึกษาผลกระทบของผู้บริโภคจากการควบรวมกิจการบริการโทรศัพท์มือถือ คือ SCF Associates ซึ่งบอร์ดต้องมาหารือถึงขั้นตอนต่างๆในการลงมติ เบื้องต้นยอมรับว่าผลการศึกษามีข้อกังวลถึงผลกระทบต่อตลาด รวมถึงการศึกษามาตรการเยียวยา ส่วนการที่เอกชนมายื่นเรื่องเร่งรัดให้บอร์ดกสทช.เร่งพิจารณาเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจเอกชนได้ ขอยืนยันว่า กสทช.ไม่ได้ยื้อเรื่องนี้ ซึ่งส่วนตัวอยากให้เรื่องนี้จบโดยเร็ว เช่นกัน คาดไม่เกินสิ้นเดือน ต.ค.นี้
ด้านแหล่งข่า จาก กสทช. กล่าวว่า ในการประชุม วันที่ 12 ตุลาคม แม้จะต้องมีการพูดคุยถึงรายละเอียด ก็เชื่อว่า หากไม่ได้ลงมติในสัปดาห์นี้ ก็คงเป็นในสัปดาห์หน้า เพราะการลากยากในเรื่องนี้ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะข้อมูลต่างๆ มีการรวบรวมไว้ครบถ้วยแล้ว ซึ่งหากยังไม่มีการตัดสิน ก็มีโอกาสที่จะถูกเอกชนฟ้อง ปชช. ในมาตรา 157 ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ได้

https://www.dailynews.co.th/news/1567938/

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่