"มัมมี่" เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ในยุโรปมาเป็นเวลากว่า 500 ปี




มัมมี่ผู้หญิงที่ไม่ปรากฏชื่อนี้ ถูกค้นพบที่เมือง Thebes ในอียิปต์โบราณ ซึ่งมีอายุย้อนไปถึง 700 ปีก่อนคริสตกาล 
(Cr.ภาพ Universal History Archive/Universal Images Group via Getty Images)
 

เป็นเวลาหลายพันปีแล้วที่ชาวอียิปต์ได้ฝึกฝนกระบวนการพื้นฐาน เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมรับชีวิตนิรันดร์ในรูปแบบของ "มัมมี่" ในที่ฝังศพสำหรับราช
วงศ์และชนชั้นสูงอื่นๆ แต่ช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมา สถานที่ฝังศพของพวกเขาได้ถูกค้นพบและได้รับการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ในยุโรปและอเมริกาเหนือ ช่วงเวลานั้น นักวิชาการได้ใช้เครื่องมือที่ทรงพลังมากขึ้น ตั้งแต่การแกะ การผ่า เอกซเรย์ ไปจนถึงวิธีการล่าสุดคือการสแกน CT เพื่อศึกษาอวัยวะภายในซึ่งได้ให้ข้อมูลแก่เราเกี่ยวกับทั้งชีวิตและความตายในอียิปต์โบราณที่ไม่คาดคิดเมื่อ 200 ปีก่อน แต่ข้อมูลบางแห่งระบุว่าว่ามัมมี่ได้ถูกนำออกจากอียิปต์และถูกรวบรวมโดยทางตะวันตกนานกว่านั้นมาก
  
ความหลงใหลในความตายของอียิปต์โบราณนั้นเริ่มขึ้นในยุคกลางในศตวรรษที่ 12 เมื่อเภสัชกรชาวยุโรปได้รวบรวมมัมมี่และซากศพมนุษย์ที่มีผ้าพันไว้
มาจากริมฝั่งแม่น้ำไนล์ เพราะเขาเชื่อว่าพวกมันมีคุณสมบัติเป็นยาจากโลกภายนอกที่สามารถรักษาได้ทุกอย่างตั้งแต่กาฬโรคไปจนถึงอาการปวดหัว โดยเฉพาะ "mumia" จากมัมมี่ที่บดเป็นผงและซากศพมนุษย์ที่ขัดสีแล้วเพื่อสรรพคุณทางยา แนวคิดนี้แพร่หลายมากจนมัมมี่ถูกกำหนดให้เป็นยารักษาโรคจากนั้นจนอีก 500 ปีถัดมา 
  
จากความเชื่อดังกล่าว ชาวยุโรปจึงกินมัมมี่อียิปต์เป็นยามาตั้งแต่ยุคกลางจนถึงศตวรรษที่ 19 โดยที่บางคนก็ไม่สนใจอีกต่อไปว่าที่พวกเขากินเข้าไปนั้นเป็นมัมมี่หรือไม่ แม้ต่อมาพวกมันจะกลายเป็นความบันเทิงหลังอาหารค่ำของสังคมวิทยาศาสตร์ และกลายเป็นแหล่งพึ่งพาผงสียอดนิยมที่น่าประหลาดใจให้กับจิตรกรหลายคนที่ยังคงใช้อยู่จนถึงศตวรรษที่ 20 ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม มัมมี่อียิปต์โบราณก็ยังเป็นเรื่องที่น่าดึงดูดใจ และเป็นความจริงที่ว่า
มีช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ของยุโรปที่พลเมืองบางส่วนตัดสินใจกินพวกมัน ซึ่งการปฏิบัตินี้เป็นเพียงบางวิธีที่ผู้คนได้ทำสิ่งที่มีประโยชน์จากความตาย
 

 "Mumia" ที่สร้างขึ้นจากร่างมัมมี่ที่นำมาจากสุสานอียิปต์ เป็นยารักษาโรคที่บริโภคมานานหลายศตวรรษ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป 
 
 
ในศตวรรษที่16 การกินมัมมี่อียิปต์ถึงจุดสูงสุดในยุโรป มัมมี่สามารถพบได้บนชั้นวางยาในรูปของร่างที่หักเป็นชิ้นๆ หรือบดเป็นผง ซึ่งนักวิจัยอธิบายว่า
" ความเชื่อที่ว่ามัมมี่สามารถรักษาโรคได้ทำให้ผู้คนบริโภคสิ่งที่มีรสชาติแย่ๆ มานานหลายศตวรรษ เนื่องจากขณะนั้นปราศจากยาปฏิชีวนะ แพทย์ได้สั่งกะโหลก กระดูก และเนื้อมัมมี่ที่บดแล้วเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย " คำถามคือทำไมชาวยุโรปถึงเชื่อในคุณค่าทางยาของมัมมี่ และคำตอบอาจมาจากความเข้าใจผิดหลายอย่าง กล่าวคือ
  
การทำมัมมี่นั้นเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลานานเพื่อช่วยรักษาร่างกายสำหรับการเดินทางในชีวิตหลังความตาย แม้ว่ากระบวนการจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่แนวทางปฏิบัติหลักหลายประการยังคงเหมือนเดิม โดยหลังจากที่เอาอวัยวะภายในของร่างกายออกไปแล้ว นักบวชจะใช้ natron ซึ่งเป็นเกลือที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเพื่อทำให้แห้ง บางครั้งก็ใช้สารที่มีกลิ่นหอมเช่น มดยอบมาชโลมร่าง เรซินสีดำเหนียวที่เรียกว่าน้ำมันดินยังถูกใช้เป็นสารเคลือบเงาและเป็นวัสดุประสานเพื่อรักษาความอ่อนนุ่มของเนื้อ หลังจากถูกยัดด้วยผ้าขี้ริ้วลินินหรือขี้เลื่อยก่อนที่จะถูกปิดผนึกและพันด้วยผ้าอีกที
  
สำหรับน้ำมันดิน ส่วนผสมที่สำคัญของมัมมี่อียิปต์โบราณ เป็นสิ่งที่ถูกเข้าใจผิดอย่างมากในกรณีนี้ มันถูกใช้เป็นกาวและใช้กันน้ำในสิ่งต่าง ๆ จนถึง 5 สหัสวรรษก่อนคริสต์ศักราชที่ชาวสุเมเรียนใช้ติดเครื่องประดับและสิ่งของต่างๆ บนรูปปั้น ฯ ไม่เพียงมีประโยชน์ในการก่อสร้างและการประดิษฐ์เท่านั้น แต่สารหนาสีดำเหนียวนี้เป็นยาแผนโบราณของชาวเปอร์เซียในยุคกลาง ซึ่งถูกโน้มน้าวว่าการพอกน้ำมันดินสามารถเร่งการหายของกระดูกหัก ฟกช้ำช่วยเรื่องโรคระบบทางเดินหายใจ แม้กระทั่งปัญหาทางเดินอาหาร
 
 
ขวดยาสำหรับ "mumia" จากศตวรรษที่ 18 / Cr.Wikimedia Commons

 
แม้แต่ผู้เฒ่า Pliny และ Pedanius Dioscorides ในศตวรรษแรกและ AD Galen ในศตวรรษที่ 2 ยังได้เขียนเกี่ยวกับคุณสมบัติในการรักษาของมัน โดย Dioscorides เขียนว่า น้ำมันดินที่เรียกกันในภาษาเปอร์เซียว่า "mumiya" จากทะเลเดดซีเป็นยาที่ดีที่สุด ส่วนข้อมูลของผู้เฒ่า Pliny เขียนว่ามันสามารถรักษาบาดแผลและโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้มากมาย (mumiya มาจากคำว่า mūm หมายถึงขี้ผึ้ง คำนี้นำไปสู่ชาวโรมันที่ใช้คำภาษาละตินสำหรับยาว่า Mumia และนำไปสู่คำภาษาอังกฤษสำหรับว่า Mummy โดยแพทย์ในกรุงแบกแดดชื่อ Rhazes ในศตวรรษที่ 11 ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่ใช้คำแรกสุดของคำว่า mumia สำหรับสารนี้) 
  
ชาวอียิปต์โบราณจึงเชื่อว่าน้ำมันดินเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการรักษาในโลกยุคโบราณมาช้านานและนำมาใช้ในระหว่างกระบวนการทำมัมมี่ จนมาถึงชาวยุโรปยุคกลางที่คิดว่าสารเหนียวสีดำจากร่างมัมมี่เป็นเรื่องมหัศจรรย์และเป็นส่วนผสมทางยาที่มีประโยชน์ แต่ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครรู้คือจริง ๆ แล้วน้ำมันดินเป็นส่วนผสมของสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่เรียกว่า "ไฮโดรคาร์บอน" ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยแอสฟัลต์ (คือ "ยางมะตอย" ที่เป็นพิษสูงและเป็นสารก่อมะเร็ง) แต่ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้ว่าน้ำมันดินยังมีคุณสมบัติต้านจุลชีพและสารฆ่าเชื้อรา และน้ำมันดินจากทะเลเดดซีมีกำมะถัน ซึ่งเป็นสารกำจัดศัตรูพืชด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสารเหนียวสีดำจากร่างมัมมี่ มีการผสมกับสมุนไพรและสิ่งอื่น ๆ จึงได้รับการยกระดับขึ้น

ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 เป็นช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดของยุโรปยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาที่มีการค้าขายมัมมี่ที่เฟื่องฟู  มัมมี่ได้รับการยกย่องทางการแพทย์ว่าสามารถปัดเป่าโรคได้เกือบทั้งหมด ความต้องการมัมมี่ของอียิปต์จึงสูงมากจนมัมมี่แท้ไม่เพียงพอและเริ่มมีการใช้มัมมี่ปลอมที่อาบด้วยยางมะตอยดิบจนถูกจับได้ นักวิชาการและแพทย์เริ่มตั้งคำถามถึงคุณค่าทางยาของมัมมี่ ในที่สุดก็มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญในศตวรรษที่ 18 เนื่องจากความสงสัยในประสิทธิภาพของมันเพิ่มขึ้นและความคิดเห็นทางการแพทย์ที่ไม่เห็นด้วยกับสารนี้ แม้ว่ายังคงมีการบริโภคอยู่แต่การใช้ยามัมมี่เริ่มล้าสมัยลงอย่างรวดเร็ว

 ในตอนต้นของยุคสมัยใหม่ในยุโรป มีประเพณีในการกินมัมมี่บด ในขณะนั้น ผู้คนต่างกล่าวถึงพลังเวทย์มนตร์ของผงนี้ว่าเป็นยาวิเศษ
นอกจากนั้น มันยังขายเป็นเม็ดสีสีน้ำตาลภายใต้ชื่อ "Caput Mortuum" (แปลตามตัวอักษรว่า dead head ) 
เมื่อถึงศตวรรษที่ 19 ผู้คนเลิกใช้มัมมี่เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยอีกต่อไป แต่ในสังคมชาววิคตอเรียแห่งอังกฤษได้จัดงานเลี้ยงกลางคืนส่วนตัว
โดยมัมมี่อียิปต์จะถูกแกะเพื่อความบันเทิง อย่างไรก็ตาม การกระทำนี้สิ้นสุดลงในต้นศตวรรษที่ 20 หลังจากถูกมองว่าเป็นการทำลายซากทางโบราณคดี

มัมมี่ไม่ได้ถูกบดเพื่อใช้เป็นยาเท่านั้น แต่ยังถูกนำมาใช้ในงานศิลปะอย่างน้อยตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึงศตวรรษที่ 19 และยังคงมีอยู่จนถึงศตวรรษที่ 20 
ในภาพคือภาพวาด Interior of a Kitchen ของ Martin Drölling ในปี 1815 ที่ใช้เม็ดสีที่ชื่อว่า "mummy brown" จากมัมมี่อียิปต์ที่บดเป็นผง
จิตรกรหลายคนในศตวรรษที่ 19 ก็ชื่นชอบเม็ดสีนี้ เพราะพบว่าเม็ดสีมีประโยชน์สำหรับการแรเงา เงาสะท้อน และให้โทนสีที่เหมือนจริง
 
น้ำมันดินธรรมชาติหรือยางมะตอยจากทะเลเดดซี 
น้ำมันดินมีประโยชน์ในการดองยาด้วยเหตุผลที่ว่า มันปกป้องเนื้อของซากศพจากความชื้น แมลง แบคทีเรีย และเชื้อรา และคุณสมบัติต้านจุลชีพของมันช่วยป้องกันการสลายตัว นักวิชาการบางคนแนะนำว่า มีการใช้น้ำมันดินในมัมมี่เป็นสัญลักษณ์เพราะ สีดำเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าโอซิริสของอียิปต์
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และการเกิดใหม่ / Cr.https://en.wikipedia.org/wiki/Mummia
 
Cr.https://www.livescience.com/eating-egyptian-mummies /  Marcus Harmes 
Cr.https://aeon.co/essays/when-we-lived-with-death-mummies-were-medicine-and-paint / Michael Press / Sam Haselby 
Cr.https://www.sciencehistory.org/distillations/mummies-and-the-usefulness-of-death / Mariel Carr 
Cr.https://www.usanews.net/breaking/the-day-europeans-started-eating-egyptian-mummies-h23430.html 
Cr.https://www.medicalnewstoday.com/articles/mumia-the-strange-history-of-human-remains-as-medicine
Cr.https://www.laphamsquarterly.org/roundtable/brief-history-medical-cannibalism
Cr.https://jordanssurfacing.co.uk/what-is-bituminous-road/
  
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่