📌 ปีนี้กระแสกินตาม DNA น่าจะเริ่มมามากขึ้น เนื่องจากเท่าที่สายข่าวรายงานมา กลุ่มอาหารเสริมบางแบรนด์เริ่มทำตลาดเรื่องทานตาม DNA มีการจัด DNA kit ให้บริการ ก็มีคนมาถามๆผมเป็นระยะๆ ว่ามันโอเครึเปล่า วันนี้ก็ขอเอางานวิจัยที่น่าสนใจมาแชร์นะครับ
📝 งานนี้เป็น Systematic Review ศึกษาดูว่า Genotype แต่ละอย่าง เมื่อนำมาใช้วางแผนโภชนาการสำหรับการทานเพื่อลดน้ำหนักเนี่ย ให้ผลยังไงบ้าง เป็นการศึกษาปฎิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่าง ความหลากหลายทางพันธุกรรม (single nucleotide polymorphisms , SNPs) กับ สารอาหารหลัก (macronutrient) เพื่อดูผลในเรื่องของการลดน้ำหนัก (weight loss)
📚 การศึกษาก็ศึกษาจากงานที่ตีพิมพ์ 27 งาน ที่ศึกษาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จากฐานข้อมูลงานวิจัยต่างๆ PICO ที่เขากำหนดในการคัดเลือกงานเข้ามา อันดับแรกก็ดูงานที่เป็น intervention เท่านั้นนะครับ อันดับที่สองมีการอธิบาย การไดเอทที่ทำไว้ อันดับต่อมา มีข้อมูล SNP กำกับ และอันดับสุดท้าย ผลลัพธ์ที่ต้องการคือเรื่องของการลดน้ำหนัก
🔎 ซึ่งก็ทำให้ได้ข้อมูลจาก จากการทดลอง RCT ที่ทำในคนทั้งสิ้น 8 การทดลองที่นำมาวิเคราะห์ ผลที่ได้มีหลายสิ่งที่พบนะครับ เขาก็วิเคราะห์แยกกลุ่มไปตามสารอาหารหลัก ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ว่าแต่ละงานต่างๆ ศึกษายังไง พบอะไรบ้าง
📚สิ่งที่เขาพบก็คือ งานส่วนใหญ่ (24 งาน) สนใจเกี่ยวกับไขมัน ซึ่งก็อาจจะเป็นเพราะว่ามันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุด และในอดีตการลดน้ำหนักมักจะเน้นไปที่การลดการทานไขมัน ผลของงานส่วนใหญ่พบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่มีความชัดเจนของผลที่ได้ ผลที่พบไม่ได้เกิดซ้ำในงานอื่นๆ 🤔
📌 ซึ่งผลลักษณะเดียวกันนี้ ก็พบในงานที่ศึกษาเกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต และโปรตีนด้วย โดยรวมเนี่ย คือถ้าดูในงานแต่ละงาน บางงานบอกว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อไปดูงานอื่นที่ศึกษาเหมือนกัน พบข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป สองงานที่ตีพิมพ์ออกมาแม้จะมีจำนวน 27 งาน แต่ก็มาจากการวิจัยเพียง 8 การวิจัยเท่านั้น
🍙 ต่อมาการเก็บข้อมูลอาหารที่ทานในแต่ละงานมีความแตกต่างกัน ส่วนมากมาจากการให้บันทึกลงแบบสอบถามเอง ซึ่งมันมีความคลาดเคลื่อนเยอะ แล้วก็พบว่าการศึกษาแทบทั้งหมดเป็นแบบที่ทำไปตามสมมุติฐาน เพื่อดูยีนที่ปักธงไว้ ไม่มีการศึกษาแบบศึกษาเพื่อดูจีโนมที่แตกต่างกัน จากฟีโนไทป์ ที่สนใจ (GWAS) 😲
📌 เพราะว่าฟีโนไทป์หนึ่ง อาจจะเกิดจากจีโนไทป์ที่เกี่ยวข้องมากกว่าหนึ่งก็ได้ ซึ่งในงานที่เขานำมาศึกษาไม่พบว่ามีงานที่ศึกษาลักษณะนี้ อันนี้เผื่อใครไม่คุ้นเรื่องพวกนี้ จีโนไทป์ คือเรามียีนอะไรกันบ้าง แต่ฟีโนไทป์ คือ มันมีการแสดงออกให้เห็นออกมายังไงบ้าง การที่เราผมสีน้ำตาล อาจจะมาจากจีโนไทป์หลายอันที่เกี่ยวข้อง แต่คือหนึ่งฟีโนไทป์ (ยกตัวอย่างแบบสมมุตินะ)
🔎 โดยสรุปเนี่ย จากที่เขาศึกษางานวิจัยหลายงาน คัดงานที่เกี่ยวข้องมา จากนั้นก็มาทำการศึกษาอย่างเป็นระบบ เขาพบว่าผลของการทานตาม DNA เพื่อลดน้ำหนัก ไม่พบว่ามีนัยสำคัญ SNP ที่เกี่ยวข้องกับสารอาหารหลักแค่ 3 อย่างนี้เท่าที่ศึกษานี่ก็มีตัวที่เกี่ยวข้องเยอะมาก (ตัวที่ยังไม่รู้จะมีอีกมั้ย) และผลการศึกษาที่พบ มันยังไม่เกิดซ้ำจนเกิดข้อสรุปได้ชัดเจน 🤔
📌สรุปของสรุปคือ มันยังไม่มีความชัดเจนขนาดว่าจะบอกได้ว่า กำหนดการทานตาม DNA แล้วให้ผลดีได้แบบนั้นจริงๆ ในทางกลับกัน ก็ยังไม่ชัดขนาดบอกได้ว่าถ้าไม่กินตาม DNA แล้วจะเกิดผลเสีย ทำให้ลดน้ำหนักไม่ลง Personalize Nutrition กินตาม DNA คือเรื่องของอนาคต แต่ตอนนี้อยากให้อยู่กับปัจจุบันก่อนที่จะไปอะไรกับมันมาก แต่ถ้าเงินเยอะ อยากลองดู อันนั้นแล้วแต่ ตังใครตังมัน อิอิ 😎
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-07-04-associations-between-genotype-diet-interactions-and-weight-loss/
🧬 การกินตาม DNA กินตามยีน ได้ผลดีต่อการลดน้ำหนักจริงรึเปล่า ? 🤔
📝 งานนี้เป็น Systematic Review ศึกษาดูว่า Genotype แต่ละอย่าง เมื่อนำมาใช้วางแผนโภชนาการสำหรับการทานเพื่อลดน้ำหนักเนี่ย ให้ผลยังไงบ้าง เป็นการศึกษาปฎิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่าง ความหลากหลายทางพันธุกรรม (single nucleotide polymorphisms , SNPs) กับ สารอาหารหลัก (macronutrient) เพื่อดูผลในเรื่องของการลดน้ำหนัก (weight loss)
📚 การศึกษาก็ศึกษาจากงานที่ตีพิมพ์ 27 งาน ที่ศึกษาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จากฐานข้อมูลงานวิจัยต่างๆ PICO ที่เขากำหนดในการคัดเลือกงานเข้ามา อันดับแรกก็ดูงานที่เป็น intervention เท่านั้นนะครับ อันดับที่สองมีการอธิบาย การไดเอทที่ทำไว้ อันดับต่อมา มีข้อมูล SNP กำกับ และอันดับสุดท้าย ผลลัพธ์ที่ต้องการคือเรื่องของการลดน้ำหนัก
🔎 ซึ่งก็ทำให้ได้ข้อมูลจาก จากการทดลอง RCT ที่ทำในคนทั้งสิ้น 8 การทดลองที่นำมาวิเคราะห์ ผลที่ได้มีหลายสิ่งที่พบนะครับ เขาก็วิเคราะห์แยกกลุ่มไปตามสารอาหารหลัก ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ว่าแต่ละงานต่างๆ ศึกษายังไง พบอะไรบ้าง
📚สิ่งที่เขาพบก็คือ งานส่วนใหญ่ (24 งาน) สนใจเกี่ยวกับไขมัน ซึ่งก็อาจจะเป็นเพราะว่ามันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุด และในอดีตการลดน้ำหนักมักจะเน้นไปที่การลดการทานไขมัน ผลของงานส่วนใหญ่พบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่มีความชัดเจนของผลที่ได้ ผลที่พบไม่ได้เกิดซ้ำในงานอื่นๆ 🤔
📌 ซึ่งผลลักษณะเดียวกันนี้ ก็พบในงานที่ศึกษาเกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต และโปรตีนด้วย โดยรวมเนี่ย คือถ้าดูในงานแต่ละงาน บางงานบอกว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อไปดูงานอื่นที่ศึกษาเหมือนกัน พบข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป สองงานที่ตีพิมพ์ออกมาแม้จะมีจำนวน 27 งาน แต่ก็มาจากการวิจัยเพียง 8 การวิจัยเท่านั้น
🍙 ต่อมาการเก็บข้อมูลอาหารที่ทานในแต่ละงานมีความแตกต่างกัน ส่วนมากมาจากการให้บันทึกลงแบบสอบถามเอง ซึ่งมันมีความคลาดเคลื่อนเยอะ แล้วก็พบว่าการศึกษาแทบทั้งหมดเป็นแบบที่ทำไปตามสมมุติฐาน เพื่อดูยีนที่ปักธงไว้ ไม่มีการศึกษาแบบศึกษาเพื่อดูจีโนมที่แตกต่างกัน จากฟีโนไทป์ ที่สนใจ (GWAS) 😲
📌 เพราะว่าฟีโนไทป์หนึ่ง อาจจะเกิดจากจีโนไทป์ที่เกี่ยวข้องมากกว่าหนึ่งก็ได้ ซึ่งในงานที่เขานำมาศึกษาไม่พบว่ามีงานที่ศึกษาลักษณะนี้ อันนี้เผื่อใครไม่คุ้นเรื่องพวกนี้ จีโนไทป์ คือเรามียีนอะไรกันบ้าง แต่ฟีโนไทป์ คือ มันมีการแสดงออกให้เห็นออกมายังไงบ้าง การที่เราผมสีน้ำตาล อาจจะมาจากจีโนไทป์หลายอันที่เกี่ยวข้อง แต่คือหนึ่งฟีโนไทป์ (ยกตัวอย่างแบบสมมุตินะ)
🔎 โดยสรุปเนี่ย จากที่เขาศึกษางานวิจัยหลายงาน คัดงานที่เกี่ยวข้องมา จากนั้นก็มาทำการศึกษาอย่างเป็นระบบ เขาพบว่าผลของการทานตาม DNA เพื่อลดน้ำหนัก ไม่พบว่ามีนัยสำคัญ SNP ที่เกี่ยวข้องกับสารอาหารหลักแค่ 3 อย่างนี้เท่าที่ศึกษานี่ก็มีตัวที่เกี่ยวข้องเยอะมาก (ตัวที่ยังไม่รู้จะมีอีกมั้ย) และผลการศึกษาที่พบ มันยังไม่เกิดซ้ำจนเกิดข้อสรุปได้ชัดเจน 🤔
📌สรุปของสรุปคือ มันยังไม่มีความชัดเจนขนาดว่าจะบอกได้ว่า กำหนดการทานตาม DNA แล้วให้ผลดีได้แบบนั้นจริงๆ ในทางกลับกัน ก็ยังไม่ชัดขนาดบอกได้ว่าถ้าไม่กินตาม DNA แล้วจะเกิดผลเสีย ทำให้ลดน้ำหนักไม่ลง Personalize Nutrition กินตาม DNA คือเรื่องของอนาคต แต่ตอนนี้อยากให้อยู่กับปัจจุบันก่อนที่จะไปอะไรกับมันมาก แต่ถ้าเงินเยอะ อยากลองดู อันนั้นแล้วแต่ ตังใครตังมัน อิอิ 😎
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-07-04-associations-between-genotype-diet-interactions-and-weight-loss/