เคยได้ยิน ราคาลำไยตกต่ำทุกปี แต่ราคาขายตามห้าง กทม ก็ไม่เห็นราคาถูกเลยครับ
มีปีไหนบ้างราคาลำไยดี ขายได้แพงๆ บ้างครับ
สงสัยว่า ทำไมยังปลูกกันเยอะแยะ
ปีนี้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 20% แต่จีนลดนำเข้าเพราะโควิด และจีนปลูกลำไยคุณภาพสูงได้แล้ว
ตามข่าวนี้
ลำไยที่กำลังเป็นประเด็นร้อนๆทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเกษตรในเวลานี้ เนื่องจากปัญหาราคาที่ลดลงอย่างน่าใจหาย ซึ่งเรื่องนี้จะเกาะติดสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการดำเนินการแก้ปัญหาของภาครัฐว่ามีทิศทางอย่างไร จะดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรอย่างไรบ้าง
ในภาพรวมลำไยทั้งประเทศ วันนี้ข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร ในปี 2565 เกษตรกรขึ้นทะเบียนผู้ปลูกลำไย ใปแล้ว 138,656 ครัวเรือน 241,675 แปลง มีพื้นที่ปลูกลำไย 1,039,756 ไร่ เป็นลำไยที่อายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 26,219 ไร่ เป็นลำไยที่มีอายุมากกว่า 5 ปี จำนวน 1,013,536 ไร่ ข้อมูลนี้แตกต่างจากการขึ้นทะเบียนเกษตรกรในปี 2564 กับ 2563 อยู่พอสมควร คือ ปี 2564 มีเนื้อที่ 1,463,337.4575 ไร่ เป็นลำไยที่ให้ผลผลิต 1,422,794.487ไร่ ปี 2563 มีเนื้อที่ 1,721,292.6125 ไร่ ให้ผลผลิต 1,679,472.705 ไร่ ข้อมูลนี้บ่งชี้ ลำไยเริ่มลดพื้นที่ลง แต่ในปี 2565 แม้พื้นที่จากข้อมูลเกษตรกรที่ลงทะเบียนจะลดลงแต่จากการคาดการณ์ผลผลิตลำไยจากทั่วประเทศ มีการคาดการณ์ว่าลำไยจะมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นถึง 20 %
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board)
เปิดเผยว่า สถานการณ์ลำไยในปีนี้มีการคาดการณ์ผลผลิตจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปี 64 อยู่ราวๆ 20 % มีผลผลิตในฤดูอยู่ที่ 812,818 ตัน นอกฤดู 259,746 ตัน ซึ่งรวมกว่า 1 ล้านตัน ซึ่งภาคเหนือจะมีลำไยออกสู่ตลาดในเวลานี้เยอะที่สุด จะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนกันยายน โดยช่วงที่ให้ผลผลิตมากต้องเฝ้าระวัง คือ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม ซึ่งได้สั่งการให้ฟรุ้ทบอร์ดวางแผนรับมืออย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ในจีนยังไม่คลี่คลาย ทําให้เกิดปัญหาการปิดด่านหรือจํากัดการเข้าออกในแต่ละวัน ทางจีนเองมีมาตรการที่เข้มงวดในการคัดกรองโควิด ทําให้เกิดปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ที่จะเดินทางไปยังประเทศจีนไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถส่งออกลําไยไปจีนได้ ซึ่งความต้องการในจีนยังคงมีมาก แต่ติดปัญหาเรื่องระบบโลจิสติกส์จากไทยไปจีน
นอกจากนั้นในฤดูกาลที่ผ่านมายังมีลําไยอบแห้งค้างอยู่ในจีนเป็นจํานวนมากเนื่องจากเป็นลําไยอบแห้งที่ไม่มีคุณภาพที่เกิดจากการใช้ลําไยที่แก่จัดในการอบแห้ง ซึ่งตลาดในจีนไม่ต้องการ จึงทําให้การรับซื้อลําไยอบแห้งลดลง 40 – 50 % ผู้ประกอบการจีนไม่สู้ราคาลําไยในฤดูของไทย
เนื่องจากประเทศจีนก็สามารถผลิตลําไยคุณภาพราคาถูกได้ อีกทั้งลําไยในจีนไม่มีการอบกํามะถันเหมือนกับลําไยไทย
ข่าวมติชน
ปีไหนบ้างที่ราคาลำไยแพง
มีปีไหนบ้างราคาลำไยดี ขายได้แพงๆ บ้างครับ
สงสัยว่า ทำไมยังปลูกกันเยอะแยะ
ปีนี้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 20% แต่จีนลดนำเข้าเพราะโควิด และจีนปลูกลำไยคุณภาพสูงได้แล้ว
ตามข่าวนี้
ลำไยที่กำลังเป็นประเด็นร้อนๆทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเกษตรในเวลานี้ เนื่องจากปัญหาราคาที่ลดลงอย่างน่าใจหาย ซึ่งเรื่องนี้จะเกาะติดสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการดำเนินการแก้ปัญหาของภาครัฐว่ามีทิศทางอย่างไร จะดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรอย่างไรบ้าง
ในภาพรวมลำไยทั้งประเทศ วันนี้ข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร ในปี 2565 เกษตรกรขึ้นทะเบียนผู้ปลูกลำไย ใปแล้ว 138,656 ครัวเรือน 241,675 แปลง มีพื้นที่ปลูกลำไย 1,039,756 ไร่ เป็นลำไยที่อายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 26,219 ไร่ เป็นลำไยที่มีอายุมากกว่า 5 ปี จำนวน 1,013,536 ไร่ ข้อมูลนี้แตกต่างจากการขึ้นทะเบียนเกษตรกรในปี 2564 กับ 2563 อยู่พอสมควร คือ ปี 2564 มีเนื้อที่ 1,463,337.4575 ไร่ เป็นลำไยที่ให้ผลผลิต 1,422,794.487ไร่ ปี 2563 มีเนื้อที่ 1,721,292.6125 ไร่ ให้ผลผลิต 1,679,472.705 ไร่ ข้อมูลนี้บ่งชี้ ลำไยเริ่มลดพื้นที่ลง แต่ในปี 2565 แม้พื้นที่จากข้อมูลเกษตรกรที่ลงทะเบียนจะลดลงแต่จากการคาดการณ์ผลผลิตลำไยจากทั่วประเทศ มีการคาดการณ์ว่าลำไยจะมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นถึง 20 %
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยว่า สถานการณ์ลำไยในปีนี้มีการคาดการณ์ผลผลิตจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปี 64 อยู่ราวๆ 20 % มีผลผลิตในฤดูอยู่ที่ 812,818 ตัน นอกฤดู 259,746 ตัน ซึ่งรวมกว่า 1 ล้านตัน ซึ่งภาคเหนือจะมีลำไยออกสู่ตลาดในเวลานี้เยอะที่สุด จะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนกันยายน โดยช่วงที่ให้ผลผลิตมากต้องเฝ้าระวัง คือ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม ซึ่งได้สั่งการให้ฟรุ้ทบอร์ดวางแผนรับมืออย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ในจีนยังไม่คลี่คลาย ทําให้เกิดปัญหาการปิดด่านหรือจํากัดการเข้าออกในแต่ละวัน ทางจีนเองมีมาตรการที่เข้มงวดในการคัดกรองโควิด ทําให้เกิดปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ที่จะเดินทางไปยังประเทศจีนไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถส่งออกลําไยไปจีนได้ ซึ่งความต้องการในจีนยังคงมีมาก แต่ติดปัญหาเรื่องระบบโลจิสติกส์จากไทยไปจีน
นอกจากนั้นในฤดูกาลที่ผ่านมายังมีลําไยอบแห้งค้างอยู่ในจีนเป็นจํานวนมากเนื่องจากเป็นลําไยอบแห้งที่ไม่มีคุณภาพที่เกิดจากการใช้ลําไยที่แก่จัดในการอบแห้ง ซึ่งตลาดในจีนไม่ต้องการ จึงทําให้การรับซื้อลําไยอบแห้งลดลง 40 – 50 % ผู้ประกอบการจีนไม่สู้ราคาลําไยในฤดูของไทย เนื่องจากประเทศจีนก็สามารถผลิตลําไยคุณภาพราคาถูกได้ อีกทั้งลําไยในจีนไม่มีการอบกํามะถันเหมือนกับลําไยไทย
ข่าวมติชน