😎 มวยคู่นี้กลับมาอีกครั้งแล้วครับ ระหว่างการทานอาหารสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตต่ำ กับการทานสัดส่วนทั่วๆไป (คาร์บ 50%) คราวนี้เขาให้ทาน Calories เท่าๆกันเลย วัดกันจะๆ
📌 ต้องย้อนกลับไปก่อนว่า ภาวะเบาหวานประเภท 2 ซึ่งเป็นภาวะนึงที่เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้มากในปัจจุบันเนี่ย นอกจากดื้ออินซูลิน (insulin resistance) บางครั้งยังมีเรื่องการทำงาน β-cell ที่ผิดปกติด้วย งานนี้เขาก็เลยศึกษาโภชนาการแบบ Low carb ว่ามีผลยังไงกับ β-cell และค่าต่างๆ ที่เกี่ยวกับ ความไวอินซูลิน (insulin sensitivity) บ้าง
📚 การศึกษาทำในกลุ่มผู้ที่เป็นเบาหวานมามากกว่า 7 ปี อายุเฉลี่ยๆ 66 ปี น้ำหนักตัวเฉลี่ยๆ 97.5 กิโลกรัม เขาก็สุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่มสัดส่วน 1:1 นะครับ โดยกลุ่มแรกทานแบบทั่วๆไป Conventional diabetes diet (CD,สัดส่วนอาหาร C50/P17/F33) กลุ่มนี้ 33 คน และทานจำกัดคาร์บเพิ่มโปรตีน (CRHP, C30,P30,F40) กลุ่มนี้ 34 คน
📝 โดยกำหนดให้แต่ละคนทานพลังงานอาหารที่ลดลง เพื่อลดน้ำหนักตัวที่เป้า 6% คำนวณพลังงานจากสมการของ Mifflin คิดค่ากิจกรรมที่ 1.6 ได้ TDEE ออกมาก็จัดสรรอาหารให้แต่ละคนตามค่าของตัวเอง ระยะเวลาการศึกษาทั้งหมด 6 สัปดาห์ อาหารที่ทานมีให้ตลอดและเขากำหนดสัดส่วนสารอาหารให้ตามโปรแกรม
🩸 การประเมินผลก็มีการวัดความต้านทานกลูโคส (OGTT, Oral glucose tolerance test) เพื่อดูการทำงานของ β-cell และ Insulin sensitivity และฮอร์โมนที่เกี่ยวกับกลไกรักษาสมดุลย์น้ำตาล และความอิ่ม
🔎 ผลที่ได้ก็คือ น้ำหนักตัวเนี่ย มันก็ลดได้เท่าๆกันทั้งสองกลุ่มเฉลี่ย 5.8kg ไม่ได้มีความต่างกันเท่าไหร่ HbA1c กลุ่ม CRHP หรือ Low carb เนี่ย ลดได้มากกว่าแล้วก็พวกค่าน้ำตาลระหว่างวัน (diurnal mean glucose) ต่ำกว่าเล็กน้อย (-0.8mmol/L) ซึ่งก็ไม่แปลกเท่าไหร่ เพราะการทานแบบ LC นี่มันก็ได้รับน้ำตาลจากอาหารน้อยกว่าอยู่แล้ว
📌 ส่วนค่าปริมาณน้ำตาล (concentration) อินซูลิน , C-peptide และอัตราการหลั่งอินซูลิน (insulin secretion rates) มีต่างกันบ้างแต่ไม่ได้ต่างกันมาก ลดลงพอๆกันทั้งคู่หลังผ่านไป 6 สัปดาห์ ส่วนค่าความไวอินซูลิน และการทำงานของ β-cell ก็ดีขึ้นไม่ว่าจะทานสัดส่วนอาหารแบบไหน ผลที่ได้น่าจะมาจากการที่ลดน้ำหนักได้ทั้งคู่
😎 ตอนแรกเขาคิดว่าการทาน Low carb จะได้ผลดีกว่า ในแง่ของการการทำงานของ β-cell แต่ผลปรากฎว่ามันก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก การลดน้ำหนักได้ มีผลต่อการรักษาเบาหวานประเภท 2 มากกว่า
📝 ซึ่งเขาก็สรุปไว้ว่าการลดน้ำหนัก ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 6% หลังจากทำเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ การทานแบบ Low carb เพิ่ม Protein และ Fat ให้ผลต่อการทำงานของ β-cell , ความไวอินซูลิน หรือ proinsulin มากกว่าการทานโภชนาการทั่วๆไปสำหรับการรักษาเบาหวาน เมื่อกำหนดพลังงานอาหาร (energy intake) เพื่อเป้าหมายลดน้ำหนักเท่าๆกัน
📌 การลดน้ำหนักได้ ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการทำให้หายจากเบาหวานได้ สัดส่วนอาหารให้ผลต่อสิ่งที่เขาศึกษาไม่ได้แตกต่างอะไรกันมาก Low carb หรือ High carb ก็ส่งผลทั้งคู่ ... ส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะว่าระยะเวลาการศึกษาอาจจะยังไม่ได้ยาวมาก ทำแค่ 6 สัปดาห์
😎 กินแบบไหนก็ได้ ขอให้มันลดน้ำหนักได้ ก็โอเคทั้งคู่กับผลนี้ที่เขาศึกษา ถ้าเราอ่านแล้วรู้สึกว่าไม่เห็นด้วยกับผลลัพธ์นี้ ถ้าทำนานกว่านี้ต้องไม่เป็นแบบนี้แน่ ก็ลองหาอ่านงานที่ได้ผลตามที่เราคิด หรือไม่ก็ทำวิจัยเองเลยจ้าาาาา
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-08-21-weight-loss-improves-b-cell-function-independently-of-dietary-carbohydrate-restriction-in-people-with-type-2-diabetes/
ถ้าให้กินเท่าๆกัน โภชนาการแบบ Low carb ฟื้นฟูการทำงานระบบ Metabolic ดีกว่าการ High carb รึเปล่า ?
📌 ต้องย้อนกลับไปก่อนว่า ภาวะเบาหวานประเภท 2 ซึ่งเป็นภาวะนึงที่เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้มากในปัจจุบันเนี่ย นอกจากดื้ออินซูลิน (insulin resistance) บางครั้งยังมีเรื่องการทำงาน β-cell ที่ผิดปกติด้วย งานนี้เขาก็เลยศึกษาโภชนาการแบบ Low carb ว่ามีผลยังไงกับ β-cell และค่าต่างๆ ที่เกี่ยวกับ ความไวอินซูลิน (insulin sensitivity) บ้าง
📚 การศึกษาทำในกลุ่มผู้ที่เป็นเบาหวานมามากกว่า 7 ปี อายุเฉลี่ยๆ 66 ปี น้ำหนักตัวเฉลี่ยๆ 97.5 กิโลกรัม เขาก็สุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่มสัดส่วน 1:1 นะครับ โดยกลุ่มแรกทานแบบทั่วๆไป Conventional diabetes diet (CD,สัดส่วนอาหาร C50/P17/F33) กลุ่มนี้ 33 คน และทานจำกัดคาร์บเพิ่มโปรตีน (CRHP, C30,P30,F40) กลุ่มนี้ 34 คน
📝 โดยกำหนดให้แต่ละคนทานพลังงานอาหารที่ลดลง เพื่อลดน้ำหนักตัวที่เป้า 6% คำนวณพลังงานจากสมการของ Mifflin คิดค่ากิจกรรมที่ 1.6 ได้ TDEE ออกมาก็จัดสรรอาหารให้แต่ละคนตามค่าของตัวเอง ระยะเวลาการศึกษาทั้งหมด 6 สัปดาห์ อาหารที่ทานมีให้ตลอดและเขากำหนดสัดส่วนสารอาหารให้ตามโปรแกรม
🩸 การประเมินผลก็มีการวัดความต้านทานกลูโคส (OGTT, Oral glucose tolerance test) เพื่อดูการทำงานของ β-cell และ Insulin sensitivity และฮอร์โมนที่เกี่ยวกับกลไกรักษาสมดุลย์น้ำตาล และความอิ่ม
🔎 ผลที่ได้ก็คือ น้ำหนักตัวเนี่ย มันก็ลดได้เท่าๆกันทั้งสองกลุ่มเฉลี่ย 5.8kg ไม่ได้มีความต่างกันเท่าไหร่ HbA1c กลุ่ม CRHP หรือ Low carb เนี่ย ลดได้มากกว่าแล้วก็พวกค่าน้ำตาลระหว่างวัน (diurnal mean glucose) ต่ำกว่าเล็กน้อย (-0.8mmol/L) ซึ่งก็ไม่แปลกเท่าไหร่ เพราะการทานแบบ LC นี่มันก็ได้รับน้ำตาลจากอาหารน้อยกว่าอยู่แล้ว
📌 ส่วนค่าปริมาณน้ำตาล (concentration) อินซูลิน , C-peptide และอัตราการหลั่งอินซูลิน (insulin secretion rates) มีต่างกันบ้างแต่ไม่ได้ต่างกันมาก ลดลงพอๆกันทั้งคู่หลังผ่านไป 6 สัปดาห์ ส่วนค่าความไวอินซูลิน และการทำงานของ β-cell ก็ดีขึ้นไม่ว่าจะทานสัดส่วนอาหารแบบไหน ผลที่ได้น่าจะมาจากการที่ลดน้ำหนักได้ทั้งคู่
😎 ตอนแรกเขาคิดว่าการทาน Low carb จะได้ผลดีกว่า ในแง่ของการการทำงานของ β-cell แต่ผลปรากฎว่ามันก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก การลดน้ำหนักได้ มีผลต่อการรักษาเบาหวานประเภท 2 มากกว่า
📝 ซึ่งเขาก็สรุปไว้ว่าการลดน้ำหนัก ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 6% หลังจากทำเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ การทานแบบ Low carb เพิ่ม Protein และ Fat ให้ผลต่อการทำงานของ β-cell , ความไวอินซูลิน หรือ proinsulin มากกว่าการทานโภชนาการทั่วๆไปสำหรับการรักษาเบาหวาน เมื่อกำหนดพลังงานอาหาร (energy intake) เพื่อเป้าหมายลดน้ำหนักเท่าๆกัน
📌 การลดน้ำหนักได้ ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการทำให้หายจากเบาหวานได้ สัดส่วนอาหารให้ผลต่อสิ่งที่เขาศึกษาไม่ได้แตกต่างอะไรกันมาก Low carb หรือ High carb ก็ส่งผลทั้งคู่ ... ส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะว่าระยะเวลาการศึกษาอาจจะยังไม่ได้ยาวมาก ทำแค่ 6 สัปดาห์
😎 กินแบบไหนก็ได้ ขอให้มันลดน้ำหนักได้ ก็โอเคทั้งคู่กับผลนี้ที่เขาศึกษา ถ้าเราอ่านแล้วรู้สึกว่าไม่เห็นด้วยกับผลลัพธ์นี้ ถ้าทำนานกว่านี้ต้องไม่เป็นแบบนี้แน่ ก็ลองหาอ่านงานที่ได้ผลตามที่เราคิด หรือไม่ก็ทำวิจัยเองเลยจ้าาาาา
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-08-21-weight-loss-improves-b-cell-function-independently-of-dietary-carbohydrate-restriction-in-people-with-type-2-diabetes/