อดีตขุนคลัง ชี้นักการเมืองไทย ที่กำลังบริหารประเทศ จะพาไทยเหมือน 'ศรีลังกา'
https://www.matichon.co.th/economy/news_3459356
อดีตขุนคลัง ชี้นักการเมืองไทย ที่กำลังบริหารประเทศ จะพาไทยเหมือน ‘ศรีลังกา’
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม นาย
สมหมาย ภาษี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก
Sommai Phasee ระบุว่า
“ความเหมือนของศรีลังกากับไทย”
ผมเข้าใจว่าตอนนี้คนไทยทั้งประเทศได้รับรู้ข่าวที่ว่าประเทศศรีลังกาที่มีพลเมือง 22 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเหมือนคนไทย กําลังจะล่มสลายด้วยปัญหาเศรษฐกิจที่แทบจะไม่มีเงินทุนสํารองระหว่างประเทศเหลืออยู่เลย ทําให้ประชาชนทั้งประเทศเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส
ประเทศไทยเราเอง ครั้งหนึ่งเมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้ว ก็มีสภาพคล้ายกับศรีลังกาขณะนี้คือ ต้องเผชิญกับนํ้ามันแพง และเงินทุนสํารองระหว่างประเทศร่อยหรอลงมากเต็มทีแต่ประชาชนก็ยังไม่เดือดร้อนแบบตอนนี้เพราะตอนนั้นเป็นสมัยต้นๆของรัฐบาลที่มีท่านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีและมีท่านรัฐมนตรีคลังที่มากด้วยความรู้ความสามารถและเป็นรัฐมนตรีคลังที่ถือได้ว่าซื่อสัตย์สุจริตโดยแท้คือ ท่านสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นรัฐมนตรีคู่ใจของท่านนายกเปรม ทําให้มีการแก้ปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจของไทยจนจบสิ้นในเวลาอันสั้นแค่ไม่ถึง 2 ปีเท่านั้นเอง
ผมจําได้ว่าการดําเนินการแก้ไขเป็นไปด้วยดีแม้รัฐบาลต้องทําการลดค่าเงินบาทถึง 2 ครั้งในช่วงเวลาใกล้ๆกัน แต่ประเทศไทยตอนนั้นยังสามารถไปกู้เงินจากตลาดการเงินต่างประเทศได้และทางธนาคารโลกก็ได้เข้ามาช่วยเหลือโดยการให้เงินกู้มาก้อนใหญ่เพื่อเสริมเงินทุนสํารองระหว่างประเทศของเราให้มีความมั่นใจว่าไทยเรายังพอมีเงินจ่ายค่านํ้ามันที่ต้องนําเข้าได้ไม่ถึงกับ ไอ เอ็ม เอฟ ต้องมานั่งกํากับชี้นิ้วให้ทําโน่นทํานี่เหมือนประเทศศรีลังกาขณะนี้หรือเหมือนประเทศไทยสมัยวิกฤตต้มยํากุ้ง ปี2540
ตามสภาพที่เห็น คนทั่วไปเข้าใจว่าศรีลังกาต้องล่มสลายและต้องกระกระสนอย่างน่าสมเพชไปอีกนาน เพื่อเอาประเทศให้รอดในขณะนี้ก็เพราะเศรษฐกิจของเขาต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวถึง 40% ของ GDP ขณะที่ประเทศไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวในระดับไม่เกิน 15 % ของ GDP เมื่อเจอโควิด-19 เล่นงานหนักต่อเนื่องถึง 3 ปีศรีลังกาก็ถึงกับทรุดลุกไม่ขึ้น
นอกจากเรื่องต้องพึ่งการท่องเที่ยวอย่างหนัก คนส่วนใหญ่ก็ได้เห็นต้นตอของการล่มสลายครั้งนี้ว่ามาจากการเมืองที่ผูกขาดและครอบงําโดยคนศรีลังกานามสกุล “ราชปักษา” มาเป็นเวลานานจนกระทั่งการทุจริตคอร์รัปชั่นเบ่งบานไปทั่วประเทศ ผมว่าเรื่องนี้คนไทยก็ได้นํามาเปรียบเทียบว่าคงไม่ต่างกับประเทศไทยที่นักการเมืองของเราเป็นคนนามสกุล “ชุดสีเขียวขี้ม้า” ได้ปกครองและครอบงําประเทศไทย มาหลายยุคหลายสมัยรวมเวลาแล้วก็ยาวนาน และทําให้การทุจริตคอร์รัปชั่นเบ่งบานและขยายตัวไปเรื่อยๆ จนไม่เห็นหนทางที่จะเจือจางลงแต่อย่างใด นักการเมืองของศรีลังกากับของไทยจึงไม่ต่างกันในเรื่องคราครํ่าไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่น ว่าแต่ว่าของไทยนํ้ายังลดไม่ตํ่าพอ ตอจึงยังไม่ค่อยผุดให้เห็นชัดๆ
การล่มสลายของประเทศศรีลังกาครั้งนี้แน่นอนที่สุดหากไม่ยอมให้เป็นอัมพาตก็ต้องร้องขอความช่วยเหลือไปที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอ เอ็ม เอฟ เช่นเดียวกับประเทศไทยเมื่อครั้งเกิดวิกฤตต้มยํากุ้ง ในปี2540 นี่เป็นสูตรตายตัวที ่ต้องใช้กับทุกประเทศเมื่อเจอวิกฤตแบบนี้ไม่ว่าจะเป็นประเทศอาร์เจนตินาในละตินอเมริกา หรือประเทศไหนๆ ในโลกก็เป็นแบบเดียวกัน
กรณีประเทศศรีลังกาปรากฏว่า ไอ เอ็ม เอฟ ได้เข้าไปจัดการตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ ทันทีที่รับงาน ไอ เอ็ม เอฟ ก็ได้ออกแถลงการณ์เน้นให้เห็นถึงเรื่องสําคัญสุดๆที่จะต้องทําการแก้ไขหากจะให้ศรีลังกากลับฟื้นขึ้นอีกครั้ง คือ การปฏิรูปในระดับโครงสร้าง และการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น
จะเห็นได้ว่าเรื่องที่ ไอ เอ็ม เอฟ ตั้งเป้าหมายหลักที่จะทํานั้นคล้ายคลึงกับการเข้ามาแก้ปัญหาไทยในวิกฤตเศรษฐกิจต้มยํากุ้งมาก แต่เรื่องการแก้ปัญหา
การทุจริตคอร์รัปชั่นนั้น กรณีของไทยเขาไม่ได้เน้นชัดเหมือนของศรีลังกา แต่ได้เน้นเรื่องการต้องมีธรรมาภิบาลแทน ซึ่งเข้าใจได้ว่าในช่วงนั้น ไอ เอ็ม เอฟ ได้เห็นความซื่อสัตย์สุจริตในการบริหารราชการของรัฐบาลท่านพลเอกเปรม เมื่อไม่นานก่อนหน้านั้น อาจคิดว่าเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นไม่ใช่ตัวปัญหาหลักของไทย โดยหาได้เฉลียวใจไม่ว่าหลังจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ดัชนีคอร์รัปชั่นระดับโลกของประเทศไทยได้เพิ่มจากประเทศอันดับตํ่ากว่า 70 เป็นประเทศอันดับเกิน 100 อย่างรวดเร็ว โดยไม่มีเค้าว่าจะลดน้อยถอยลงให้เห็น
เมื่อท่านผู้อ่านได้รับรู้สิ่งที่ผมได้แสดงความเห็นมาถึงตรงนี้โปรดเข้าใจให้ตรงประเด็นว่าผมไม่ได้พูดว่าไทยขณะนี้จะมีปัญหาเหมือนศรีลังกา แต่ขอให้ตระหนักว่าพฤติกรรมของนักการเมืองไทยที่บริหารประเทศชาติอยู่ในขณะนี้เป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแบบศรีลังกาได้ในอนาคตที่ไม่นานเกินรอ และยังมีความเสี่ยงอีกมากที่ประเทศเราละเลยไม่เอาใจใส่ มีแต่ทีท่าว่าจะเอาใจใส่เท่านั้น ไม่มีอะไรดีๆที่จริงจังให้ประชาชนจับต้องได้ หรือแม้แต่การสร้างความหวังในเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน
สิ่งที่เป็นความเสี่ยงมากที่สุดของรัฐบาลไทยในขณะนี้หรือในอนาคตที่ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นผู้นําของประเทศก็ตาม คือ ความยากไร้ด้านการคลังของภาครัฐ ซึ่งจะมีแต่ความฝืดเคือง และเพิ่มความอึดอัดในการหาเงินมาบริหารจัดการเพื่อสร้างความอยู่ดีกินดีของชนในชาติโดยรวม การเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะจากร้อยละ 60 ของ GDP เป็นร้อยละ 70 ของ GDP ของรัฐบาลเมื่อเร็วๆนี้ยังไม่ใช่ช่องทางที่เอื้อให้รัฐหาเงินมาเติมในงบประมาณรายจ่ายให้คล่องตัวได้ตามที่คิด ซึ่งจะขอนําเรื่องนี้มาวิเคราะห์ให้เห็นในโอกาสหน้าต่อไปครับ
https://www.facebook.com/SommaiPhasee/posts/pfbid0vT27GDH1j1pEChkMAG9jDVmPtMq3sNUC3U9JK76DrGvHsYoYF2xDFBFEmg5WoSrel
บาทอ่อนทำพิษหนัก กดดันดุลการค้าไทยเดือน มิ.ย. ติดลบกว่า 4 หมื่นล้านบาท
https://www.matichon.co.th/economy/news_3459261
บาทอ่อนทำพิษหนักกดดันดุลการค้าไทยเดือน มิ.ย. ติดลบกว่า 4 หมื่นล้านบาท
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม นาย
พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.58 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย
จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 36.61 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยมองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 36.30-36.90 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.50-36.70 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
นาย
พูนกล่าวว่า สำหรับเศรษฐกิจไทยตลาดมองว่าแม้ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงต่อเนื่อง แต่ก็มีส่วนช่วยหนุนให้ยอดการส่งออกในเดือนมิถุนายนยังโตราว 10% แต่ราคาสินค้าพลังงานรวมถึงผลจากการอ่อนค่าของเงินบาทกลับยิ่งหนุนให้ยอดการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น 19% ทำให้ดุลการค้ายังคงขาดดุลราว 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (กว่า 40,000 ล้าบาท) และเป็นอีกปัจจัยที่กดดันดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงนี้
สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาทอาจใกล้เจอจุดอ่อนค่าสุดและจะยังไม่อ่อนค่าทะลุ 37 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หากจีนไม่ได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทอาจถูกชะลอด้วยแรงซื้อ Buy on Dip หรือกลยุทธ์การทำกำไรในช่วงตลาดขาลงของหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างชาติ และมุมมองของผู้เล่นบางส่วนที่เริ่มกลับมาเก็งกำไรการแข็งค่าของเงินบาท (Long THB) ท่ามกลางความหวังการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวจากต่างชาติที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวได้ดีกว่าคาด
ขณะเดียวกันเงินเหรียญสหรัฐช่วงต้นสัปดาห์ อาจกลับมาแข็งค่าขึ้น หากตลาดผิดหวังกับรายงานผลประกอบการและปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) นอกจากนี้ ความผันผวนอาจสูงขึ้น ในช่วงการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และรายงานดัชนีภาคการผลิตและการบริการ (PMI) โดยเงินเหรียญสหรัฐอาจอ่อนค่าลงหาก อีซีบีพร้อมเร่งขึ้นดอกเบี้ยจะหนุนให้เงินยูโรแข็งค่า แต่ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา คือ วิกฤตพลังงาน หากรัสเซียไม่กลับมาส่งแก๊สธรรมาชาติ แม้จะเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุงท่อส่งแก๊ส Nord Stream 1 และดัชนีภาคการผลิตและการบริการ (PMI) สหรัฐลดลงแย่กว่าคาด
ทั้งนี้ ช่วงตลาดการเงินยังผันผวนสูงเห็นได้จากความผันผวนของเงินบาทที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ที่ระดับ 2 S.D. Standard Deviation หรือค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ด้านกลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Financial Markets) ระบุว่า ค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.50 – 36.70 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยตามเงินเหรียญสหรัฐที่ร่วงลงในเย็นวันศุกร์ หลังจากดัชนีดอลลาร์สหรัฐเทียบกับตะกร้าสกุลเงินหลักพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 20 ปีเมื่อวันพฤหัสบดี
ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีประชุมวันที่ 21 กรกฎาคม คาดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็นการปรับขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2554 ขณะเดียวกันตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันศุกร์ เนื่องจากได้แรงหนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน และข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
จับตาเสียงโหวตนอกสภาฯ ลงมติศึก"อภิปรายไม่ไว้วางใจ"รัฐบาล
https://www.nationtv.tv/news/378880061
เครือข่ายวิชาการ สื่อมวลชน เปิดโครงการ "เสียงประชาชน" ลงมติศึก"อภิปรายไม่ไว้วางใจ" นายกรัฐมนตรีและ 10 รัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 22-23 ก.ค.นี้
18 กรกฎาคม 2565
"ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล" เปิดโครงการอาจารย์จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าวโครงการ เสียงประชาชน ลงมติไว้วางใจ-ไม่ไว้วางใจรัฐบาล คู่ขนานสภาผู้แทนราษฎร ผ่าน คิวอาร์โค้ด โดยระบุว่า ตามที่สภาผู้แทนราษฏรจะได้มีการเปิดอภิปราย เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวนทั้งหมด 11 คน ในระหว่างวันที่ 19-22 กรกฎาคม 2565 โดยจะมีการลงมติในวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 นั้น
เพื่อเป็นการส่งเสริมกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลและการมีส่วนร่วมของประชาชนตามวิถีทางประชาธิปไตย เครือข่ายเสียงประชาชน ซึ่งเป็นการริเริ่มของกลุ่มนักวิชาการจาก 4 มหาวิทยาลัยได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยรังสิต และเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนที่ร่วมกันจัดงาน 30 ปีพฤษภาประชาธรรม ร่วมกับ สื่อโทรทัศน์ดิจิตอล 4 ช่อง ได้แก่ เนชั่น ไทยรัฐทีวี เวิร์คพอยท์ และพีพีทีวี จึงได้ร่วมกันทำโครงการ เสียงประชาชนลงมติไว้วางใจไม่ไว้วางใจรัฐบาล เปิดให้ประชาชนได้ลงมติไว้วางใจ หรือไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายทางออนไลน์คู่ขนานกับการลงมติของสภาผู้แทนราษฏร
การลงมติออนไลน์จะดำเนินการโดยสื่อโทรทัศน์ดิจิตอลที่ร่วมโครงการจะนำคิวอาร์โค้ดขึ้นหน้าจอให้ประชาชนได้ร่วมลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้ใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้ง 11 คนแยกเป็นรายบุคคลเช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร โดยมีกติกาในการลงมติคือ
1. โทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่อง หรือคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะลงมติได้เพียง หนึ่งครั้ง
2. การลงมติจะเริ่มต้นในวันสุดท้ายของการอภิปราย คือวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม เวลา 18.00 น. โดยจะปิดการลงมติในวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 เวลาเดียวกับการปิดลงมติของสภาผู้แทนราษฎรคือประมาณ 11.00 น. จากนั้นจะมีการสรุปผลและรายงานผลไปพร้อมกับผลการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร
JJNY : อดีตขุนคลังชี้นกม.จะพาไทยเหมือน'ศรีลังกา'│บาทอ่อนทำพิษหนัก│จับตาเสียงโหวตนอกสภาฯ│ผวา กานาพบติดเชื้อ‘มาร์บวร์ก’ 2
https://www.matichon.co.th/economy/news_3459356
อดีตขุนคลัง ชี้นักการเมืองไทย ที่กำลังบริหารประเทศ จะพาไทยเหมือน ‘ศรีลังกา’
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม นายสมหมาย ภาษี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sommai Phasee ระบุว่า
“ความเหมือนของศรีลังกากับไทย”
ผมเข้าใจว่าตอนนี้คนไทยทั้งประเทศได้รับรู้ข่าวที่ว่าประเทศศรีลังกาที่มีพลเมือง 22 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเหมือนคนไทย กําลังจะล่มสลายด้วยปัญหาเศรษฐกิจที่แทบจะไม่มีเงินทุนสํารองระหว่างประเทศเหลืออยู่เลย ทําให้ประชาชนทั้งประเทศเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส
ประเทศไทยเราเอง ครั้งหนึ่งเมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้ว ก็มีสภาพคล้ายกับศรีลังกาขณะนี้คือ ต้องเผชิญกับนํ้ามันแพง และเงินทุนสํารองระหว่างประเทศร่อยหรอลงมากเต็มทีแต่ประชาชนก็ยังไม่เดือดร้อนแบบตอนนี้เพราะตอนนั้นเป็นสมัยต้นๆของรัฐบาลที่มีท่านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีและมีท่านรัฐมนตรีคลังที่มากด้วยความรู้ความสามารถและเป็นรัฐมนตรีคลังที่ถือได้ว่าซื่อสัตย์สุจริตโดยแท้คือ ท่านสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นรัฐมนตรีคู่ใจของท่านนายกเปรม ทําให้มีการแก้ปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจของไทยจนจบสิ้นในเวลาอันสั้นแค่ไม่ถึง 2 ปีเท่านั้นเอง
ผมจําได้ว่าการดําเนินการแก้ไขเป็นไปด้วยดีแม้รัฐบาลต้องทําการลดค่าเงินบาทถึง 2 ครั้งในช่วงเวลาใกล้ๆกัน แต่ประเทศไทยตอนนั้นยังสามารถไปกู้เงินจากตลาดการเงินต่างประเทศได้และทางธนาคารโลกก็ได้เข้ามาช่วยเหลือโดยการให้เงินกู้มาก้อนใหญ่เพื่อเสริมเงินทุนสํารองระหว่างประเทศของเราให้มีความมั่นใจว่าไทยเรายังพอมีเงินจ่ายค่านํ้ามันที่ต้องนําเข้าได้ไม่ถึงกับ ไอ เอ็ม เอฟ ต้องมานั่งกํากับชี้นิ้วให้ทําโน่นทํานี่เหมือนประเทศศรีลังกาขณะนี้หรือเหมือนประเทศไทยสมัยวิกฤตต้มยํากุ้ง ปี2540
ตามสภาพที่เห็น คนทั่วไปเข้าใจว่าศรีลังกาต้องล่มสลายและต้องกระกระสนอย่างน่าสมเพชไปอีกนาน เพื่อเอาประเทศให้รอดในขณะนี้ก็เพราะเศรษฐกิจของเขาต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวถึง 40% ของ GDP ขณะที่ประเทศไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวในระดับไม่เกิน 15 % ของ GDP เมื่อเจอโควิด-19 เล่นงานหนักต่อเนื่องถึง 3 ปีศรีลังกาก็ถึงกับทรุดลุกไม่ขึ้น
นอกจากเรื่องต้องพึ่งการท่องเที่ยวอย่างหนัก คนส่วนใหญ่ก็ได้เห็นต้นตอของการล่มสลายครั้งนี้ว่ามาจากการเมืองที่ผูกขาดและครอบงําโดยคนศรีลังกานามสกุล “ราชปักษา” มาเป็นเวลานานจนกระทั่งการทุจริตคอร์รัปชั่นเบ่งบานไปทั่วประเทศ ผมว่าเรื่องนี้คนไทยก็ได้นํามาเปรียบเทียบว่าคงไม่ต่างกับประเทศไทยที่นักการเมืองของเราเป็นคนนามสกุล “ชุดสีเขียวขี้ม้า” ได้ปกครองและครอบงําประเทศไทย มาหลายยุคหลายสมัยรวมเวลาแล้วก็ยาวนาน และทําให้การทุจริตคอร์รัปชั่นเบ่งบานและขยายตัวไปเรื่อยๆ จนไม่เห็นหนทางที่จะเจือจางลงแต่อย่างใด นักการเมืองของศรีลังกากับของไทยจึงไม่ต่างกันในเรื่องคราครํ่าไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่น ว่าแต่ว่าของไทยนํ้ายังลดไม่ตํ่าพอ ตอจึงยังไม่ค่อยผุดให้เห็นชัดๆ
การล่มสลายของประเทศศรีลังกาครั้งนี้แน่นอนที่สุดหากไม่ยอมให้เป็นอัมพาตก็ต้องร้องขอความช่วยเหลือไปที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอ เอ็ม เอฟ เช่นเดียวกับประเทศไทยเมื่อครั้งเกิดวิกฤตต้มยํากุ้ง ในปี2540 นี่เป็นสูตรตายตัวที ่ต้องใช้กับทุกประเทศเมื่อเจอวิกฤตแบบนี้ไม่ว่าจะเป็นประเทศอาร์เจนตินาในละตินอเมริกา หรือประเทศไหนๆ ในโลกก็เป็นแบบเดียวกัน
กรณีประเทศศรีลังกาปรากฏว่า ไอ เอ็ม เอฟ ได้เข้าไปจัดการตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ ทันทีที่รับงาน ไอ เอ็ม เอฟ ก็ได้ออกแถลงการณ์เน้นให้เห็นถึงเรื่องสําคัญสุดๆที่จะต้องทําการแก้ไขหากจะให้ศรีลังกากลับฟื้นขึ้นอีกครั้ง คือ การปฏิรูปในระดับโครงสร้าง และการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น
จะเห็นได้ว่าเรื่องที่ ไอ เอ็ม เอฟ ตั้งเป้าหมายหลักที่จะทํานั้นคล้ายคลึงกับการเข้ามาแก้ปัญหาไทยในวิกฤตเศรษฐกิจต้มยํากุ้งมาก แต่เรื่องการแก้ปัญหา
การทุจริตคอร์รัปชั่นนั้น กรณีของไทยเขาไม่ได้เน้นชัดเหมือนของศรีลังกา แต่ได้เน้นเรื่องการต้องมีธรรมาภิบาลแทน ซึ่งเข้าใจได้ว่าในช่วงนั้น ไอ เอ็ม เอฟ ได้เห็นความซื่อสัตย์สุจริตในการบริหารราชการของรัฐบาลท่านพลเอกเปรม เมื่อไม่นานก่อนหน้านั้น อาจคิดว่าเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นไม่ใช่ตัวปัญหาหลักของไทย โดยหาได้เฉลียวใจไม่ว่าหลังจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ดัชนีคอร์รัปชั่นระดับโลกของประเทศไทยได้เพิ่มจากประเทศอันดับตํ่ากว่า 70 เป็นประเทศอันดับเกิน 100 อย่างรวดเร็ว โดยไม่มีเค้าว่าจะลดน้อยถอยลงให้เห็น
เมื่อท่านผู้อ่านได้รับรู้สิ่งที่ผมได้แสดงความเห็นมาถึงตรงนี้โปรดเข้าใจให้ตรงประเด็นว่าผมไม่ได้พูดว่าไทยขณะนี้จะมีปัญหาเหมือนศรีลังกา แต่ขอให้ตระหนักว่าพฤติกรรมของนักการเมืองไทยที่บริหารประเทศชาติอยู่ในขณะนี้เป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแบบศรีลังกาได้ในอนาคตที่ไม่นานเกินรอ และยังมีความเสี่ยงอีกมากที่ประเทศเราละเลยไม่เอาใจใส่ มีแต่ทีท่าว่าจะเอาใจใส่เท่านั้น ไม่มีอะไรดีๆที่จริงจังให้ประชาชนจับต้องได้ หรือแม้แต่การสร้างความหวังในเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน
สิ่งที่เป็นความเสี่ยงมากที่สุดของรัฐบาลไทยในขณะนี้หรือในอนาคตที่ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นผู้นําของประเทศก็ตาม คือ ความยากไร้ด้านการคลังของภาครัฐ ซึ่งจะมีแต่ความฝืดเคือง และเพิ่มความอึดอัดในการหาเงินมาบริหารจัดการเพื่อสร้างความอยู่ดีกินดีของชนในชาติโดยรวม การเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะจากร้อยละ 60 ของ GDP เป็นร้อยละ 70 ของ GDP ของรัฐบาลเมื่อเร็วๆนี้ยังไม่ใช่ช่องทางที่เอื้อให้รัฐหาเงินมาเติมในงบประมาณรายจ่ายให้คล่องตัวได้ตามที่คิด ซึ่งจะขอนําเรื่องนี้มาวิเคราะห์ให้เห็นในโอกาสหน้าต่อไปครับ
https://www.facebook.com/SommaiPhasee/posts/pfbid0vT27GDH1j1pEChkMAG9jDVmPtMq3sNUC3U9JK76DrGvHsYoYF2xDFBFEmg5WoSrel
บาทอ่อนทำพิษหนัก กดดันดุลการค้าไทยเดือน มิ.ย. ติดลบกว่า 4 หมื่นล้านบาท
https://www.matichon.co.th/economy/news_3459261
บาทอ่อนทำพิษหนักกดดันดุลการค้าไทยเดือน มิ.ย. ติดลบกว่า 4 หมื่นล้านบาท
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.58 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย
จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 36.61 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยมองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 36.30-36.90 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.50-36.70 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
นายพูนกล่าวว่า สำหรับเศรษฐกิจไทยตลาดมองว่าแม้ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงต่อเนื่อง แต่ก็มีส่วนช่วยหนุนให้ยอดการส่งออกในเดือนมิถุนายนยังโตราว 10% แต่ราคาสินค้าพลังงานรวมถึงผลจากการอ่อนค่าของเงินบาทกลับยิ่งหนุนให้ยอดการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น 19% ทำให้ดุลการค้ายังคงขาดดุลราว 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (กว่า 40,000 ล้าบาท) และเป็นอีกปัจจัยที่กดดันดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงนี้
สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาทอาจใกล้เจอจุดอ่อนค่าสุดและจะยังไม่อ่อนค่าทะลุ 37 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หากจีนไม่ได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทอาจถูกชะลอด้วยแรงซื้อ Buy on Dip หรือกลยุทธ์การทำกำไรในช่วงตลาดขาลงของหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างชาติ และมุมมองของผู้เล่นบางส่วนที่เริ่มกลับมาเก็งกำไรการแข็งค่าของเงินบาท (Long THB) ท่ามกลางความหวังการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวจากต่างชาติที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวได้ดีกว่าคาด
ขณะเดียวกันเงินเหรียญสหรัฐช่วงต้นสัปดาห์ อาจกลับมาแข็งค่าขึ้น หากตลาดผิดหวังกับรายงานผลประกอบการและปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) นอกจากนี้ ความผันผวนอาจสูงขึ้น ในช่วงการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และรายงานดัชนีภาคการผลิตและการบริการ (PMI) โดยเงินเหรียญสหรัฐอาจอ่อนค่าลงหาก อีซีบีพร้อมเร่งขึ้นดอกเบี้ยจะหนุนให้เงินยูโรแข็งค่า แต่ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา คือ วิกฤตพลังงาน หากรัสเซียไม่กลับมาส่งแก๊สธรรมาชาติ แม้จะเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุงท่อส่งแก๊ส Nord Stream 1 และดัชนีภาคการผลิตและการบริการ (PMI) สหรัฐลดลงแย่กว่าคาด
ทั้งนี้ ช่วงตลาดการเงินยังผันผวนสูงเห็นได้จากความผันผวนของเงินบาทที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ที่ระดับ 2 S.D. Standard Deviation หรือค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ด้านกลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Financial Markets) ระบุว่า ค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.50 – 36.70 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยตามเงินเหรียญสหรัฐที่ร่วงลงในเย็นวันศุกร์ หลังจากดัชนีดอลลาร์สหรัฐเทียบกับตะกร้าสกุลเงินหลักพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 20 ปีเมื่อวันพฤหัสบดี
ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีประชุมวันที่ 21 กรกฎาคม คาดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็นการปรับขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2554 ขณะเดียวกันตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันศุกร์ เนื่องจากได้แรงหนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน และข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
จับตาเสียงโหวตนอกสภาฯ ลงมติศึก"อภิปรายไม่ไว้วางใจ"รัฐบาล
https://www.nationtv.tv/news/378880061
เครือข่ายวิชาการ สื่อมวลชน เปิดโครงการ "เสียงประชาชน" ลงมติศึก"อภิปรายไม่ไว้วางใจ" นายกรัฐมนตรีและ 10 รัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 22-23 ก.ค.นี้
18 กรกฎาคม 2565 "ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล" เปิดโครงการอาจารย์จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าวโครงการ เสียงประชาชน ลงมติไว้วางใจ-ไม่ไว้วางใจรัฐบาล คู่ขนานสภาผู้แทนราษฎร ผ่าน คิวอาร์โค้ด โดยระบุว่า ตามที่สภาผู้แทนราษฏรจะได้มีการเปิดอภิปราย เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวนทั้งหมด 11 คน ในระหว่างวันที่ 19-22 กรกฎาคม 2565 โดยจะมีการลงมติในวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 นั้น
เพื่อเป็นการส่งเสริมกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลและการมีส่วนร่วมของประชาชนตามวิถีทางประชาธิปไตย เครือข่ายเสียงประชาชน ซึ่งเป็นการริเริ่มของกลุ่มนักวิชาการจาก 4 มหาวิทยาลัยได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยรังสิต และเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนที่ร่วมกันจัดงาน 30 ปีพฤษภาประชาธรรม ร่วมกับ สื่อโทรทัศน์ดิจิตอล 4 ช่อง ได้แก่ เนชั่น ไทยรัฐทีวี เวิร์คพอยท์ และพีพีทีวี จึงได้ร่วมกันทำโครงการ เสียงประชาชนลงมติไว้วางใจไม่ไว้วางใจรัฐบาล เปิดให้ประชาชนได้ลงมติไว้วางใจ หรือไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายทางออนไลน์คู่ขนานกับการลงมติของสภาผู้แทนราษฏร
การลงมติออนไลน์จะดำเนินการโดยสื่อโทรทัศน์ดิจิตอลที่ร่วมโครงการจะนำคิวอาร์โค้ดขึ้นหน้าจอให้ประชาชนได้ร่วมลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้ใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้ง 11 คนแยกเป็นรายบุคคลเช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร โดยมีกติกาในการลงมติคือ
1. โทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่อง หรือคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะลงมติได้เพียง หนึ่งครั้ง
2. การลงมติจะเริ่มต้นในวันสุดท้ายของการอภิปราย คือวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม เวลา 18.00 น. โดยจะปิดการลงมติในวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 เวลาเดียวกับการปิดลงมติของสภาผู้แทนราษฎรคือประมาณ 11.00 น. จากนั้นจะมีการสรุปผลและรายงานผลไปพร้อมกับผลการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร