คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02EECBtPPrtykxGts5qR7NxEh4fBYHJ5yKh27GaJvsZ2krAQ6dt3eXXaRHTAJPXaqFl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 6 ส.ค. 2565)
รวม 141,913,395 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 6 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 98,501 โดส
เข็มที่ 1 : 9,373 ราย
เข็มที่ 2 : 23,507 ราย
เข็มที่ 3 : 65,621 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,166,759 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,558,983 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,187,653 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0GzxAqwGGtbqHCrJSTi4Qh14MnoCLuaa23PjsnYfFjRBERbBvZcbY69o52mpnPdGWl
คู่มือฉบับประชาชน กรณีรักษา COVID-19 แบบผู้ป่วยนอกและแยกกักกันตนเอง
สามารถดาวน์โหลดได้ที่
https://www.tosh.or.th/covid-19/index.php/manual/item/download/113_b5e430eec61c1a8960323eab132ba49d
ที่มา : สสปท - TOSH สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0Hkdqy1A8EnPEdnCJdzu9n7TLmXAniSNy9aUoPztGzmedKFTnYMd56bRnEZK5GufZl
ผู้ใช้สิทธิบัตรทองหากสงสัยว่าเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงขอรับ ATK ผ่านแอปฯ เป๋าตัง
หรือตรวจที่หน่วยบริการปฐมภูมิตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค
ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02y8Yd6B2joCFGnBPdMq1gXnDRfuu4wPyTPhTDy3qrQfG7FCA9Z6HVjACLHbrQ7gCFl
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2565 จำนวน 35 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02XcChjmxZudeNS9DysXN9u5SpERW5fXso6bL2fEJDk5WMD5CbLrXCtWGi6Tcyx5SMl
สปสช. เผย ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว สิทธิบัตรทองและข้าราชการ
รักษาโควิด ผ่าน Telemedicine อาการเข้าเกณฑ์ได้รับยาส่งถึงบ้านแน่นอน
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นในระยะนี้ สปสช.จัดระบบการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มเติม เพื่อเสริมกำลังช่วยแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลและเป็นอีกทางเลือกในการรับบริการแก่ประชาชน โดย สปสช. ได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการระบบการแพทย์ทางไกลหรือ Telemedicine จำนวน 3 ราย ได้แก่ แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี), แอป Good Doctor (กู๊ด ด็อกเตอร์) และแอป Clicknic (คลิกนิก)
ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ลงทะเบียนเข้ารับบริการในช่องทางนี้ จะได้รับการดูแลที่มีมาตรฐาน ได้พบแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ ได้รับยารักษาตามอาการ และในกรณีแพทย์มีความเห็นว่าอาการเข้าเกณฑ์ที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือโมนูลพิราเวียร์ ก็จะได้การจัดส่งยาให้ถึงที่บ้าน โดยเป็นยาที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้พื้นที่การดูแลของแต่ละแอปจะแตกต่างกัน ซึ่งแอป Clicknic (คลิกนิก) จะรับดูแลทั้งผู้ป่วยโควิดกลุ่มอาการสีเขียว และผู้ป่วยโควิดที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 608 โดยให้บริการทั่วประเทศ ขณะที่แอป MorDee (หมอดี) และแอป Good Doctor (กู๊ด ด็อกเตอร์) จะดูแลผู้ป่วยโควิดกลุ่มอาการสีเขียว แต่ไม่รับกลุ่ม 608 และดูแลเฉพาะในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล 5 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสาคร)
การให้บริการขณะนี้ครอบคลุม 2 สิทธิการรักษาแล้ว จากเดิมดูแลเฉพาะผู้ป่วยบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) โดยกรมบัญชีกลางได้ออกหลักเกณฑ์รองรับเพื่อให้ข้าราชการและครอบครัวที่ป่วยโควิดลงทะเบียนรักษาแบบ Telemedicine กับ 3
แอปพลิเคชันได้เช่นกัน นอกจากช่องทาง Telemedicine แล้ว ที่ดูแลผู้ป่วยโควิดสิทธิบัตรทองและสวัสดิการข้าราชการแล้ว สปสช.ยังจัดระบบเสริมอื่นๆ เช่น การไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการ
ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0rCsYbz1pgoewRvverJkqdB1giRq7oAmzYvRvnBQVPbd1DijSBuDDM1MV7dmoYJfEl
นายกฯ ห่วงนักเรียนติดโควิด เน้นมาตรการความปลอดภัย 6-6-7
ลดความเสี่ยงโควิดในสถานศึกษา
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ รมว.กลาโหม รับทราบรายงานผลสำรวจการประเมินสุขภาพนักเรียน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ระลอกใหม่ในสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ของกรมอนามัย จำนวน 49,242 คน พบการติดเชื้อร้อยละ 30.56 โดยนักเรียนส่วนใหญ่ติดเชื้อจากบุคคลในครอบครัว รองลงมาไม่ทราบสาเหตุการติดเชื้อ ส่วนการติดเชื้อในโรงเรียน พบเพียงร้อยละ 5.66 เท่านั้น และยังพบว่า มีครอบครัวเพียงร้อยละ 0.36 ที่ติดเชื้อจากนักเรียนที่ไปโรงเรียน
จึงขอให้โรงเรียน สถานศึกษา และสถานประกอบการศึกษา ยังคงต้องเน้นมาตรการความปลอดภัย 6-6-7 ลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดโควิด ไม่ให้สร้างผลกระทบต่อการเรียนการสอนของครู- นักเรียน
มาตรการความปลอดภัย 6-6-7 ดังนี้
- 6 มาตรการหลัก (DMHT - RC) คือ การเว้นระยะห่าง การสวมหน้ากาก ล้างมือ คัดกรองวัดไข้ ลดการแออัด และการทำความสะอาด
- 6 มาตรการเสริม คือ การดูแลตนเอง การใช้ช้อนกลางส่วนตัว ทานอาหารปรุงสุกใหม่ การลงทะเบียนเข้า - ออก การสำรวจตรวจสอบ และกักกันตนเอง
- 7 มาตรการเข้ม คือ การประเมิน TSC + และรายงานผลผ่านระบบ MOE COVID การจัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อย การจัดระบบให้บริการอาหารตามหลักสุขาภิบาลอาหารและหลักโภชนาการ อนามัยสิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์มาตรฐาน การมีแผนเผชิญเหตุและมีการซักซ้อม การควบคุมดูแลการเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน และการจัดให้มี School Pass สำหรับนักเรียน ครูและบุคลากรในสถานศึกษา
ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0kQqFiNhJ6NijgHm9MXqG6UsdvMkpxoz4G8uDxgg4QMEgFfmka5b3ay9qjUWAWFosl
ความแตกต่างของ "โรคฝีดาษลิง" กับ "โรคงูสวัด"
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02PZL5gc78y9YFEJ9HEvUYMLqRWK7sGLcvB8RNFJy7dqENe58XfYasUFKJ6PcxVu5bl&id=100068069971811
กรมควบคุมโรค เฝ้าระวัง"โรคฝีดาษวานร" อย่างใกล้ชิด พบผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากสถานการณ์ในประเทศไทยเวลานี้พบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษวานร จำนวน 4 ราย เป็นชาวต่างชาติ 2 ราย และสัญชาติไทย 2 ราย จากการเฝ้าระวังติดตามอาการผู้ป่วยพบอาการป่วยไม่รุนแรง แม้ยังไม่มียารักษาเฉพาะ โรคนี้สามารถหายได้เองในระยะ 2-4 สัปดาห์ โดยให้ยารักษาตามอาการ และไม่ได้ติดต่อกันได้ง่ายๆ ความเสี่ยงที่จะติดโรคนั้น
ส่วนใหญ่มาจากการสัมผัสรอยโรคผิวหนัง เช่น ผื่น ตุ่มหนอง สารคัดหลั่ง หรือสัมผัสใกล้ชิดมากๆ กับผู้ป่วย หรือบาดแผลของผู้ป่วย รวมทั้งการติดต่อผ่านทางละอองทางเดินหายใจจากการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น หน้าแนบหน้า
ด้านการป้องกันควบคุมโรค องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคในกลุ่มที่จำเป็น เช่น บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ซึ่งสิ่งที่สำคัญอันดับแรก คือ การป้องกันโรคโดยไม่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย งดเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า หรือไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น และล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันติดเชื้อจะเป็นการดีที่สุด
แม้ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่ๆ แล้วแต่ยังต้องติดตามข้อมูลผลข้างเคียงและประสิทธิภาพของวัคซีนเมื่อใช้จริงในประชากร ทั้งนี้ ประเทศไทยได้สั่งจองวัคซีนป้องกันฝีดาษไปแล้ว และคาดว่าจะนำเข้ามาประมาณปลายเดือนหลังสิงหาคม
กลุ่มเป้าหมายของวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษวานรที่จะนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย จะต้องพิจารณาหลายด้าน เช่น ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค การระมัดระวังผลข้างเคียงต่างๆ การพิจารณาจากสถานการณ์การระบาด ด้านการบริหารจัดการ ซึ่งคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้ประชุมหารือแล้วและกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะรับวัคซีนเบื้องต้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มก่อนการสัมผัสเชื้อ (Pre-exposure) ได้แก่ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ เช่น ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด หรือเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
2. กลุ่ม Post-exposure คือฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยงหลังสัมผัสโรคไม่เกิน 14 วันซึ่งหากฉีดเร็วจะมีโอกาสป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ขอแนะนำประชาชนว่าวัคซีนเป็นเพียงหนึ่งเครื่องมือในการป้องกันโรค ไม่มีวัคซีนใดที่จะสามารถป้องกันโรคได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ วัคซีนมีหน้าที่ช่วยลดอาการรุนแรงของโรค ลดป่วยหนัก ลดเสียชีวิต สิ่งสำคัญที่สุด คือ การมีพฤติกรรมการป้องกันโรคที่เคร่งครัด ซึ่งจะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทั้งโรคฝีดาษวานร และโควิด 19 เน้นย้ำการล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด และงดมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า คนที่ไม่รู้ประวัติหรืออาการป่วยมาก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีผื่น ตุ่ม หนอง และไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
หากประชาชนมีอาการสงสัยว่าตนเอง มีอาการป่วยเข้าข่ายโรคฝีดาษวานร สามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0XMgLjH7oi4jku8r6aaxgNcgrM9hbubvzJuf5uwcCYXLBkvXmCvb5VaUPY4ZCo5kil
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02EECBtPPrtykxGts5qR7NxEh4fBYHJ5yKh27GaJvsZ2krAQ6dt3eXXaRHTAJPXaqFl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 6 ส.ค. 2565)
รวม 141,913,395 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 6 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 98,501 โดส
เข็มที่ 1 : 9,373 ราย
เข็มที่ 2 : 23,507 ราย
เข็มที่ 3 : 65,621 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,166,759 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,558,983 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,187,653 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0GzxAqwGGtbqHCrJSTi4Qh14MnoCLuaa23PjsnYfFjRBERbBvZcbY69o52mpnPdGWl
คู่มือฉบับประชาชน กรณีรักษา COVID-19 แบบผู้ป่วยนอกและแยกกักกันตนเอง
สามารถดาวน์โหลดได้ที่
https://www.tosh.or.th/covid-19/index.php/manual/item/download/113_b5e430eec61c1a8960323eab132ba49d
ที่มา : สสปท - TOSH สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0Hkdqy1A8EnPEdnCJdzu9n7TLmXAniSNy9aUoPztGzmedKFTnYMd56bRnEZK5GufZl
ผู้ใช้สิทธิบัตรทองหากสงสัยว่าเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงขอรับ ATK ผ่านแอปฯ เป๋าตัง
หรือตรวจที่หน่วยบริการปฐมภูมิตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค
ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02y8Yd6B2joCFGnBPdMq1gXnDRfuu4wPyTPhTDy3qrQfG7FCA9Z6HVjACLHbrQ7gCFl
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2565 จำนวน 35 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02XcChjmxZudeNS9DysXN9u5SpERW5fXso6bL2fEJDk5WMD5CbLrXCtWGi6Tcyx5SMl
สปสช. เผย ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว สิทธิบัตรทองและข้าราชการ
รักษาโควิด ผ่าน Telemedicine อาการเข้าเกณฑ์ได้รับยาส่งถึงบ้านแน่นอน
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นในระยะนี้ สปสช.จัดระบบการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มเติม เพื่อเสริมกำลังช่วยแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลและเป็นอีกทางเลือกในการรับบริการแก่ประชาชน โดย สปสช. ได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการระบบการแพทย์ทางไกลหรือ Telemedicine จำนวน 3 ราย ได้แก่ แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี), แอป Good Doctor (กู๊ด ด็อกเตอร์) และแอป Clicknic (คลิกนิก)
ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ลงทะเบียนเข้ารับบริการในช่องทางนี้ จะได้รับการดูแลที่มีมาตรฐาน ได้พบแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ ได้รับยารักษาตามอาการ และในกรณีแพทย์มีความเห็นว่าอาการเข้าเกณฑ์ที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือโมนูลพิราเวียร์ ก็จะได้การจัดส่งยาให้ถึงที่บ้าน โดยเป็นยาที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้พื้นที่การดูแลของแต่ละแอปจะแตกต่างกัน ซึ่งแอป Clicknic (คลิกนิก) จะรับดูแลทั้งผู้ป่วยโควิดกลุ่มอาการสีเขียว และผู้ป่วยโควิดที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 608 โดยให้บริการทั่วประเทศ ขณะที่แอป MorDee (หมอดี) และแอป Good Doctor (กู๊ด ด็อกเตอร์) จะดูแลผู้ป่วยโควิดกลุ่มอาการสีเขียว แต่ไม่รับกลุ่ม 608 และดูแลเฉพาะในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล 5 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสาคร)
การให้บริการขณะนี้ครอบคลุม 2 สิทธิการรักษาแล้ว จากเดิมดูแลเฉพาะผู้ป่วยบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) โดยกรมบัญชีกลางได้ออกหลักเกณฑ์รองรับเพื่อให้ข้าราชการและครอบครัวที่ป่วยโควิดลงทะเบียนรักษาแบบ Telemedicine กับ 3
แอปพลิเคชันได้เช่นกัน นอกจากช่องทาง Telemedicine แล้ว ที่ดูแลผู้ป่วยโควิดสิทธิบัตรทองและสวัสดิการข้าราชการแล้ว สปสช.ยังจัดระบบเสริมอื่นๆ เช่น การไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการ
ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0rCsYbz1pgoewRvverJkqdB1giRq7oAmzYvRvnBQVPbd1DijSBuDDM1MV7dmoYJfEl
นายกฯ ห่วงนักเรียนติดโควิด เน้นมาตรการความปลอดภัย 6-6-7
ลดความเสี่ยงโควิดในสถานศึกษา
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ รมว.กลาโหม รับทราบรายงานผลสำรวจการประเมินสุขภาพนักเรียน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ระลอกใหม่ในสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ของกรมอนามัย จำนวน 49,242 คน พบการติดเชื้อร้อยละ 30.56 โดยนักเรียนส่วนใหญ่ติดเชื้อจากบุคคลในครอบครัว รองลงมาไม่ทราบสาเหตุการติดเชื้อ ส่วนการติดเชื้อในโรงเรียน พบเพียงร้อยละ 5.66 เท่านั้น และยังพบว่า มีครอบครัวเพียงร้อยละ 0.36 ที่ติดเชื้อจากนักเรียนที่ไปโรงเรียน
จึงขอให้โรงเรียน สถานศึกษา และสถานประกอบการศึกษา ยังคงต้องเน้นมาตรการความปลอดภัย 6-6-7 ลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดโควิด ไม่ให้สร้างผลกระทบต่อการเรียนการสอนของครู- นักเรียน
มาตรการความปลอดภัย 6-6-7 ดังนี้
- 6 มาตรการหลัก (DMHT - RC) คือ การเว้นระยะห่าง การสวมหน้ากาก ล้างมือ คัดกรองวัดไข้ ลดการแออัด และการทำความสะอาด
- 6 มาตรการเสริม คือ การดูแลตนเอง การใช้ช้อนกลางส่วนตัว ทานอาหารปรุงสุกใหม่ การลงทะเบียนเข้า - ออก การสำรวจตรวจสอบ และกักกันตนเอง
- 7 มาตรการเข้ม คือ การประเมิน TSC + และรายงานผลผ่านระบบ MOE COVID การจัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อย การจัดระบบให้บริการอาหารตามหลักสุขาภิบาลอาหารและหลักโภชนาการ อนามัยสิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์มาตรฐาน การมีแผนเผชิญเหตุและมีการซักซ้อม การควบคุมดูแลการเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน และการจัดให้มี School Pass สำหรับนักเรียน ครูและบุคลากรในสถานศึกษา
ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0kQqFiNhJ6NijgHm9MXqG6UsdvMkpxoz4G8uDxgg4QMEgFfmka5b3ay9qjUWAWFosl
ความแตกต่างของ "โรคฝีดาษลิง" กับ "โรคงูสวัด"
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02PZL5gc78y9YFEJ9HEvUYMLqRWK7sGLcvB8RNFJy7dqENe58XfYasUFKJ6PcxVu5bl&id=100068069971811
กรมควบคุมโรค เฝ้าระวัง"โรคฝีดาษวานร" อย่างใกล้ชิด พบผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากสถานการณ์ในประเทศไทยเวลานี้พบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษวานร จำนวน 4 ราย เป็นชาวต่างชาติ 2 ราย และสัญชาติไทย 2 ราย จากการเฝ้าระวังติดตามอาการผู้ป่วยพบอาการป่วยไม่รุนแรง แม้ยังไม่มียารักษาเฉพาะ โรคนี้สามารถหายได้เองในระยะ 2-4 สัปดาห์ โดยให้ยารักษาตามอาการ และไม่ได้ติดต่อกันได้ง่ายๆ ความเสี่ยงที่จะติดโรคนั้น
ส่วนใหญ่มาจากการสัมผัสรอยโรคผิวหนัง เช่น ผื่น ตุ่มหนอง สารคัดหลั่ง หรือสัมผัสใกล้ชิดมากๆ กับผู้ป่วย หรือบาดแผลของผู้ป่วย รวมทั้งการติดต่อผ่านทางละอองทางเดินหายใจจากการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น หน้าแนบหน้า
ด้านการป้องกันควบคุมโรค องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคในกลุ่มที่จำเป็น เช่น บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ซึ่งสิ่งที่สำคัญอันดับแรก คือ การป้องกันโรคโดยไม่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย งดเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า หรือไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น และล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันติดเชื้อจะเป็นการดีที่สุด
แม้ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่ๆ แล้วแต่ยังต้องติดตามข้อมูลผลข้างเคียงและประสิทธิภาพของวัคซีนเมื่อใช้จริงในประชากร ทั้งนี้ ประเทศไทยได้สั่งจองวัคซีนป้องกันฝีดาษไปแล้ว และคาดว่าจะนำเข้ามาประมาณปลายเดือนหลังสิงหาคม
กลุ่มเป้าหมายของวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษวานรที่จะนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย จะต้องพิจารณาหลายด้าน เช่น ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค การระมัดระวังผลข้างเคียงต่างๆ การพิจารณาจากสถานการณ์การระบาด ด้านการบริหารจัดการ ซึ่งคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้ประชุมหารือแล้วและกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะรับวัคซีนเบื้องต้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มก่อนการสัมผัสเชื้อ (Pre-exposure) ได้แก่ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ เช่น ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด หรือเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
2. กลุ่ม Post-exposure คือฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยงหลังสัมผัสโรคไม่เกิน 14 วันซึ่งหากฉีดเร็วจะมีโอกาสป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ขอแนะนำประชาชนว่าวัคซีนเป็นเพียงหนึ่งเครื่องมือในการป้องกันโรค ไม่มีวัคซีนใดที่จะสามารถป้องกันโรคได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ วัคซีนมีหน้าที่ช่วยลดอาการรุนแรงของโรค ลดป่วยหนัก ลดเสียชีวิต สิ่งสำคัญที่สุด คือ การมีพฤติกรรมการป้องกันโรคที่เคร่งครัด ซึ่งจะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทั้งโรคฝีดาษวานร และโควิด 19 เน้นย้ำการล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด และงดมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า คนที่ไม่รู้ประวัติหรืออาการป่วยมาก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีผื่น ตุ่ม หนอง และไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
หากประชาชนมีอาการสงสัยว่าตนเอง มีอาการป่วยเข้าข่ายโรคฝีดาษวานร สามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0XMgLjH7oi4jku8r6aaxgNcgrM9hbubvzJuf5uwcCYXLBkvXmCvb5VaUPY4ZCo5kil
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭❤️มาลาริน❤️🇹🇭7ส.ค.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย2,250คน หาย1,939คน ตาย35คน/โควิดเป็นอีกได้ต้องได้วัคซีนช่วย/วัคซีนฝีดาษลิง
https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1019526
https://www.ryt9.com/s/iq01/3344896
หมอ ยง” เผย โควิด ก็คล้ายโรคทางเดินหาย
ใจ หายแล้วก็เป็นได้อีก แนะฉีดวัคซีนสร้างภูมิลดติดซ้ำ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ชี้ โควิด คล้ายโรคทางเดินหายใจทั้วไป ที่หายแล้วมีโอกาสเป็นได้อีก เผย ผู้ที่หายป่วยไปแล้ว 3 เดือน สามารถกลับมาติดเชื้อได้อีก แนะ ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นสร้างภูมิป้องกันติดเชื้อซ้ำ
วันนี้ 7 ส.ค. เฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” หรือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความในประเด็น “โควิด 19 เป็นแล้ว เป็นซ้ำได้อีก” ชี้ คล้ายโรคทางเดินหายใจทั่วไป ที่เป็นแล้วเป็นซ้ำได้อีก ทั้งนี้ “ง” ได้ระบุข้อความว่า......👇
“โควิด 19 เป็นแล้วเป็นซ้ำได้อีก
โรคโควิด 19 เมื่อเป็นแล้วสามารถเป็นซ้ำได้อีก โดยทั่วไปการเป็นซ้ำ มักจะเกิดขึ้นหลัง 3 เดือนไปแล้ว แต่ก็มีหลายคน เป็นซ้ำแบบมีอาการและตรวจพบชัดเจนตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป การเป็นซ้ำพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
จากการศึกษาของเรา ที่ศูนย์ จุฬา ในผู้ป่วยที่ยืนยันหลักฐานว่าเป็นซ้ำ ครั้งที่ 2 ประมาณ 40 คน คน การเป็นครั้งที่ 2 มีทั้งที่มีอาการมากกว่า และมีอาการน้อยกว่า แต่ส่วนใหญ่ จะมีอาการน้อยกว่า และการรักษาในกรณีที่เป็นซ้ำ ส่วนใหญ่รักษาตามอาการ ในการเป็นครั้งแรกเกือบทั้งหมดได้รับยาต้านไวรัส favipiravir และเมื่อเป็นครั้งที่ 2 ไม่มีใครที่มีอาการหนัก หรือปอดบวม จนระดับออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเลย อาจจะเป็นเพราะว่าระบบภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นทั้งวัคซีน และการติดเชื้อช่วยลดความรุนแรง และมีหลายรายติดเชื้อแล้วยังได้รับวัคซีนอีก ทำให้การเป็นซ้ำครั้งที่ 2 ความรุนแรง ถึงขั้นรุนแรงมากน้อยลงอย่างมาก
ตามคำจำกัดความของการเป็นซ้ำ ส่วนใหญ่จะให้ระยะห่างจากการเป็นครั้งแรกกับครั้งที่ 2 ห่างกัน 3 เดือน
โรคนี้จึงคล้ายกับโรคทางเดินหายใจทั่วไป เช่นไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดทั่วไป ที่เป็นแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก
ดังนั้นในผู้ป่วยที่เคยเป็นแล้ว จึงจำเป็นที่จะต้องมีการกระตุ้นด้วยวัคซีนในระยะเวลาที่เหมาะสมเรากำหนดไว้ว่า ถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน หรือฉีดวัคซีนไม่ครบ 2 เข็ม เมื่อติดเชื้อ ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก 1 ครั้ง ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปหลังติดเชื้อวันแรก
ถ้าฉีดวัคซีนมาแล้วครบ 2 เข็มหรือมากกว่า แล้วติดเชื้อ การติดเชื้อจะเปรียบเสมือนเป็นการฉีดวัคซีนเข็ม 3 ภูมิต้านทานจากกระตุ้นได้ดี ดังนั้นจึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นหลังติดเชื้อ 6 เดือนขึ้นไปนับจากวันที่ติดเชื้ออีก 1 ครั้ง เพื่อรักษาระดับภูมิต้านทานให้คงสูงอยู่ลดการติดเชื้อซ้ำ”
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000075064
สธ."เผยสั่งจองวัคซีนฝีดาษลิงแล้ว คาดมาถึงไทยปลาย ส.ค.นี้ "ฮู"แนะฉีดให้ด่านหน้าก่อน
เมื่อวันที่ 7 ส.ค.65 นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า..👇
สถานการณ์โรคฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) ในประเทศไทยขณะนี้พบผู้ป่วยยืนจำนวน 4 ราย เป็นชาวต่างชาติ 2 ราย และสัญชาติไทย 2 ราย จากการเฝ้าระวังติดตามอาการผู้ป่วยพบอาการป่วยไม่รุนแรง แม้ยังไม่มียารักษาเฉพาะ โรคนี้สามารถหายได้เองในระยะ 2-4 สัปดาห์ โดยให้ยารักษาตามอาการ และไม่ได้ติดต่อกันได้ง่ายๆ ความเสี่ยงที่จะติดโรคนั้น ส่วนใหญ่มาจากการสัมผัสรอยโรคผิวหนัง เช่น ผื่น ตุ่มหนอง สารคัดหลั่ง หรือสัมผัสใกล้ชิดมากๆ กับผู้ป่วย หรือบาดแผลของผู้ป่วย รวมทั้งการติดต่อผ่านทางละอองทางเดินหายใจจากการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น หน้าแนบหน้า ด้านการป้องกันควบคุมโรค องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคในกลุ่มที่จำเป็น เช่น บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ซึ่งสิ่งที่สำคัญอันดับแรก คือ การป้องกันโรคโดยไม่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย งดเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า หรือไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น และล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันติดเชื้อจะเป็นการดีที่สุด แม้ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่ๆ แล้วแต่ยังต้องติดตามข้อมูลผลข้างเคียงและประสิทธิภาพของวัคซีนเมื่อใช้จริงในประชากร ทั้งนี้ ประเทศไทยได้สั่งจองวัคซีนป้องกันฝีดาษไปแล้ว และคาดว่าจะนำเข้ามาประมาณปลายเดือน ส.ค.65
สำหรับกลุ่มเป้าหมายของวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษวานรที่จะนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยจะต้องพิจารณาหลายด้าน เช่น ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค การระมัดระวังผลข้างเคียงต่างๆ การพิจารณาจากสถานการณ์การระบาด ด้านการบริหารจัดการ ซึ่งคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้ประชุมหารือแล้วและกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะรับวัคซีนเบื้องต้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ....👇
1.กลุ่มก่อนการสัมผัสเชื้อ (Pre-exposure) ได้แก่ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ เช่น ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด หรือเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
และ 2.กลุ่ม Post-exposure คือฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยงหลังสัมผัสโรคไม่เกิน 14 วันซึ่งหากฉีดเร็วจะมีโอกาสป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ขอแนะนำประชาชนว่าวัคซีนเป็นเพียงหนึ่งเครื่องมือในการป้องกันโรค ไม่มีวัคซีนใดที่จะสามารถป้องกันโรคได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ วัคซีนมีหน้าที่ช่วยลดอาการรุนแรงของโรค ลดป่วยหนัก ลดเสียชีวิต สิ่งสำคัญที่สุด คือ การมีพฤติกรรมการป้องกันโรคที่เคร่งครัด ซึ่งจะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทั้งโรคฝีดาษวานร และโควิด-19 เน้นย้ำการล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด และงดมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า คนที่ไม่รู้ประวัติหรืออาการป่วยมาก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีผื่น ตุ่ม หนอง และไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น หากประชาชนมีอาการสงสัยว่าตนเอง มีอาการป่วยเข้าข่ายโรคฝีดาษวานร สามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร.1422
https://siamrath.co.th/n/371592
ติดตามข่าวโควิดและฝีดาษวานรวันนี้ค่ะ