สำหรับคนทำงานที่อายุไม่มากแต่ได้เป็นหัวหน้าทีมหรือผู้บริหารแล้วต้องมีลูกทีมที่อายุมากกว่า การยอมรับจากคนในทีมและการทำงานอาจจะไม่ง่ายนัก JobThai Tips กระทู้นี้เราเลยเอา 7 วิธีที่จะช่วยให้ผู้นำรุ่นใหม่บริหารคนในทีมที่มีอายุมากกว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพมาฝาก
เข้าใจความรู้สึกคนในทีม
การที่คนอายุน้อยกว่า หรืออ่อนประสบการณ์กว่าได้ขึ้นเป็นหัวหน้า คนในทีมอาจจะรู้สึกไม่ดีนัก คุณที่เป็นหัวหน้าควรพยายามเข้าใจ และถามความรู้สึกของคนในทีมให้มาก ๆ อย่าคิดเอาเองว่าคุณเข้าใจพวกเขา หรือบอกพวกเขาว่าคุณเข้าใจโดยที่ยังไม่ได้พูดคุยกันอย่างจริงจัง ซึ่งบางทีสาเหตุอาจเป็นเพราะเขาไม่เชื่อมั่นในการทำงานของคุณหรือคิดว่าบริษัทไม่ให้ความสำคัญ และให้คนที่เด็กกว่าขึ้นมาเป็นคนดูแลพวกเขา ดังนั้นคุณควรแสดงให้เขาเห็นว่าคุณตั้งใจมากแค่ไหน และตำแหน่งที่ได้มานั้นมาจากความสามารถของคุณจริง ๆ
เคารพพวกเขาด้วยการ ”ขอความร่วมมือ”
ก็จริงที่คุณมีตำแหน่งสูงกว่า และสามารถสั่งงานพวกเขาได้ แต่คุณต้องอย่าลืมว่าสิ่งที่พวกเขามีมากกว่าคุณคือประสบการณ์การทำงาน ดังนั้นสิ่งที่คุณควรทำคือการทำงานกับพวกเขาด้วยความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน เวลาจะสั่งงานพวกเขา ลองเปลี่ยนจากคำสั่งมาใช้คำว่า “ขอความร่วมมือ” ก็ทำให้การสื่อสารของคุณนุ่มนวลมากขึ้น และเชื่อว่าพวกเขาจะยอมเปิดใจ และให้ความร่วมมือมากกว่าการเอาแต่สั่งแน่นอน
ขอคำแนะนำและถามความคิดเห็น
มองคนในทีมที่มีอายุมากกว่าเป็นเหมือนรุ่นพี่ที่ให้คำปรึกษาได้ อย่าลังเลที่จะถามในสิ่งที่ไม่รู้ หรือขอความเห็นพวกเขาเมื่อต้องตัดสินใจอะไรบางอย่าง เพราะมันจะทำให้คุณเห็นมุมมองที่แตกต่างจากคนที่มีประสบการณ์มากกว่าคุณ ควรเลือกถามในเชิงขอความเห็น หรือถามคำถามแบบเปิด อาจไม่ใช่แค่เรื่องงาน แต่รวมถึงเรื่องการใช้ชีวิตด้วย การทำแบบนี้จะทำให้เขารู้สึกว่าคุณไม่ใช่พวกรู้มากที่คิดว่าตัวเองเก่งไปซะทุกเรื่อง และทำให้พวกเขารู้สึกว่าคุณให้ความสำคัญ และให้เกียรติเขา ซึ่งแน่นอนว่ามันจะส่งผลให้คุณสามารถดูแลและบริหารงานได้ดีและง่ายขึ้น
ให้อิสระการทำงานบ้าง
จำไว้ว่าเราไม่ได้ทำงานกับเด็กที่ต้องคอยจู้จี้เรื่องวินัย บางเรื่องที่ไม่จำเป็นอย่าพยายามใช้อำนาจตามตำแหน่งเข้าไปกดดันลูกทีมในทางที่ผิด เช่น บ่นเรื่องวินัยเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือจับผิดการทำงาน เพราะมันจะยิ่งทำให้พวกเขาเบื่อหน่ายในพฤติกรรมของคุณ ดังนั้นปล่อยให้พวกเขาได้ทำงานอย่างมีอิสระบ้าง แค่ตั้งเป้าหมายและมาตรฐานให้เขา จากนั้นรอวัดผลกันที่เนื้องานอีกทีจะดีกว่า
โชว์ความสามารถของคุณ
แสดงให้คนในทีมเห็นว่าคุณมีความรู้ ความสามารถ ซึ่งไม่ได้มาจากหนังสือเท่านั้น แต่รวมไปถึงความรู้ที่สั่งสมมาจากการทำงานด้วย เพราะคนที่อายุมากกว่ามักจะมองว่าคนที่อายุน้อยกว่าไม่น่าจะมีความสามารถมากพอที่จะเป็นหัวหน้าเขา และอย่าลืมที่จะนำความรู้ที่คุณมีไปสร้างประโยชน์และเพิ่มพูนความสามารถของคนในทีมด้วย เช่น แนะนำเขาเรื่องการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ใช่วิธีการสั่งหรือบังคับ แต่ให้ใช้เหตุผลอธิบายถึงข้อดีของการใช้เทคโนโลยี ซึ่งความสามารถที่คุณมีนี่เองที่จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้คนในทีมยอมรับในตัวคุณ
เรียนรู้และเคารพในความแตกต่าง
ช่วงวัยที่ห่างกันย่อมมีความคิด การแสดงออก และการกระทำที่แตกต่างกัน คนที่เป็นหัวหน้าจำเป็นต้องเรียนรู้และเคารพในความต่างเหล่านั้น
อย่าตัดสินคนล่วงหน้า
หลายคนอาจจะมองว่าคนอายุมากมักจะเป็นคนไม่ทันสมัย ทำอะไรช้า และล้าหลัง ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ดีนัก และจะยิ่งเลวร้ายมากขึ้นหากคนที่คิดแบบนี้คือคนที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหาร เช่น อย่าคิดว่าคนอายุมากจะไม่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเสมอไป พวกเขาอาจจะไม่เล่นโซโซเชียลมีเดีย หรือเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีเท่าคุณ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่มีความสามารถที่จะเรียนรู้
เป็นเจ้านายอายุน้อย ต้องดูแลลูกทีมอายุมากกว่ายังไง
เข้าใจความรู้สึกคนในทีม
การที่คนอายุน้อยกว่า หรืออ่อนประสบการณ์กว่าได้ขึ้นเป็นหัวหน้า คนในทีมอาจจะรู้สึกไม่ดีนัก คุณที่เป็นหัวหน้าควรพยายามเข้าใจ และถามความรู้สึกของคนในทีมให้มาก ๆ อย่าคิดเอาเองว่าคุณเข้าใจพวกเขา หรือบอกพวกเขาว่าคุณเข้าใจโดยที่ยังไม่ได้พูดคุยกันอย่างจริงจัง ซึ่งบางทีสาเหตุอาจเป็นเพราะเขาไม่เชื่อมั่นในการทำงานของคุณหรือคิดว่าบริษัทไม่ให้ความสำคัญ และให้คนที่เด็กกว่าขึ้นมาเป็นคนดูแลพวกเขา ดังนั้นคุณควรแสดงให้เขาเห็นว่าคุณตั้งใจมากแค่ไหน และตำแหน่งที่ได้มานั้นมาจากความสามารถของคุณจริง ๆ
เคารพพวกเขาด้วยการ ”ขอความร่วมมือ”
ก็จริงที่คุณมีตำแหน่งสูงกว่า และสามารถสั่งงานพวกเขาได้ แต่คุณต้องอย่าลืมว่าสิ่งที่พวกเขามีมากกว่าคุณคือประสบการณ์การทำงาน ดังนั้นสิ่งที่คุณควรทำคือการทำงานกับพวกเขาด้วยความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน เวลาจะสั่งงานพวกเขา ลองเปลี่ยนจากคำสั่งมาใช้คำว่า “ขอความร่วมมือ” ก็ทำให้การสื่อสารของคุณนุ่มนวลมากขึ้น และเชื่อว่าพวกเขาจะยอมเปิดใจ และให้ความร่วมมือมากกว่าการเอาแต่สั่งแน่นอน
ขอคำแนะนำและถามความคิดเห็น
มองคนในทีมที่มีอายุมากกว่าเป็นเหมือนรุ่นพี่ที่ให้คำปรึกษาได้ อย่าลังเลที่จะถามในสิ่งที่ไม่รู้ หรือขอความเห็นพวกเขาเมื่อต้องตัดสินใจอะไรบางอย่าง เพราะมันจะทำให้คุณเห็นมุมมองที่แตกต่างจากคนที่มีประสบการณ์มากกว่าคุณ ควรเลือกถามในเชิงขอความเห็น หรือถามคำถามแบบเปิด อาจไม่ใช่แค่เรื่องงาน แต่รวมถึงเรื่องการใช้ชีวิตด้วย การทำแบบนี้จะทำให้เขารู้สึกว่าคุณไม่ใช่พวกรู้มากที่คิดว่าตัวเองเก่งไปซะทุกเรื่อง และทำให้พวกเขารู้สึกว่าคุณให้ความสำคัญ และให้เกียรติเขา ซึ่งแน่นอนว่ามันจะส่งผลให้คุณสามารถดูแลและบริหารงานได้ดีและง่ายขึ้น
ให้อิสระการทำงานบ้าง
จำไว้ว่าเราไม่ได้ทำงานกับเด็กที่ต้องคอยจู้จี้เรื่องวินัย บางเรื่องที่ไม่จำเป็นอย่าพยายามใช้อำนาจตามตำแหน่งเข้าไปกดดันลูกทีมในทางที่ผิด เช่น บ่นเรื่องวินัยเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือจับผิดการทำงาน เพราะมันจะยิ่งทำให้พวกเขาเบื่อหน่ายในพฤติกรรมของคุณ ดังนั้นปล่อยให้พวกเขาได้ทำงานอย่างมีอิสระบ้าง แค่ตั้งเป้าหมายและมาตรฐานให้เขา จากนั้นรอวัดผลกันที่เนื้องานอีกทีจะดีกว่า
โชว์ความสามารถของคุณ
แสดงให้คนในทีมเห็นว่าคุณมีความรู้ ความสามารถ ซึ่งไม่ได้มาจากหนังสือเท่านั้น แต่รวมไปถึงความรู้ที่สั่งสมมาจากการทำงานด้วย เพราะคนที่อายุมากกว่ามักจะมองว่าคนที่อายุน้อยกว่าไม่น่าจะมีความสามารถมากพอที่จะเป็นหัวหน้าเขา และอย่าลืมที่จะนำความรู้ที่คุณมีไปสร้างประโยชน์และเพิ่มพูนความสามารถของคนในทีมด้วย เช่น แนะนำเขาเรื่องการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ใช่วิธีการสั่งหรือบังคับ แต่ให้ใช้เหตุผลอธิบายถึงข้อดีของการใช้เทคโนโลยี ซึ่งความสามารถที่คุณมีนี่เองที่จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้คนในทีมยอมรับในตัวคุณ
เรียนรู้และเคารพในความแตกต่าง
ช่วงวัยที่ห่างกันย่อมมีความคิด การแสดงออก และการกระทำที่แตกต่างกัน คนที่เป็นหัวหน้าจำเป็นต้องเรียนรู้และเคารพในความต่างเหล่านั้น
อย่าตัดสินคนล่วงหน้า
หลายคนอาจจะมองว่าคนอายุมากมักจะเป็นคนไม่ทันสมัย ทำอะไรช้า และล้าหลัง ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ดีนัก และจะยิ่งเลวร้ายมากขึ้นหากคนที่คิดแบบนี้คือคนที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหาร เช่น อย่าคิดว่าคนอายุมากจะไม่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเสมอไป พวกเขาอาจจะไม่เล่นโซโซเชียลมีเดีย หรือเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีเท่าคุณ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่มีความสามารถที่จะเรียนรู้