***อัพเดทรถไฟความเร็วสูง*** ปิดตำนานรถไฟ 3.5กิโลฯ รฟท.ประกาศTOR ประมูลก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน 144 กิโลเมตร

หลังจากมีการปรับรายละเอียดระหว่างไทย-จีนในหลายประเด็น ทั้งการกำหนดให้ใช้วัสดุในไทย ทำให้ฝ่ายจีนต้องตรวจสอบว่าวัสดุในไทยมีมาตรฐานหรือไม่ การปรับรายละเอียดทางวิ่งให้เป็นแบบไม่โรยหินในช่วงเขตเมืองและในตัวสถานี ฯลฯ วันนี้ รฟท.ได้ออกประกาศ TOR ประมูลก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน (ระยะที่1 กรุงเทพฯ - นครราชสีมา) 5 สัญญา 144กิโลเมตรดังนี้

สัญญาที่3-1 งานโยธาสำหรับช่วง แก่งคอย - กลางดง และช่วงปางอโศก - บันไดม้า
http://procurement.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=621204155&fbclid=IwAR0Y9WNa0pEy4PdpktJiCjDg8J76KL9ElCeczOqucm4p_UUL0KgL7yxqwUY

สัญญาที่ 3-4 งานโยธาสำหรับช่วง ลำตะคอง - สีคิ้ว และช่วงกุดจิก - โคกกรวด
http://procurement.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=621384371&fbclid=IwAR3DJ_OcusLqcQx0kFM6lk_cVYVUIqqPZSfwUS1-0Zc6SQZoufH-wUYqBpg

สัญญาที่ 4-2 งานโยธาสำหรับช่วง ดอนเมือง - นวนคร
http://procurement.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=621906898&fbclid=IwAR1fGyh0DGGVHsdqTeeQnYYedZBP7nUioe2uvQRlwHtzGZUhPpHmtTwtqp0

สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วง นวนคร - บ้านโพ
http://procurement.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=621032356&fbclid=IwAR3jujRACe-uoVtZNuQOltpGm6v7SkNuiOdkr3eWlK0XV19tUGVserfsAxI

สัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วง พระแก้ว - สระบุรี
http://procurement.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=6219066100&fbclid=IwAR2fx-mTzpklUtyyrUhpMFOu9ygpjfnfXHpu6BfuiGr7gYax2C7st1v4v-4

ส่วนสัญญาที่1 กลางดง - ปางอโศก ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยให้กรมทางหลวงเป็นผู้ก่อสร้างให้เป็นต้นแบบทางวิ่งระดับดินจะแล้วเสร็จในช่วงเมษายน 2562นี้
สัญญาที่2 สีคิ้ว - กุดจิก (ระยะทาง11กิโล) ได้ตัวผู้ชนะประมูลแล้ว คือ บริษัท ซีวิล เอนจิเนียริ่ง จำกัด และจะเริ่มกระบวนลงนามในสัญญาและก่อสร้างทันที

โมเดลจำลองทางวิ่งระดับดินของรถไฟความเร็วสูง และอธิบายถึงวัสดุและองค์ประกอบที่ใช้ถมคันทาง ทางระบายน้ำ ถนนบริการ

ส่วนอีก 7สัญญาที่เหลือ ประมาณ 91 กิโลฯ คาดว่าจะประกาศ TORในช่วงเดือนหน้า โดยแต่ละสัญญาย่อยใช้เวลาก่อสร้างมากสุด คือ 36เดือน(3ปี) รฟท.จึงตั้งเป้าให้รถไฟความเร็วสูงสายนี้เสร็จในช่วงปลายปี2565-2566

วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา พร้อมสำหรับจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเดินรถไฟความเร็วสูง
ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงามคณะกรรมการอาชีวศึกษาและวิทยาลัยรถไฟเทียนจินของประเทศจีน ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ระบบขนส่งทางรางรถไฟฟ้าความเร็วสูง เป็นที่แรกที่ วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุทธยา เพื่อรองรับบุคลากรที่จะเข้ามาทำงานในโครงการรถไฟความเร็วสูง ตามเป้าหมายของไทย ที่จะเดินรถเองตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ (จากเดิมจะให้จีนเดินรถและซ่อมบำรุง 3ปี)





แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่