สรุปรถไฟไทย-จีนนั้นไทยไม่ได้เสียเปรียบอะไรแล้วใช่ไหมครับ

รถไฟครส.สายอีสานที่ผมอ่านเจอนั้นไทยตั้งเงื่อนไขประมาณนี้

1. รัฐบาลไทยจะเป็นผู้ดำเนินการลงทุนด้านงานโยธาทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียวภายใต้กรอบวงเงิน 179,000 ล้านบาท

2. รัฐบาลไทยจะเป็นผู้พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ริมทางรถไฟเพื่อให้เกิดกระแสเงินหมุนเวียนภายในประเทศ

3. ผู้รับเหมาก่อสร้าง จะต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนภายในประเทศไทย

4. วัสดุก่อสร้างจะใช้วัสดุภายในประเทศเป็นหลัก

5. แรงงานก่อสร้างจะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ห้ามไม่ให้มีการนำเข้าแรงงานจากประเทศจีน ยกเว้นสถาปนิกและวิศวกรที่อนุญาตให้เป็นสัญชาติจีนเป็นกรณีพิเศษ


คำถามคือ

1. ที่หลายปีก่อนทางจีนขอที่ดินริมทางรถไฟไม่แน่ใจว่ากว้างเท่าไหร่นั้น สรุปไทยไม่ให้ใช่ไหมครับ  เป็นไปตามข้อ 2 ข้างบนถูกต้องแล้วใช่ไหมครับ

2. มีอะไรนอกเหนือจาก 5 ข้อข้างบนนี้ไหมครับที่ไทยไม่เสียเปรียบจีน  แล้วพวกเทคโนโลยีล่ะครับ  จีนถ่ายทอดให้ไทยได้ไหม
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
เรื่องข้อตกลงสัญญานั้นจำรายละเอียดอะไรไม่ค่อยได้แล้ว แต่เคยอ่านเจอโพสใน facebook ที่เขียนเกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟขอก็อปปี้มาให้อ่านเลยล่ะกัน


ทำไมต้องให้กรมทางหลวง เป็นคนก่อสร้าง ทางรถไฟ ระยะทาง 3.5 กิโลเมตรนี้ แล้วทำไมมันช้านัก???

ผมว่าคำถามนี้เป็นคำถามที่มีมาตลอดช่วงก่อสร้างจนถึงตอนนี้

ก่อนอื่นต้องมาบอกก่อนว่า ตอนที่เราได้แบบและมาตรฐาน การก่อสร้างนั้นมาจากทางจีน ซึ่งเค้ามีมาตรฐาน การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงหลายหมื่นกิโลเมตรแล้ว ซึ่งเค้าผลิตอุปกรณ์ และ ทีมงานก่อสร้างซึ่งเป็นมืออาชีพ และมีมาตรฐานอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนามาให้เหมาะสม กับการใช้งานแล้ว

ซึ่งพอเค้าโยนมาตรฐานนั้นมาให้เรา พอเรามาอ่าน ก็งง ไปหมด เพราะเราไม่มีของแบบนั้นอยู่เลย วัสดุบางอย่างก็ต้องมีการปรับสูตรใหม่หมด บางอย่างฝ่ายกรมทางหลวงเองยังไม่เคยเห็นมาตรฐานนี้เลยด้วยซ้ำ และของหลายๆอย่างไม่มีผลิตในประเทศเลย

ดังนั้น การทำ เส้นทางระยะ 3.5 กิโลเมตรนี้ เป็นการทำ Pilot plant ซึ่งจะบอกว่า

อะไรมีอยู่ในมาตรฐานเดิม
อะไรต้องปรับปรุงสูตร และวิธีการผลิต
อะไรต้องนำเข้ามาจากจีน หรือไปติดต่อให้เอกชนในประเทศ ผลิตตามมาตรฐานจีน

ซึ่งทั้งหมดนี้จะออกมาเป็นราคากลางของ TOR ที่เอามาใช้ประมูล ในสัญญาอื่นๆ ตามมา

ซึ่งทางทีมงานซ่อมสร้างของกรมทางหลวง ยังยอมรับกับผมเองเลยว่าโครงการนี้ให้ Know how กับทางกรมทางหลวงมาก ในอนาคต อาจจะมีการ Apply ความรู้จากการก่อสร้างนี้ไปใช้ในการพัฒนาทางหลวงเช่นกัน

ซึ่งในช่วงออกแบบและศึกษา การใช้ของ วิธีการก่อสร้างและวัสดุตรงนี้ ก็ใช้เวลาไปเกือบปี จากปี 60 ซึ่งผลลัพธ์ของการศึกษา ช่วงปีแรก ก็คือ TOR การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ทุกสัญญาที่ทาง รฟท ไปเปิดประมูล และทางทีมงานซ่อมสร้าง ก็จะมีการทำหนังสือ วิธีการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงออกมา เพื่อเป็นมาตรฐานการก่อสร้างในจุดอื่นๆ ทั้งในสายนี้ และในอนาคตต่อไป

ซึ่ง Key point หลักของการสร้างทางรถไฟสายนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ของประเทศชาติมากที่สุดคือ เราต้องใช้อุปกรณ์ก่อสร้างภายในประเทศให้มากที่สุด

ดังนั้นช่วงที่ 3.5 กิโลเมตร ที่ว่านี้ มีความสำคัญมากในการเทียบมาตรฐาน การก่อสร้าง และวัสดุที่มีภายในประเทศ เทียบระหว่าง ไทย กับ จีน เพื่อจะใช้ Spec ไทย ทดแทน Spec จีน ให้ได้มากที่สุด

ดังนั้น ข้อนี้คงแก้ข่าว ท่าน สส.บางท่านที่บอกว่า รถไฟความเร็วสูง สายนี้ไทยเสียท่าจีน ผู้รับเหมาก่อสร้างไทยไม่ได้งาน แล้วก็ไม่ได้ใช้วัสดุก่อสร้างภายในประเทศ ซึ่ง ถ้าเราไม่สร้าง ช่วง 3.5 กิโลเมตรนี้ ก็คงเป็นอย่างที่ท่านพูดจริงๆ แต่พอเราทำ 3.5 กิโลเมตรนี้ เราสามารถ Apply วัสดุก่อสร้างไทย ไปได้มากที่สุด

แล้วทางจีนมาสอนให้ทีมงานก่อสร้างของเราบ้างที่เห็นได้ชัดเจน

ที่เห็นชัดๆ คือ ทางจีนมาสอนตั้งแต่พื้นฐานการบ่มปูนเลย เพราะมาตรฐานของจีนเค้าสูง และ มีการพัฒนาโครงการในพื้นที่ หนาวจัดและร้อนจัด ซึ่งโครงสร้างต้องรับได้ จึงต้องทำการทดสอบปูนที่ใช้ในโครงการด้วยมาตรฐานที่สูงกว่าที่เราทำในปัจจุบัน

ซึ่งเอามาใช้ในทุกส่วนของโครงการ ตั้งแต่ รางรับน้ำ ยัน กำแพงกันดิน

การก่อสร้างของเราโดยทั่วไปใช้การบ่มปูนเพื่อทดสอบการรับแรงโดยการแช่น้ำ และบ่มด้วยกระสอบ แล้วนำมาทดสอบ ในระยะเวลา ต่างกัน เช่น 3 วัน 14 วัน และ 28 วัน

แต่ทางจีน สำหรับการบ่มหน้าไซท์งาน ก็ทำแบบเดียวกับเรา แต่การบ่มละเอียดเพื่อการทดสอบอย่างได้มาตรฐาน ของเค้าใช้การนำปูนเข้าบ่มในห้องแอร์ที่มีอุณหภูมิ คงที่ พร้อมมีสเปรย์ ให้ความชื่นในห้อง ซึ่งบ่มก็มี 3 ระยะเช่น 3 วัน 14 วัน และ 28 วัน เช่นกัน เพื่อทดสอบการรับแรงดันของปูนครับ

(ผมก็ไม่ทราบรายละเอียดลึกๆ เหมือนกันครับ ใครมีความรู้ ช่วยให้ข้อมูลเพิ่มหน่อยนะครับ)

อีกเรื่องที่สำคัญ คือทางจีนมี Spec ปูนที่ไม่เหมือนของเรา โดยใช้ ขี้เถ้าปลิว (Fly Ash) ของโรงไฟฟ้า มาผสมกับปูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ให้กับปูน ซึ่งทางทีมก่อสร้าง บอกว่า ถ้าบ้านเรา Fly Ash ถือว่าเป็นสิ่งปนเปื้อนสำหรับปูน แต่กลับกัน การที่ใช้ Fly Ash มาผสม ในตอนเริ่มต้น ปูนจะยังรับแรงได้ไม่มาก แต่ในระยะยาว ปูนจะมีความแกร่ง มากกว่าสูตรเดิม ที่เราใช้กันอยู่

ซึ่งอย่างที่บอกว่า โครงสร้างของจีนเค้าออกแบบให้ใช้งานได้ 100 ปี ดังนั้นเค้ามองถึงผลระยะยาวของโครงสร้างมากกว่าครับ

อันนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งนี่มีประโยชน์กับการทำงานของกรมทางหลวงในอนาคตด้วยเช่นกันครับ

ซึ่งตอนนี้ ทางหัวหน้างานก่อสร้าง ยืนยันมาว่า ตอนนี้ทีมงานที่ทำงานใน 3.5 กม แรกของ กรมทางหลวง สามารถดำเนินการได้ทุก item แล้ว และทางโครงการกำลังทำ เอกสารการควบคุมงานก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง อยู่ครับ



ข้อความและรูปเอามาจากโพสนี้ https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/pfbid02J2UcXhHo1p2uefYFU3GvTH8xXcgvpdoNAuyQ4RjQWEP6yat586o2NtuSDkbb1MAYl
ทางโพสต้นทางมีรูปมากกว่านี้กดเข้าไปดูได้



ส่วนเรื่องของการทำคันราง


ก็มีรายละเอียดดังนี้

4.1 ชันดินเดิม (Foundation)

4.2 ชั้น Embankment Layer Group C Soil (เป็นดินลูกรัง)

4.3 ชั้น Bottom Layer Group A&B Soil (เป็นหินคลุก)

4.4 ชั้น Sand Cushion & Geo Membrane (เป็นชั้นอัดทราย และ ปิดหน้าด้วยแผ่น Geo Membrane เพื่อป้องกัน น้ำใต้ดินซึมขึ้นมาทำลายชั้นด้านบนซึ่งเป็นชั้นสำคัญในการรองรับน้ำหนักของ โครงสร้างและตัวรถไฟความเร็วสูง ซึ่งชั้นนี้จะมีสาย Ground ของทางรถไฟ ที่จะติดตามเสาทุกเสา ป้องกันไฟลง Ground

4.5 ชั้น Top Layer ซึ่งเป็นชั้นที่สำคัญที่สุด และทางหลวงไม่มีหินเกรดนี้ ต้องมีการพัฒนาร่วมกับทางจีน ขอสูตรมาลองผสม โดยเป็นการผสมของหินคลุก กับสารประกอบอื่นๆ ซึ่งเป็นชั้นหินละเอียด ตอนเทต้องใช้รถเทยางมะตอย มาเทเป็นชั้น

แต่ข้อดีคือ มันแน่นและแข็งแรงมาก บดอัดแค่ 2 รอบ ก็สามารถให้รถบรรทุก วิ่งไปมาได้ โดยไม่เกิดการทรุดตัวแล้วครับ ซึ่งตรงนี้มีประโยชน์กับกรมทางหลวงมากๆ เพราะได้เป็นการเพิ่มองค์ความรู้ให้กับ กรมทางหลวงเองด้วย

ในชั้นนี้จะเป็นชั้นวาง กล่องรับ Cable และสายส่งไฟฟ้าด้วย

4.6 ชั้นหินรองราง ซึ่งจะอยู่ในสัญญารถไฟความเร็วสูงของจีน ที่จะมาพร้อม หมอนรองราง, ราง, เสา OCS และ ตัวรถไฟ พร้อมระบบควบคุม

*** เห็นหลายๆคนสงสัยว่าทำไมมันอลังการจัง คือระบบรถไฟความเร็วสูงความเรียบต้องสนิดมาก เพราะถ้ามีการทรุด หรือนูน ทำให้รถไฟตกรางได้ครับ
และที่สำคัญการก่อสร้างตรงนี้ เป็นการออกแบบมาตรฐานการใช้งาน 100 ปี ครับ ***

ซึ่งทางพี่กรมทางหลวง ก็บอกชัดเจนเลยว่า การทางหลวงไม่มีมาตรฐานนี้ และอุปกรณ์หลายๆตัวไม่มีผลิตในประเทศ หรือ สูตรการผสมดินบางตัว เราไม่เคยเห็น เลยต้องมีการศึกษารายละเอียดร่วมกัน ซึ่งทางกรมทางหลวงเองชื่นชมทางจีนว่าเป็นอาจารย์คนนึงเลย เพราะเค้าผ่านการสร้างความเร็วสูงมาทั่วประเทศจีนแล้ว

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในโพสนี้ https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/pfbid0ySgZ4oT6mt9nkie3KehRBK69dbfBVaadBShfyG8kef7vv5YyoyGyrh3YhtEcnf9El



ส่วนวัสดุที่ใช้เหมือนว่าสุดท้ายแล้วไทยใช้วัสดุจากจีน 2 อย่างคือ ผ้าใบกันความชื้น และสายดิน
อันนี้เอาจากโพสของกรมทางหลวง https://www.facebook.com/departmentofhighway/posts/pfbid02hk62LVvzkne6ZvpHJn7MFydiqAZkiVskE4D8TxoVvrx6ysscT9JpCkAarSQoziD2l


อันนี้รูปสายดินที่ยังต้องสั่งซื้อจากจีนเพราะที่ไทยไม่มีผลิต
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่