ฝ่ายค้าน ยื่นพยานเพิ่ม คดี 8 ปี แนบความเห็น ‘อดีตป.ป.ช.-51 อ.นิติ’ มัดบิ๊กตู่ พ้น 24 ส.ค.
https://www.matichon.co.th/politics/news_3537079
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 31 สิงหาคม ที่รัฐสภา นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้าน ยืนหนังสือรายชื่อพยานเพิ่มเติมกรณีการสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ของ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต่อ นาย
ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เพื่อส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อประกอบคำวินิจฉัยโดยมี นพ.
สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับหนังสือแทน หลังศาลรัฐธรรมนูญเรียก นาย
มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และ นาย
ปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขานุการ กรธ. เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม
นพ.
ชลน่านกล่าวว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านได้หารือกัน และมีมติเห็นว่าพยานบุคคลทั้ง 2 ท่าน ยังไม่พอเพียงกับการสร้างดุลยภาพของการพิจารณาคดี จึงขอเสนอส่งรายชื่อพยานบุคคล ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมให้ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณา เนื่องจากขณะนี้พบว่าศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้นัดไต่สวนพยาน เพียงแต่ทำบันทึกเป็นคำถามส่งให้นาย
มีชัย และนาย
ปกรณ์ตอบ แล้วส่งกลับไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุนี้พรรคร่วมฝ่ายค้านจึงเปลี่ยนวิธีการเป็นการส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมผ่านประธานสภา ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ความเห็นของนักวิชาการด้านนิติศาสตร์ทั้ง 51 ท่าน ที่แสดงควมคิดเห็นต่อสังคม เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่มา พร้อมแผ่นดีวีดีบันทึกภาพและเสียง สัมภาษณ์พิเศษ นาย
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย และ น.ส.
สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และอดีตกรรมการ ป.ป.ช. ต่อประเด็นการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี เพื่อยืนยันความเห็นของฝ่ายค้านว่า พล.อ.
ประยุทธ์พ้นวาระการดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมาแล้ว
“เรื่องนี้เป็นคดีทางการเมือง และข้อกฎหมายเป็นการเฉพาะ ข้อเท็จจริงไม่จำเป็นต้องพิสูจน์กัน เพราะชัดแจ้งอยู่แล้วว่า พล.อ.ประยุทธ์อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเกิน 8 ปี ติดต่อกัน ทั้งนี้ ยังไม่ถือว่าเป็นการก้าวล่วงอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เพราะข้อเท็จจริงได้ปรากฏต่อสาธารณะไปแล้ว” นพ.
ชลน่านกล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม ตนยังเชื่อมั่นว่าหลักฐานเพิ่มเติมของพรรคร่วมฝ่ายค้าน เป็นหลักฐานที่มีเหตุผลชัดเจนในเจตนารมณ์ และหนักแน่นเพียงพอให้ศาลรัฐธรรมนูญนำประเด็นไปสู่การพิจารณาได้
“ก้าวไกล” แนะ 5 แนวทาง ฝันอยากเห็นรัฐสวัสดิการ เด็กไทยเรียนฟรี
https://www.matichon.co.th/politics/news_3537405
เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ที่รัฐสภา นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) แถลงท่าทีของพรรคต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่พิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ ว่า พรรค ก.ก. เชื่อว่าการศึกษาเป็นสวัสดิการที่สำคัญ สำหรับอนาคตของประชาชน และเป็นการลงทุนที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ แม้หลายประเทศจะมีข้อถกเถียง และข้อสรุปที่แตกต่างกัน ถึงระดับชั้นที่รัฐควรอุดหนุนให้ประชาชนได้เรียนฟรี
นายพิธา กล่าวต่อว่า แต่ปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธว่าหากจัดสรรงบประมาณได้เพียงพอ การอุดหนุนให้ประชาชนมีสิทธิเรียนฟรีถึงระดับมหาวิทยาลัย จะเป็นนโยบายที่สร้างโอกาสให้กับผู้คนจำนวนมาก การเรียนมหาวิทยาลัยฟรีจึงเป็นเป้าหมายของพรรคก้าวไกล หากรัฐยังไม่สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อเรียนอุดมศึกษาฟรีได้ในทันที เรามีความจำเป็นต้องแก้ปัญหากยศ. เพื่อรับประกันสิทธิทางการศึกษาของผู้เรียนในช่วงเปลี่ยนผ่าน
นาย
พิธา กล่าวต่อว่า โดยเสนอ 5 แนวทางต่อที่ประชุมสภาฯ วันนี้ ในการพิจารณาวาระ 2 เพื่อปรับปรุงให้กยศ. มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดภาระต่อผู้เรียน และรักษาความยั่งยืนของกองทุน คือ
1. ทุกคนเข้าถึงสวัสดิการ กยศ. ได้อย่างถ้วนหน้า ด้วยการยกเลิกเกณฑ์พิสูจน์ความจนในการกู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการตกหล่น และเพื่อยืนยันหลักคิดว่าสวัสดิการกู้ยืมเพื่อการศึกษา ควรเป็นสวัสดิการที่ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะยากดีมีจน
2. ขยายเงื่อนไขการให้ทุนเรียนฟรีสำหรับผู้เรียนบางกลุ่ม เพิ่มความยืดหยุ่นให้กองทุน ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกไปสู่การเรียน ปวส.ฟรี หรือ ปริญญาตรีฟรี สำหรับบางกลุ่ม
นาย
พิธา กล่าวต่อว่า 3.ยกเลิกการมีผู้ค้ำประกันในทุกกรณี 4.ผ่อนปรนเงื่อนไขชำระหนี้ จ่ายคืนต่อเมื่อมีรายได้ ซึ่งผู้เรียนมีสิทธิจ่ายเงินกู้คืนต่อเมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี หรือภายในระยะเวลา 30 ปี มีเพดานดอกเบี้ย และเบี้ยปรับไม่เกิน 1% ต่อปี ซึ่งอาจปรับลดเหลือ 0% โดยรัฐอุดหนุนส่วนต่างรายได้กองทุนที่หายไป และอาจมีทางเลือกชำระหนี้เป็นทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด และ 5.ปัญหาสัญชาติที่ค้างคาอยู่ ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการกู้ยืม โดยอนุญาตให้บุคคลที่อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขปัญหา สถานะให้มีสัญชาติไทยอย่างถูกต้องครบถ้วน ไม่เสียสิทธิในการเข้าถึงสวัสดิการ กยศ.
เศรษฐกิจเดือน ก.ค.หดตัว ส่งออกร่วง-ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 4.1 พันล.เหรียญสหรัฐ
https://www.matichon.co.th/economy/news_3537464
ธปท. เผยเศรษฐกิจเดือน ก.ค.หดตัว ส่งออกร่วง-ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 4.1 พันล.เหรียญสหรัฐ
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม นางสาว
ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2565 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนปรับลดลงหลังจากเร่งลงทุนไปในช่วงก่อนหน้า แม้จะเห็นการจ้างงานและรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่บางจุดเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอตัวลงและค่าครองชีพที่อยู่ระดับสูง
อย่างไรก็ตาม ภาคบริการยังคงปรับดีขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มมากขึ้นถึง 1.12 ล้านคน เพิ่มจากเดือนก่อนหน้าที่มีนักท่องเที่ยว 767,000 คน โดยรวม 7 เดือนที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวสะสมอยู่ที่ 3.2 ล้านคน
ขณะที่มูลค่าการส่งออกลดลงที่ระดับ 3.4% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 11.1% จากหมวดโลหะตามความต้องการในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ลดลง และส่วนใหญ่เป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตามอุปสงค์โลกลดลง นอกจากนี้ เครื่องชี้วัดการลงทุนภาคเอกชนอยู่ที่ระดับ 5.7% ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 5.9% ปลัดลดลงตามการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เร่งไปในเดือนก่อน
ขณะเดียวกันการใช้จ่ายภาครัฐไม่รวมเงินโอนหดตัว เมื่อเทียบระยะเดียวกันปีก่อน เห็นได้จากตามรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลางหลังมีการเร่งเบิกจ่ายไปในช่วงต้นปีงบประมาณ โดยรายงานลงทุนรัฐบาลกลางหดตัว 16.6% และรายงานลงทุนของรัฐวิสาหกิจปรับเพิ่มขึ้น 54.2% ตามการเบิกจ่ายในโครงการด้านคมนาคมแต่โดยรวมถือว่าหดตัว
“แนวโน้มเดือนสิงหาคมคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ระยะต่อไปยังมีปัจัยต้องติดตาม 1.การปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุน ค่าจ้าง และราคาสินค้า 2.อุปสงค์ต่างประเทศที่อาจชะลอตัว และ 3.การแพร่ระบาดโควิด และนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ” นางสาว
ชญาวดีกล่าว
นางสาว
ชญาวดี กล่าวว่า แม้ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้น โดยเดือนกรกฎาคมดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากขึ้นจากดุลการค้าที่กลับมาขาดดุลตามมูลค่าการส่งออกที่ลดลงและการนำเข้าทองคำที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุลใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า
ขณะที่ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าลงต่อเนื่องตามการแข็งค่าของเงินเหรียญสหรัฐ จากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่เพิ่มขึ้น เนื่องตลาดกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะได้รับผลกระทบส่งผลให้นักลงทุนระมัดระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสียงมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับเดือนสิงหาคม ข้อมูลหลังจากวันที่ 26 สิงหาคม อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อเงินเหรียญสหรัฐเฉลี่ยแข็งค่าขึ้นช่วงแรกของเดือนตามบรรยากาศการลงทุนที่ผ่อนคลายจากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐลดลง และตลาดคลายความกังวลมากขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้น
โดยค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่าตามตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2565 ที่ลดลงกว่าที่คาดการณ์ และเงินบาทไทยอ่อนค่าตามเงินหยวนของจีน เนื่องจากความเสี่ยงด้านอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 1-25 สิงหาคม ค่าเงินบาทเทียบกับในภูมิภาคเดียวกันยังถือว่าอยู่ในระดับแข็งค่า นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกรกฎาคมอยู่ระดับ 7.61% ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 7.66% หลักๆ อัตราเงินเฟ้อในหมวดพลังงานชะลอลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดเร่งขึ้นตามราคาผักและราคาเนื้อสัตว์ส่งผลให้เงินเฟ้อยังอยู่ระดับสูง
นางสาวชญาวดี กล่าวว่า สำหรับการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เน้นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยส่วนนี้ก็มีผลต่อค่าเงินบาท หากดูช่วงที่ผ่านมาหลังวันที่ 26 สิงหาคม หลังจากประธานเฟดได้กล่าวเน้นย้ำต่อการดำเนินนโยบายด้านการเงินต่อเนื่อง ส่งผลให้สินทรัพย์ทั่วโลกปรับลดลง อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการตัดสินใจทำนโยบายก็ต้องดูตามบริบทของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ ซึ่งก็เป็นไปตามที่ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าจะดำเนินนโยบายภายใต้บริบทการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตัวเอง และการทำนโยบายต้องทำให้การฟื้นตัวไม่สะดุด
“อย่างไรก็ตาม ความกังวลในแง่ของภาพรวมก็เป็นไปตามบริบทเศรษฐกิจ สำหรับเรื่องของการเคลื่อนย้ายเงินทุนยังมีการหมุนเวียนปกติ และยังเห็นเงินทุนที่ไหลเข้า แม้จะมีเงินไหลออกไปตามตลาดพันธบัตร แต่ตลาดหุ้นยังคงมีการไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง” นางสาว
ชญาวดีกล่าว
ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2565 จะกระเตื้องขึ้นมาได้บ้าง แต่มีผลจากทั้ง 2 ฝั่ง คือผลบวกเรื่องการท่องเที่ยวจะกลับมา เนื่องจากนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น และไม่เกิดอุปสรรคใหม่ ขณะเดียวกันผลจากภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลกลับมาขาดดุลน้อยลงจากที่นักท่องเที่ยวเข้ามาช่วยเสริมให้ภาพเศรษฐกิจคึกคักขึ้น
คนเลี้ยงกุ้ง ทุกข์หนัก ราคากุ้งลดฮวบ กิโลละ 20 บ. หลังมีมตินำเข้ากุ้งหมื่นตัน
https://www.matichon.co.th/economy/news_3536884
เครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งสุดทน เรียกร้อง บอร์ดกุ้ง หยุดการนำเข้ากุ้ง จากเอกวาดอร์ และอินเดีย หมื่นตัน แล้วหันมาส่งเสริมการเลี้ยงเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้ได้ตามที่ต้องการ เผยหลังมตินำเข้ากุ้งราคาดิ่งทันทีกิโลกรัมละ 20 บาท ผู้เลี้ยงเดือดร้อนหนัก สูญเสียเอกราชทางอาชีพ
เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก หลังจากคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) หรือบอร์ดกุ้ง มีมตินำเข้ากุ้ง กว่า 1 หมื่นตัน จาก เอกวาดอร์ และอินเดีย โดยอ้างว่า ไทยผลิตกุ้งได้ไม่เพียงพอต่อการเข้าสู่อุตสาหกรรมกุ้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะรายย่อย ซึ่ง ขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้รับผลกระทบแล้ว เนื่องจากราคากุ้งในตลาด ปรับลดลงถึงกิโลกรัมละ10- 20 บาท
JJNY : 5in1 ยื่นพยานเพิ่มคดี 8 ปี│“ก้าวไกล”ฝันอยากเห็นรัฐสวัสดิการ│ศก.เดือน ก.ค.หดตัว│ราคากุ้งลดฮวบ│"ไต้หวัน" ยิงโดรนจีน
https://www.matichon.co.th/politics/news_3537079
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 31 สิงหาคม ที่รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้าน ยืนหนังสือรายชื่อพยานเพิ่มเติมกรณีการสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต่อ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เพื่อส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อประกอบคำวินิจฉัยโดยมี นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับหนังสือแทน หลังศาลรัฐธรรมนูญเรียก นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และ นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขานุการ กรธ. เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม
นพ.ชลน่านกล่าวว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านได้หารือกัน และมีมติเห็นว่าพยานบุคคลทั้ง 2 ท่าน ยังไม่พอเพียงกับการสร้างดุลยภาพของการพิจารณาคดี จึงขอเสนอส่งรายชื่อพยานบุคคล ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมให้ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณา เนื่องจากขณะนี้พบว่าศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้นัดไต่สวนพยาน เพียงแต่ทำบันทึกเป็นคำถามส่งให้นายมีชัย และนายปกรณ์ตอบ แล้วส่งกลับไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุนี้พรรคร่วมฝ่ายค้านจึงเปลี่ยนวิธีการเป็นการส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมผ่านประธานสภา ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ความเห็นของนักวิชาการด้านนิติศาสตร์ทั้ง 51 ท่าน ที่แสดงควมคิดเห็นต่อสังคม เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่มา พร้อมแผ่นดีวีดีบันทึกภาพและเสียง สัมภาษณ์พิเศษ นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย และ น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และอดีตกรรมการ ป.ป.ช. ต่อประเด็นการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี เพื่อยืนยันความเห็นของฝ่ายค้านว่า พล.อ.ประยุทธ์พ้นวาระการดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมาแล้ว
“เรื่องนี้เป็นคดีทางการเมือง และข้อกฎหมายเป็นการเฉพาะ ข้อเท็จจริงไม่จำเป็นต้องพิสูจน์กัน เพราะชัดแจ้งอยู่แล้วว่า พล.อ.ประยุทธ์อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเกิน 8 ปี ติดต่อกัน ทั้งนี้ ยังไม่ถือว่าเป็นการก้าวล่วงอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เพราะข้อเท็จจริงได้ปรากฏต่อสาธารณะไปแล้ว” นพ.ชลน่านกล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม ตนยังเชื่อมั่นว่าหลักฐานเพิ่มเติมของพรรคร่วมฝ่ายค้าน เป็นหลักฐานที่มีเหตุผลชัดเจนในเจตนารมณ์ และหนักแน่นเพียงพอให้ศาลรัฐธรรมนูญนำประเด็นไปสู่การพิจารณาได้
“ก้าวไกล” แนะ 5 แนวทาง ฝันอยากเห็นรัฐสวัสดิการ เด็กไทยเรียนฟรี
https://www.matichon.co.th/politics/news_3537405
เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ที่รัฐสภา นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) แถลงท่าทีของพรรคต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่พิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ ว่า พรรค ก.ก. เชื่อว่าการศึกษาเป็นสวัสดิการที่สำคัญ สำหรับอนาคตของประชาชน และเป็นการลงทุนที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ แม้หลายประเทศจะมีข้อถกเถียง และข้อสรุปที่แตกต่างกัน ถึงระดับชั้นที่รัฐควรอุดหนุนให้ประชาชนได้เรียนฟรี
นายพิธา กล่าวต่อว่า แต่ปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธว่าหากจัดสรรงบประมาณได้เพียงพอ การอุดหนุนให้ประชาชนมีสิทธิเรียนฟรีถึงระดับมหาวิทยาลัย จะเป็นนโยบายที่สร้างโอกาสให้กับผู้คนจำนวนมาก การเรียนมหาวิทยาลัยฟรีจึงเป็นเป้าหมายของพรรคก้าวไกล หากรัฐยังไม่สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อเรียนอุดมศึกษาฟรีได้ในทันที เรามีความจำเป็นต้องแก้ปัญหากยศ. เพื่อรับประกันสิทธิทางการศึกษาของผู้เรียนในช่วงเปลี่ยนผ่าน
นายพิธา กล่าวต่อว่า โดยเสนอ 5 แนวทางต่อที่ประชุมสภาฯ วันนี้ ในการพิจารณาวาระ 2 เพื่อปรับปรุงให้กยศ. มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดภาระต่อผู้เรียน และรักษาความยั่งยืนของกองทุน คือ
1. ทุกคนเข้าถึงสวัสดิการ กยศ. ได้อย่างถ้วนหน้า ด้วยการยกเลิกเกณฑ์พิสูจน์ความจนในการกู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการตกหล่น และเพื่อยืนยันหลักคิดว่าสวัสดิการกู้ยืมเพื่อการศึกษา ควรเป็นสวัสดิการที่ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะยากดีมีจน
2. ขยายเงื่อนไขการให้ทุนเรียนฟรีสำหรับผู้เรียนบางกลุ่ม เพิ่มความยืดหยุ่นให้กองทุน ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกไปสู่การเรียน ปวส.ฟรี หรือ ปริญญาตรีฟรี สำหรับบางกลุ่ม
นายพิธา กล่าวต่อว่า 3.ยกเลิกการมีผู้ค้ำประกันในทุกกรณี 4.ผ่อนปรนเงื่อนไขชำระหนี้ จ่ายคืนต่อเมื่อมีรายได้ ซึ่งผู้เรียนมีสิทธิจ่ายเงินกู้คืนต่อเมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี หรือภายในระยะเวลา 30 ปี มีเพดานดอกเบี้ย และเบี้ยปรับไม่เกิน 1% ต่อปี ซึ่งอาจปรับลดเหลือ 0% โดยรัฐอุดหนุนส่วนต่างรายได้กองทุนที่หายไป และอาจมีทางเลือกชำระหนี้เป็นทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด และ 5.ปัญหาสัญชาติที่ค้างคาอยู่ ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการกู้ยืม โดยอนุญาตให้บุคคลที่อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขปัญหา สถานะให้มีสัญชาติไทยอย่างถูกต้องครบถ้วน ไม่เสียสิทธิในการเข้าถึงสวัสดิการ กยศ.
เศรษฐกิจเดือน ก.ค.หดตัว ส่งออกร่วง-ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 4.1 พันล.เหรียญสหรัฐ
https://www.matichon.co.th/economy/news_3537464
ธปท. เผยเศรษฐกิจเดือน ก.ค.หดตัว ส่งออกร่วง-ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 4.1 พันล.เหรียญสหรัฐ
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2565 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนปรับลดลงหลังจากเร่งลงทุนไปในช่วงก่อนหน้า แม้จะเห็นการจ้างงานและรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่บางจุดเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอตัวลงและค่าครองชีพที่อยู่ระดับสูง
อย่างไรก็ตาม ภาคบริการยังคงปรับดีขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มมากขึ้นถึง 1.12 ล้านคน เพิ่มจากเดือนก่อนหน้าที่มีนักท่องเที่ยว 767,000 คน โดยรวม 7 เดือนที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวสะสมอยู่ที่ 3.2 ล้านคน
ขณะที่มูลค่าการส่งออกลดลงที่ระดับ 3.4% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 11.1% จากหมวดโลหะตามความต้องการในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ลดลง และส่วนใหญ่เป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตามอุปสงค์โลกลดลง นอกจากนี้ เครื่องชี้วัดการลงทุนภาคเอกชนอยู่ที่ระดับ 5.7% ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 5.9% ปลัดลดลงตามการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เร่งไปในเดือนก่อน
ขณะเดียวกันการใช้จ่ายภาครัฐไม่รวมเงินโอนหดตัว เมื่อเทียบระยะเดียวกันปีก่อน เห็นได้จากตามรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลางหลังมีการเร่งเบิกจ่ายไปในช่วงต้นปีงบประมาณ โดยรายงานลงทุนรัฐบาลกลางหดตัว 16.6% และรายงานลงทุนของรัฐวิสาหกิจปรับเพิ่มขึ้น 54.2% ตามการเบิกจ่ายในโครงการด้านคมนาคมแต่โดยรวมถือว่าหดตัว
“แนวโน้มเดือนสิงหาคมคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ระยะต่อไปยังมีปัจัยต้องติดตาม 1.การปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุน ค่าจ้าง และราคาสินค้า 2.อุปสงค์ต่างประเทศที่อาจชะลอตัว และ 3.การแพร่ระบาดโควิด และนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ” นางสาวชญาวดีกล่าว
นางสาวชญาวดี กล่าวว่า แม้ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้น โดยเดือนกรกฎาคมดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากขึ้นจากดุลการค้าที่กลับมาขาดดุลตามมูลค่าการส่งออกที่ลดลงและการนำเข้าทองคำที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุลใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า
ขณะที่ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าลงต่อเนื่องตามการแข็งค่าของเงินเหรียญสหรัฐ จากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่เพิ่มขึ้น เนื่องตลาดกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะได้รับผลกระทบส่งผลให้นักลงทุนระมัดระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสียงมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับเดือนสิงหาคม ข้อมูลหลังจากวันที่ 26 สิงหาคม อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อเงินเหรียญสหรัฐเฉลี่ยแข็งค่าขึ้นช่วงแรกของเดือนตามบรรยากาศการลงทุนที่ผ่อนคลายจากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐลดลง และตลาดคลายความกังวลมากขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้น
โดยค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่าตามตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2565 ที่ลดลงกว่าที่คาดการณ์ และเงินบาทไทยอ่อนค่าตามเงินหยวนของจีน เนื่องจากความเสี่ยงด้านอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 1-25 สิงหาคม ค่าเงินบาทเทียบกับในภูมิภาคเดียวกันยังถือว่าอยู่ในระดับแข็งค่า นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกรกฎาคมอยู่ระดับ 7.61% ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 7.66% หลักๆ อัตราเงินเฟ้อในหมวดพลังงานชะลอลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดเร่งขึ้นตามราคาผักและราคาเนื้อสัตว์ส่งผลให้เงินเฟ้อยังอยู่ระดับสูง
นางสาวชญาวดี กล่าวว่า สำหรับการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เน้นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยส่วนนี้ก็มีผลต่อค่าเงินบาท หากดูช่วงที่ผ่านมาหลังวันที่ 26 สิงหาคม หลังจากประธานเฟดได้กล่าวเน้นย้ำต่อการดำเนินนโยบายด้านการเงินต่อเนื่อง ส่งผลให้สินทรัพย์ทั่วโลกปรับลดลง อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการตัดสินใจทำนโยบายก็ต้องดูตามบริบทของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ ซึ่งก็เป็นไปตามที่ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าจะดำเนินนโยบายภายใต้บริบทการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตัวเอง และการทำนโยบายต้องทำให้การฟื้นตัวไม่สะดุด
“อย่างไรก็ตาม ความกังวลในแง่ของภาพรวมก็เป็นไปตามบริบทเศรษฐกิจ สำหรับเรื่องของการเคลื่อนย้ายเงินทุนยังมีการหมุนเวียนปกติ และยังเห็นเงินทุนที่ไหลเข้า แม้จะมีเงินไหลออกไปตามตลาดพันธบัตร แต่ตลาดหุ้นยังคงมีการไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง” นางสาวชญาวดีกล่าว
ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2565 จะกระเตื้องขึ้นมาได้บ้าง แต่มีผลจากทั้ง 2 ฝั่ง คือผลบวกเรื่องการท่องเที่ยวจะกลับมา เนื่องจากนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น และไม่เกิดอุปสรรคใหม่ ขณะเดียวกันผลจากภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลกลับมาขาดดุลน้อยลงจากที่นักท่องเที่ยวเข้ามาช่วยเสริมให้ภาพเศรษฐกิจคึกคักขึ้น
คนเลี้ยงกุ้ง ทุกข์หนัก ราคากุ้งลดฮวบ กิโลละ 20 บ. หลังมีมตินำเข้ากุ้งหมื่นตัน
https://www.matichon.co.th/economy/news_3536884
เครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งสุดทน เรียกร้อง บอร์ดกุ้ง หยุดการนำเข้ากุ้ง จากเอกวาดอร์ และอินเดีย หมื่นตัน แล้วหันมาส่งเสริมการเลี้ยงเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้ได้ตามที่ต้องการ เผยหลังมตินำเข้ากุ้งราคาดิ่งทันทีกิโลกรัมละ 20 บาท ผู้เลี้ยงเดือดร้อนหนัก สูญเสียเอกราชทางอาชีพ
เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก หลังจากคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) หรือบอร์ดกุ้ง มีมตินำเข้ากุ้ง กว่า 1 หมื่นตัน จาก เอกวาดอร์ และอินเดีย โดยอ้างว่า ไทยผลิตกุ้งได้ไม่เพียงพอต่อการเข้าสู่อุตสาหกรรมกุ้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะรายย่อย ซึ่ง ขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้รับผลกระทบแล้ว เนื่องจากราคากุ้งในตลาด ปรับลดลงถึงกิโลกรัมละ10- 20 บาท