ทำไม?... ผู้หญิงทุกคนถึงเสี่ยงเป็น “มะเร็งเต้านม”
ถึงแม้ว่าสาเหตุของการเป็นมะเร็งเต้านมยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่มีหลักฐานอย่างหนึ่งที่บอกได้ว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนในเพศหญิง เป็นสารกระตุ้นเซลล์เนื้อเยื่อเต้านมให้มีการแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนขึ้น โดยในภาวะปกติร่างกายอาศัยฮอร์โมนเอสโตรเจน ในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตามระยะการเจริญพันธุ์ เช่น การเข้าสู่วัยสาว การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ หรือการเข้าสู่วัยทอง
เนื่องจากเต้านมเป็นอวัยวะของเพศหญิงที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้นเซลล์เต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ถ้าเต้านมใครมีระยะเวลาการอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจนนาน ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งคนที่มีประจำเดือนครั้งแรกเร็วกว่าปกติ คือ มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี และหมดช้ากว่าอายุ 55 ปี คนที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรหลังอายุ 30 ปี จะมีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายได้ หากรักษาเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ดังนั้นการรู้ตัวก่อนว่ามีก้อนมะเร็งอยู่ในเต้านมจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ เพื่อทำความคุ้นเคยกับเต้านม จะทำให้เราสามารถค้นพบสิ่งผิดปกติได้ง่าย
** แนะนำให้คุณผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป หมั่นสังเกตความผิดปกติและตรวจเต้านมของตัวเองอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติให้มาพบแพทย์ทันที และคุณผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป นอกจากการตรวจเต้านมด้วยตัวเองแล้ว ควรตรวจเต้านมโดยแพทย์และตรวจเอกซเรย์เต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะหากตรวจพบสิ่งผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก็จะช่วยให้โรคไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ และมีโอกาสรักษาให้หายได้
ทำไม?... ผู้หญิงทุกคนถึงเสี่ยงเป็น “มะเร็งเต้านม”
ทำไม?... ผู้หญิงทุกคนถึงเสี่ยงเป็น “มะเร็งเต้านม”
ถึงแม้ว่าสาเหตุของการเป็นมะเร็งเต้านมยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่มีหลักฐานอย่างหนึ่งที่บอกได้ว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนในเพศหญิง เป็นสารกระตุ้นเซลล์เนื้อเยื่อเต้านมให้มีการแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนขึ้น โดยในภาวะปกติร่างกายอาศัยฮอร์โมนเอสโตรเจน ในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตามระยะการเจริญพันธุ์ เช่น การเข้าสู่วัยสาว การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ หรือการเข้าสู่วัยทอง
เนื่องจากเต้านมเป็นอวัยวะของเพศหญิงที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้นเซลล์เต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ถ้าเต้านมใครมีระยะเวลาการอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจนนาน ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งคนที่มีประจำเดือนครั้งแรกเร็วกว่าปกติ คือ มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี และหมดช้ากว่าอายุ 55 ปี คนที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรหลังอายุ 30 ปี จะมีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายได้ หากรักษาเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ดังนั้นการรู้ตัวก่อนว่ามีก้อนมะเร็งอยู่ในเต้านมจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ เพื่อทำความคุ้นเคยกับเต้านม จะทำให้เราสามารถค้นพบสิ่งผิดปกติได้ง่าย
** แนะนำให้คุณผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป หมั่นสังเกตความผิดปกติและตรวจเต้านมของตัวเองอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติให้มาพบแพทย์ทันที และคุณผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป นอกจากการตรวจเต้านมด้วยตัวเองแล้ว ควรตรวจเต้านมโดยแพทย์และตรวจเอกซเรย์เต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะหากตรวจพบสิ่งผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก็จะช่วยให้โรคไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ และมีโอกาสรักษาให้หายได้