สังคมไทยอยู่ในวังวนของความแตกแยก แบ่งฝ่าย อย่างน่าเป็นห่วง
๑) เมื่อประเทศอยู่ภายใต้การยึดอำนาจของระบอบเผด็จการโดยทุนนิยมสามานย์ (ระบอบทักษิณ) สังคมไทยก็แบ่งแยกเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายที่ได้ประโยชน์และเศษเสี้ยวของผลประโยชน์ที่เผด็จการโดยทุนหยิบยื่นให้ กับฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยและขุนทหาร
๒) เมื่อประเทศถูกยึดอำนาจเป็นระบอบเผด็จการโดยปืน ซึ่งอ้าง “ขอเวลาอีกไม่นานแล้วแผ่นดินที่งดงามจะคืนกลับมา” และเพื่อ “ความสงบจบที่ลุงตู่” สังคมก็แบ่งแยกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ได้ผลประโยชน์จากอำนาจ ฝ่ายที่เชื่อว่าสังคมไทยยังเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ต้องถูกปกครองโดยทหาร และผู้ที่แสวงหาตำแหน่ง เศษเสี้ยวของผลประโยชน์ที่ทหารมอบให้ฝ่ายหนึ่ง
กับอีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ยึดหลักการเสรีนิยมประชาธิปไตย บวกกับผู้นิยมระบอบทักษิณ
๓) ฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยดูจะเป็นปรปักษ์กับระบอบเผด็จการทั้งสองรูปแบบ ในแต่ละสถานการณ์ก็จะมีแนวร่วมของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในสองรูปแบบสลับกันเข้ามาร่วมด้วย
ปัญหาในปัจจุบันเกิดขึ้น เมื่อเผด็จการโดยปืนต้องการจะสืบอำนาจ โดยกำหนดกติกาในรัฐธรรมนูญให้เอื้อต่อการคงอยู่ในอำนาจ ด้วยการปลุกผีระบอบทักษิณและความเลวร้ายของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
ขณะที่พรรคการเมืองอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเคยประกาศอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย เกิดความแตกแยก ส่วนหนึ่งออกไปตั้งพรรคการเมืองเพื่อสนับสนุนขุนทหาร อีกส่วนยังอยู่ในพรรคประชาธิปัตย์ แต่มีใจภักดีต่อทหาร ส่วนที่เป็นเสรีนิยมประชาธิปไตย จึงไม่อาจทัดทานที่จะเข้าร่วมพายเรือให้ทหารนั่ง
หากการจัดตั้งรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ สามารถจัดตั้งได้โดยไม่มีพรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ในปัจจุบันก็อาจจะไม่มีพรรคร่วมรัฐบาลที่ชื่อประชาธิปัตย์ไปแล้ว เพราะพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศจุดยืนรังเกียจที่จะสนับสนุนทหารให้สืบทอดอำนาจ และไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ตั้งแต่เมื่อครั้งทำประชามติ
อย่างไรก็ตาม เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล ได้มีเงื่อนไขจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และในที่สุดได้บรรจุเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล
ผ่านมาได้ไม่นาน รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ได้แสดงฤทธิ์เดชเป็นที่ประจักษ์ของความไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะได้วางกฎเกณฑ์เพื่อสืบทอดอำนาจ โดยเฉพาะเมื่อมีสมาชิกวุฒิสภา ที่ คสช. แต่งตั้งจำนวน ๒๕๐ คน มาร่วมเลือกพลเอกประยุทธ์กลับไปเป็นนายกรัฐมนตรี อย่างเป็นเอกฉันท์ และคอยทำหน้าที่เป็นยามรักษารัฐธรรมนูญ
เมื่อปัจจุบันปรากฏว่า รัฐบาลมิได้มีเจตนาอย่างแท้จริงที่จะแก้รัฐธรรมนูญดังที่ได้ปรากฏในนโยบายของรัฐบาล ที่แถลงไว้กับรัฐสภาและประชาชน สังเกตได้จากการที่รัฐบาลไม่ยินดีเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในนามของคณะรัฐมนตรี แต่ได้บ่ายเบี่ยงให้พรรคร่วมรัฐบาลเป็นผู้เสนอ ตามความต้องการของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย และพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรค โดยอ้างว่าเป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติ
แต่เมื่อรัฐสภาอันประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พิจารณาวาระหนึ่ง ซึ่งเป็นเพียงวาระรับหลักการ สมาชิกวุฒิสภาก็ร่วมมือพร้อมใจกับ พรรคพลังประชารัฐซึ่งเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล เตะถ่วงหน่วงเวลา อ้างความจำเป็นที่จะต้องมีกรรมาธิการเพื่อศึกษาญัตติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หน่วงเวลาออกไปอีกอย่างน้อยหนึ่งเดือน
ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ไม่มีเจตจำนงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนที่เคยแสดงทีท่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็เป็นอย่างไม่เต็มใจโดยมอบภาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แก่พรรคร่วมรัฐบาล และก็เพราะเห็นว่ามีแรงกดดันจากเสียงเรียกร้องของนิสิตนักศึกษา ประชาชน และสื่อมวลชน ดังขึ้นแรงขึ้นเรื่อยๆ
แต่เมื่อพิจารณาเห็นว่าการชุมนุมของนิสิต นักศึกษา ประชาชน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายนที่ผ่านมา ได้เปลี่ยนประเด็นไปเน้นประเด็นข้อเรียกร้องเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีความอ่อนไหวจนเกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากคนบางกลุ่ม เมื่อแรงกดดันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกกลบดูเจือจางน้อยลง จึงเกิดปรากฏการณ์เตะถ่วงหน่วงเวลา ไปเริ่มพิจารณาใหม่ในสมัยประชุมหน้า
https://www.naewna.com/politic/columnist/45426
ขอคิดด้วยฅน เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง วันจันทร์ ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563, 02.00 น. วิกฤติรัฐธรรมนูญ ใคร พายเรือให้ใครนั่ง
๑) เมื่อประเทศอยู่ภายใต้การยึดอำนาจของระบอบเผด็จการโดยทุนนิยมสามานย์ (ระบอบทักษิณ) สังคมไทยก็แบ่งแยกเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายที่ได้ประโยชน์และเศษเสี้ยวของผลประโยชน์ที่เผด็จการโดยทุนหยิบยื่นให้ กับฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยและขุนทหาร
๒) เมื่อประเทศถูกยึดอำนาจเป็นระบอบเผด็จการโดยปืน ซึ่งอ้าง “ขอเวลาอีกไม่นานแล้วแผ่นดินที่งดงามจะคืนกลับมา” และเพื่อ “ความสงบจบที่ลุงตู่” สังคมก็แบ่งแยกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ได้ผลประโยชน์จากอำนาจ ฝ่ายที่เชื่อว่าสังคมไทยยังเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ต้องถูกปกครองโดยทหาร และผู้ที่แสวงหาตำแหน่ง เศษเสี้ยวของผลประโยชน์ที่ทหารมอบให้ฝ่ายหนึ่ง
กับอีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ยึดหลักการเสรีนิยมประชาธิปไตย บวกกับผู้นิยมระบอบทักษิณ
๓) ฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยดูจะเป็นปรปักษ์กับระบอบเผด็จการทั้งสองรูปแบบ ในแต่ละสถานการณ์ก็จะมีแนวร่วมของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในสองรูปแบบสลับกันเข้ามาร่วมด้วย
ปัญหาในปัจจุบันเกิดขึ้น เมื่อเผด็จการโดยปืนต้องการจะสืบอำนาจ โดยกำหนดกติกาในรัฐธรรมนูญให้เอื้อต่อการคงอยู่ในอำนาจ ด้วยการปลุกผีระบอบทักษิณและความเลวร้ายของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
ขณะที่พรรคการเมืองอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเคยประกาศอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย เกิดความแตกแยก ส่วนหนึ่งออกไปตั้งพรรคการเมืองเพื่อสนับสนุนขุนทหาร อีกส่วนยังอยู่ในพรรคประชาธิปัตย์ แต่มีใจภักดีต่อทหาร ส่วนที่เป็นเสรีนิยมประชาธิปไตย จึงไม่อาจทัดทานที่จะเข้าร่วมพายเรือให้ทหารนั่ง
หากการจัดตั้งรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ สามารถจัดตั้งได้โดยไม่มีพรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ในปัจจุบันก็อาจจะไม่มีพรรคร่วมรัฐบาลที่ชื่อประชาธิปัตย์ไปแล้ว เพราะพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศจุดยืนรังเกียจที่จะสนับสนุนทหารให้สืบทอดอำนาจ และไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ตั้งแต่เมื่อครั้งทำประชามติ
อย่างไรก็ตาม เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล ได้มีเงื่อนไขจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และในที่สุดได้บรรจุเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล
ผ่านมาได้ไม่นาน รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ได้แสดงฤทธิ์เดชเป็นที่ประจักษ์ของความไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะได้วางกฎเกณฑ์เพื่อสืบทอดอำนาจ โดยเฉพาะเมื่อมีสมาชิกวุฒิสภา ที่ คสช. แต่งตั้งจำนวน ๒๕๐ คน มาร่วมเลือกพลเอกประยุทธ์กลับไปเป็นนายกรัฐมนตรี อย่างเป็นเอกฉันท์ และคอยทำหน้าที่เป็นยามรักษารัฐธรรมนูญ
เมื่อปัจจุบันปรากฏว่า รัฐบาลมิได้มีเจตนาอย่างแท้จริงที่จะแก้รัฐธรรมนูญดังที่ได้ปรากฏในนโยบายของรัฐบาล ที่แถลงไว้กับรัฐสภาและประชาชน สังเกตได้จากการที่รัฐบาลไม่ยินดีเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในนามของคณะรัฐมนตรี แต่ได้บ่ายเบี่ยงให้พรรคร่วมรัฐบาลเป็นผู้เสนอ ตามความต้องการของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย และพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรค โดยอ้างว่าเป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติ
แต่เมื่อรัฐสภาอันประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พิจารณาวาระหนึ่ง ซึ่งเป็นเพียงวาระรับหลักการ สมาชิกวุฒิสภาก็ร่วมมือพร้อมใจกับ พรรคพลังประชารัฐซึ่งเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล เตะถ่วงหน่วงเวลา อ้างความจำเป็นที่จะต้องมีกรรมาธิการเพื่อศึกษาญัตติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หน่วงเวลาออกไปอีกอย่างน้อยหนึ่งเดือน
ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ไม่มีเจตจำนงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนที่เคยแสดงทีท่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็เป็นอย่างไม่เต็มใจโดยมอบภาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แก่พรรคร่วมรัฐบาล และก็เพราะเห็นว่ามีแรงกดดันจากเสียงเรียกร้องของนิสิตนักศึกษา ประชาชน และสื่อมวลชน ดังขึ้นแรงขึ้นเรื่อยๆ
แต่เมื่อพิจารณาเห็นว่าการชุมนุมของนิสิต นักศึกษา ประชาชน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายนที่ผ่านมา ได้เปลี่ยนประเด็นไปเน้นประเด็นข้อเรียกร้องเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีความอ่อนไหวจนเกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากคนบางกลุ่ม เมื่อแรงกดดันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกกลบดูเจือจางน้อยลง จึงเกิดปรากฏการณ์เตะถ่วงหน่วงเวลา ไปเริ่มพิจารณาใหม่ในสมัยประชุมหน้า
https://www.naewna.com/politic/columnist/45426