สมาคมโรงแรมสงขลา เดือด ประยุทธ์ รับหนังสือร้องเรียนแล้วทิ้ง ไม่นำเข้าระบบ
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7091303
สมาคมโรงแรมสงขลา โวย นายกรัฐมนตรี เบี้ยวหนังสือขอความช่วยเหลือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รับหนังสือแล้วทิ้ง สปน.ไม่ได้นำเข้าระบบ
2 มิ.ย. 2565 – รายงานจากสมาคมโรงแรมจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า มีสมาคมชิกโรงแรมประมาณ 200 กว่าราย เดินทางเข้ามาสอบถามความคืบหน้าการชะลอการเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่สมาชิกสมาคมได้ยื่นให้กับ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ชะลอดการเก็บแบบก้าวกระโดด
โดยผู้ประกอบการโรงแรมเดือดร้อน เนื่องจากส่วนมากไม่มีเงินก้อนมหาศาลมาเสีย กิจการพอเริ่มเปิดและบางแห่งเตรียมจะเปิด ต้องใช้เงินกู้ทั้งในระบบและนอกระบบเข้ามาช่วยเติมสภาพคล่อง
นาย
สิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา นายกสมาคมโรงแรม จ.สงขลา กล่าวว่า ตนพร้อมกรรมการยื่นหนังสือให้ พล.อ.
ประยุทธ์ ในวันที่มาพบชาวหาดใหญ่ วันที่ 25 เม.ย.ช่วยแก้ปัญหาให้ประชาชน ขอให้ชะลอการเก็นภาษีโรงเรือนและที่ดินโรงแรม หรือให้คงอัตราเดิมมคือร้อยละ 10 ก่อน ซึ่งมีข้าราชการวิ่งมารับหนังสือ และรับปากจะดำเนินการให้
ต่อมาวันที่ 2 มิ.ย. เป็นเวลา 1 เดือนกว่า ตนได้โทรไปที่สำนักนายกฯ 111 พบข้อเท็จจริงว่าเรื่องที่ยื่นให้นายกรัฐมนตรีที่ อ.หาดใหญ่ ผ่าน สปน. ปรากฏว่าหนังสือยังไม่ถูกนำเข้าระบบ แล้วมันไปไหน ตนอยากถามเสนาบดีมาเล่นอะไรกับความเดือดร้อนของชาวบ้าน แห่ยกโขยงกันตั้งโต๊ะรับเรื่องความเดือดร้อนเปลืองงบจริง ๆ
เอกชนห่วงเงินเฟ้อ ซ้ำเติมต้นทุนผลิตพุ่ง วอนรัฐลดภาษีวัตถุดิบ กดดีเซล 3 เดือน
https://www.posttoday.com/economy/news/684765
โพลล์ส.อ.ท.กังวลภาวะเงินเฟ้อ ราคาพลังงาน ผู้ประกอบการดิ้นลดต้นทุน จี้รัฐออกมาตรการลดผลกระทบเฉพาะกลุ่ม ตรึงดีเซลอีก 3 – 6 เดือน
นาย
มนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 17 ในเดือนพฤษภาคม 2565 ภายใต้หัวข้อ “เงินเฟ้อกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่า ราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบของวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน และปัญหา Supply chain disruption เป็นปัจจัยหลักที่เร่งให้ภาวะเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จนส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทั้งจากราคาวัตถุดิบและพลังงาน
รวมทั้งยังกดดันกำลังซื้อภาคครัวเรือนให้ลดลงอีกด้วย โดยผู้บริหาร ส.อ.ท. คาดว่าตลอดทั้งปี 2565 อัตราเงินเฟ้อของไทยจะอยู่ที่ระดับ 4 – 5% ดังนั้น จึงเสนอขอให้ภาครัฐเร่งพิจารณาออกมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการ SMEs
ตลอดจนการปรับลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นต่อภาคการผลิต เช่น วัตถุอาหารสัตว์ ปุ๋ย เป็นต้น และตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ที่ 32 บาทต่อลิตร ต่อเนื่องไปอีก 3 - 6 เดือน เพื่อบรรเทาผลกระทบของผู้ประกอบการและประชาชน นอกจากนี้ หากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน ทวีความรุนแรงมากขึ้น และเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจากยุโรปและสหรัฐ อาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อให้ปรับตัวสูงขึ้นอีก จนทำให้เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย หรือ Recession ได้
อย่างไรก็ตามจากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 200 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด จำนวน 6 คำถาม พบว่า
1. ปัจจัยใดเร่งให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ส่วนใหญ่อันดับที่ 1 ตอบว่า ราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น 86.50% รองลงมาเป็น ภาวะสงครามจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน 77.00% ส่วนอันดับที่ 3 ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จากปัญหา Supply chain disruption 69.50% และ อันดับที่ 4 : ความต้องการสินค้าและบริการที่มีมากเกินไปหลังการเปิดประเทศ 13.50%
2. ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ ผลกระทบในเรื่องใดส่งผลต่อเศรษฐกิจและประชาชนในวงกว้าง อันดับที่1 ตอบว่า การแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จนส่งผลต่อภาวะราคาสินค้าแพง 88.50% อันดับที่ 2 ภาระหนี้สินภาคครัวเรือน และการขาดสภาพคล่องของผู้ประกอบการ 64.00% อันดับที่ 3 กำลังซื้อภาคครัวเรือนที่ลดลง 57.00%และ อันดับที่ 4 ประกอบการมีความระมัดระวังในการลงทุน และจำกัดการจ้างงาน 30.50%
3. คาดการณ์เงินเฟ้อตลอดทั้งปี 2565 จะอยู่ในระดับใด โดยส่วนใหญ่ตอบว่า อัตราเงินเฟ้อ 4 – 5 % รองลงมาก อัตราเงินเฟ้อ 6 – 8 % และอัตราเงินเฟ้อ 1 – 3 %
4. ภาคอุตสาหกรรมจะปรับตัวอย่างไร ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ปรับต้วสูงขึ้นต่อเนื่อง อันดับที่ 1 ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุน และบำรุงรักษาเครื่องจักร 74.50% ให้มีประสิทธิภาพ อันดับที่ 2 : นำเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ 62.00% อันดับที่ 3 เน้นการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ 54.00% อันดับที่ 4 หาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นทางเลือก 50.50%
5. ภาครัฐควรมีมาตรการอย่างไร ในการเร่งดำเนินการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง อันดับที่ 1 มาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย 59.50% และผู้ประกอบการ SMEs อันดับที่ 2 ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นต่อภาคการผลิต 58.50% อันดับที่ 3 : ตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ที่ 32 บาทต่อลิตร ต่อเนื่องไปอีก 3 - 6 เดือน 58.00% อันดับที่ 4 ควบคุมและดูแลราคาสินค้าไม่ให้มีการฉวยโอกาสปรับราคาเกินจริง 53.00%
6. ปี 2565 จะมีโอกาสที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) หรือไม่ อันดับที่ 1 เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเกิดภาวะถดถอย 76.00% อันดับที่ 2 เศรษฐกิจโลกยังมีเสถียรภาพและสามารถขยายตัวได้ 24.00%
ชลน่าน ยันฝ่ายค้าน คว่ำแน่พ.ร.บ.งบ’66 ยกตัวเลขงบลงทุน สุ่มเสี่ยงชัดขัดกฎหมาย (มีคลิป)
https://www.matichon.co.th/politics/news_3379204
“หมอชลน่าน” ยันฝ่ายค้าน ไม่รับร่างพ.ร.บ.งบ’66 ยกตัวเลขงบลงทุน สุ่มเสี่ยงขัดกม.
เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 2 มิถุนายน ที่รัฐสภา นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงภาพรวมการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ว่า ฝ่ายค้านยึดมั่นชัดเจน ว่าจะลงมติไม่รับหลัก และเท่าที่ดูการอภิปรายมาตลอด3วัน ก็ยังหนักแน่นว่าสมาชิกของเราไม่เห็นชอบ ไม่รับหลักการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากสภารับหลักการแล้ว สามารถไปแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ ได้หรือไม่ นพ.
ชลน่าน กล่าวว่า ตามระบบรัฐสภา ถ้าเสียงข้างมากยังเหนียวแน่นก็ต้องยอมรับ ส่วนฝ่ายค้านก็จะมีมติว่าจะตั้งบุคคลไปร่วมในกรรมาธิการ เพื่อตามไปดูว่าการจัดงบประมาณเหมาะสมหรือไม่ เพราะวันนี้เปิดเผยชัด ว่ามีงบที่จะส่อโกง หรืออะไรที่ไม่เหมาะสม จะเข้าไปปรับแก้ ปรับลดตรงส่วนนี้ได้ เพื่อให้งบมาอยู่ตรงกลาง แล้วให้รัฐบาลส่งแผนเข้ามาเพื่อมาใช้งบแปรญัตติ ตรงส่วนนี้ได้
เมื่อถามว่ามั่นใจเสียงสวิง ที่โหวตคว่ำร่างพ.ร.บ.งบฯฉบับนี้แค่ไหน นพ.
ชลน่าน กล่าวว่า มั่นใจแบบสวิง เราได้ชี้เหตุผลให้เห็นว่าไม่สมควรที่จะโหวตรับงบประมาณ โดยเฉพาะประเด็นที่จัดงบไม่เหมาะสมกับพื้นที่ ไม่เรียงลำดับความสำคัญ ไม่เหมาะกับสถานการณ์ เรียกว่า งบสิ้นหวังที่มีจำนวนมาก รวมถึงงบที่จะส่อไปในทางทุจริต โดยภาพใหญ่การบริหารจัดสรรงบประมาณ สุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย และพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง ปี 2565 ที่ติดมา และมีการยอมรับว่าอยู่ในร่างพ.ร.บ.งบฯฉบับนี้ แต่มาโทษสภาว่าเป็นผู้ปรับลด ซึ่งจริงๆแล้วสมาชิกสามารถปรับลดงบประมาณทุกกลุ่ม ทุกหมวด ได้เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไม่ให้ปรับ นอกจากงบลงทุน ดังนั้นหน้าที่ของรัฐมนตรี ต้องส่งกรอบของการขอใช้งบฯและอยู่ในกรอบการลงทุนด้วย โดยกรรมาธิการ จะพิจารณาว่าจะนำไปใส่ลงตรงไหน โดยมีสำนักงบประมาณกำกับว่าอะไรใส่ได้ หรือไม่ได้ ถ้าไม่เช่นนั้นกรรมาธิการก็จะไปใส่ตรงไหนก็ได้ แล้วจะมาโทษกรรมาธิการไม่ได้ เหตุผลตรงนี้จะทำให้เสียงสวิงโหวต พิจารณาถึงความไม่เหมาะสม เรื่องที่ผิดกฎหมายและการเอื้อประโยชน์ เมื่อเห็นแบบนี้ก็อาจจะลงมติ ไม่เห็นด้วยอย่างน้อยก็งดออกเสียง
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคเพื่อไทย ยืนยันที่จะคว่ำร่างพ.ร.บ.งบ ฯใช่หรือไม่ นพ.
ชลน่าน กล่าวว่า ตั้งใจโหวตไม่รับ แต่ในสภาต้องฟังเสียงข้างมาก ยิ่งในภาวะที่รัฐบาลเกาะเกี่ยวกันอย่างนี้ จึงขึ้นอยู่กับการตัดสินของแต่ละคนแต่มั่นใจ 100 เปอร์เซ็นต์ ว่าฝ่ายค้านจะโหวตคว่ำ ส่วนฝ่ายอื่นต้องให้เกียรติในดุลยพินิจของแต่ละฝ่าย
(คลิปอยู่ในข่าวต้นทางครับ)
‘พิจารณ์’ ซัด กลาโหม จัดงบ ‘ไม่คุ้มค้า-ไม่ตอบโจทย์-ไม่โปร่งใส’ พบเกินครึ่งจ่ายเลี้ยงกำลังพล
https://www.matichon.co.th/politics/news_3379448
‘พิจารณ์’ ซัด กลาโหม จัดงบ ‘ไม่คุ้มค้า-ไม่ตอบโจทย์-ไม่โปร่งใส’ พบเกินครึ่งจ่ายเลี้ยงกำลังพล จวก ทุกเหล่าทัพตีเนียน ขอเงินเป็นพันล้านแจงบรรทัดเดียว หวั่น เสียค่าโง่ลงทุนโครงการเรือดำน้ำ มึน ตั้งงบพัฒนาพื้นที่ซ้ำซ้อน อปท. ตัดถนน-ขุดบ่อกว่า 2 พันล้าน
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 2 มิถุนายน ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นัดพิเศษ ที่มี นาย
ศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 วงเงิน 3.18 ล้านล้านบาท โดยนาย
พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) อภิปรายงบกระทรวงกลาโหม ว่า พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พยายามบอกว่า งบประมาณมีอยู่อย่างจำกัด และพยายามใช้อย่างจำกัดเพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ที่อาจจะคาดไม่ถึง และบอกว่าเพื่อนบ้านมีการซื้อยุทโธปกรณ์ ทั้งหมดที่พูดมาก็เข้าทางตนทั้งหมด ปีนี้กระทรวงกลาโหมได้งบ 197,293 ล้านบาท นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปีหลังการรัฐประหาร ที่กระทรวงกลาโหมได้รับงบน้อยที่สุด คือ 6.19% เมื่อเทียบกับงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด เป็นเรื่องดี แต่เมื่อดูในรายละเอียดตนมี 3 คำ คือ ไม่คุ้มค้า ไม่ตอบโจทย์ และไม่โปร่งใส
เพราะแม้งบจะลดลง 2.17% จากปีที่แล้ว แต่งบรายจ่ายบุคลากรภาครัฐ เพิ่มขึ้น 2.3% เพราะลดเงินเดือน และบำนาญไม่ลง เพราะกองทัพมีนายพล และกำลังพลมากเกินไป พล.อ.
ประยุทธ์ เคยบอกจะลดนายพลลงภายในปี 2572 แต่ไม่เคยมีนโยบายเออรี่รีไทน์ คือปล่อยให้นายพลตายกันเอง พอมาปี 2566 หนักกว่าเดิม เพราะค่าเฉลี่ยงบบุคลากรของทั้งแผ่นดินเพิ่มขึ้นจาก 37% เป็น 40% เฉพาะกระทรวงกลาโหมเพิ่มขึ้นจาก 45% เป็น 54% หากดูเฉพาะกองทัพบอกหนักสุด 52% เป็น 62%
นาย
พิจารณ์ กล่าวว่า จากข้อมูลงบประมาณเล่มสีขาวคาดแดง ทำให้ทราบว่าเรามีงบบุคลากรที่ชื่อคล้ายกับที่อยู่ในรายจ่ายกับบุคลากรภาครัฐ ไปซ่อนในงบดำเนินงาน และงบรายจ่ายอื่น ทั้งค่าเช่าบ้าน ค่าตอบแทนด้านสาธารณสุข ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับแพทย์ ค่าตอบแทนทหารเกณฑ์ ค่าตอบแทนทหารสามจังหวัดชายแดนใต้ ค่าตอบแทนอาสาสมัครทหารพราน และเบี้ยเลี้ยงทหาร รวมแล้วเป็นเงินกว่า 1.9 หมื่นล้านบาท เฉพาะค่าเบี้ยงเลี้ยงทหาร และค่าตอบแทนทหารพรานก็ปาไป 1.65 หมื่นล้านบาท และต้องตกใจว่าเฉพาะกองทัพบกจาก 62% ดีดขึ้นไปเป็น 77%
JJNY : 5in1 ส.โรงแรมสงขลาเดือด│เอกชนห่วงเงินเฟ้อซ้ำเติม│ชลน่านยันฝ่ายค้านคว่ำแน่│พิจารณ์ซัดกลาโหม│สหรัฐช่วยยูเครนรอบใหม่
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7091303
สมาคมโรงแรมสงขลา โวย นายกรัฐมนตรี เบี้ยวหนังสือขอความช่วยเหลือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รับหนังสือแล้วทิ้ง สปน.ไม่ได้นำเข้าระบบ
2 มิ.ย. 2565 – รายงานจากสมาคมโรงแรมจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า มีสมาคมชิกโรงแรมประมาณ 200 กว่าราย เดินทางเข้ามาสอบถามความคืบหน้าการชะลอการเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่สมาชิกสมาคมได้ยื่นให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ชะลอดการเก็บแบบก้าวกระโดด
โดยผู้ประกอบการโรงแรมเดือดร้อน เนื่องจากส่วนมากไม่มีเงินก้อนมหาศาลมาเสีย กิจการพอเริ่มเปิดและบางแห่งเตรียมจะเปิด ต้องใช้เงินกู้ทั้งในระบบและนอกระบบเข้ามาช่วยเติมสภาพคล่อง
นายสิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา นายกสมาคมโรงแรม จ.สงขลา กล่าวว่า ตนพร้อมกรรมการยื่นหนังสือให้ พล.อ.ประยุทธ์ ในวันที่มาพบชาวหาดใหญ่ วันที่ 25 เม.ย.ช่วยแก้ปัญหาให้ประชาชน ขอให้ชะลอการเก็นภาษีโรงเรือนและที่ดินโรงแรม หรือให้คงอัตราเดิมมคือร้อยละ 10 ก่อน ซึ่งมีข้าราชการวิ่งมารับหนังสือ และรับปากจะดำเนินการให้
ต่อมาวันที่ 2 มิ.ย. เป็นเวลา 1 เดือนกว่า ตนได้โทรไปที่สำนักนายกฯ 111 พบข้อเท็จจริงว่าเรื่องที่ยื่นให้นายกรัฐมนตรีที่ อ.หาดใหญ่ ผ่าน สปน. ปรากฏว่าหนังสือยังไม่ถูกนำเข้าระบบ แล้วมันไปไหน ตนอยากถามเสนาบดีมาเล่นอะไรกับความเดือดร้อนของชาวบ้าน แห่ยกโขยงกันตั้งโต๊ะรับเรื่องความเดือดร้อนเปลืองงบจริง ๆ
เอกชนห่วงเงินเฟ้อ ซ้ำเติมต้นทุนผลิตพุ่ง วอนรัฐลดภาษีวัตถุดิบ กดดีเซล 3 เดือน
https://www.posttoday.com/economy/news/684765
โพลล์ส.อ.ท.กังวลภาวะเงินเฟ้อ ราคาพลังงาน ผู้ประกอบการดิ้นลดต้นทุน จี้รัฐออกมาตรการลดผลกระทบเฉพาะกลุ่ม ตรึงดีเซลอีก 3 – 6 เดือน
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 17 ในเดือนพฤษภาคม 2565 ภายใต้หัวข้อ “เงินเฟ้อกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่า ราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบของวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน และปัญหา Supply chain disruption เป็นปัจจัยหลักที่เร่งให้ภาวะเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จนส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทั้งจากราคาวัตถุดิบและพลังงาน
รวมทั้งยังกดดันกำลังซื้อภาคครัวเรือนให้ลดลงอีกด้วย โดยผู้บริหาร ส.อ.ท. คาดว่าตลอดทั้งปี 2565 อัตราเงินเฟ้อของไทยจะอยู่ที่ระดับ 4 – 5% ดังนั้น จึงเสนอขอให้ภาครัฐเร่งพิจารณาออกมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการ SMEs
ตลอดจนการปรับลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นต่อภาคการผลิต เช่น วัตถุอาหารสัตว์ ปุ๋ย เป็นต้น และตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ที่ 32 บาทต่อลิตร ต่อเนื่องไปอีก 3 - 6 เดือน เพื่อบรรเทาผลกระทบของผู้ประกอบการและประชาชน นอกจากนี้ หากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน ทวีความรุนแรงมากขึ้น และเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจากยุโรปและสหรัฐ อาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อให้ปรับตัวสูงขึ้นอีก จนทำให้เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย หรือ Recession ได้
อย่างไรก็ตามจากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 200 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด จำนวน 6 คำถาม พบว่า
1. ปัจจัยใดเร่งให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ส่วนใหญ่อันดับที่ 1 ตอบว่า ราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น 86.50% รองลงมาเป็น ภาวะสงครามจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน 77.00% ส่วนอันดับที่ 3 ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จากปัญหา Supply chain disruption 69.50% และ อันดับที่ 4 : ความต้องการสินค้าและบริการที่มีมากเกินไปหลังการเปิดประเทศ 13.50%
2. ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ ผลกระทบในเรื่องใดส่งผลต่อเศรษฐกิจและประชาชนในวงกว้าง อันดับที่1 ตอบว่า การแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จนส่งผลต่อภาวะราคาสินค้าแพง 88.50% อันดับที่ 2 ภาระหนี้สินภาคครัวเรือน และการขาดสภาพคล่องของผู้ประกอบการ 64.00% อันดับที่ 3 กำลังซื้อภาคครัวเรือนที่ลดลง 57.00%และ อันดับที่ 4 ประกอบการมีความระมัดระวังในการลงทุน และจำกัดการจ้างงาน 30.50%
3. คาดการณ์เงินเฟ้อตลอดทั้งปี 2565 จะอยู่ในระดับใด โดยส่วนใหญ่ตอบว่า อัตราเงินเฟ้อ 4 – 5 % รองลงมาก อัตราเงินเฟ้อ 6 – 8 % และอัตราเงินเฟ้อ 1 – 3 %
4. ภาคอุตสาหกรรมจะปรับตัวอย่างไร ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ปรับต้วสูงขึ้นต่อเนื่อง อันดับที่ 1 ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุน และบำรุงรักษาเครื่องจักร 74.50% ให้มีประสิทธิภาพ อันดับที่ 2 : นำเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ 62.00% อันดับที่ 3 เน้นการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ 54.00% อันดับที่ 4 หาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นทางเลือก 50.50%
5. ภาครัฐควรมีมาตรการอย่างไร ในการเร่งดำเนินการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง อันดับที่ 1 มาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย 59.50% และผู้ประกอบการ SMEs อันดับที่ 2 ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นต่อภาคการผลิต 58.50% อันดับที่ 3 : ตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ที่ 32 บาทต่อลิตร ต่อเนื่องไปอีก 3 - 6 เดือน 58.00% อันดับที่ 4 ควบคุมและดูแลราคาสินค้าไม่ให้มีการฉวยโอกาสปรับราคาเกินจริง 53.00%
6. ปี 2565 จะมีโอกาสที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) หรือไม่ อันดับที่ 1 เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเกิดภาวะถดถอย 76.00% อันดับที่ 2 เศรษฐกิจโลกยังมีเสถียรภาพและสามารถขยายตัวได้ 24.00%
ชลน่าน ยันฝ่ายค้าน คว่ำแน่พ.ร.บ.งบ’66 ยกตัวเลขงบลงทุน สุ่มเสี่ยงชัดขัดกฎหมาย (มีคลิป)
https://www.matichon.co.th/politics/news_3379204
“หมอชลน่าน” ยันฝ่ายค้าน ไม่รับร่างพ.ร.บ.งบ’66 ยกตัวเลขงบลงทุน สุ่มเสี่ยงขัดกม.
เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 2 มิถุนายน ที่รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงภาพรวมการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ว่า ฝ่ายค้านยึดมั่นชัดเจน ว่าจะลงมติไม่รับหลัก และเท่าที่ดูการอภิปรายมาตลอด3วัน ก็ยังหนักแน่นว่าสมาชิกของเราไม่เห็นชอบ ไม่รับหลักการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากสภารับหลักการแล้ว สามารถไปแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ ได้หรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ตามระบบรัฐสภา ถ้าเสียงข้างมากยังเหนียวแน่นก็ต้องยอมรับ ส่วนฝ่ายค้านก็จะมีมติว่าจะตั้งบุคคลไปร่วมในกรรมาธิการ เพื่อตามไปดูว่าการจัดงบประมาณเหมาะสมหรือไม่ เพราะวันนี้เปิดเผยชัด ว่ามีงบที่จะส่อโกง หรืออะไรที่ไม่เหมาะสม จะเข้าไปปรับแก้ ปรับลดตรงส่วนนี้ได้ เพื่อให้งบมาอยู่ตรงกลาง แล้วให้รัฐบาลส่งแผนเข้ามาเพื่อมาใช้งบแปรญัตติ ตรงส่วนนี้ได้
เมื่อถามว่ามั่นใจเสียงสวิง ที่โหวตคว่ำร่างพ.ร.บ.งบฯฉบับนี้แค่ไหน นพ.ชลน่าน กล่าวว่า มั่นใจแบบสวิง เราได้ชี้เหตุผลให้เห็นว่าไม่สมควรที่จะโหวตรับงบประมาณ โดยเฉพาะประเด็นที่จัดงบไม่เหมาะสมกับพื้นที่ ไม่เรียงลำดับความสำคัญ ไม่เหมาะกับสถานการณ์ เรียกว่า งบสิ้นหวังที่มีจำนวนมาก รวมถึงงบที่จะส่อไปในทางทุจริต โดยภาพใหญ่การบริหารจัดสรรงบประมาณ สุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย และพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง ปี 2565 ที่ติดมา และมีการยอมรับว่าอยู่ในร่างพ.ร.บ.งบฯฉบับนี้ แต่มาโทษสภาว่าเป็นผู้ปรับลด ซึ่งจริงๆแล้วสมาชิกสามารถปรับลดงบประมาณทุกกลุ่ม ทุกหมวด ได้เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไม่ให้ปรับ นอกจากงบลงทุน ดังนั้นหน้าที่ของรัฐมนตรี ต้องส่งกรอบของการขอใช้งบฯและอยู่ในกรอบการลงทุนด้วย โดยกรรมาธิการ จะพิจารณาว่าจะนำไปใส่ลงตรงไหน โดยมีสำนักงบประมาณกำกับว่าอะไรใส่ได้ หรือไม่ได้ ถ้าไม่เช่นนั้นกรรมาธิการก็จะไปใส่ตรงไหนก็ได้ แล้วจะมาโทษกรรมาธิการไม่ได้ เหตุผลตรงนี้จะทำให้เสียงสวิงโหวต พิจารณาถึงความไม่เหมาะสม เรื่องที่ผิดกฎหมายและการเอื้อประโยชน์ เมื่อเห็นแบบนี้ก็อาจจะลงมติ ไม่เห็นด้วยอย่างน้อยก็งดออกเสียง
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคเพื่อไทย ยืนยันที่จะคว่ำร่างพ.ร.บ.งบ ฯใช่หรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ตั้งใจโหวตไม่รับ แต่ในสภาต้องฟังเสียงข้างมาก ยิ่งในภาวะที่รัฐบาลเกาะเกี่ยวกันอย่างนี้ จึงขึ้นอยู่กับการตัดสินของแต่ละคนแต่มั่นใจ 100 เปอร์เซ็นต์ ว่าฝ่ายค้านจะโหวตคว่ำ ส่วนฝ่ายอื่นต้องให้เกียรติในดุลยพินิจของแต่ละฝ่าย
(คลิปอยู่ในข่าวต้นทางครับ)
‘พิจารณ์’ ซัด กลาโหม จัดงบ ‘ไม่คุ้มค้า-ไม่ตอบโจทย์-ไม่โปร่งใส’ พบเกินครึ่งจ่ายเลี้ยงกำลังพล
https://www.matichon.co.th/politics/news_3379448
‘พิจารณ์’ ซัด กลาโหม จัดงบ ‘ไม่คุ้มค้า-ไม่ตอบโจทย์-ไม่โปร่งใส’ พบเกินครึ่งจ่ายเลี้ยงกำลังพล จวก ทุกเหล่าทัพตีเนียน ขอเงินเป็นพันล้านแจงบรรทัดเดียว หวั่น เสียค่าโง่ลงทุนโครงการเรือดำน้ำ มึน ตั้งงบพัฒนาพื้นที่ซ้ำซ้อน อปท. ตัดถนน-ขุดบ่อกว่า 2 พันล้าน
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 2 มิถุนายน ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นัดพิเศษ ที่มี นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 วงเงิน 3.18 ล้านล้านบาท โดยนายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) อภิปรายงบกระทรวงกลาโหม ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พยายามบอกว่า งบประมาณมีอยู่อย่างจำกัด และพยายามใช้อย่างจำกัดเพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ที่อาจจะคาดไม่ถึง และบอกว่าเพื่อนบ้านมีการซื้อยุทโธปกรณ์ ทั้งหมดที่พูดมาก็เข้าทางตนทั้งหมด ปีนี้กระทรวงกลาโหมได้งบ 197,293 ล้านบาท นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปีหลังการรัฐประหาร ที่กระทรวงกลาโหมได้รับงบน้อยที่สุด คือ 6.19% เมื่อเทียบกับงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด เป็นเรื่องดี แต่เมื่อดูในรายละเอียดตนมี 3 คำ คือ ไม่คุ้มค้า ไม่ตอบโจทย์ และไม่โปร่งใส
เพราะแม้งบจะลดลง 2.17% จากปีที่แล้ว แต่งบรายจ่ายบุคลากรภาครัฐ เพิ่มขึ้น 2.3% เพราะลดเงินเดือน และบำนาญไม่ลง เพราะกองทัพมีนายพล และกำลังพลมากเกินไป พล.อ.ประยุทธ์ เคยบอกจะลดนายพลลงภายในปี 2572 แต่ไม่เคยมีนโยบายเออรี่รีไทน์ คือปล่อยให้นายพลตายกันเอง พอมาปี 2566 หนักกว่าเดิม เพราะค่าเฉลี่ยงบบุคลากรของทั้งแผ่นดินเพิ่มขึ้นจาก 37% เป็น 40% เฉพาะกระทรวงกลาโหมเพิ่มขึ้นจาก 45% เป็น 54% หากดูเฉพาะกองทัพบอกหนักสุด 52% เป็น 62%
นายพิจารณ์ กล่าวว่า จากข้อมูลงบประมาณเล่มสีขาวคาดแดง ทำให้ทราบว่าเรามีงบบุคลากรที่ชื่อคล้ายกับที่อยู่ในรายจ่ายกับบุคลากรภาครัฐ ไปซ่อนในงบดำเนินงาน และงบรายจ่ายอื่น ทั้งค่าเช่าบ้าน ค่าตอบแทนด้านสาธารณสุข ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับแพทย์ ค่าตอบแทนทหารเกณฑ์ ค่าตอบแทนทหารสามจังหวัดชายแดนใต้ ค่าตอบแทนอาสาสมัครทหารพราน และเบี้ยเลี้ยงทหาร รวมแล้วเป็นเงินกว่า 1.9 หมื่นล้านบาท เฉพาะค่าเบี้ยงเลี้ยงทหาร และค่าตอบแทนทหารพรานก็ปาไป 1.65 หมื่นล้านบาท และต้องตกใจว่าเฉพาะกองทัพบกจาก 62% ดีดขึ้นไปเป็น 77%