'อุตสาหกรรม' แต่งตั้งคนใกล้ชิดรับเงินเดือน iLaw เปิดข้อมูลคณะทำงาน ส.ว. ปี 63 ญาติ-คนใกล้ชิดกว่าครึ่งร้อย
https://prachatai.com/journal/2022/06/99103
iLaw เปิดข้อมูลคณะทำงาน ส.ว. ปี 63 พบการแต่งตั้งญาติ-คนใกล้ชิดกว่าครึ่งร้อย ไม่ว่าจะผ่านการแต่งตั้งทางตรง หรือการนำญาติไป "ฝากเลี้ยง" กับ ส.ว. คนอื่น รวมถึงยังพบคนในเครื่องแบบทั้งทหารและตำรวจอีกกว่าครึ่งพัน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับ คสช. และนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลอีกหลากหลายคน เรียกได้ว่าการแต่งตั้งคนใกล้ชิดเพื่อมารับค่าตอบแทนรายเดือนยังคงทำเป็น "อุตสาหกรรม"
16 มิ.ย. 2565 เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ได้ยื่นข้อข้อมูลได้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อขอข้อมูลรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัวของสมาชิกวุฒิสภาทุกคนจากสำนักเลขาธิการวุฒิสภา แต่ต่อมาในวันที่ 13 มิ.ย. 2565 สำนักเลขาธิการวุฒิสภาได้ส่งหนังสือตอบกลับโดยระบุว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่อาจเปิดเผยได้ พร้อมทั้งระบุว่าสามารถอุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผยดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารได้ภายใน 15 วัน
ทาง iLaw จะดำเนินการอุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อไป เนื่องจากเห็นว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะที่ทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาสามารถเก็บรวบรวมและเปิดเผยได้ เพราะตำแหน่งดังกล่าวเป็นตำแหน่งทางการเมืองที่มีการสนับสนุนจากเงินงบประมาณของประเทศ ดังนั้น สาธารณชนย่อมมีสิทธิที่จะรับรู้ถึงการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าว อีกทั้ง ลำพังเพียงรายชื่อและตำแหน่งของคณะทำงาน ส.ว. นั้นก็เป็นข้อมูลที่พึงรับรู้ได้ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวแต่ประการใด
อย่างไรก็ดี จากข้อมูลคณะทำงานของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 พบว่า ส.ว. มีการแต่งตั้งเครือญาติของตัวเองเข้ามาเป็นคณะทำงานมากกว่าครึ่งร้อย ไม่ว่าจะผ่านการแต่งตั้งทางตรง คือแต่งตั้งให้ญาติเข้ามาเป็นคณะทำงานของตัวเอง หรือการนำญาติของตัวเองไป
"ฝากเลี้ยง" กับ ส.ว. คนอื่น รวมถึงยังพบคนในเครื่องแบบทั้งทหารและตำรวจอีกกว่าครึ่งพัน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับ คสช. และนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลอีกหลากหลายคน เรียกได้ว่าการแต่งตั้งคนใกล้ชิดเพื่อมารับค่าตอบแทนรายเดือนยังคงทำเป็น "อุตสาหกรรม" ขนาดใหญ่ไม่ต่างจากในยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงแต่ซ่อนรูปอยู่ใน ส.ว.แต่งตั้ง ที่เครือญาติคนรู้จักยังได้ประโยชน์อย่างมหาศาลอยู่เช่นเดิม
ตรวจรายชื่อ คณะทำงาน ส.ว. พบการแต่งตั้งเครือญาติตัวเองกว่าครึ่งร้อย
จากข้อมูลที่ iLaw ได้รับมา ณ วันที่ 30 ก.ย. 2563 พบว่า ส.ว. มีการแต่งตั้งเครือญาติของตัวเองเข้ามาเป็นคณะทำงานมากกว่าครึ่งร้อย โดยแบ่งรูปแบบการแต่งตั้งออกเป็นสองประเภท ได้แก่
หนึ่ง การแต่งตั้งบุคคลที่ความเกี่ยวข้องโดยตรง หรือ การแต่งตั้งให้ญาติเข้ามาเป็นคณะทำงานของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น ส.ว.
กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ที่มีการแต่งตั้ง
พันธวัสย์ รัตนวราหะ เป็นผู้ชำนาญการ และ
ลักษ์คณา รัตนวราหะ เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน หรือ ส.ว.
ถาวร เทพวิมลเพชรกุล แต่งตั้ง
ทศพร เทพวิมลเพชรกุล และ
ธนพล เทพวิมลเพชรกุล เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน หรือ ส.ว.
พลเดช ปิ่นประทีป แต่งตั้ง
วณี ปิ่นประทีป เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
สอง การแต่งตั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตัวเองไว้กับบุคคลอื่น หรือ การนำญาติของตัวเองไป “ฝากเลี้ยง” กับ ส.ว. คนอื่น ยกตัวอย่างเช่น พลเอก
เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ แต่งตั้ง
วัชรชนก วงษ์สุวรรณ (ญาติของ ส.ว. พลเรือเอก
ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ น้องชายของพลเอก
ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน หรือ
สมชาย แสวงการ แต่งตั้ง
อามาจรี เสริมสุข (ญาติของ ส.ว.
จัตุรงค์ เสริมสุข) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน และ
จัตุรงค์ เสริมสุข แต่งตั้ง
เอกชัย แสวงการ (ญาติของ ส.ว.
สมชาย แสวงการ) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน เป็นต้น
จากข้อมูลคณะทำงานของ ส.ว. เมื่อปี 2563 iLaw ยังพบด้วยว่า ส.ว. ที่มีญาติตัวเองเป็นคณะทำงานมากที่สุดคือ กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ และถาวร เทพวิมลเพชรกุล ซึ่งมีสามคนเท่ากัน โดยกิตติศักดิ์แต่งตั้งญาติตัวเองสองคนและนามสกุลรัตนวราหะหนึ่งคนอยู่ในคณะทำงานของกรรณภว์ ธนภรรคภวิน ในขณะที่ถาวรแต่งตั้งญาติทั้งสามคนเป็นคณะทำงานของตนเองทั้งหมด ส่วนญาติของ ส.ว. ที่ "ฝากเลี้ยง" ยังพบลักษณะแลกกันเลี้ยง เช่น เอกชัย แสวงการ ญาติของสมชาย แสวงการ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยดำเนินงานของ
จัตุรงค์ เสริมสุข ในขณะที่
อามาจรี เสริมสุข ญาติของ
จัตุรงค์ เสริมสุข ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยดำเนินงานของสมชาย แสวงการด้วย
"คณะทำงานลายพราง" พบคนมียศตำรวจ-ทหาร เป็นคณะทำงานอีกร่วม 493 คน
นอกจากนี้ ในคณะทำงานของ ส.ว. ยังเต็มไปด้วยคนในเครื่องแบบทั้งทหารและตำรวจถึง 493 คน โดยเป็นคนยศใหญ่ตั้งแต่พลตรีหรือพลตำรวจตรีถึงพลเอกหรือพลตำรวจเอกเกือบครึ่งหนึ่ง คือ 188 คน และมียศระดับนายพันหรือนาวาอยู่อีก 119 คน ที่เหลือเป็นทหารหรือตำรวจยศร้อยตรีลงมา มีทหารตำรวจชั้นประทวนอยู่ 37 คน
โดยส.ว. หลายคนมีคณะทำงานเป็นทหารหรือตำรวจทั้งหมดแปดคนหรืออย่างน้อยก็เกือบทั้งชุด เช่น พลเอก
กนิษฐ์ ชาญปรีชญา มีคณะทำงานเป็นทหารตั้งแต่ยศพลเอกไปจนถึงสิบตรีหมดทั้งแปดคน พลอากาศเอก
มานัต วงษ์วาทย์ มีคณะทำงานเป็นทหารอากาศทั้งหมด พลเรือเอก
พัลลภ ตมิศานนท์ มีทหารอยู่ในคณะทำงานทั้งหมดเจ็ดจากแปดคน พลตำรวจโท
สมหมาย กองวิสัยสุข มีคณะทำงานเป็นตำรวจหกคนและอีกหนึ่งคนเป็นญาติของตัวเอง ทั้งนี้ แม้ ส.ว. ที่เป็นทหารอยู่แล้วก็มักมีคณะทำงานเป็นทหารตามไปด้วย แต่ก็มี ส.ว. สายพลเรือนที่มีทหารหรือตำรวจอยู่ในคณะทำงานด้วยเช่นกัน เช่น
ณรงค์ รัตนานุกูล ซึ่งมีคณะทำงานเป็นพลตำรวจเอกสองคนและพันตำรวจเอกอีกหนึ่งคน
พบคนหน้าซ้ำ เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง/คสช. ในคณะทำงาน ส.ว.
ในบรรดาคณะทำงานของ ส.ว. ยังพบคนที่มีความสัมพันธ์กับ คสช. หรือรัฐบาล คสช. ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อมอีกหลายคน บางคนเคยทำงานให้กับรัฐบาลทหาร ในขณะที่บางคนก็เคยมีเครือญาติที่ดำรงตำแหน่งสำคัญใน คสช. อีกด้วย ซึ่งภายหลังจากที่ คสช. สลายตัวไป คนหน้าเดิมนามสกุลซ้ำเหล่านี้ก็หวนกลับมาอีกครั้งในรูปแบบของคณะทำงานของ ส.ว. แต่งตั้ง
ยกตัวอย่างเช่น
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้ คสช. ที่ถูกคว่ำ และอดีตรองประธาน สปช. ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้เชี่ยวชาญของ
ดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ หรือ
ดาว์ปกรณ์ รัตนสุวรรณ ลูกของ
ดาวพงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรีและอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาล คสช. ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยดำเนินงานของ ร้อยเอก
ประยุทธ เสาวคนธ์ หรือ พลเอก
คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยดำเนินงานของ พลเอก
นพดล อินทปัญญา หรือ
จุฑารัตน์ ซำศิริพงษ์ ญาติของ
พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ โฆษกพรรคพลังประชารัฐ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยดำเนินงานของดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ เป็นต้น
คณะทำงาน ส.ว. มีแปดคน-ค่าตอบแทนหลักหมื่น สามปีใช้งบไปกว่าพันล้านบาท
หนังสือคู่มือชื่อ “สิทธิประโยชน์ของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ” ฉบับที่ตีพิมพ์เดือนเมษายน 2562 ก่อนการแต่งตั้งวุฒิสภาชุดปัจจุบันพอดี กำหนดค่าตอบแทนในการนั่งอยู่ในตำแหน่งของ ส.ว. และกำหนดค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานของ ส.ว. ได้ ดังนี้
๐ ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ส.ว. คนละ 1 ตำแหน่ง ค่าตอบแทนเดือนละ 24,000 บาท
๐ ตำแหน่งผู้ชำนาญการประจำตัว ส.ว. คนละ 2 ตำแหน่ง ค่าตอบแทนเดือนละ 15,000 บาท
๐ ตำแหน่งผู้ช่วยดำเนินงานของ ส.ว. คนละ 5 ตำแหน่ง ค่าตอบแทนเดือนละ 15,000 บาท
โดยถ้าลองคำนวณยอดเงินงบประมาณที่ต้องจ่ายเพื่อตำแหน่งดังกล่าวตลอดสามปีที่คณะทำงาน ส.ว. ปฏิบัติหน้าที่ จะอยู่ที่ประมาณ 1,162,000,000 บาท
https://ilaw.or.th/node/6167
ร่วงยกแผง! 6 หุ้นโรงกลั่น โบรกฯ แนะเลี่ยงลงทุน หลังรัฐรีดกำไรอุ้มน้ำมันแพง
https://ch3plus.com/news/economy/morning/296521
ตลาดหุ้นไทย เปิดตลาดภาคเช้าร่วงไปกว่า 10 จุด หลุด 1,550 จุด รับแรงขายกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน กอดคอกันร่วง โดยเฉพาะกลุ่ม PTT เป็นตัวฉุดตลาด ตอบรับปัจจัยลบหลักคือมาตรการของภาครัฐที่ขอให้ช่วยส่งเงินจากกำไรค่าการกลั่นเพื่อนำมาพยุงราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ
นักวิเคราะห์ ชี้ว่า แม้ช่วยประชาชนช่วงสั้น แต่ผลเสียระยาวมากกว่า ทั้งกระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ บิดเบือนกลไก หวั่นทำผู้ประกอบการหนีไปรุกส่งออกกันหมด
ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.อาร์เอชบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนี SET ในช่วงต้นภาคเช้าปรับตัวลดลงไปกว่า 10 จุด รับแรงกดดันหลักมาจากแรงขายกลุ่มพลังงานโรงกลั่นและที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันกดดันดัชนีเป็นหลักตอบรับมาตรการภาครัฐที่ขอให้ส่งเงินมาช่วยเยียวยาประชาชน ส่งผลให้มีแรงเทขายในกลุ่มดังกล่าวออกมามาก และคาดว่านักลงทุนต่างชาติจะเป็นกลุ่มหลักที่ขายหุ้นในกลุ่มดังกล่าวออกมา ประกอบกับ ดัชนีย่อตัวลงมาหลุดแนวรับสำคัญที่ 1,550 จุด ทำให้ดัชนีไหลลงต่อเนื่อง โดยให้แนวรับต่อไปที่ 1,540-1,530 จุด
JJNY : 'อุตสาหกรรม'แต่งตั้งคนใกล้ชิดรับเงินเดือน│ร่วงยกแผง! 6 หุ้นโรงกลั่น│แห่นำรถติดแก๊ส│‘ประเสริฐพงษ์’จี้‘กนกวรรณ’
https://prachatai.com/journal/2022/06/99103
iLaw เปิดข้อมูลคณะทำงาน ส.ว. ปี 63 พบการแต่งตั้งญาติ-คนใกล้ชิดกว่าครึ่งร้อย ไม่ว่าจะผ่านการแต่งตั้งทางตรง หรือการนำญาติไป "ฝากเลี้ยง" กับ ส.ว. คนอื่น รวมถึงยังพบคนในเครื่องแบบทั้งทหารและตำรวจอีกกว่าครึ่งพัน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับ คสช. และนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลอีกหลากหลายคน เรียกได้ว่าการแต่งตั้งคนใกล้ชิดเพื่อมารับค่าตอบแทนรายเดือนยังคงทำเป็น "อุตสาหกรรม"
16 มิ.ย. 2565 เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ได้ยื่นข้อข้อมูลได้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อขอข้อมูลรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัวของสมาชิกวุฒิสภาทุกคนจากสำนักเลขาธิการวุฒิสภา แต่ต่อมาในวันที่ 13 มิ.ย. 2565 สำนักเลขาธิการวุฒิสภาได้ส่งหนังสือตอบกลับโดยระบุว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่อาจเปิดเผยได้ พร้อมทั้งระบุว่าสามารถอุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผยดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารได้ภายใน 15 วัน
ทาง iLaw จะดำเนินการอุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อไป เนื่องจากเห็นว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะที่ทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาสามารถเก็บรวบรวมและเปิดเผยได้ เพราะตำแหน่งดังกล่าวเป็นตำแหน่งทางการเมืองที่มีการสนับสนุนจากเงินงบประมาณของประเทศ ดังนั้น สาธารณชนย่อมมีสิทธิที่จะรับรู้ถึงการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าว อีกทั้ง ลำพังเพียงรายชื่อและตำแหน่งของคณะทำงาน ส.ว. นั้นก็เป็นข้อมูลที่พึงรับรู้ได้ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวแต่ประการใด
อย่างไรก็ดี จากข้อมูลคณะทำงานของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 พบว่า ส.ว. มีการแต่งตั้งเครือญาติของตัวเองเข้ามาเป็นคณะทำงานมากกว่าครึ่งร้อย ไม่ว่าจะผ่านการแต่งตั้งทางตรง คือแต่งตั้งให้ญาติเข้ามาเป็นคณะทำงานของตัวเอง หรือการนำญาติของตัวเองไป "ฝากเลี้ยง" กับ ส.ว. คนอื่น รวมถึงยังพบคนในเครื่องแบบทั้งทหารและตำรวจอีกกว่าครึ่งพัน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับ คสช. และนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลอีกหลากหลายคน เรียกได้ว่าการแต่งตั้งคนใกล้ชิดเพื่อมารับค่าตอบแทนรายเดือนยังคงทำเป็น "อุตสาหกรรม" ขนาดใหญ่ไม่ต่างจากในยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงแต่ซ่อนรูปอยู่ใน ส.ว.แต่งตั้ง ที่เครือญาติคนรู้จักยังได้ประโยชน์อย่างมหาศาลอยู่เช่นเดิม
ตรวจรายชื่อ คณะทำงาน ส.ว. พบการแต่งตั้งเครือญาติตัวเองกว่าครึ่งร้อย
จากข้อมูลที่ iLaw ได้รับมา ณ วันที่ 30 ก.ย. 2563 พบว่า ส.ว. มีการแต่งตั้งเครือญาติของตัวเองเข้ามาเป็นคณะทำงานมากกว่าครึ่งร้อย โดยแบ่งรูปแบบการแต่งตั้งออกเป็นสองประเภท ได้แก่
หนึ่ง การแต่งตั้งบุคคลที่ความเกี่ยวข้องโดยตรง หรือ การแต่งตั้งให้ญาติเข้ามาเป็นคณะทำงานของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น ส.ว. กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ที่มีการแต่งตั้ง พันธวัสย์ รัตนวราหะ เป็นผู้ชำนาญการ และ ลักษ์คณา รัตนวราหะ เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน หรือ ส.ว.ถาวร เทพวิมลเพชรกุล แต่งตั้ง ทศพร เทพวิมลเพชรกุล และ ธนพล เทพวิมลเพชรกุล เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน หรือ ส.ว.พลเดช ปิ่นประทีป แต่งตั้ง วณี ปิ่นประทีป เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
สอง การแต่งตั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตัวเองไว้กับบุคคลอื่น หรือ การนำญาติของตัวเองไป “ฝากเลี้ยง” กับ ส.ว. คนอื่น ยกตัวอย่างเช่น พลเอก เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ แต่งตั้ง วัชรชนก วงษ์สุวรรณ (ญาติของ ส.ว. พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ น้องชายของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน หรือ สมชาย แสวงการ แต่งตั้ง อามาจรี เสริมสุข (ญาติของ ส.ว. จัตุรงค์ เสริมสุข) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน และ จัตุรงค์ เสริมสุข แต่งตั้ง เอกชัย แสวงการ (ญาติของ ส.ว. สมชาย แสวงการ) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน เป็นต้น
จากข้อมูลคณะทำงานของ ส.ว. เมื่อปี 2563 iLaw ยังพบด้วยว่า ส.ว. ที่มีญาติตัวเองเป็นคณะทำงานมากที่สุดคือ กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ และถาวร เทพวิมลเพชรกุล ซึ่งมีสามคนเท่ากัน โดยกิตติศักดิ์แต่งตั้งญาติตัวเองสองคนและนามสกุลรัตนวราหะหนึ่งคนอยู่ในคณะทำงานของกรรณภว์ ธนภรรคภวิน ในขณะที่ถาวรแต่งตั้งญาติทั้งสามคนเป็นคณะทำงานของตนเองทั้งหมด ส่วนญาติของ ส.ว. ที่ "ฝากเลี้ยง" ยังพบลักษณะแลกกันเลี้ยง เช่น เอกชัย แสวงการ ญาติของสมชาย แสวงการ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยดำเนินงานของจัตุรงค์ เสริมสุข ในขณะที่ อามาจรี เสริมสุข ญาติของจัตุรงค์ เสริมสุข ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยดำเนินงานของสมชาย แสวงการด้วย
"คณะทำงานลายพราง" พบคนมียศตำรวจ-ทหาร เป็นคณะทำงานอีกร่วม 493 คน
นอกจากนี้ ในคณะทำงานของ ส.ว. ยังเต็มไปด้วยคนในเครื่องแบบทั้งทหารและตำรวจถึง 493 คน โดยเป็นคนยศใหญ่ตั้งแต่พลตรีหรือพลตำรวจตรีถึงพลเอกหรือพลตำรวจเอกเกือบครึ่งหนึ่ง คือ 188 คน และมียศระดับนายพันหรือนาวาอยู่อีก 119 คน ที่เหลือเป็นทหารหรือตำรวจยศร้อยตรีลงมา มีทหารตำรวจชั้นประทวนอยู่ 37 คน
โดยส.ว. หลายคนมีคณะทำงานเป็นทหารหรือตำรวจทั้งหมดแปดคนหรืออย่างน้อยก็เกือบทั้งชุด เช่น พลเอก กนิษฐ์ ชาญปรีชญา มีคณะทำงานเป็นทหารตั้งแต่ยศพลเอกไปจนถึงสิบตรีหมดทั้งแปดคน พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ มีคณะทำงานเป็นทหารอากาศทั้งหมด พลเรือเอก พัลลภ ตมิศานนท์ มีทหารอยู่ในคณะทำงานทั้งหมดเจ็ดจากแปดคน พลตำรวจโท สมหมาย กองวิสัยสุข มีคณะทำงานเป็นตำรวจหกคนและอีกหนึ่งคนเป็นญาติของตัวเอง ทั้งนี้ แม้ ส.ว. ที่เป็นทหารอยู่แล้วก็มักมีคณะทำงานเป็นทหารตามไปด้วย แต่ก็มี ส.ว. สายพลเรือนที่มีทหารหรือตำรวจอยู่ในคณะทำงานด้วยเช่นกัน เช่น ณรงค์ รัตนานุกูล ซึ่งมีคณะทำงานเป็นพลตำรวจเอกสองคนและพันตำรวจเอกอีกหนึ่งคน
พบคนหน้าซ้ำ เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง/คสช. ในคณะทำงาน ส.ว.
ในบรรดาคณะทำงานของ ส.ว. ยังพบคนที่มีความสัมพันธ์กับ คสช. หรือรัฐบาล คสช. ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อมอีกหลายคน บางคนเคยทำงานให้กับรัฐบาลทหาร ในขณะที่บางคนก็เคยมีเครือญาติที่ดำรงตำแหน่งสำคัญใน คสช. อีกด้วย ซึ่งภายหลังจากที่ คสช. สลายตัวไป คนหน้าเดิมนามสกุลซ้ำเหล่านี้ก็หวนกลับมาอีกครั้งในรูปแบบของคณะทำงานของ ส.ว. แต่งตั้ง
ยกตัวอย่างเช่น บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้ คสช. ที่ถูกคว่ำ และอดีตรองประธาน สปช. ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้เชี่ยวชาญของ ดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ หรือ ดาว์ปกรณ์ รัตนสุวรรณ ลูกของดาวพงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรีและอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาล คสช. ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยดำเนินงานของ ร้อยเอก ประยุทธ เสาวคนธ์ หรือ พลเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยดำเนินงานของ พลเอก นพดล อินทปัญญา หรือ จุฑารัตน์ ซำศิริพงษ์ ญาติของพัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ โฆษกพรรคพลังประชารัฐ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยดำเนินงานของดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ เป็นต้น
คณะทำงาน ส.ว. มีแปดคน-ค่าตอบแทนหลักหมื่น สามปีใช้งบไปกว่าพันล้านบาท
หนังสือคู่มือชื่อ “สิทธิประโยชน์ของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ” ฉบับที่ตีพิมพ์เดือนเมษายน 2562 ก่อนการแต่งตั้งวุฒิสภาชุดปัจจุบันพอดี กำหนดค่าตอบแทนในการนั่งอยู่ในตำแหน่งของ ส.ว. และกำหนดค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานของ ส.ว. ได้ ดังนี้
๐ ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ส.ว. คนละ 1 ตำแหน่ง ค่าตอบแทนเดือนละ 24,000 บาท
๐ ตำแหน่งผู้ชำนาญการประจำตัว ส.ว. คนละ 2 ตำแหน่ง ค่าตอบแทนเดือนละ 15,000 บาท
๐ ตำแหน่งผู้ช่วยดำเนินงานของ ส.ว. คนละ 5 ตำแหน่ง ค่าตอบแทนเดือนละ 15,000 บาท
โดยถ้าลองคำนวณยอดเงินงบประมาณที่ต้องจ่ายเพื่อตำแหน่งดังกล่าวตลอดสามปีที่คณะทำงาน ส.ว. ปฏิบัติหน้าที่ จะอยู่ที่ประมาณ 1,162,000,000 บาท
https://ilaw.or.th/node/6167
ร่วงยกแผง! 6 หุ้นโรงกลั่น โบรกฯ แนะเลี่ยงลงทุน หลังรัฐรีดกำไรอุ้มน้ำมันแพง
https://ch3plus.com/news/economy/morning/296521
ตลาดหุ้นไทย เปิดตลาดภาคเช้าร่วงไปกว่า 10 จุด หลุด 1,550 จุด รับแรงขายกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน กอดคอกันร่วง โดยเฉพาะกลุ่ม PTT เป็นตัวฉุดตลาด ตอบรับปัจจัยลบหลักคือมาตรการของภาครัฐที่ขอให้ช่วยส่งเงินจากกำไรค่าการกลั่นเพื่อนำมาพยุงราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ
นักวิเคราะห์ ชี้ว่า แม้ช่วยประชาชนช่วงสั้น แต่ผลเสียระยาวมากกว่า ทั้งกระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ บิดเบือนกลไก หวั่นทำผู้ประกอบการหนีไปรุกส่งออกกันหมด
ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.อาร์เอชบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนี SET ในช่วงต้นภาคเช้าปรับตัวลดลงไปกว่า 10 จุด รับแรงกดดันหลักมาจากแรงขายกลุ่มพลังงานโรงกลั่นและที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันกดดันดัชนีเป็นหลักตอบรับมาตรการภาครัฐที่ขอให้ส่งเงินมาช่วยเยียวยาประชาชน ส่งผลให้มีแรงเทขายในกลุ่มดังกล่าวออกมามาก และคาดว่านักลงทุนต่างชาติจะเป็นกลุ่มหลักที่ขายหุ้นในกลุ่มดังกล่าวออกมา ประกอบกับ ดัชนีย่อตัวลงมาหลุดแนวรับสำคัญที่ 1,550 จุด ทำให้ดัชนีไหลลงต่อเนื่อง โดยให้แนวรับต่อไปที่ 1,540-1,530 จุด