🇹🇭❤️มาลาริน❤️🇹🇭25ก.ย.โควิดเป็นโรคเฝ้าระวังยังฉีดวัคซีนฟรี/ป่วย655คน หาย1,032คน ตาย12คน/ทำ3ข้อ/โล่งฝีดาษลิง/โพลอนามัย


https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1028750

https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/covid-19/954789/

เพี้ยนแคปเจอร์อ่านที่นี่! 3 ข้อทำอย่างไร เมื่อโควิดเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง


25 กันยายน 2565 เฟซบุ๊ก “ศูนย์ข้อมูล COVID-19” โพสต์ภาพ พร้อมข้อความหัวข้อ “ทำอย่างไร ? เมื่อ COVID เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” มีเนื้อหาดังนี้
 
ทำอย่างไร ?  เมื่อ COVID เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
 
1.ผู้ที่มีอาการป่วยทางเดินหายใจ
ให้ปฏิบัติตนตามมาตรการ DMHT โดยเฉพาะสวมหน้ากาก ล้างมือ เมื่อต้องใกล้ชิดผู้อื่น

2.ประชาชนทั่วไปสวมหน้ากาก
เมื่อเข้าไปในสถานที่ผู้คนแออัด หรือพื้นที่ปิดอากาศไม่ถ่ายเท เช่น โรงพยาบาล สถานที่ดูแลผู้สูงอายุ/เด็กเล็ก และให้ตรวจ ATK เมื่อมีอาการป่วย ตามความจำเป็น

3.หน่วยงาน องค์กร สถานประกอบการ
คัดกรองอาการป่วยของพนักงานเป็นประจำ หากมีพนักงานป่วยจำนวนมากให้รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที

ที่มา : ศบค.



https://www.naewna.com/local/682266

เพี้ยนปักหมุดรัฐบาลโล่งใจ ผู้ป่วยฝีดาษวานรลิงลด ปรับระดับการเฝ้าระวัง


รัฐบาลยินดีที่จำนวนผู้ป่วยรายใหม่โรคฝีดาษวานรลดลง สะท้อนศักยภาพสาธารณสุขไทย พร้อมปรับมาตรการและแนวทางการควบคุมโรคให้สอดคล้องตามสถานการณ์
25 ก.ย.2565 – นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง (Monkey pox) ซึ่งยินดีที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น และสถานการณ์ผู้ป่วยรายใหม่ทั้งในประเทศและทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอปรับศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข กรณีโรคฝีดาษวานร จากเดิมเฝ้าระวังในระดับกระทรวง ปรับลงเหลือเพียงระดับกรม

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางด้านสาธารณสุขของพี่น้องชาวไทย โดยได้ติดตามการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ซึ่งในกรณีของโรคโรคฝีดาษวานร กรมควบคุม กระทรวงสาธารณสุข ได้เริ่มตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (Emergency Operations Center: EOC) เพื่อเฝ้าระวังในระดับกรม ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2565 และเมื่อองค์การอนามัยโลกประกาศให้โรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern : PHEIC) รัฐบาลได้เตรียมแนวทาง และยกระดับศูนย์ EOC เป็นระดับกระทรวง ส่งผลให้การสั่งการเฝ้าระวังมีความครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ

นายอนุชา กล่าวว่า ทั้งนี้ จากการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง กรมควบคุม กระทรวงสาธารณสุข พบว่าการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานรในช่วงแพร่ระบาดสูงสุดทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 1 พันรายต่อวัน แต่ขณะนี้เหลือเฉลี่ย 580 รายต่อวัน โดยประเทศไทยพบผู้ป่วยฝีดาษวานร รวม 8 ราย ในระยะเวลา 4 เดือน เฉลี่ยเดือนละ 2 ราย โดย 3 ใน 7 ราย มีประวัติแสดงอาการก่อนเดินทางกลับมาที่ประเทศไทย ซึ่งการติดต่อมีปัจจัยหลักมาจากการสัมผัสใกล้ชิดจากการมีเพศสัมพันธ์ และจากการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ไม่พบการแพร่เชื้อต่อแต่อย่างใด สะท้อนให้เห็นว่าโรคฝีดาษวานรไม่ได้ติดต่อกันได้ง่าย และผลการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 จึงเสนอปรับลดระดับศูนย์ EOC โรคฝีดาษวานร จากระดับกระทรวงกลับมาเป็นระดับกรมตามเดิม

รัฐบาลได้เฝ้าระวังและติดตามการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ทั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และโรคฝีดาษวานร โดยรัฐบาลได้กำหนดแนวทางการทำงานตอบโต้ต่อสถานการณ์อย่างทันท่วงที พร้อมทั้งปรับมาตรการและแนวทางการควบคุมโรคให้สอดคล้องตามสถานการณ์ ทำให้แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยของทั้งสองโรคลดจำนวนลงอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม โรคฝีดาษวานรยังเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โดยหากพบผู้ป่วยต้องสงสัยจำเป็นต้องรายงานและมีการสอบสวนโรค จึงขอให้พี่น้องประชาชน โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ยังคงติดตามและรายงานผู้ป่วยฝีดาษวานรต่อไป” นายอนุชา กล่าว

https://www.thaipost.net/general-news/229015/

นานาเรียนโพลชี้คนกังวล "โควิด" ลดลง การ์ดตกเล็กน้อย ช่วงเปลี่ยนผ่านยังต้องเฝ้าระวัง



ผลสำรวจพบคนไทยการ์ดตกทั้งสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง หลังสถานการณ์ "โควิด" ผ่อนคลายลง ความกังวลลดลงจาก 82% เหลือ 80% แต่ยังเห็นด้วยช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นโรคเฝ้าระวังยังต้องใช้มาตรการป้องกันทั้งหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากผลสำรวจอนามัยโพลตั้งแต่วันที่ 1-19 ก.ย. 2565 พบว่า...💊

ทุกพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลงจาก ส.ค. คือ สวมหน้ากากเมื่อเข้าสถานที่ปิดหรือคนรวมตัวกันหนาแน่น จากร้อยละ 94.8 เป็น 93.6 , ล้างมือจากร้อยละ 88.6 เป็นร้อยละ 87.5 และเว้นระยะห่าง จากร้อยละ 87.3 เป็น 86.3 สอดคล้องกับความกังวลต่อสถานการณ์โควิด 19 ที่มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน จากร้อยละ 82.6 เป็น 80.4 ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ มีความเห็นว่า มาตรการที่มีความจำเป็น และควรทำต่อไปในระยะเปลี่ยนผ่านโรคโควิด 19 เข้าสู่โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังนั้น ได้แก่ การเฝ้าระวังพฤติกรรมการสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ร้อยละ 25.57 รองลงมาคือ การจัดสถานที่ ให้มีอุปกรณ์ล้างมืออย่างเพียงพอ มีการเว้นระยะห่าง และมีการระบายอากาศที่ดี ร้อยละ 22.47 มีการทำความสะอาด และการจัดการด้านสุขาภิบาลสถานที่ต่าง ๆ ร้อยละ 20.22 ตามลำดับ

“แม้ว่าแนวโน้มสถานการณ์โควิด 19 ในประเทศดีขึ้น ส่งผลให้มีการดำเนินชีวิตภายใต้มาตรการที่ผ่อนคลายมากขึ้น แต่ประชาชนยังคงต้องเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ และใส่ใจอนามัยขั้นพื้นฐานของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้เสี่ยงสูง กลุ่ม 608 และผู้ที่มีโรคประจำตัว ยังคงต้องหมั่นล้างมือเป็นประจำเมื่อสัมผัสสิ่งของ สวมหน้ากากหากอยู่ในที่ปิด หรือคนรวมตัวกันหนาแน่น หรือหากมีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ และหลีกเลี่ยงไปในสถานที่ที่แออัด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโควิด 19” นพ.เอกชัย กล่าว

https://mgronline.com/qol/detail/9650000092059

 
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ....
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02Dg7YdQwRjTvNDHYpqKEoekJYLSKYkeqYFXBKBXi2cNtk3qKpzTv4dFoX9HY5WVXVl


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 24 ก.ย. 2565)
รวม 143,266,311 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 24 กันยายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 30,763 โดส

เข็มที่ 1 : 4,121 ราย
เข็มที่ 2 : 6,777 ราย
เข็มที่ 3 : 19,865 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,319,964 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,825,963 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 32,120,384 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0RhkPTH5ub9BrMy4wnDTzYpDWFc7rK1LN2P3gc4F3hU19tGqa8eiu3u52CMA5JWA3l


" การปรับโควิด 19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง มีผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับเปลี่ยนมาตรการเฝ้าระวัง ควบคุมโรค สำหรับประชาชนขอให้ใช้มาตรการป้องกันคือ สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือเมื่อต้องอยู่ในสถานที่เสี่ยงหรือสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง และให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามกำหนด "

ที่มา กรมควบคุมโรค
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid022MykjnVU5xqrtVFhSbCt8GoSVcQaq8Vb9cg8CAsEDbBBiHbbVVxir8G3ZmJMp3JTl


วธ.จัดทำจดหมายเหตุ การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในไทย
บันทึกลำดับเหตุการณ์สำคัญ บอกเล่าความร่วมมือ ร่วมใจของคนไทยจนผ่านพ้นวิกฤต

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์โควิด19 หรือ ศบค. เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 65 ซึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กระทรวงวัฒนธรรมได้รายงานถึงความคืบหน้าการจัดทำจดหมายเหตุการแพร่ระบาดโควิด19 ในประเทศไทย ซึ่งได้บันทึกลำดับเหตุการณ์สำคัญ นโยบาย ตลอดจนมาตรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพื่อเป็นข้อมูลให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา และเป็นองค์ความรู้และการดูแลจัดการกรณีเกิดสถานการณ์ลักษณะเดียวกันขึ้นในอนาคต

คณะทำงานของกระทรวงวัฒนธรรมได้รวบรวม สืบค้นข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 - 31 ก.ค. 65 จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ประกอบด้วย แหล่งข้อมูลหนังสือพิมพ์ออนไลน์ จำนวน 11,574 แฟ้ม, เอกสารดิจิทัลจากเว็บไซต์หน่วยงาน จำนวน 12,858 แฟ้ม, ขอข้อมูลเอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระดับกระทรวงและจังหวัดจำนวน 30 หน่วยงาน รวมเอกสาร 13,108 รายการ, เอกสารจากผู้ว่าราชการ 73 จังหวัด รวม 1,839 รายการ และ รวบรวมภาพถ่ายจากเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้อง 2,734 รายการ

ทั้งหมดจะถูกเรียบเรียงเป็นเนื้อหาซึ่งมีเค้าโครงเบื้องต้น ดังนี้ 1) ความเป็นมาของโรคโควิด19 ซึ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงวิชาการ การแพร่ระบาดของสายพันธุ์ต่างๆ 2) ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด19 ซึ่งนำเสนอทั้งผลกระทบด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ การศึกษา สังคม วัฒนธรรมตลอดจนการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (new normal) 3)การบริหารจัดการสถานการณ์โควิด19 นำเสนอในมิติการบริหารจัดการ การป้องกัน การกำหนดมาตรการ แก้ไข เยียวยา ฟื้นฟูทั้งภาคประชาชน ผู้ประกอบการผ่านมาตรการสำคัญต่างๆ 4)ลำดับเหตุการณ์สำคัญ นำเสนอการแพร่ระบาดในแต่ละระลอก และ 5) สรุปบทเรียนประเทศจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด19

กระทรวงวัฒนธรรมรายงานว่าการเรียบเรียงเนื้อหาชั้นแรกจะแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค. 65 จากนั้นจะมีการปรับแก้เค้าโครงและเนื้อหาให้สอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการและเอกสารที่ได้รับ ต่อด้วยการตรวจแก้ไขโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิตามขั้นตอนเสร็จสิ้นภายในมิ.ย. 66 จากนั้นดำเนินการตามขั้นตอนทางทะเบียนเพื่อนำเข้าระบบเอกสารจดหมายเหตุของประเทศต่อไป

ที่มา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02MQCgqiyczZz599q7RtVGYfCNYeSMyFQ4sRbkg3tECtzRZotzG7V1WRtyFHE1AhGwl


รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2565 จำนวน 12 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0242JWNYAgucvq8LaVMTHXkmZNuMZB5og78p6gmkLX2GjgQ8o9HKgg3AWsAZFPJysVl


ทำอย่างไร? เมื่อ COVID เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

• ผู้ที่มีอาการป่วยทางเดินหายใจ ให้ปฏิบัติตนตามมาตรการ DMHT โดยเฉพาะสวมหน้ากาก ล้างมือเมื่อต้องใกล้ชิดผู้อื่น
• ประชาชนทั่วไปแนะนำให้สวมหน้ากาก เมื่อเข้าไปในสถานที่ผู้คนแออัด หรือพื้นที่ปิดอากาศไม่ถ่ายเท เช่น โรงพยาบาล สถานที่ดูแลผู้สูงอายุ/เด็กเล็ก และให้ตรวจ ATK เมื่อมีอาการป่วย ตามความจำเป็น
• หน่วยงาน องค์กร สถานประกอบการ คัดกรองอาการป่วยของพนักงานเป็นประจำ หากมีพนักงานป่วยจำนวนมากให้รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02mT9FQQCw4B3fpoVS2hchqRfsV8K5RELimio12tnV8QthjFA26jZBuomt3zij31Q1l&id=100068069971811


แม้โควิด-19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ตั้งแต่ 1 ต.ค. นี้ ประชาชนยังสามารถรับวัคซีนได้ ในสถานพยาบาล หรือจุดบริการได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. ได้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศลดระดับโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2565 เป็นต้นไป รัฐบาล ได้จัดเตรียมแนวทางบริหารจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งการเฝ้าระวัง การรักษาโรค รวมถึงแผนการบริหารจัดการวัคซีนไว้รองรับอย่างชัดเจน

ในส่วนของการให้วัคซีนป้องกันโรคนั้น ยังคงดำเนินไปตามเป้าหมายเดิม คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป สามารถเข้ารับบริการวัคซีนได้ตามสถานพยาบาลโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งผู้ที่ยังไม่เคยรับวัคซีน และผู้รับเข็มกระตุ้น

สำหรับแผนการให้วัคซีนประชาชนในเดือน ต.ค. 65 มีทั้งสิ้น 7 ล้านโดส ประกอบด้วยเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่
1. ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ต้องการรับเข็ม 1-2 หรือ เข็มกระตุ้น จำนวน 5 ล้านโดส
2. ผู้ที่อายุ 12-17 ปี ที่ต้องการเข็ม 1-2 หรือเข็มกระตุ้น จำนวน 5 แสนโดส
3. ● เด็กอายุ 5-11 ปี ที่ต้องการเข็ม 1-2 หรือเข็มกระตุ้น จำนวน 1 ล้านโดส
    ● เด็กอายุ 6 เดือน-4 ปี ที่ต้องการรับเข็ม 1 จำนวน 5 แสนโดส
4. ผู้ที่เข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยงและต้องการภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป(LAAB) จำนวน 4 หมื่นโดส

วัคซีนไฟเซอร์ฝาสีแดงเข้ม สำหรับหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนถึง 4 ปี สธ. ได้รับมอบจากผู้ผลิตประมาณกลางเดือน ต.ค. จากนั้นจะกระจายผ่านระบบสถานพยาบาลที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือ กทม.กำหนด และมีการประสานความร่วมมือกับ อปท. กระทรวงมหาดไทย หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริการฉีดให้กับศูนย์เด็กเล็ก โดยดำเนินการภายใต้การกำกับของแพทย์
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0foQR5R9ST6ea5bhwnr7jamW65LEYuf7ycRzdoQKnWHpez7LJLw8vUdyf91BxF954l
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่