หลังจากที่ประเทศอินเดียได้รับเอกราชเมื่อปี 1947 ก็ได้มีการเข้าร่วมเครือจักรภพก่อนที่จะแยกตัวในปี 1950 พร้อมประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 1950 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของอินเดีย และก็นับเป็นหนึ่งในประเทศที่ไม่เคยมีการก่อนรัฐประหารสำเร็จเลยซึ่งก็มีหลายปัจจัยที่สำคัญ แต่ปัจจัยที่น่าสนใจที่สุดคือจำกัดจำนวนนายพล หลายคนรู้กันว่านายพลของประเทศไทยเยอะมากอย่างปลัดกระทรวงกลาโหมได้ยศพลเอกทั้งๆที่ความเป็นจริงแล้วควรได้แค่ยศพลตรีหรือพลโท ซึ่งถึงจะไม่ใช่ตำแหน่งที่สำคัญก็ได้เป็นพลเอกแล้ว แต่ประเทศอินเดียมีพลเอกแค่ 3 คนและ 3 ตำแหน่ง ซึ่งได้แก่ผู้บัญชาการทหารบก(พลเอก) ผู้บัญชาการทหารเรือ(พลเรือเอก) และผู้บัญชาการทหารอากาศ(พลอากาศเอก) ส่วนผู้บัญชาการทหารสูงสุดจะตกเป็นของประธานาธิบดีส่วนเมื่อเกษียณแล้วบางคนก็จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศต่างๆซึ่งอยู่ห่างไกลจากประเทศอินเดียหรือจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งวุฒิสภาอินเดียในทางปฏิบัติไม่มีอำนาจทางการเมือง ไม่สามารถเลือกองค์กรอิสระได้ พูดง่ายๆเลยคือลอกแบบสภาขุนนางของอังกฤษมาเลย และอีกตำแหน่งหนึ่งก็คือผู้ว่าการรัฐ ซึ่งถึงแม้ว่าผู้ว่าการรัฐจะมาจากการแต่งตั้ง แต่ก็ไม่มีอำนาจบริหาร ทำหน้าที่เป็นประมุขรัฐต่างๆเท่านั้น พูดง่ายๆเป็นแค่หัวโขน มีอำนาจแค่แต่งตั้งหัวหน้ารัฐบาลของรัฐหรือมุขมนตรี ซึ่งสภาของรัฐเป็นผู้เสนอชื่อต่อผู้ว่าการรัฐ พูดง่ายๆเลยคือมาจากการเลือกตั้ง และที่สำคัญเมื่อเกษียณแล้ว ถ้าต้องการจะใช้ยศนำหน้าต่อไปต้องมีการพ่วงข้างหลังว่าเกษียณ ยกตัวอย่าง พลเอก Bikram Singh เมื่อเกษียณอายุราชการแล้วก็จะกลายเป็นพลเอก(เกษียณ) โดยทั้งหมดเพื่อไม่ให้อดีตนายพลนั้นเอายศไปหาผลประโยชน์ หาแสงหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าหิวแสง ส่วนยศพลตรี และพลโทก็มีจำนวนที่จำกัด ซึ่งก็จะมีกองทัพละ 10-12 คนซึ่งก็นับเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศอินเดียรอดพ้นจากการรัฐประหารมาถึงทุกวันนี้ได้
รู้หรือไม่ ประเทศอินเดียมีพลเอกแค่ 3 คน