JJNY : 6in1 ยิ่งลักษณ์ขอบคุณเกษตรกร│พระต่อโลงศพแจกฟรี│พ่อค้าปาท่องโก๋โอด│สภาหุ่นยนต์!│"สมคิด"ซัด“ตู่”│ก้าวไกลบี้ประยุทธ์

ยิ่งลักษณ์ ขอบคุณเกษตรกรหนองคาย ส่งกล้วยฉาบมาให้ ชื่นชมแปรรูปเพิ่มมูลค่า
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7128912
 

 
“ยิ่งลักษณ์” ขอบคุณเกษตรกรหนองคาย ส่งกล้วยฉาบมาให้ทาน ชื่นชมแปรรูปพืชผล ช่วยเพิ่มมูลค่า วอน ช่วยกันอุดหนุนสินค้าเกษตรแปรรูป เป็นกำลังใจให้เกษตรกร
 
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2565 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กขอบคุณเกษตรกร อ.สังคม จ.หนองคาย ส่งกล้วยฉาบมาให้ พร้อมชื่นชมแปรรูปพืชผลที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มมูลค่า
 
โดยโพสต์ระบุว่า 
 
“ขอบคุณกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ที่ส่งกล้วยฉาบ กล้วยอบหลากหลายชนิดมาให้ทาน เป็นการนำกล้วยที่ปลูกในพื้นที่ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากมาแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างน่าชื่นชมค่ะ อยากเห็นทุกคนช่วยกันส่งเสริมอุดหนุนสินค้าเกษตรแปรรูป เพื่อเป็นกำลังใจให้พี่น้องเกษตรกรกันนะคะ”
 
https://www.facebook.com/Y.Shinawatra/post/pfbid02KMsmcTLkn8pBt2YHLcdDFDG5Cy2T6LtryJnSnvZNAz6AxncbcwR9XXSXsgqjzU9jl
 

 
พระต่อโลงศพแจกฟรี สงสารญาติโยมเดือดร้อน เงินไม่มีซื้อโลงใส่ร่างญาติ-วัดก็เช่นกัน
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7128568
 
เชียงใหม่ พระต่อโลงศพแจกฟรี ยุคข้าวของแพง ผู้มีจิตศรัทธาทำบุญน้อยลง ยอดขอโลงมีทุกวัน ญาติโยมเดือดร้อนไม่มีโลงใส่ร่างญาติ เงินซื้อโลงไม่พอขอบริจาค วัดช่วยกันต่อโลงศพเอง ปัจจัยซื้อวัสดุต่อโลราคาขึ้น เชิญชวนผู้ใจบุญร่วมสมทบทุน โครงการจัดทำโลงศพ เพื่อมอบให้กับผู้ยากไร้
 
25 มิ.ย. 65 – พระครูเกษมจริยานุกูล เขมจารี เจ้าคณะตำบลปิงโค้ง และเจ้าอาวาสวัดปางมะกง บ้านปางมะกง ตำบลปิงโค้ง ตำบลอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ด้วยสภาพการณ์สภาวะเศรษฐกิจที่ข้าวของราคาแพง ขณะนี้วัดได้รับผลกระทบ เนื่องเพราะอยู่ห่างไกลเข้ามาในป่าในดอย
 
ทำให้การเดินทางของญาติโยมเพื่อมาทำบุญ ลดลงไปมาก แต่ยังปรับวิธีใช้ทำบุญแบบออนไลน์ โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 งานบุญที่ประกอบพิธี จะมีเพียงพระและลูกศิษย์ และให้ญาติโยมทำบุญผ่านออนไลน์แทน
 
ด้วยเหตุนี้ ทางวัด พระลูกวัด ลูกศิษย์ จะช่วยกันต่อโลงศพแจกฟรีให้กับญาติโยมที่ยากจนยากไร้ แม้กระทั่งพระสงฆ์ด้วยกันก็ทำโลงศพแจกฟรี เพราะช่วงนี้ทุกคนได้รับผลกระทบหนักเช่นกัน คนทำบุญน้อย
 
ส่วนปัจจัยที่จะนำมาซื้อวัสดุหลักๆ เป็นไม้เพื่อมาต่อโลงศพ ก็ปรับขึ้นทุกอย่าง เคยสั่งจากร้านนำมาส่งต้องคิดค่าขนส่งเพิ่ม เพราะราคาน้ำมันแพงเพิ่ม วัดจึงต้องใช้รถไปขนมาเอง แต่ก็ประสบปัญหาค่าน้ำมันรถที่ปรับแพงขึ้น แต่เพื่อสร้างบุญสร้างกุศลต่อบุญให้กับญาติโยม ไม่ว่าเงินบริจาคมากน้อยก็จะนำมาต่อโลงศพแจกฟรี ตามจิตศรัทธา
 
วัดไม่มีค่าแรงค่าจ้าง อาตมา พระลูกวัด ลูกศิษย์ บางที่มีญาติโยมเข้ามาช่วยกันต่อโลงศพ เป็นการทำบุญอีกอย่างหนึ่ง แต่ตอนนี้ปัจจัยในการบริจาคลดลงไป ทำให้การจัดหาซื้อวัสดุมาต่อโลงเริ่มจะน้อย ก็จะทำเท่าที่มี
 
แต่ทุกวันนี้ยอดขอโลงศพในแต่ละวัน และสัปดาห์ ไม่ได้ลดลง ญาติโยมได้รับผลกระทบมาก รายได้น้อย จะไปหาซื้อโลศพมาแทบไม่มี อาตมาก็จะทำโลงศพที่ต้นทุนต่ำที่สุด เพื่อให้ได้นำร่างของญาติใส่โลศพ เป็นแบบธรรมดาไม่มีรวดรายต่างๆ เพื่อนำไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
 
ทางวัดยังมีศพยากจนยากไร้มาขอให้ประกอบพิธี วัดเผาศพฟรี และไม่ใช้เฉพาะชาวบ้าน ประชาชน ยังมีระสงฆ์ด้วยเช่นกัน จากที่เคยต่อโลงศพสำรองไว้ภายในวัด ตอนนี้ไม่มีเลย ต่อได้วันต่อวัน
 
พระครูเกษมจริยานุกูล จึงขอเชิญชวนผู้ใจบุญร่วมสมทบทุน โครงการจัดทำโลงศพ เพื่อมอบให้กับผู้ยากไร้ วัด ชุมชน มูลนิธิ ซึ่งเป็นโครงการที่ทางวัดและชาวบ้านช่วยกันทำขึ้นมาเอง
 
ท่านที่ต้องร่วมทำบุญจัดทำโลงศพกับทางวัด สามารถร่วมบุญได้ที่ เลขบัญชี 020388898643 ธนาคารออมสิน ชื่อบัญชี วัดปางมะกง(เพื่อบริจาคโลงศพ) หรือโทร 091-634-9473
 

 
พ่อค้าปาท่องโก๋โอด แก๊ส-น้ำมันพืชขึ้นราคา จะไปต่อหรือจะพอแค่นี้
https://www.one31.net/news/detail/55996
 
พ่อค้าปาท่องโก๋เจอ แก๊ส-น้ำมันพืชขึ้นราคา ช้ำหนักช่วงกว่าโควิดระบาดหนัก โอดจะไปต่อหรือจะพอแค่นี้…
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ร้านขายน้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋ บ้านโคก ต.หนองเสม็ด อ.เมือง จ.ตราด ของ คุณพุฒิพงศ์ วิจิตร วัย 49 ปี พร้อมด้วยภรรยา เปิดร้านขายปาท่องโก๋มานานถึง 12 ปี เริ่มแบกภาระของต้นทุนข้าวของที่ปรับราคาขึ้นเท่าตัว
 
คุณพุฒิพงศ์ เผยว่า ร้านของตนเองเปิดขายน้ำเต้าหู้ และปาท่องโก๋มานาน หลังเจอพิษโควิด-19 ก็ยังพอขายได้ เนื่องจากขายอยู่กับบ้านเอง ไม่ต้องเสียค่าเช่า แต่ลูกค้าลดลงบ้างเล็กน้อย มาปีนี้หนักยิ่งกว่าโควิดอีก ก็จะเห็นได้ชัดเจนก็คือ วัตถุดิบอย่างเช่นน้ำมันพืช ที่ต้องนำมาทอดปาท่องโก๋ เมื่อก่อนลิตรละ 30 กว่าบาท แต่มาปีนี้ ปรับราคาขึ้น 70 กว่าบาท ซึ่งร้านต้องใช้น้ำมันพืชสดใหม่ทุกวัน ตกวันละ 4-5 ลิตร
 
ส่วนแก๊สหุงต้มก็ปรับราคาเช่นเดียวกันใช้เท่าเดิม แต่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น ตนเองต้องแบกภาระต้นทุน ปาท่องโก๋เคยขาย 4 ตัว 5 บาท ก็ต้องลดลงมาขาย 3 ตัว 5 บาท ซึ่งลูกค้าก็เข้าใจเนื่องจากของขึ้นทุกอย่าง แม้กระทั่งแป้งมัน ที่นำมาทำปาท่องโก๋ คุณพุฒิพงศ์ บอกว่ามาปีนี้หนักมาก จะไปต่อ หรือพอแค่นี้ ก็ต้องขอสู้อีกพัก
 
คุณพุฒิพงศ์ ยังบอกอีกว่า หลังจากเจอพิษโควิด-19 มาก่อนหน้านี้ ได้นำหมูย่างมาขายเป็นรายได้เสริม หมูกลับปรับราคาขึ้นตามมาอีก ซึ่งก็ต้องทนสู้ขายไป แม้ว่ายอดขายจะเหมือนเดิม แต่กำไรก็ได้น้อยลงกว่าเก่า.
 

 
สภาหุ่นยนต์! ไอลอว์สำรวจ ส.ว. ลงมติเหมือนกัน 98% หนุนร่างรัฐบาล-ขวางร่างฝ่ายค้าน
https://voicetv.co.th/read/I5kGYqFah
 
ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 วุฒิสภาในฐานะอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ "การกลั่นกรองกฎหมาย" ที่ผ่านมาจากสภาผู้แทนราษฎรให้มีความรัดกุมรอบคอบ แต่ทว่า ด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่กำหนดให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นคนคัดเลือกด่านสุดท้าย ทำให้การออกกฎหมายที่เสนอโดยรัฐบาลคสช. หรือ การเสนอกฎหมายโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตหัวหน้าคสช. ไม่ค่อยถูกตรวจสอบถ่วงดุลเท่าที่ควร
 
ไอลอว์ระบุว่า จากการตรวจสอบผลการลงมติที่เกี่ยวกับการการพิจารณากฎหมายของ ส.ว.แต่งตั้ง ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2565 พบว่า ส.ว. ลงมติเกี่ยวกับร่างกฎหมายไปในทิศทางเดียวกันถึง 98% (โดยเฉลี่ย) ไม่ว่าจะเป็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) หากผู้เสนอเป็น ครม. หรือ พรรคฝ่ายรัฐบาล ก็จะได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. อย่างถล่มทลาย แม้ร่างกฎหมายนั้น จะได้รับเสียงเห็นชอบจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ไม่ถึง 60% ก็ตาม หรือ หากเป็นร่างกฎหมายที่ถูกเสนอโดยพรรคฝ่ายค้าน การลงมติของ ส.ว. ก็มีแนวโน้มจะไม่เห็นชอบอย่างถล่มทลายอีกเช่นเดียวกัน
  
ปรากฎการณ์ที่ ส.ว. ลงมติผ่านกฎหมายจากรัฐบาลและคัดค้านกฎหมายจากฝ่ายค้านไปในทิศทางเดียวกัน อย่างถล่มทลายไม่มีแตกแถว ได้สะท้อนให้เห็นว่า ส.ว. เป็น "สภาหุ่นยนต์" คอยทำหน้าที่ตามใบสั่งจากผู้มีอำนาจและขัดขวางการทำงานของฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายรัฐบาลที่นำโดยคสช.
 
97% ของ ส.ว.แต่งตั้ง โหวตผ่าน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ไม่มีแตกแถว เหมือน ส.ส.
 
นับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ส.ว.มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ในวาระที่สาม ไปแล้ว อย่างน้อย 30 ฉบับ โดยจากผลการลงมติในวาระสาม พบว่า ส.ว. มีสัดส่วนการลงมติไปในทิศทางเดียวกันคือ "เห็นชอบ" อยู่ที่ 97.34% (โดยเฉลี่ย) ในขณะที่ผลการลงมติร่างกฎหมายในวาระสามของ ส.ส. มีสัดส่วนการลงมติเห็นชอบไปในทิศทางเดียวกันอยู่ที่ 92.61% (โดยเฉลี่ย) ซึ่งหมายความว่า ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง มีการลงมติที่เป็นเอกภาพกว่า ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้ง 
 
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า เหตุที่ทำให้การลงมติในวาระที่สามของ ส.ว. มีสัดส่วนการลงมติเห็นชอบเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจาก ร่าง พ.ร.บ. แทบทั้งหมดเป็นร่างกฎหมายที่ถูกเสนอโดยครม. หรือ พรรครัฐบาล ดังนั้น ส.ว. ที่มาจากการคัดเลือกของคสช. ซึ่งนับว่าเป็นขั้วการเมืองฝั่งเดียวกับรัฐบาลจึงลงมติสนับสนุนร่างกฎหมายของฝ่ายรัฐบาล อีกทั้ง แม้ว่าจะเป็นร่างกฎหมายที่ได้รับเสียงคัดค้านจำนวนมากในสภาผู้แทนฯ แต่ ส.ว. ก็ยังคงลงมติเห็นชอบไปในทิศทางเดียวกันไม่มีแตกแถว
 
ยกตัวอย่างเช่น ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 ที่ถูกพรรคการเมืองฝ่ายค้านและพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลด้วยกันวิจารณ์อย่างหนัก โดยหนึ่งในประเด็นสำคัญ คือ การปรับลดงบของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งที่เป็นหน่วยงานด่านหน้าในการรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จนเกิดวาทะจาก ส.ส. พรรคภูมิใจไทยถึง อนุทิน ชาญวีรกุล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขว่า "ถ้าเขาไม่รัก ก็กลับบ้านเราเถอะครับ" จนท้ายที่สุดร่างกฎหมายดังกล่าวก็ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไปด้วยสัดส่วนเสียงเห็นชอบน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับ ร่าง พ.ร.บ. ทั้งหมด 30 ฉบับ ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภา แต่ทว่า เมื่อถึงคราวที่ ส.ว. ลงมติ ส.ว. ก็ยังคงลงมติเห็นชอบไปในทิศทางเดียวกันอย่างไม่ค่อยมีการแตกแถวถึง 98.52%
 
98% ของ ส.ว.แต่งตั้ง อนุมัติ ร่าง พ.ร.ก. ไม่มีแตกแถว แม้บางฉบับ ส.ส. เห็นชอบไม่ถึง 60%
 
นับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ส.ว.มีมติอนุมัติร่าง พ.ร.ก. ที่รัฐบาลประกาศให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย อย่างน้อย 10 ฉบับ  โดยจากผลการลงมติในวาระสาม พบว่า ส.ว. มีสัดส่วนการลงมติไปในทิศทางเดียวกันคือ "เห็นชอบ" อยู่ที่ 98.55% (โดยเฉลี่ย) ในขณะที่ผลการลงมติอนุมัติ ร่าง พ.ร.ก. ของ ส.ส. มีสัดส่วนการลงมติเห็นชอบไปในทิศทางเดียวกัน อยู่ที่ 68.77% (โดยเฉลี่ย) 
 
จากผลการลงมติดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ส.ว. มีทิศทางการลงมติที่ไปในทิศทางเดียวอย่างไม่มีแตกแถวเพื่อสนับสนุนการออกกฎหมายของรัฐบาลคสช. ในขณะที่การลงมติเพื่ออนุมัติร่าง พ.ร.ก. ของ ส.ส. กลับเป็นไปอย่างแตกต่าง โดยมีกฎหมายอย่างน้อย 5 ฉบับ ที่ได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ส. ไม่ถึง 60% แต่กลับได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. อย่างถล่มทลาย ยกตัวอย่างเช่น ร่าง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท หรือ พ.ร.ก.กู้เงินฯ (วงเงิน 5 แสนล้านบาท) ที่ถูกพรรคฝ่ายค้านวิจารณ์ว่า การกู้เงินดังกล่าวขาดความจำเป็นเร่งด่วน และที่ผ่านมารัฐบาลมีการกู้เงินไปแล้วถึง 1 ล้านล้านบาท แต่ก็ยังล้มเหลวในการบริหารจัดการเงินกู้ก้อนแรก รวมถึงไม่สามารถระงับยับยั้งควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ การเยียวยาก็ไม่ตรงประเด็น การฟื้นฟูเศรษฐกิจก็ทำไม่ได้ จึงเป็นเหตุผลให้ฝ่ายค้านไม่อนุมัติ พ.ร.ก. กู้เงินฉบับที่ 2 ของรัฐบาล
 
แต่อย่างไรก็ดี เมื่อร่าง พ.ร.ก.ที่ ส.ส. ส่งเสียงค้านอยู่บ้าน ได้ผ่านเข้าสู่การพิจารณาของ ส.ว. ผลการลงมติ กลับเป็นไปอย่างตรงกันข้าม เพราะ ส.ว. กลับลงมติอนุมัติการใช้ พ.ร.ก. ของรัฐบาลสูงถึง 99.4% ซึ่งยิ่งตอกย้ำว่า ส.ว.ที่มาจากการคัดเลือกของคสช. ไม่ได้ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายผู้ที่ทำการคัดเลือกตัวเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่