“เจ็บหัวใจ” เจ็บบ่อยๆ นานๆ ให้ระวัง! หัวใจล้มเหลว



“เจ็บหัวใจ” เจ็บบ่อยๆ นานๆ ให้ระวัง! หัวใจล้มเหลว

“เจ็บหัวใจ” หรือใครที่ทำให้เราเจ็บ แม้ว่าเราจะไม่สามารถทำการสำรวจจำนวนคนที่เจ็บหัวใจเพราะอกหักได้ครบถ้วน...แต่รับประกันว่ายังไม่น่ากลัวเท่ากับสถิติของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่แฝงอยู่เป็นจำนวนสูงถึง 1% ต่อจำนวนประชากรทั้งประเทศ พูดง่ายๆ ว่า คนไทยเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวมากกว่า 1 ล้านคน ยิ่งถ้าเป็นผู้สูงวัยที่อายุ 60ปีขึ้นไปด้วยแล้วล่ะก็จะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่5%หรือแม้แต่คนอายุน้อยก็มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวได้เช่นกัน

ความน่ากลัวของภาวะหัวใจล้มเหลวก็คือไร้สัญญาณเตือนล่วงหน้า ภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ใช่ภาวะหัวใจหยุดเต้น แต่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดเลือดลดลง ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี หัวใจจึงพยายามบีบตัวมากขึ้นเพื่อให้ปริมาณเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างเป็นปกติ 



แต่เพราะการทำงานที่หนักเกินไปนี่เอง จึงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจของเราค่อยๆ อ่อนล้า เกิดอาการเจ็บหัวใจ และไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ดีอีกต่อไป การหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่นั้น เบื้องต้นให้สังเกตด้วยตัวเองตามนี้

✔ รู้สึกอึดอัด มีอาการเจ็บหัวใจ หรือหายใจลำบากตอนออกกำลังกาย
✔ ตื่นขึ้นกลางดึกเพราะไอ
✔ ข้อเท้าหรือขาบวมผิดปกติ
✔ น้ำหนักตัวขึ้นกะทันหันจนผิดสังเกต



อาการเจ็บหัวใจนี่แหละ ที่ทำให้เราต้องหันกลับมาดูแลก้อนเนื้อที่เต้นตุบๆ อยู่ข้างในอกข้างซ้ายให้ดีขึ้นกว่าเดิม การดูแลหัวใจเริ่มง่ายๆ ด้วย
- ทานอาหารที่มีประโยชน์
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- งดบุหรี่และแอลกอฮอล์
- หมั่นสังเกตอาการอยู่เสมอ

** ที่สำคัญควรตรวจสุขภาพและสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี เท่านี้ก็สามารถป้องกันภัยเงียบคุกคามหัวใจในระดับเบื้องต้นได้แล้ว



แต่ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจอยู่แล้วหล่ะก็ สามารถลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำและทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และที่สำคัญต้องมาพบแพทย์ เพื่อตรวจติดตามอาการตามนัดสม่ำเสมอด้วย




สัญญาณเตือนภาวะหัวใจล้มเหลว
พญ.บัณฑิตา พงษ์ตัณฑกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่