แฉคนรอต้อนรับนายกฯ ที่เชียงใหม่ ต้องติดป้าย ทีมงาน รปภ. ซุปเปอร์ลุงตู่
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7136333
แฉคนรอต้อนรับนายกฯ ที่เชียงใหม่ ต้องติดป้าย ทีมงาน รปภ. ซุปเปอร์ลุงตู่ – จับตาครั้งหน้าไป จ.กำแพงเพชร ฐานเสียงพรรคเศรษฐกิจไทย พื้นที่ ‘ธรรมนัส’
เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามถึงบรรยากาศการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในวันนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง นายกรัฐมนตรี ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์ เพียงแต่ส่ายหัว ก่อนที่จะเดินขึ้นรถ และพูดคุยกับนาย
ธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศบาลแม่เหียะ
โดยนายกฯ ระบุว่า
“ขอขอบคุณและชื่นชมความสำเร็จในขั้นต้น และจำไปพัฒนาต่อไป สิ่งดีๆ เกิดขึ้นเยอะในประเทศไทย เพื่อที่จะเป็นการช่วยทั้งตัวเอง ช่วยภายใน ช่วยรัฐบาล ช่วยอะไรก็ว่าไป” จากนั้นผู้สื่อข่าวขออนุญาตสัมภาษณ์ พล.อ.
ประยุทธ์ ตอบกลับว่า จะสัมภาษณ์เรื่องอะไร ก็พูดมาทั้งวัน และเดินทางกลับในทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเดินทางมาถึงได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่ให้ประชาชนที่มารอต้อนรับนายกรัฐมนตรีถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจัดให้ที่บริเวณสนามฟุตบอลด้านข้างอาคารเทศบาลตำบลแม่เหียะ จากนั้นเปลี่ยนมาอยู่บริเวณสนาม ด้านหน้าอาคารเทศบาลแทน
นอกจากนี้ ประชาชนที่มารอต้อนรับยังต้องแขวนบัตรแสดงตนชัดเจน ซึ่งมีข้อความระบุว่า ทีมงานผู้ประสานงาน และรักษาความปลอดภัย ซุปเปอร์ลุงตู่ส่วนด้านล่างลงชื่อ นาย
อานนท์ แสนน่าน ทีมงานเรารักลุงตู่ พร้อมกับมีรูปการ์ตูนหน้าของนายกรัฐมนตรีติดบนป้าย
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า การลงพื้นที่ครั้งต่อไปจะเป็นพื้นที่ จ.กำแพงเพชร ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ของพรรคเศรษฐกิจไทย ของ ร.อ.
ธรรมนัส พรมเผ่า ซึ่งมีนาย
ไผ่ ลิกค์ ส.ส.กำแพงเพชร เป็นเลขาธิการพรรค เป็นเจ้าของพื้นที่
พิษน้ำมัน-ค่าไฟเพิ่ม กดดัน พ.ค. เปิดบริษัทใหม่น้อย-ปิดกิจการมาก
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3426598
นาย
จิตรกร ว่องเขตกร รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนพฤษภาคม 2565 มีจำนวน 5,917 ราย มีมูลค่าทุนจดทะเบียน 14,357.13 ล้านบาท
ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร โดยช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาทมากสุด จำนวน 4,111 ราย คิดเป็น 69.48% ขณะที่ธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 1,102 ราย มีมูลค่าทุนจดทะเบียน 3,760.77 ล้านบาท ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร โดยช่วงทุนเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ได้แก่ ทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท 819 ราย คิดเป็น 74.32%
นาย
จิตรกร กล่าวต่อว่า การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว เดือนพฤษภาคม 2565 มีการอนุญาตจำนวน 41 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 19 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ 22 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุน 18,695 ล้านบาท เป็นผลให้ปี 2565 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจแล้ว 237 ราย เพิ่มขึ้น 6% เงินลงทุน 55,076 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55% นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด 3 สัญชาติแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น 12 ราย สิงคโปร์10 ราย และสหรัฐ 5 ราย
” ธุรกิจพฤษภาคม ธุรกิจตั้งใหม่เพิ่มขึ้นจากเมษายนปีนี้ 10% และเพิ่มขึ้น 6% เทียบพฤษภาคม 2564 ขณะที่เลิกธุรกิจ เพิ่มขึ้น 30% เทียบเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 39% เทียบพฤษภาคมปีก่อน หากเทียบรอบ 5 เดือนแรกปีนี้กับปีก่อน พบว่า จำนวนการจดทะเบียนใหม่ลดลง 4% ปัจจัยที่มีผลต่อจัดตั้งธุรกิจใหม่ คือ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นต่อเนื่อง การตรึงราคาก๊าซหุงต้มทำให้ราคาเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได การปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอาหาร แต่ได้ภาคการท่องเที่ยวแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หลังเปิดประเทศเต็มรูปแบบ และการส่งออกขยายตัวดีอยู่ คงเป็นปัจจัยบวกส่งผลต่อการประกอบธุรกิจ โดยตั้งธุรกิจใหม่ช่วงครึ่งปีแรก2565 ประมาณ 40,000 ราย และตลอดทั้งปี 2565 อยู่ที่ 70,000 – 75,000 ราย ” นาย
จิตรกร กล่าว
ความเชื่อมั่นเอสเอ็มอีวูบ เซ่นพิษกำลังซื้อชะลอตัว-ต้นทุนธุรกิจทั้งราคาวัตถุดิบและการขนส่งพุ่ง
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7136357
นาย
วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) หรือ SME Sentiment Index: SMESI ประจำเดือนพ.ค. 2565 พบว่า ค่าดัชนี SMESI ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 49.5 จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 50.5 ปัจจัยสำคัญมาจากกำลังซื้อชะลอตัวลง ราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้องค์ประกอบในการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะคำสั่งซื้อ ปริมาณการผลิต/การค้า/การบริการ ต้นทุน และกำไร ปรับตัวลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 51.6 ลดลงจาก 52.1
“แม้ว่าในเดือนพ.ค. ทั้งค่าดัชนีปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง แต่เนื่องจากค่าดัชนีในปัจจุบันอยู่ในระดับใกล้เคียงค่าฐานและค่าดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ในระดับเกินค่าฐาน 50 สะท้อนได้ว่าผู้ประกอบการยังคงมีความเชื่อมันในการดำเนินธุรกิจ ผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่คลี่คลายลง ทำให้ผู้บริโภคลดความกังวล และมีแนวโน้มสัญญาณที่ดี ในการออกไปทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจนอกบ้านเพิ่มมากขึ้น”
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณารายภาคธุรกิจ พบว่า ส่วนใหญ่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้าและภาคการบริการ มีเพียงภาคการเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ผลจากเริ่มมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ในช่วงการเตรียมฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ แต่สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือปัจจัยการผลิตภาคการเกษตรและปศุสัตว์ เช่น ปุ๋ย เคมี ยาและอาหารสัตว์ ฯลฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนในการดำเนินกิจการได้
นอกจากนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 2,718 ราย จาก 25 สาขาธุรกิจ ในพื้นที่ 6 ภูมิภาค ระหว่างวันที่ 19-27 พ.ค. 2565 เกี่ยวกับปัญหาในการดำเนินงาน และการปรับตัวของผู้ประกอบการในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ปัญหาหลักของผู้ประกอบการ คือด้านต้นทุน คิดเป็น 41% รองลงมาคือ ด้านกำลังซื้อผู้บริโภค คิดเป็น 39.2% ด้านคู่แข่งขัน 13.1% ด้านหนี้สินกิจการ 2.4% และด้านแรงงาน ทั้งค่าแรงที่สูงขึ้นและขาดแรงงานที่มีทักษะ 19%
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอียังคงต้องเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการบริหารจัดการด้านต้นทุน เพื่อลดผลกระทบต่อผู้บริโภคอันเนื่องมาจากการปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับด้านคู่แข่งขัน โดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ และการทำการตลาด เช่น การจัดโปรโมชั่น โปรโมตร้านผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงปัญหาหนี้สินและปัญหาด้านแรงงาน ซึ่งแนวทางที่ผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ เช่น การควบคุมราคาสินค้า/วัตถุดิบ ควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สนับสนุนองค์ความรู้ด้านการวางแผนจัดการต้นทุนธุรกิจ การขยายเวลามาตรการพักชำระหนี้ เป็นต้น
7 ก.ค.จัดกรุงเทพฯ กลางแปลง ผู้ว่าฯชัชชาติลั่น! ฉายหนังไทยตลอดเดือน ก.ค.นี้
https://www.matichon.co.th/bkkpataya/governorbkk/news_3426707
เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 29 มิถุนายน ที่ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วย นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯกทม. และผู้เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย, สมาคมหนังกลางแปลง, หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน), ชมรมกรุงเทพน่าอยู่กว่าเดิม และเครือข่ายผู้สนับสนุนต่างๆ ร่วมประชุมหารือการจัดเทศกาลภาพยนตร์ “
กรุงเทพฯ กลางแปลง”
นาย
ชัชชาติกล่าวว่า เทศกาลกรุงเทพฯ กลางแปลง จะจัดฉายหนังไทยกลางแปลง หวังว่ากิจกรรมนี้จะนำรอยยิ้ม นำความหวังความสุขกลับมาให้คนกรุงเทพมหานคร ต่อเนื่องจากเทศกาลดนตรีในสวน
นาย
ศานนท์กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดฉายหนังกลางแปลงว่า เพื่อให้มีกิจกรรมหลากหลายพื้นที่ โดยหนังกลางแปลงสามารถจัดได้ในพื้นที่เปิด เข้าถึงคนกลุ่มต่างๆ ได้ อีกทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยอุตสาหกรรมภาพยนตร์ สำหรับผู้ร่วมจัด ประกอบด้วย สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย, สมาคมหนังกลางแปลง, หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน), ชมรมกรุงเทพน่าอยู่กว่าเดิม และเครือข่ายผู้สนับสนุนต่างๆ อีกทั้งทางเครือเนชั่นจะจัดเทศกาล World Film Bangkok เป็นภาพยนตร์นานาชาติ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ และตามสถานทูตต่างๆ จะมีการจัดเทศกาลภาพยนตร์ในช่วงปลายปีเช่นเดียวกัน
ด้าน
อนุชา บุญยวรรธนะ นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย กล่าวว่า จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมนี้ เพื่อต้องการเลือกหนังที่หลากหลาย ตั้งแต่ปี 2502-2565 ซึ่งเป็นหนังเข้ากับพื้นที่ฉากในหนัง นอกจากนี้ การชมภาพยนตร์ไม่ใช่เพื่อความบันเทิงอย่างเดียว ยังเพื่อการประเทืองปัญญา เพื่อการเรียนรู้ พร้อมกับเชิญผู้กำกับ นักแสดง มาร่วมพูดคุยด้วย การจัดเวิร์กช็อปก่อนการฉายหนัง
น.ส.
ชลิดา เอื้อบำรุงจิต ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การฉายหนังกลางแปลงนอกจากจะส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์แล้ว ยังเป็นการปลอบขวัญให้กับคนที่มีความทุกข์ ความเครียด ความเหนื่อยล้า หนังที่เลือกมาจะช่วยพบกับความรู้สึกใหม่ๆ การดูหนังไม่ได้ความสนุกอย่างเดียว แต่ทำให้คิดอะไรได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวอย่างภาพยนตร์ที่จะนำมาฉายในเทศกาลนี้ อาทิ 2499 อันธพาลครองเมือง, รถไฟฟ้ามาหานะเธอ, แม่นาคพระโขนง, หมานคร, อนธการ, 4Kings เป็นต้น โดยวันแรกของการฉายหนังกลางแปลง จัดขึ้นที่ลานคนเมือง ในวันที่ 7 กรกฎาคมนี้
JJNY : 5in1 แฉคนต้อนรับ│พ.ค.เปิดบ.น้อย-ปิดกิจการมาก│เชื่อมั่นSMEs วูบ│7ก.ค.จัดกท.กลางแปลง│ผู้ผลิตโดรนตุรเคียจะบริจาคโดรน
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7136333
แฉคนรอต้อนรับนายกฯ ที่เชียงใหม่ ต้องติดป้าย ทีมงาน รปภ. ซุปเปอร์ลุงตู่ – จับตาครั้งหน้าไป จ.กำแพงเพชร ฐานเสียงพรรคเศรษฐกิจไทย พื้นที่ ‘ธรรมนัส’
เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามถึงบรรยากาศการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในวันนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง นายกรัฐมนตรี ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์ เพียงแต่ส่ายหัว ก่อนที่จะเดินขึ้นรถ และพูดคุยกับนายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศบาลแม่เหียะ
โดยนายกฯ ระบุว่า “ขอขอบคุณและชื่นชมความสำเร็จในขั้นต้น และจำไปพัฒนาต่อไป สิ่งดีๆ เกิดขึ้นเยอะในประเทศไทย เพื่อที่จะเป็นการช่วยทั้งตัวเอง ช่วยภายใน ช่วยรัฐบาล ช่วยอะไรก็ว่าไป” จากนั้นผู้สื่อข่าวขออนุญาตสัมภาษณ์ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบกลับว่า จะสัมภาษณ์เรื่องอะไร ก็พูดมาทั้งวัน และเดินทางกลับในทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเดินทางมาถึงได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่ให้ประชาชนที่มารอต้อนรับนายกรัฐมนตรีถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจัดให้ที่บริเวณสนามฟุตบอลด้านข้างอาคารเทศบาลตำบลแม่เหียะ จากนั้นเปลี่ยนมาอยู่บริเวณสนาม ด้านหน้าอาคารเทศบาลแทน
นอกจากนี้ ประชาชนที่มารอต้อนรับยังต้องแขวนบัตรแสดงตนชัดเจน ซึ่งมีข้อความระบุว่า ทีมงานผู้ประสานงาน และรักษาความปลอดภัย ซุปเปอร์ลุงตู่ส่วนด้านล่างลงชื่อ นายอานนท์ แสนน่าน ทีมงานเรารักลุงตู่ พร้อมกับมีรูปการ์ตูนหน้าของนายกรัฐมนตรีติดบนป้าย
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า การลงพื้นที่ครั้งต่อไปจะเป็นพื้นที่ จ.กำแพงเพชร ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ของพรรคเศรษฐกิจไทย ของ ร.อ.ธรรมนัส พรมเผ่า ซึ่งมีนายไผ่ ลิกค์ ส.ส.กำแพงเพชร เป็นเลขาธิการพรรค เป็นเจ้าของพื้นที่
พิษน้ำมัน-ค่าไฟเพิ่ม กดดัน พ.ค. เปิดบริษัทใหม่น้อย-ปิดกิจการมาก
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3426598
นายจิตรกร ว่องเขตกร รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนพฤษภาคม 2565 มีจำนวน 5,917 ราย มีมูลค่าทุนจดทะเบียน 14,357.13 ล้านบาท
ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร โดยช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาทมากสุด จำนวน 4,111 ราย คิดเป็น 69.48% ขณะที่ธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 1,102 ราย มีมูลค่าทุนจดทะเบียน 3,760.77 ล้านบาท ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร โดยช่วงทุนเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ได้แก่ ทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท 819 ราย คิดเป็น 74.32%
นายจิตรกร กล่าวต่อว่า การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว เดือนพฤษภาคม 2565 มีการอนุญาตจำนวน 41 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 19 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ 22 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุน 18,695 ล้านบาท เป็นผลให้ปี 2565 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจแล้ว 237 ราย เพิ่มขึ้น 6% เงินลงทุน 55,076 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55% นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด 3 สัญชาติแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น 12 ราย สิงคโปร์10 ราย และสหรัฐ 5 ราย
” ธุรกิจพฤษภาคม ธุรกิจตั้งใหม่เพิ่มขึ้นจากเมษายนปีนี้ 10% และเพิ่มขึ้น 6% เทียบพฤษภาคม 2564 ขณะที่เลิกธุรกิจ เพิ่มขึ้น 30% เทียบเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 39% เทียบพฤษภาคมปีก่อน หากเทียบรอบ 5 เดือนแรกปีนี้กับปีก่อน พบว่า จำนวนการจดทะเบียนใหม่ลดลง 4% ปัจจัยที่มีผลต่อจัดตั้งธุรกิจใหม่ คือ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นต่อเนื่อง การตรึงราคาก๊าซหุงต้มทำให้ราคาเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได การปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอาหาร แต่ได้ภาคการท่องเที่ยวแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หลังเปิดประเทศเต็มรูปแบบ และการส่งออกขยายตัวดีอยู่ คงเป็นปัจจัยบวกส่งผลต่อการประกอบธุรกิจ โดยตั้งธุรกิจใหม่ช่วงครึ่งปีแรก2565 ประมาณ 40,000 ราย และตลอดทั้งปี 2565 อยู่ที่ 70,000 – 75,000 ราย ” นายจิตรกร กล่าว
ความเชื่อมั่นเอสเอ็มอีวูบ เซ่นพิษกำลังซื้อชะลอตัว-ต้นทุนธุรกิจทั้งราคาวัตถุดิบและการขนส่งพุ่ง
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7136357
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) หรือ SME Sentiment Index: SMESI ประจำเดือนพ.ค. 2565 พบว่า ค่าดัชนี SMESI ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 49.5 จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 50.5 ปัจจัยสำคัญมาจากกำลังซื้อชะลอตัวลง ราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้องค์ประกอบในการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะคำสั่งซื้อ ปริมาณการผลิต/การค้า/การบริการ ต้นทุน และกำไร ปรับตัวลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 51.6 ลดลงจาก 52.1
“แม้ว่าในเดือนพ.ค. ทั้งค่าดัชนีปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง แต่เนื่องจากค่าดัชนีในปัจจุบันอยู่ในระดับใกล้เคียงค่าฐานและค่าดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ในระดับเกินค่าฐาน 50 สะท้อนได้ว่าผู้ประกอบการยังคงมีความเชื่อมันในการดำเนินธุรกิจ ผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่คลี่คลายลง ทำให้ผู้บริโภคลดความกังวล และมีแนวโน้มสัญญาณที่ดี ในการออกไปทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจนอกบ้านเพิ่มมากขึ้น”
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณารายภาคธุรกิจ พบว่า ส่วนใหญ่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้าและภาคการบริการ มีเพียงภาคการเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ผลจากเริ่มมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ในช่วงการเตรียมฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ แต่สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือปัจจัยการผลิตภาคการเกษตรและปศุสัตว์ เช่น ปุ๋ย เคมี ยาและอาหารสัตว์ ฯลฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนในการดำเนินกิจการได้
นอกจากนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 2,718 ราย จาก 25 สาขาธุรกิจ ในพื้นที่ 6 ภูมิภาค ระหว่างวันที่ 19-27 พ.ค. 2565 เกี่ยวกับปัญหาในการดำเนินงาน และการปรับตัวของผู้ประกอบการในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ปัญหาหลักของผู้ประกอบการ คือด้านต้นทุน คิดเป็น 41% รองลงมาคือ ด้านกำลังซื้อผู้บริโภค คิดเป็น 39.2% ด้านคู่แข่งขัน 13.1% ด้านหนี้สินกิจการ 2.4% และด้านแรงงาน ทั้งค่าแรงที่สูงขึ้นและขาดแรงงานที่มีทักษะ 19%
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอียังคงต้องเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการบริหารจัดการด้านต้นทุน เพื่อลดผลกระทบต่อผู้บริโภคอันเนื่องมาจากการปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับด้านคู่แข่งขัน โดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ และการทำการตลาด เช่น การจัดโปรโมชั่น โปรโมตร้านผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงปัญหาหนี้สินและปัญหาด้านแรงงาน ซึ่งแนวทางที่ผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ เช่น การควบคุมราคาสินค้า/วัตถุดิบ ควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สนับสนุนองค์ความรู้ด้านการวางแผนจัดการต้นทุนธุรกิจ การขยายเวลามาตรการพักชำระหนี้ เป็นต้น
7 ก.ค.จัดกรุงเทพฯ กลางแปลง ผู้ว่าฯชัชชาติลั่น! ฉายหนังไทยตลอดเดือน ก.ค.นี้
https://www.matichon.co.th/bkkpataya/governorbkk/news_3426707
เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 29 มิถุนายน ที่ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วย นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯกทม. และผู้เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย, สมาคมหนังกลางแปลง, หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน), ชมรมกรุงเทพน่าอยู่กว่าเดิม และเครือข่ายผู้สนับสนุนต่างๆ ร่วมประชุมหารือการจัดเทศกาลภาพยนตร์ “กรุงเทพฯ กลางแปลง”
นายชัชชาติกล่าวว่า เทศกาลกรุงเทพฯ กลางแปลง จะจัดฉายหนังไทยกลางแปลง หวังว่ากิจกรรมนี้จะนำรอยยิ้ม นำความหวังความสุขกลับมาให้คนกรุงเทพมหานคร ต่อเนื่องจากเทศกาลดนตรีในสวน
นายศานนท์กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดฉายหนังกลางแปลงว่า เพื่อให้มีกิจกรรมหลากหลายพื้นที่ โดยหนังกลางแปลงสามารถจัดได้ในพื้นที่เปิด เข้าถึงคนกลุ่มต่างๆ ได้ อีกทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยอุตสาหกรรมภาพยนตร์ สำหรับผู้ร่วมจัด ประกอบด้วย สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย, สมาคมหนังกลางแปลง, หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน), ชมรมกรุงเทพน่าอยู่กว่าเดิม และเครือข่ายผู้สนับสนุนต่างๆ อีกทั้งทางเครือเนชั่นจะจัดเทศกาล World Film Bangkok เป็นภาพยนตร์นานาชาติ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ และตามสถานทูตต่างๆ จะมีการจัดเทศกาลภาพยนตร์ในช่วงปลายปีเช่นเดียวกัน
ด้านอนุชา บุญยวรรธนะ นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย กล่าวว่า จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมนี้ เพื่อต้องการเลือกหนังที่หลากหลาย ตั้งแต่ปี 2502-2565 ซึ่งเป็นหนังเข้ากับพื้นที่ฉากในหนัง นอกจากนี้ การชมภาพยนตร์ไม่ใช่เพื่อความบันเทิงอย่างเดียว ยังเพื่อการประเทืองปัญญา เพื่อการเรียนรู้ พร้อมกับเชิญผู้กำกับ นักแสดง มาร่วมพูดคุยด้วย การจัดเวิร์กช็อปก่อนการฉายหนัง
น.ส.ชลิดา เอื้อบำรุงจิต ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การฉายหนังกลางแปลงนอกจากจะส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์แล้ว ยังเป็นการปลอบขวัญให้กับคนที่มีความทุกข์ ความเครียด ความเหนื่อยล้า หนังที่เลือกมาจะช่วยพบกับความรู้สึกใหม่ๆ การดูหนังไม่ได้ความสนุกอย่างเดียว แต่ทำให้คิดอะไรได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวอย่างภาพยนตร์ที่จะนำมาฉายในเทศกาลนี้ อาทิ 2499 อันธพาลครองเมือง, รถไฟฟ้ามาหานะเธอ, แม่นาคพระโขนง, หมานคร, อนธการ, 4Kings เป็นต้น โดยวันแรกของการฉายหนังกลางแปลง จัดขึ้นที่ลานคนเมือง ในวันที่ 7 กรกฎาคมนี้