ไทยป่วยโควิดใหม่วันนี้ 2,236 ราย เสียชีวิต 16 ราย ยังรักษาตัวรพ. 602 ราย
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3418943
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 รายงานผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ประจำ วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2565
ผู้ป่วยใหม่ จำนวน 2,236 ราย จำแนกเป็น
ผู้ป่วยในประเทศ 2,235 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 1 ราย
ผู้ป่วยสะสม 2,288,342 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 1,892 ราย
หายป่วยสะสม 2,289,922 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 22,786 ราย
เสียชีวิต 16 ราย
เสียชีวิตสะสม 8,877 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ
รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 602 ราย
* เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย. 65 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน
โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล จึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสม มีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม
ของแพง แม่ค้าโอดหนัก ร้องครวญปีนี้เป็นปีแรกที่แพงที่สุด
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/174962
ต้นทุนราคาไก่พุ่ง แม่ค้าตัดพ้อเป็นเสียงเดียวกัน ของมาแพงสุดตั้งแต่ขายมา ไม่เหลือกำไร ขอรัฐเร่งแก้ปัญหาของแพง เงินเฟ้อ และค่าครองชีพ
หลังราคาไก่สดขยับราคาขึ้นต่อเนื่อง ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจผลกระทบ พบ ข้าวมันไก่ หน้าโรงเรียนวัดหลวงราชาธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ยังคงขายข้าวมันไก่ในราคา 20 บาท ให้เด็กนักเรียน ส่วนผู้ใหญ่ที่ซื้อกลับบ้าน คิดราคา 30 บาท สั่งพิเศษ 40 บาท ซึ่งลูกค้าร้านนี้ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ราคาไม่แพง แล้วก็ 1 จานก็กินอิ่มอยู่ได้นาน
นางสาว
ณัฐรดี เลิศวรกุล เจ้าของร้านข้าวมันไก่ร้านนี้ บอกว่า ราคาไก่สดในพื้นที่ แพงขึ้นเกือบเท่าตัว ราคาไก่สด จากเดิมกิโลกรัมละ 60 บาท ขึ้นมาเป็น 80 บาท
เครื่องในไก่ จากเดิมกิโลกรัมละ 60 บาท ขึ้นมาเป็น 110 บาท ส่วนตับล้วนอยู่ที่ กิโลกรัมละ 160 บาท ตอนนี้ทางร้านได้รับผลกระทบอย่างมาก แต่จะขึ้นราคาก็ไม่ได้ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน ส่วนปริมาณก็ไม่ได้ลด ตักให้เด็กๆ กินพูนๆ จานเหมือนเดิม อยากให้นักเรียนกินอิ่ม และช่วยลดค่าครองชีพให้ผู้ปกครอง
แต่ในส่วนของหมู ตอนนี้ราคาปรับสูงขึ้นมามากเช่นกัน อยู่ที่ 250 บาทต่อกิโลกรัม ตรงนี้บอกเลยว่าแบกรับต้นทุนไม่ไหวแล้ว สำหรับราคาหมู โดยเฉพาะหมูสามชั้น พอเอามาทอดก็หดไปอีกเท่าตัว อย่างทอด 5 กิโลกรัม จะเหลือแค่ 3 กิโลกรัมเท่านั้น จึงต้องขอปรับราคาขาย ข้าวหมูกรอบ ขึ้นมาอีกจานละ 10 บาท เป็นธรรมดา 40 บาท พิเศษ 50 บาท
ส่วนทีมข่าว PPTV วันนี้ลงพื้นที่สำรวจ ราคาอาหาร ที่ตลาดยิ่งเจริญ นางสาว
กนกจันทร์ อ้นศรีสวัสดิ์ แม่ค้าร้านขายไก่สด เปิดใจกับทีมข่าวว่า ต้นทุนสินค้าทุกอย่างแพงขึ้น ตนเองขายเองมา 30 ปี ไม่เคยเจอต้นทุนที่มาแพงขนาดนี้ พร้อมเล่าให้ฟังว่าตนเองเคยลงทุนวันละ 3 หมื่นบาท ทุกวันนี้ใช้เงินลงทุนเพิ่มเกินวันละ 5 หมื่นแล้ว ทำให้การขายแต่ละวันกำไรไม่เหลือเลย ต้องกู้หนี้ยืมสินมาหมุนเวียน ซึ่งกำไรต่อกิโลกรัมคือ 2-3 บาทเท่านั้น เพราะหากขึ้นราคามากๆ ลูกค้าก็ไม่ซื้อ
นางสาว
กนกจันทร์ บอกว่า อยากให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลืออะไรพ่อค้าแม่ค้าบ้าง เพราะวันนี้ลำบากมากแล้ว ค่าครองชีพทุกอย่างสูงมาก อย่าง ราคาเนื้อไก่สด แต่ละประเภท เทียบกับช่วงก่อนโควิด เนื้ออกไก่ เคยขายอยู่ที่ 75 บาท ต้นทุนวันนี้ซื้อมา 93 บาท ก็ต้องปรับราคาขายเป็น 100 บาท, เนื้อไก่(สำหรับใช้ทำแกง) เดิมขายที่ 60 บาท ตอนนี้ต้นทุนส่งมา 70 บาท ก็ต้องขาย 80 บาท, อกไก่ เดิมขาย 80 บาท ต้นทุนมาตอนนี้ 90 บาท ก็ต้องขาย 100 บาท ส่วนตีนไก่ ที่ไว้ไปต้มซุปเปอร์ เดิมขายราคา 65 บาท ราคาขึ้นเป็น 95 บาทหรือเมนูก๋วยเตี๋ยว ที่ใช้น่องไก่แบบนี้ เดิมขายให้กิโลกรัมละ 65 บาท แต่ตอนนี้ต้นทุนมา 80 บาท ก็จำเป็นต้องปรับราคาขายเป็น 90 บาท ต่อกิโลกรัม
สอดคล้องกับแม่ค้าร้านขายเป็ด-ไก่พะโล้ เปิดใจขายแทบไม่เหลือกำไร ของแพงขึ้นแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ค่าไก่ ค่าซอส ค่าเครื่องปรุง ค่าเช่าที่ทุกอย่างขึ้นหมด จากปัญหาราคาน้ำมันแพงขึ้น พอค่าขนส่งแพงทุกอย่างมันซ้ำกันไปหมด ขณะที่ลูกค้าเองก็ไม่มีกำลังซื้อ หากขึ้นราคาก็ขายไม่ได้อีก
แก้หวยแพงแต่ซ้ำเติมชีวิตคนพิการ!
https://www.innnews.co.th/news/news_362555/
ภายหลังจากที่ทางภาครัฐได้มีการขายสลากดิจิทัลราคา80บาท ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง
แล้วผลตอบรับดีเกินคาดนั้นทำให้พ่อค้าแม่ค้าที่ขายแผงลอตเตอรี่ตามสถานที่ต่างๆ ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากเนื่องจากขายไม่หมดเพราะคอหวยส่วนใหญ่หันไปซื้อผ่านออนไลน์มากกว่า อีกทั้งยังกระทบกลุ่มคนพิการด้วย
เพราะแอปพลิเคชันที่มีอยู่ตอนนี้ก็ยังไม่มีการรองรับการทำงานของเสียงอ่านหน้าจอสำหรับให้คนตาบอดเข้าถึงได้สำนักข่าวไอเอ็นเอ็นได้สัมภาษณ์นายเอกกมล แพทยานันท์ นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
ได้ระบุว่าขณะนี้คนส่วนใหญ่หันไปเลือกซื้อสลากดิจิทัลมากกว่าแผงเร่ขายลอตเตอรี่ เพราะสะดวกมากขึ้นจนทำให้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการที่ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพอื่นด้วย
เพราะมีอุปสรรคทางด้านร่างกายที่ท้าทายมากกว่าคนปกติอีกทั้งยังได้รับจัดสรรโควต้าไม่เกิน5เล่มเท่านั้นและเพิ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19ในช่วงที่ผ่านมาอีกด้วย
ขณะกลุ่มคนพิการส่วนใหญ่มองว่าอยากให้ชะลอในการเพิ่มจำนวนสลากดิจิทัล เพราะพวกเขายังเข้าไม่ถึง ดังนั้นจึงอยากให้ภาครัฐส่งเสริมคนตาบอดให้สามารถเข้าถึงในการขายสลากผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังหรือเร่งเพิ่มโควตาให้พวกเขา
รวมถึงควรจะมีมาตรการรองรับให้พวกเขายังทำอาชีพนี้ได้ต่อไป
โดยทางสมาคมฯก็ได้เร่งแก้ไขปัญหาช่วยเหลือแล้วคือนัดพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อต้องการพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ ให้คนพิการเข้าถึงได้ง่ายและมีทักษะในการใช้ ซึ่งหลังจากนั้นจะมีการจัดอบรมคนตาบอดและพร้อมที่จะสนับสนุนให้ยังทำอาชีพนี้
ซึ่งอยากให้ทางภาครัฐสร้างความสมดุลและคำนึงถึงชีวิตของกลุ่มคนเหล่านี้บ้างเพราะถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปแน่นอนว่าจะนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำในสังคมทันที ที่แม้ว่าจะแก้ปัญหาหวยขายเกินราคาได้สำเร็จแต่กลับส่งผลกระทบแผงเร่ขายแบบนี้ก็สามารถเกิดคำถามได้ว่าแล้ว
ความสมดุลอยู่ตรงไหนนอกจากนี้เบื้องหลังที่คนตาบอดต้องแบกรับมากกว่าคนทั่วไปคือ1การกู้ยืมเงินเพื่อหาต้นทุนมาซื้อสลาก 2การเขียนอักษรเบรลล์ทุกใบเพื่อให้รู้ตัวเลขที่จะขาย 3การต้องเดินทางไปขายตามที่ต่างๆ
ซึ่งมีความยากลำบากมากกว่าคนปกติ และ4ถ้าขายไม่หมด เงินทุนที่กู้ยืมมาก็จะพอกพูนขึ้นทุกงวด ซึ่งอีกปัจจัยที่ทำให้แข่งขันไม่ได้ เนื่องจากโควตาผู้พิการที่ได้รับจัดสรรมีน้อยได้เพียงแค่คนละ 5 เล่ม ซึ่งกำไรจากการขายไม่เพียงพอกับการดำรงชีพ
และถ้ายังเป็นเช่นนี้ต่อไปกลุ่มคนพิการคงต้องประสบกับปัญหาตกงานหรือต้องเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นแทนอย่างไรก็ตามหลังจากนี้คงต้องจับตาดูว่าทางภาครัฐหรือทางแอปฯเป๋าตังจะมีแนวทางในการแก้ไขตรงจุดนี้อย่างไรเพราะขณะนี้กำลังซ้ำเติมชะตากรรมและตอกย้ำความไม่เท่าเทียมให้กับคนตาบอดที่สุดท้ายจะกลายเป็นผู้ที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังตามคำพูดใครต่อใครหรือไม่อย่างไร…
JJNY : ป่วยใหม่2,236 เสียชีวิต16│ของแพง แม่ค้าโอดหนัก│แก้หวยแพงแต่ซ้ำเติมคนพิการ!│กลุ่ม BRICS หนุนรัสเซีย-ยูเครนเจรจา
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3418943
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 รายงานผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ประจำ วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2565
ผู้ป่วยใหม่ จำนวน 2,236 ราย จำแนกเป็น
ผู้ป่วยในประเทศ 2,235 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 1 ราย
ผู้ป่วยสะสม 2,288,342 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 1,892 ราย
หายป่วยสะสม 2,289,922 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 22,786 ราย
เสียชีวิต 16 ราย
เสียชีวิตสะสม 8,877 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ
รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 602 ราย
* เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย. 65 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน
โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล จึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสม มีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม
ของแพง แม่ค้าโอดหนัก ร้องครวญปีนี้เป็นปีแรกที่แพงที่สุด
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/174962
ต้นทุนราคาไก่พุ่ง แม่ค้าตัดพ้อเป็นเสียงเดียวกัน ของมาแพงสุดตั้งแต่ขายมา ไม่เหลือกำไร ขอรัฐเร่งแก้ปัญหาของแพง เงินเฟ้อ และค่าครองชีพ
หลังราคาไก่สดขยับราคาขึ้นต่อเนื่อง ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจผลกระทบ พบ ข้าวมันไก่ หน้าโรงเรียนวัดหลวงราชาธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ยังคงขายข้าวมันไก่ในราคา 20 บาท ให้เด็กนักเรียน ส่วนผู้ใหญ่ที่ซื้อกลับบ้าน คิดราคา 30 บาท สั่งพิเศษ 40 บาท ซึ่งลูกค้าร้านนี้ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ราคาไม่แพง แล้วก็ 1 จานก็กินอิ่มอยู่ได้นาน
นางสาวณัฐรดี เลิศวรกุล เจ้าของร้านข้าวมันไก่ร้านนี้ บอกว่า ราคาไก่สดในพื้นที่ แพงขึ้นเกือบเท่าตัว ราคาไก่สด จากเดิมกิโลกรัมละ 60 บาท ขึ้นมาเป็น 80 บาท
เครื่องในไก่ จากเดิมกิโลกรัมละ 60 บาท ขึ้นมาเป็น 110 บาท ส่วนตับล้วนอยู่ที่ กิโลกรัมละ 160 บาท ตอนนี้ทางร้านได้รับผลกระทบอย่างมาก แต่จะขึ้นราคาก็ไม่ได้ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน ส่วนปริมาณก็ไม่ได้ลด ตักให้เด็กๆ กินพูนๆ จานเหมือนเดิม อยากให้นักเรียนกินอิ่ม และช่วยลดค่าครองชีพให้ผู้ปกครอง
แต่ในส่วนของหมู ตอนนี้ราคาปรับสูงขึ้นมามากเช่นกัน อยู่ที่ 250 บาทต่อกิโลกรัม ตรงนี้บอกเลยว่าแบกรับต้นทุนไม่ไหวแล้ว สำหรับราคาหมู โดยเฉพาะหมูสามชั้น พอเอามาทอดก็หดไปอีกเท่าตัว อย่างทอด 5 กิโลกรัม จะเหลือแค่ 3 กิโลกรัมเท่านั้น จึงต้องขอปรับราคาขาย ข้าวหมูกรอบ ขึ้นมาอีกจานละ 10 บาท เป็นธรรมดา 40 บาท พิเศษ 50 บาท
ส่วนทีมข่าว PPTV วันนี้ลงพื้นที่สำรวจ ราคาอาหาร ที่ตลาดยิ่งเจริญ นางสาวกนกจันทร์ อ้นศรีสวัสดิ์ แม่ค้าร้านขายไก่สด เปิดใจกับทีมข่าวว่า ต้นทุนสินค้าทุกอย่างแพงขึ้น ตนเองขายเองมา 30 ปี ไม่เคยเจอต้นทุนที่มาแพงขนาดนี้ พร้อมเล่าให้ฟังว่าตนเองเคยลงทุนวันละ 3 หมื่นบาท ทุกวันนี้ใช้เงินลงทุนเพิ่มเกินวันละ 5 หมื่นแล้ว ทำให้การขายแต่ละวันกำไรไม่เหลือเลย ต้องกู้หนี้ยืมสินมาหมุนเวียน ซึ่งกำไรต่อกิโลกรัมคือ 2-3 บาทเท่านั้น เพราะหากขึ้นราคามากๆ ลูกค้าก็ไม่ซื้อ
นางสาวกนกจันทร์ บอกว่า อยากให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลืออะไรพ่อค้าแม่ค้าบ้าง เพราะวันนี้ลำบากมากแล้ว ค่าครองชีพทุกอย่างสูงมาก อย่าง ราคาเนื้อไก่สด แต่ละประเภท เทียบกับช่วงก่อนโควิด เนื้ออกไก่ เคยขายอยู่ที่ 75 บาท ต้นทุนวันนี้ซื้อมา 93 บาท ก็ต้องปรับราคาขายเป็น 100 บาท, เนื้อไก่(สำหรับใช้ทำแกง) เดิมขายที่ 60 บาท ตอนนี้ต้นทุนส่งมา 70 บาท ก็ต้องขาย 80 บาท, อกไก่ เดิมขาย 80 บาท ต้นทุนมาตอนนี้ 90 บาท ก็ต้องขาย 100 บาท ส่วนตีนไก่ ที่ไว้ไปต้มซุปเปอร์ เดิมขายราคา 65 บาท ราคาขึ้นเป็น 95 บาทหรือเมนูก๋วยเตี๋ยว ที่ใช้น่องไก่แบบนี้ เดิมขายให้กิโลกรัมละ 65 บาท แต่ตอนนี้ต้นทุนมา 80 บาท ก็จำเป็นต้องปรับราคาขายเป็น 90 บาท ต่อกิโลกรัม
สอดคล้องกับแม่ค้าร้านขายเป็ด-ไก่พะโล้ เปิดใจขายแทบไม่เหลือกำไร ของแพงขึ้นแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ค่าไก่ ค่าซอส ค่าเครื่องปรุง ค่าเช่าที่ทุกอย่างขึ้นหมด จากปัญหาราคาน้ำมันแพงขึ้น พอค่าขนส่งแพงทุกอย่างมันซ้ำกันไปหมด ขณะที่ลูกค้าเองก็ไม่มีกำลังซื้อ หากขึ้นราคาก็ขายไม่ได้อีก
แก้หวยแพงแต่ซ้ำเติมชีวิตคนพิการ!
https://www.innnews.co.th/news/news_362555/
ภายหลังจากที่ทางภาครัฐได้มีการขายสลากดิจิทัลราคา80บาท ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง
แล้วผลตอบรับดีเกินคาดนั้นทำให้พ่อค้าแม่ค้าที่ขายแผงลอตเตอรี่ตามสถานที่ต่างๆ ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากเนื่องจากขายไม่หมดเพราะคอหวยส่วนใหญ่หันไปซื้อผ่านออนไลน์มากกว่า อีกทั้งยังกระทบกลุ่มคนพิการด้วย
เพราะแอปพลิเคชันที่มีอยู่ตอนนี้ก็ยังไม่มีการรองรับการทำงานของเสียงอ่านหน้าจอสำหรับให้คนตาบอดเข้าถึงได้สำนักข่าวไอเอ็นเอ็นได้สัมภาษณ์นายเอกกมล แพทยานันท์ นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
ได้ระบุว่าขณะนี้คนส่วนใหญ่หันไปเลือกซื้อสลากดิจิทัลมากกว่าแผงเร่ขายลอตเตอรี่ เพราะสะดวกมากขึ้นจนทำให้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการที่ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพอื่นด้วย
เพราะมีอุปสรรคทางด้านร่างกายที่ท้าทายมากกว่าคนปกติอีกทั้งยังได้รับจัดสรรโควต้าไม่เกิน5เล่มเท่านั้นและเพิ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19ในช่วงที่ผ่านมาอีกด้วย
ขณะกลุ่มคนพิการส่วนใหญ่มองว่าอยากให้ชะลอในการเพิ่มจำนวนสลากดิจิทัล เพราะพวกเขายังเข้าไม่ถึง ดังนั้นจึงอยากให้ภาครัฐส่งเสริมคนตาบอดให้สามารถเข้าถึงในการขายสลากผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังหรือเร่งเพิ่มโควตาให้พวกเขา
รวมถึงควรจะมีมาตรการรองรับให้พวกเขายังทำอาชีพนี้ได้ต่อไป
โดยทางสมาคมฯก็ได้เร่งแก้ไขปัญหาช่วยเหลือแล้วคือนัดพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อต้องการพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ ให้คนพิการเข้าถึงได้ง่ายและมีทักษะในการใช้ ซึ่งหลังจากนั้นจะมีการจัดอบรมคนตาบอดและพร้อมที่จะสนับสนุนให้ยังทำอาชีพนี้
ซึ่งอยากให้ทางภาครัฐสร้างความสมดุลและคำนึงถึงชีวิตของกลุ่มคนเหล่านี้บ้างเพราะถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปแน่นอนว่าจะนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำในสังคมทันที ที่แม้ว่าจะแก้ปัญหาหวยขายเกินราคาได้สำเร็จแต่กลับส่งผลกระทบแผงเร่ขายแบบนี้ก็สามารถเกิดคำถามได้ว่าแล้ว
ความสมดุลอยู่ตรงไหนนอกจากนี้เบื้องหลังที่คนตาบอดต้องแบกรับมากกว่าคนทั่วไปคือ1การกู้ยืมเงินเพื่อหาต้นทุนมาซื้อสลาก 2การเขียนอักษรเบรลล์ทุกใบเพื่อให้รู้ตัวเลขที่จะขาย 3การต้องเดินทางไปขายตามที่ต่างๆ
ซึ่งมีความยากลำบากมากกว่าคนปกติ และ4ถ้าขายไม่หมด เงินทุนที่กู้ยืมมาก็จะพอกพูนขึ้นทุกงวด ซึ่งอีกปัจจัยที่ทำให้แข่งขันไม่ได้ เนื่องจากโควตาผู้พิการที่ได้รับจัดสรรมีน้อยได้เพียงแค่คนละ 5 เล่ม ซึ่งกำไรจากการขายไม่เพียงพอกับการดำรงชีพ
และถ้ายังเป็นเช่นนี้ต่อไปกลุ่มคนพิการคงต้องประสบกับปัญหาตกงานหรือต้องเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นแทนอย่างไรก็ตามหลังจากนี้คงต้องจับตาดูว่าทางภาครัฐหรือทางแอปฯเป๋าตังจะมีแนวทางในการแก้ไขตรงจุดนี้อย่างไรเพราะขณะนี้กำลังซ้ำเติมชะตากรรมและตอกย้ำความไม่เท่าเทียมให้กับคนตาบอดที่สุดท้ายจะกลายเป็นผู้ที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังตามคำพูดใครต่อใครหรือไม่อย่างไร…