💚มาลาริน/ข่าวดีรายวันค่าาา...นายกฯ ปลื้ม ฟิทช์ เรตติ้ง คงอันดับความน่าเชื่อถือไทย คาด ศก.โต 4.5%/'สภาพัฒน์’ โชว์ 3%

เพี้ยนดีออกนายกฯ ปลื้ม ฟิทช์ เรตติ้ง คงอันดับความน่าเชื่อถือไทย คาด ศก.โต 4.5%



โฆษกรัฐบาลเผยนายกฯ ปลื้ม Fitch Ratings ที่ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือไทยที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) คาดการณ์เศรษฐกิจขยาย 4.5% จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 65 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ฟิทช์ (Fitch) ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือ (Sovereign Credit Rating) ของประเทศไทยที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือ (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) อย่างต่อเนื่อง เชื่อมั่นการทำงานของรัฐบาลมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากการคาดการณ์ของบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (Fitch Ratings) เมื่อช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ว่าผลประกอบการของบริษัทในไทยจะมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2565 ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา Fitch เปิดเผยถึงการคงอันดับความน่าเชื่อถือของไทยที่มีเสถียรภาพระดับ BBB+ ว่าเป็นผลจากการบริหารจัดการด้านการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลมีการออกมาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชนจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมาตรการเปิดประเทศที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฟื้นตัว เกิดทิศทางเชิงบวกในภาคเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนยิ่งขึ้น
 
โดย Fitch คาดการณ์ว่า ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) ในปี 2565 ประเทศไทยจะขาดดุลงบประมาณลดลง สัดส่วนหนี้ภาครัฐบาล (General Government Debt) ต่อ GDP จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 55.4 ต่อ GDP เศรษฐกิจจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 จากการฟื้นตัวภายในประเทศและการกลับมาของนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นจาก 6.5 ล้านคนในปี 2565 เป็น 22 ล้านคนในปี 2566 ในส่วนของภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ประเทศไทยยังแข็งแกร่ง มีทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงและเพียงพอต่อการใช้จ่าย ทั้งนี้ Fitch คาดว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะขาดดุลร้อยละ 1.8 ต่อ GDP ลดลงจากร้อยละ 2.1 ต่อ GDP ในปี 2564 และจะกลับมาเกินดุลที่ร้อยละ 1.0 ต่อ GDP ในปี 2566 และร้อยละ 2.8 ต่อ GDP ในปี 2567 จากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวมากยิ่งขึ้น

“นายกรัฐมนตรียินดีที่ Fitch เชื่อมั่นในนโยบายการบริหารจัดการด้านการเงินและการคลังของรัฐบาล ขอบคุณทุกฝ่ายในการร่วมบูรณาการความร่วมมืออย่างต่อเนื่องจดเห็นผลชัดเจนและเป็นที่ยอมรับ พร้อมกำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งผลักดันการพัฒนาในทุกมิติ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชน มุ่งหวังฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมไทยให้พร้อมต่อการเปิดประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน” นายธนกรฯ กล่าว

https://www.posttoday.com/politic/news/686143

นานาโอเคFitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย BBB+
วันที่ 21 มิ.ย. 2565 เวลา 19:32 น.



Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1) ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) มีความเข้มแข็งเป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบ โดยมีกรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่แข็งแกร่ง โดย Fitch คาดว่า ปี 2565 ประเทศไทยจะขาดดุลงบประมาณลดลง เนื่องจากมีการจัดเก็บรายได้ที่มีประสิทธิภาพ และมีมาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ที่ผ่อนคลายขึ้น สำหรับสัดส่วนหนี้ภาครัฐบาล (General Government Debt) ต่อ GDP ของประเทศไทยปี 2565 คาดว่า จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 55.4 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ในระดับค่ากลางเดียวกับกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน (Peers) โดยจะสูงขึ้นเป็นร้อยละ 56.6 ต่อ GDP ในปี 2569 อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยจะสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีแนวทางการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและมีหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นสกุลเงินบาท ประกอบกับมีตลาดทุนในประเทศที่มั่นคง

นอกจากนี้ Fitch คาดว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและการกลับมาของนักท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 6.5 ล้านคนในปี 2565 เป็น 22 ล้านคนในปี 2566

2) ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยมีทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงที่เพียงพอสำหรับใช้จ่ายถึง 7.8 เดือน ซึ่งอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับค่ากลางของกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกับ (BBB Peers) ที่ 5.6 เดือน ทั้งนี้ Fitch คาดว่า ปี 2565 ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะขาดดุลร้อยละ 1.8 ต่อ GDP ซึ่งลดลงจากร้อยละ 2.1 ต่อ GDP ในปี 2564 และจะกลับมาเกินดุลที่ร้อยละ 1.0 ต่อ GDP และร้อยละ 2.8 ต่อ GDP ในปี 2566 และปี 2567 ตามลำดับ จากภาคการท่องเที่ยวที่จะฟื้นตัวมากยิ่งขึ้น

ประเด็นที่ Fitch ให้ความสนใจและจะติดตามอย่างใกล้ชิด คือ แรงกดดันจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ สัดส่วนหนี้ภาคครัวเรือนต่อ GDP สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ และความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของภาครัฐและการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะปานกลาง

https://www.posttoday.com/finance-stock/news/686110

เพี้ยนปักหมุดสภาพัฒน์’ โชว์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปีนี้โต 3 % ลุ้น 66 โต 3.7%



‘สภาพัฒน์’ เผยเศรษฐกิจไทยปี65 โตถึง3% มั่นใจ 8 มาตรการช่วยทุกกลุ่ม ด้าน ส.อ.ท. เดินหน้าดันอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุค 4.0

เศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น และปรับตัวดีต่อเนื่องในปี 2566 ซึ่งปีนี้คาดการณ์เศรษฐกิจขยายตัว3% ปีหน้าคาดการณ์อยู่ที่ 3.7% มีปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศ การส่งออกยังขยายตัวโดยปี2564 โตถึง 18% การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว แต่ยังมีข้อจำกัดเป็นความเสี่ยง จากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก สงครามรัสเซียกับยูเครน เศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอตัว หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น เงินเฟ้อทั่วโลกที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งไทยเมื่อพฤษภาคมเงินเฟ้อสูง 7.1% มาจากราคาพลังงานและอาหาร ซึ่งก็ขอบคุณผู้ผลิตที่ยังไม่ส่งผ่านต้นทุนไปสู่ผู้บริโภคมากนัก แต่บางสินค้าก็ต้องปล่อยปรับราคา เพราะต้นทุนแพงเกินกว่าผู้ผลิตจะแบกรับไหว ” นายดนุชากล่าว

นายดนุชา กล่าวว่า ทั้งนี้รัฐบาลได้ออกมาตรการมาช่วยบรรเทาภาระประชาชนบ้างแล้วและมีอีก 8 มาตรการได้ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา ในส่วนนี้เป็นเรื่องที่รัฐจะจัดสรรงบประมาณมาช่วยเหลือประชาชน เช่น กองทุนน้ำมันเชื่อเพลิงใช้เงินไปแล้ว ด้านของการช่วยเหลือค่าแก๊ส LPG กับภาคครัวเรือน ช่วยเหลืออุดหนุนราคาน้ำมันเพื่อให้ราคาไม่สูงเกิน หากเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกันราคาน้ำมันของไทยยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่น สิงคโปร์ น้ำมันดีเซลราคาลิตรละ 65 บาท เพราะใช้ราคาน้ำมันจริงตามกลไกตลาด เป็นต้น ดังนั้น การที่รัฐออกมาตรการด้านพลังงานออกมา เพื่อช่วยลดต้นทุนให้กับทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบน้อยลง

https://www.thaipost.net/economy-news/166651/

....ผู้นำดี สิ่งดีๆก็ตามมาเป็นรางวัลให้ประชาชนที่เลือกคนดีๆ  

การเงินของประเทศเข้มแข็งเพราะได้ผู้นำที่มีความรอบคอบ รู้ระเบียบการใช้จ่ายไม่ให้เกิดปัญหา  แก้ไขได้ทันทีมีความก้าวหน้าอย่างที่เห็น

ประชาชนได้รับประโยชน์เต็มที่จากภาษีที่จ่ายคุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์ค่ะ

ไม่ใช่ลุงตู่แล้วใครจะทำได้..เลิฟรักถอดรหัสใจ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ความเชื่อมั่นมาจากรัฐบาลทำงานมีประสิทธิภาพ และเป็นรูปธรรม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่