จี้ ‘ตู่’ แก้ค่าครองชีพกระตุ้นศก.ให้ตรงจุด-ยอมรับเถอะ ‘ทหาร’ บริหารไม่ได้
https://www.dailynews.co.th/news/1186691/
รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทยจี้รัฐเร่งแก้ค่าครองชีพ ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ตรงจุด หลังสินค้าอุปโภคบริโภคพาเหรดขึ้นราคา แนะยอมรับความจริง "ทหาร" บริหารประเทศไม่ได้ ไม่ใช่ของเล่นที่จะเอาสมช.เข้ามาแก้ปัญหา.
เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. น.ส.
อรุณี กาสยานนท์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น ทั้งราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภคปลายทางล้วนพาเหรดขึ้นราคา นับตั้งแต่ต้นปี 65 จนถึงปัจจุบัน น้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ 95 ปรับขึ้นแล้ว 28% ดีเซล บี 10 ปรับขึ้น 23% ไข่ไก่ หมู แก๊สหุงต้มปรับขึ้นเฉลี่ย 12-18% รวมทั้งราคาข้าวสารถุง 5 กก. ปรับขึ้น 30 บาทหรือปรับขึ้น 18% ข้าวสารปรับเพิ่มขึ้นมากอย่างไม่เกรงใจชาวนา เพราะราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ ณ วันที่ 5 มิ.ย. 65 อยู่ที่ตันละ 9,000 บาท ปีที่ผ่านมาราคาข้าวไทยราคาตกต่ำมากที่สุดในรอบ 10 ปี ตรงกันข้ามกับราคาปุ๋ยที่แพง เพราะรัฐบาลไปไม่เป็น บริหารไม่ได้ ผู้รับกรรมคือประชาชนคนไทยทุกคน
โจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลต้องเร่งทำทันทีคือ ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้ตรงจุด ตอบโจทย์ความเดือดร้อน ที่สำคัญต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไปพร้อมกันด้วย โดยเฉพาะการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 35 บาทต่อลิตร ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันต้นทุนอื่นๆที่จะแพงขึ้นแปรผันตามต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม จะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ให้กลับเข้ามาลงทุนในประเทศ ไม่ใช่ว่าตนเองเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจไม่เป็น ก็มอบหน้าที่แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เลขาสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) มาคุมวอร์รูมเศรษฐกิจแทน แล้วรอการรายงานเท่านั้น คงมีผู้นำประเทศที่ชื่อพล.อ.ประยุทธ์คนเดียวเท่านั้นที่ทำงานแบบสั่งแล้วจบ ไม่สนใจผลลัพธ์
“ประชาชนเรียกร้องให้แก้ไขวิกฤตราคาพลังงาน แต่หนึ่งในแนวทางที่เสนอคือเตามหาเศรษฐี ประชาชนเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ แก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญแต่กลับได้ทหาร (สมช.) เข้ามาแก้ปัญหา ไม่ใช่ของเล่น วิกฤติค่าครองชีพทำคนไทยเดือดร้อนหนัก เมื่อไหร่ท่านถึงจะตระหนักว่าทหารบริหารประเทศไม่ได้” น.ส.
อรุณี กล่าว.
“ก้าวไกล” แจง 3 ก้าวแก้รธน. พร้อมทวงสัญญา “บิ๊กตู่”
https://www.matichon.co.th/politics/news_3420445
“ก้าวไกล” แจง 3 ก้าวแก้รธน. พร้อมทวงสัญญา “บิ๊กตู่” เผย หากได้เป็นรัฐบาล เร่ง “ตัดสืบทอดอำนาจ-เพิ่มเสรีภาพ-กระจายอำนาจ”
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ที่ตึกไทยซัมมิท ถ.เพชรบุรี นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายของพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์เริ่มจัดกิจกรรม “
Hackathon รัฐธรรมนูญฉบับก้าวไกล” ว่า กิจกรรมวันนี้เป็นการระดมความคิด และตนอยากพยายามฉายภาพให้เห็นถึงทางออกในการมี รัฐธรรมนูญ ที่เป็นประชาธิปไตย เป้าหมายปลายทางร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร แต่กว่าจะไปถึงตรงนั้นได้ตอนยอมรับว่าต้องใช้เวลา เพราะหากเดินตามทางรัฐธรรมนูญฉบับปี 60 ต้องเข้าคูหาทั้งหมด 3 รอบ รอบแรกคือโหวตเห็นชอบให้มี สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) รอบสอง คือเข้าไปกากว่าอยากให้ใครเป็นตัวแทนของประชาชนในส.ส.ร.นั้น รอบที่สามคือรับรอง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ฉะนั้นหนทางที่ตนอยากเสนอคือ 3 ก้าว การนำไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้
ก้าวแรก ปิดสวิตช์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หรือ ยกเลิกมาตรา 272 ในบทเฉพาะกาลที่ให้อำนาจส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะการที่ส.ว. 250 คน มาร่วมเลือก นายกฯกับส.ส. 500 คน ได้ ทำให้ส.ว.มีค่าเสียงเทียบเท่ากับประชาชน 7.6 หมื่นคน ส.ว. 250 เสียงร่วมกันมีค่าเสียงเท่ากับประชาชนประมาณ 69 ล้านคน นี้เป็นสิ่งที่ขัดกับหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง ที่เป็นหลักพื้นฐานของประชาธิปไตยอย่างยิ่ง ก้าวแรกของการปิดสวิตช์ส.ว.นั้น มีร่างของของภาคประชาชนที่ให้ยกเลิกมาตรา 272 และคาดว่าจะเข้าสภาใน 1-2 เดือนข้างหน้านี้ โดยเราพยายามสองรอบแล้วแต่ถูกส.ว.ปัดตก แต่เราก็หวังว่าเสียงของประชาชน จะทำให้รัฐสภารับการยกเลิกมาตรา 272 คืนหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงให้กับประชาชนและทำให้การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้เป็นการเลือกตั้งที่สมบูรณ์แบบคือไม่มีส.ว. 250 คน มาขัดเจตนารมย์ของประชาชน
นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า ก้าวสองเมื่อปิดสวิตช์ส.ว.ไปแล้ว ก็ยังมีอีกหลายมาตราที่จะต้องแก้ไข เช่นอำนาจของวุฒิสภา ที่มาของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่ยังไม่เป็นกลาง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพมากยิ่งขึ้น และหลักในการกระจายอำนาจ จึงยังมีอีกหลายมาตราที่เร่งด่วนต้องแก้ไข ที่ถึงแม้เรายังไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่มาตราใดที่มีปัญหาก็ควรจะแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะบางประเด็นก็ไม่จำเป็นต้องใช้ประชามติ อย่างประเด็นการปลดล็อคท้องถิ่นที่คณะก้าวหน้าขับเคลื่อนมาโดยตลอด ที่จะกระจายอำนาจให้ผู้บริหารสูงสุดของแต่ละจังหวัดให้มาจากการเลือกตั้งของคนในแต่ละจังหวัด และวันนี้ที่มีการจัดกิจกรรมระดมความเห็นจะช่วยให้เราเข้าใจว่าประชาชนต้องการแก้ไขรายมาตราใดบ้าง
นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า สุดท้ายก้าวสามร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้มีการตั้งส.ส.ร. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด และมีอำนาจในการแก้ไขทุกหมวดทุกมาตรา ตนเชื่อว่าการสร้างพื้นที่ปลอดภัยผ่านส.ส.ร.ให้ทุกคนที่มีความเห็นแตกต่างกันสามารถถกเถียงร่วมกันได้ หาฉันทามติให้กับสังคมได้ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการขับเคลื่อนประชาธิปไตยไปข้างหน้า และให้อำนาจประชาชนสูงสุด เหมือนที่ถูกประกาศไว้โดยเจตนาของคณะราษฎร์เมื่อ 90 ปีที่แล้ว นี่เป็น 3 ก้าวในการไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เมื่อถามว่ารายมาตราที่พรรคก.ก.ต้องการที่จะแก้ไขมีเรื่องใดบ้าง นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า ตอนนี้อยู่ในกระบวนการที่จะตกผลึกว่ามีประเด็นอะไรบ้าง และกิจกรรมในวันนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตน คิดว่าหากพรรคก.ก. เป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งหน้าเรื่องการแก้ไขรายมาตราแบ่งเป็น 3 หมวดหมู่ 1. ตัดกระบวนการสืบทอดอำนาจ ทั้งในรัฐสภาและองค์กรอิสระ 2.เพิ่มการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ที่รัฐธรรมนูญ 60 ตัดสิทธิเสรีภาพบางประการออกไป อย่าง มาตรา 25 ที่ระบุว่ารัฐมี อำนาจจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนหากกระทบกับความมั่นคงหรือว่าความสงบสุขเรียบร้อยซึ่งเป็นคำที่สามารถถูกตีความได้กว้างมาก และนี่ก็ไม่ได้อยู่ในรัฐธรรมนูญ 40 แต่ถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อขยายอำนาจรัฐในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน 3.การกระจายอำนาจเรา อยากให้ทุก จังหวัดได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่เศรษฐกิจทุกพื้นที่ได้รับการปลดล็อคเราจำเป็นจะต้องกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นมากขึ้น ทำอย่างไรให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการรับผิดชอบ และผู้บริหารสูงสุดต้องมาจากการเลือกตั้งไม่ใช่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้งของกระทรวงมหาดไทยหรือราชการส่วนกลาง
ผู้สื่อข่าวถามว่าที่ผ่านมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่พรรคก.ก. สนับสนุน เมื่อเสนออะไรไปก็ถูกปัดตก อย่างนี้จะแก้ไขอย่างไร นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า ต้นมองว่าท่าทีของสมาชิกรัฐสภาได้รับผลกระทบจากเสียงของประชาชน ยิ่งเสียงของภาคประชาชนดังเท่าไหร่ท่าทีของสมาชิกรัฐสภาเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน ตัวอย่างที่เราได้พยามสองครั้งในการยกเลิกมาตรา272 ครั้งแรกเป็น ช่วงที่ประชาชนตื่นตัวสูงมีร่างของกลุ่มไอลอว์ เข้าไปประกบด้วยปรากฏว่าส.ว.เห็นชอบ 56 คน พอมารอบที่สองหลังจากผ่านไปหกเดือน มีร่างของพรรคการเมืองที่เสนอให้ยกเลิกอำนาจส.ว.เลือกนายกฯ ซึ่งเหมือนกันกับของไอลอว์ ถูกเสนอเข้าไปในสภาแต่ส.ว.เห็นชอบแค่26 คน ถามว่าส.ว. 30 คนที่เคยเห็นชอบกับการปิดสวิตช์ตัวเองแล้วมาไม่เห็นชอบเป็นเพราะอะไร ตนเชื่อว่าเป็นเพราะความตื่นตัวของประชาชนในเวลานั้นอาจจะไม่สูงเท่ารอบแรก ดังนั้นยิ่งประชาชนส่งเสียงดังเท่าไหร่ส่งผลต่อท่าทีของสมาชิกรัฐสภาอย่างแน่นอน อีกเรื่องคือเราต้องใช้เวทีเลือกตั้งเป็นเวทีที่พรรคการเมืองไปขอฉันทานุมัติจากประชาชนว่าต้องการจะแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นนี้ในมาตรานี้ ทั้งนี้ในการเลือกตั้งปี 62 วาระเรื่องรัฐธรรมนูญ หากเราติดตามการดีเบสในช่วงนั้นจะมีคำถามว่าจะแก้หรือไม่แก้แต่ตนคิดว่าวาระของรัฐธรรมนูญในการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้จะไม่เพียงแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่จะเป็นคำถามว่าถ้าจะแก้จะแก้ไขอะไร ซึ่งพรรคก.ก.ประกาศชัดว่าหากเป็นรัฐบาลจะแก้เรื่องใดบ้าง และถ้าประชาชนให้คะแนนเสียงเราอย่างท่วมท้น เป็นสัญญาณสู่ส.ว.และส.ส. ว่านี่คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประชาชนอยากจะเห็น แต่ตนคิดว่าทุกพรรคต้องใช้เวทีเลือกตั้งในการนำเสนอสูตรในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วให้ประชาชนตัดสินว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร
“ ผมคิดว่าการเปลี่ยนรัฐบาล เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งไม่ใช่แค่ในมิติของรัฐจะธรรมนูญ ทั้งเรื่องการแก้ไขเศรษฐกิจการฟื้นฟูประเทศหลังโควิด-19 ด้วย แต่เรื่องรัฐธรรมนูญมีความเชื่อมั่นว่าหากเปลี่ยนรัฐบาลได้ความรวดเร็วและหนทางในการแก้รัฐธรรมนูญจะสดใสขึ้นอย่างแน่นอน และที่ผ่านมาแม้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยประกาศในสภาภายหลังการเลือกตั้งเมื่อปี 62 ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งใน 12 นโยบายเร่งด่วน แต่ผ่านมา 3 ปี ผ่านมา 21 ร่างเสนอเข้าสภา ก็เห็นว่าความคืบหน้าในการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็น้อยนิด ผ่านแค่ร่างเดียวคือเรื่องระบบเลือกตั้ง ก็ยังไม่ได้แตะหัวใจของรัฐธรรมนูญปี 60 ปัญหาเรื่องของการสืบทอดอำนาจ ผมคิดว่าเวทีเลือกตั้งเป็นวิธีสำคัญในการส่งเสียงอีกรอบหนึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนอยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ รับฟังอยู่ ก็ไม่ต้องรอเลือกตั้งก็ได้ หากมีเจตจำนงเพียงพอตามที่ประกาศไว้ในสภาว่าการแก้รัฐธรรมนูญเป็นนโยบายเร่งด่วน ก็อยากจะเห็นถึงความกระตือรือร้นและท่าทีของพล.อ.ประยุทธ์ ที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่พยามจะลอยตัวเหนือปัญหาและบอกว่าเป็นเรื่องของรัฐสภา” นาย
พริษฐ์ กล่าว
‘ศิริราช’ เผยผู้ป่วยโควิดเพิ่มจริง! อีก 2 สัปดาห์เห็นภาพชัด BA.4, BA.5
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3420419
‘ศิริราช’ เผยผู้ป่วยโควิดเพิ่มจริง! อีก 2 สัปดาห์เห็นภาพชัด BA.4, BA.5
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ศ.นพ.
ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย และการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ว่า ขณะนี้สถานการณ์การครองเตียงผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาล (รพ.) ศิริราช เพิ่มขึ้นชัดเจน แต่สาเหตุของการเข้ารักษาตัวเป็นเพราะโรคประจำตัวที่มีอยู่อาการแย่ลง จึงต้องเข้า รพ. แต่ก่อนทำการรักษาต้องตรวจหาเชื้อก่อน ทำให้ทราบว่าติดโควิด-19 ด้วย จึงต้องแยกไปอยู่หอผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนข้อมูลผู้ป่วยที่อาการรุนแรงยังไม่เพิ่มขึ้น แต่ รพ.ศิริราช ก็เตรียมรับมือไว้
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่มีราชกิจจานุเบกษา ประกาศให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยได้ตามความสมัครใจ ศ.นพ.
ประสิทธิ์ กล่าวว่า ตามหลักการเรื่องนี้ประกาศเพื่อบอกว่าไม่ได้บังคับให้สวมหน้ากากแล้ว แต่ไม่ได้บอกว่า ต้องถอดหน้ากากออก โดยเฉพาะตอนนี้ ที่มีเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ตนเชื่อว่า ประชาชนจะระวังตัวมากขึ้น เพราะยังต้องเฝ้าติดตามความรุนแรงของโรค โดยคาดว่าอีก 2 สัปดาห์ จะเห็นภาพชัดเจนของ BA.4 และ BA.5 มากขึ้น
JJNY : จี้ ‘ตู่’ แก้ค่าครองชีพ│“ก้าวไกล”แจง 3ก้าวแก้รธน.│‘ศิริราช’เผยผู้ป่วยโควิดเพิ่มจริง!│กระทุ้งของแพง เร่งขึ้นค่าแรง
https://www.dailynews.co.th/news/1186691/
รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทยจี้รัฐเร่งแก้ค่าครองชีพ ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ตรงจุด หลังสินค้าอุปโภคบริโภคพาเหรดขึ้นราคา แนะยอมรับความจริง "ทหาร" บริหารประเทศไม่ได้ ไม่ใช่ของเล่นที่จะเอาสมช.เข้ามาแก้ปัญหา.
เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. น.ส.อรุณี กาสยานนท์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น ทั้งราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภคปลายทางล้วนพาเหรดขึ้นราคา นับตั้งแต่ต้นปี 65 จนถึงปัจจุบัน น้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ 95 ปรับขึ้นแล้ว 28% ดีเซล บี 10 ปรับขึ้น 23% ไข่ไก่ หมู แก๊สหุงต้มปรับขึ้นเฉลี่ย 12-18% รวมทั้งราคาข้าวสารถุง 5 กก. ปรับขึ้น 30 บาทหรือปรับขึ้น 18% ข้าวสารปรับเพิ่มขึ้นมากอย่างไม่เกรงใจชาวนา เพราะราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ ณ วันที่ 5 มิ.ย. 65 อยู่ที่ตันละ 9,000 บาท ปีที่ผ่านมาราคาข้าวไทยราคาตกต่ำมากที่สุดในรอบ 10 ปี ตรงกันข้ามกับราคาปุ๋ยที่แพง เพราะรัฐบาลไปไม่เป็น บริหารไม่ได้ ผู้รับกรรมคือประชาชนคนไทยทุกคน
โจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลต้องเร่งทำทันทีคือ ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้ตรงจุด ตอบโจทย์ความเดือดร้อน ที่สำคัญต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไปพร้อมกันด้วย โดยเฉพาะการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 35 บาทต่อลิตร ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันต้นทุนอื่นๆที่จะแพงขึ้นแปรผันตามต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม จะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ให้กลับเข้ามาลงทุนในประเทศ ไม่ใช่ว่าตนเองเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจไม่เป็น ก็มอบหน้าที่แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เลขาสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) มาคุมวอร์รูมเศรษฐกิจแทน แล้วรอการรายงานเท่านั้น คงมีผู้นำประเทศที่ชื่อพล.อ.ประยุทธ์คนเดียวเท่านั้นที่ทำงานแบบสั่งแล้วจบ ไม่สนใจผลลัพธ์
“ประชาชนเรียกร้องให้แก้ไขวิกฤตราคาพลังงาน แต่หนึ่งในแนวทางที่เสนอคือเตามหาเศรษฐี ประชาชนเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ แก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญแต่กลับได้ทหาร (สมช.) เข้ามาแก้ปัญหา ไม่ใช่ของเล่น วิกฤติค่าครองชีพทำคนไทยเดือดร้อนหนัก เมื่อไหร่ท่านถึงจะตระหนักว่าทหารบริหารประเทศไม่ได้” น.ส.อรุณี กล่าว.
“ก้าวไกล” แจง 3 ก้าวแก้รธน. พร้อมทวงสัญญา “บิ๊กตู่”
https://www.matichon.co.th/politics/news_3420445
“ก้าวไกล” แจง 3 ก้าวแก้รธน. พร้อมทวงสัญญา “บิ๊กตู่” เผย หากได้เป็นรัฐบาล เร่ง “ตัดสืบทอดอำนาจ-เพิ่มเสรีภาพ-กระจายอำนาจ”
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ที่ตึกไทยซัมมิท ถ.เพชรบุรี นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายของพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์เริ่มจัดกิจกรรม “Hackathon รัฐธรรมนูญฉบับก้าวไกล” ว่า กิจกรรมวันนี้เป็นการระดมความคิด และตนอยากพยายามฉายภาพให้เห็นถึงทางออกในการมี รัฐธรรมนูญ ที่เป็นประชาธิปไตย เป้าหมายปลายทางร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร แต่กว่าจะไปถึงตรงนั้นได้ตอนยอมรับว่าต้องใช้เวลา เพราะหากเดินตามทางรัฐธรรมนูญฉบับปี 60 ต้องเข้าคูหาทั้งหมด 3 รอบ รอบแรกคือโหวตเห็นชอบให้มี สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) รอบสอง คือเข้าไปกากว่าอยากให้ใครเป็นตัวแทนของประชาชนในส.ส.ร.นั้น รอบที่สามคือรับรอง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ฉะนั้นหนทางที่ตนอยากเสนอคือ 3 ก้าว การนำไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้
ก้าวแรก ปิดสวิตช์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หรือ ยกเลิกมาตรา 272 ในบทเฉพาะกาลที่ให้อำนาจส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะการที่ส.ว. 250 คน มาร่วมเลือก นายกฯกับส.ส. 500 คน ได้ ทำให้ส.ว.มีค่าเสียงเทียบเท่ากับประชาชน 7.6 หมื่นคน ส.ว. 250 เสียงร่วมกันมีค่าเสียงเท่ากับประชาชนประมาณ 69 ล้านคน นี้เป็นสิ่งที่ขัดกับหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง ที่เป็นหลักพื้นฐานของประชาธิปไตยอย่างยิ่ง ก้าวแรกของการปิดสวิตช์ส.ว.นั้น มีร่างของของภาคประชาชนที่ให้ยกเลิกมาตรา 272 และคาดว่าจะเข้าสภาใน 1-2 เดือนข้างหน้านี้ โดยเราพยายามสองรอบแล้วแต่ถูกส.ว.ปัดตก แต่เราก็หวังว่าเสียงของประชาชน จะทำให้รัฐสภารับการยกเลิกมาตรา 272 คืนหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงให้กับประชาชนและทำให้การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้เป็นการเลือกตั้งที่สมบูรณ์แบบคือไม่มีส.ว. 250 คน มาขัดเจตนารมย์ของประชาชน
นายพริษฐ์ กล่าวว่า ก้าวสองเมื่อปิดสวิตช์ส.ว.ไปแล้ว ก็ยังมีอีกหลายมาตราที่จะต้องแก้ไข เช่นอำนาจของวุฒิสภา ที่มาของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่ยังไม่เป็นกลาง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพมากยิ่งขึ้น และหลักในการกระจายอำนาจ จึงยังมีอีกหลายมาตราที่เร่งด่วนต้องแก้ไข ที่ถึงแม้เรายังไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่มาตราใดที่มีปัญหาก็ควรจะแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะบางประเด็นก็ไม่จำเป็นต้องใช้ประชามติ อย่างประเด็นการปลดล็อคท้องถิ่นที่คณะก้าวหน้าขับเคลื่อนมาโดยตลอด ที่จะกระจายอำนาจให้ผู้บริหารสูงสุดของแต่ละจังหวัดให้มาจากการเลือกตั้งของคนในแต่ละจังหวัด และวันนี้ที่มีการจัดกิจกรรมระดมความเห็นจะช่วยให้เราเข้าใจว่าประชาชนต้องการแก้ไขรายมาตราใดบ้าง
นายพริษฐ์ กล่าวว่า สุดท้ายก้าวสามร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้มีการตั้งส.ส.ร. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด และมีอำนาจในการแก้ไขทุกหมวดทุกมาตรา ตนเชื่อว่าการสร้างพื้นที่ปลอดภัยผ่านส.ส.ร.ให้ทุกคนที่มีความเห็นแตกต่างกันสามารถถกเถียงร่วมกันได้ หาฉันทามติให้กับสังคมได้ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการขับเคลื่อนประชาธิปไตยไปข้างหน้า และให้อำนาจประชาชนสูงสุด เหมือนที่ถูกประกาศไว้โดยเจตนาของคณะราษฎร์เมื่อ 90 ปีที่แล้ว นี่เป็น 3 ก้าวในการไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เมื่อถามว่ารายมาตราที่พรรคก.ก.ต้องการที่จะแก้ไขมีเรื่องใดบ้าง นายพริษฐ์ กล่าวว่า ตอนนี้อยู่ในกระบวนการที่จะตกผลึกว่ามีประเด็นอะไรบ้าง และกิจกรรมในวันนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตน คิดว่าหากพรรคก.ก. เป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งหน้าเรื่องการแก้ไขรายมาตราแบ่งเป็น 3 หมวดหมู่ 1. ตัดกระบวนการสืบทอดอำนาจ ทั้งในรัฐสภาและองค์กรอิสระ 2.เพิ่มการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ที่รัฐธรรมนูญ 60 ตัดสิทธิเสรีภาพบางประการออกไป อย่าง มาตรา 25 ที่ระบุว่ารัฐมี อำนาจจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนหากกระทบกับความมั่นคงหรือว่าความสงบสุขเรียบร้อยซึ่งเป็นคำที่สามารถถูกตีความได้กว้างมาก และนี่ก็ไม่ได้อยู่ในรัฐธรรมนูญ 40 แต่ถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อขยายอำนาจรัฐในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน 3.การกระจายอำนาจเรา อยากให้ทุก จังหวัดได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่เศรษฐกิจทุกพื้นที่ได้รับการปลดล็อคเราจำเป็นจะต้องกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นมากขึ้น ทำอย่างไรให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการรับผิดชอบ และผู้บริหารสูงสุดต้องมาจากการเลือกตั้งไม่ใช่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้งของกระทรวงมหาดไทยหรือราชการส่วนกลาง
ผู้สื่อข่าวถามว่าที่ผ่านมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่พรรคก.ก. สนับสนุน เมื่อเสนออะไรไปก็ถูกปัดตก อย่างนี้จะแก้ไขอย่างไร นายพริษฐ์ กล่าวว่า ต้นมองว่าท่าทีของสมาชิกรัฐสภาได้รับผลกระทบจากเสียงของประชาชน ยิ่งเสียงของภาคประชาชนดังเท่าไหร่ท่าทีของสมาชิกรัฐสภาเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน ตัวอย่างที่เราได้พยามสองครั้งในการยกเลิกมาตรา272 ครั้งแรกเป็น ช่วงที่ประชาชนตื่นตัวสูงมีร่างของกลุ่มไอลอว์ เข้าไปประกบด้วยปรากฏว่าส.ว.เห็นชอบ 56 คน พอมารอบที่สองหลังจากผ่านไปหกเดือน มีร่างของพรรคการเมืองที่เสนอให้ยกเลิกอำนาจส.ว.เลือกนายกฯ ซึ่งเหมือนกันกับของไอลอว์ ถูกเสนอเข้าไปในสภาแต่ส.ว.เห็นชอบแค่26 คน ถามว่าส.ว. 30 คนที่เคยเห็นชอบกับการปิดสวิตช์ตัวเองแล้วมาไม่เห็นชอบเป็นเพราะอะไร ตนเชื่อว่าเป็นเพราะความตื่นตัวของประชาชนในเวลานั้นอาจจะไม่สูงเท่ารอบแรก ดังนั้นยิ่งประชาชนส่งเสียงดังเท่าไหร่ส่งผลต่อท่าทีของสมาชิกรัฐสภาอย่างแน่นอน อีกเรื่องคือเราต้องใช้เวทีเลือกตั้งเป็นเวทีที่พรรคการเมืองไปขอฉันทานุมัติจากประชาชนว่าต้องการจะแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นนี้ในมาตรานี้ ทั้งนี้ในการเลือกตั้งปี 62 วาระเรื่องรัฐธรรมนูญ หากเราติดตามการดีเบสในช่วงนั้นจะมีคำถามว่าจะแก้หรือไม่แก้แต่ตนคิดว่าวาระของรัฐธรรมนูญในการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้จะไม่เพียงแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่จะเป็นคำถามว่าถ้าจะแก้จะแก้ไขอะไร ซึ่งพรรคก.ก.ประกาศชัดว่าหากเป็นรัฐบาลจะแก้เรื่องใดบ้าง และถ้าประชาชนให้คะแนนเสียงเราอย่างท่วมท้น เป็นสัญญาณสู่ส.ว.และส.ส. ว่านี่คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประชาชนอยากจะเห็น แต่ตนคิดว่าทุกพรรคต้องใช้เวทีเลือกตั้งในการนำเสนอสูตรในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วให้ประชาชนตัดสินว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร
“ ผมคิดว่าการเปลี่ยนรัฐบาล เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งไม่ใช่แค่ในมิติของรัฐจะธรรมนูญ ทั้งเรื่องการแก้ไขเศรษฐกิจการฟื้นฟูประเทศหลังโควิด-19 ด้วย แต่เรื่องรัฐธรรมนูญมีความเชื่อมั่นว่าหากเปลี่ยนรัฐบาลได้ความรวดเร็วและหนทางในการแก้รัฐธรรมนูญจะสดใสขึ้นอย่างแน่นอน และที่ผ่านมาแม้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยประกาศในสภาภายหลังการเลือกตั้งเมื่อปี 62 ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งใน 12 นโยบายเร่งด่วน แต่ผ่านมา 3 ปี ผ่านมา 21 ร่างเสนอเข้าสภา ก็เห็นว่าความคืบหน้าในการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็น้อยนิด ผ่านแค่ร่างเดียวคือเรื่องระบบเลือกตั้ง ก็ยังไม่ได้แตะหัวใจของรัฐธรรมนูญปี 60 ปัญหาเรื่องของการสืบทอดอำนาจ ผมคิดว่าเวทีเลือกตั้งเป็นวิธีสำคัญในการส่งเสียงอีกรอบหนึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนอยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ รับฟังอยู่ ก็ไม่ต้องรอเลือกตั้งก็ได้ หากมีเจตจำนงเพียงพอตามที่ประกาศไว้ในสภาว่าการแก้รัฐธรรมนูญเป็นนโยบายเร่งด่วน ก็อยากจะเห็นถึงความกระตือรือร้นและท่าทีของพล.อ.ประยุทธ์ ที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่พยามจะลอยตัวเหนือปัญหาและบอกว่าเป็นเรื่องของรัฐสภา” นายพริษฐ์ กล่าว
‘ศิริราช’ เผยผู้ป่วยโควิดเพิ่มจริง! อีก 2 สัปดาห์เห็นภาพชัด BA.4, BA.5
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3420419
‘ศิริราช’ เผยผู้ป่วยโควิดเพิ่มจริง! อีก 2 สัปดาห์เห็นภาพชัด BA.4, BA.5
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย และการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ว่า ขณะนี้สถานการณ์การครองเตียงผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาล (รพ.) ศิริราช เพิ่มขึ้นชัดเจน แต่สาเหตุของการเข้ารักษาตัวเป็นเพราะโรคประจำตัวที่มีอยู่อาการแย่ลง จึงต้องเข้า รพ. แต่ก่อนทำการรักษาต้องตรวจหาเชื้อก่อน ทำให้ทราบว่าติดโควิด-19 ด้วย จึงต้องแยกไปอยู่หอผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนข้อมูลผู้ป่วยที่อาการรุนแรงยังไม่เพิ่มขึ้น แต่ รพ.ศิริราช ก็เตรียมรับมือไว้
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่มีราชกิจจานุเบกษา ประกาศให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยได้ตามความสมัครใจ ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ตามหลักการเรื่องนี้ประกาศเพื่อบอกว่าไม่ได้บังคับให้สวมหน้ากากแล้ว แต่ไม่ได้บอกว่า ต้องถอดหน้ากากออก โดยเฉพาะตอนนี้ ที่มีเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ตนเชื่อว่า ประชาชนจะระวังตัวมากขึ้น เพราะยังต้องเฝ้าติดตามความรุนแรงของโรค โดยคาดว่าอีก 2 สัปดาห์ จะเห็นภาพชัดเจนของ BA.4 และ BA.5 มากขึ้น