อาการที่มีได้บ่อยที่สุดก็คือ อาการปวด โดยทั่วไป มักจะเป็นอาการปวดหน่วงๆ ไม่รุนแรงมากนัก และจะสังเกตได้ว่า อาการปวดจะชัดขึ้นเมื่อมีการเบ่งให้เกิดความดันภายในช่องท้อง เช่น การเบ่งอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือ การออกกำลังกาย เป็นต้น
ภาวะไส้เลื่อน คือ การที่มีเนื้อเยื่อโผล่ผ่านทางจุดหรือพื้นที่ที่มีความอ่อนแอบนผนังหน้าท้องโผล่ออกมานอกช่องท้องแต่อยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้มองเห็นเป็นลักษณะก้อนนูนขึ้นมา โดยเนื้อเยื่อที่โผล่ออกมานี้ อาจจะเป็นเนื้อไขมัน ลำไส้ หรือ กระเพาะปัสสาวะ ก็ได้ เมื่อใดที่เกิดอาการนี้ขึ้นบริเวณหน้าท้องของเรา อาการนี้คือไส้เลื่อน
วิธีการรักษา
ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ ไม่สามารถหายไปได้เอง จะหายได้ด้วยการผ่าตัดเท่านั้น
1. ไส้เลื่อนที่มีขนาดเล็กและยังไม่มีอาการใดๆ อาจจะยังไม่ต้องผ่าตัด เพียงแต่คอยสังเกตอาการและหากเกิดอาการปวดรุนแรงขึ้นมา จำเป็นต้องรีบรักษาก่อนที่จะมีอันตรายเกิดขึ้น การใช้กางเกง หรือ เข็มขัดมากดทับบริเวณนั้น ไม่ใช่การรักษาและไม่มีประโยชน์ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว
2. ไส้เลื่อนที่มีขนาดใหญ่ หรือ ลงถุงอัณฑะ และ ไส้เลื่อนที่มีอาการปวด แม้ว่าจะหายปวดทุกครั้งที่นอนราบ ควรได้รับการรักษาก่อนที่จะเกิดมีภาวะแทรกซ้อนอย่างที่กล่าวมาแล้ว สำหรับไส้เลื่อนที่เกิดภาวะแทรกซ้อน จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเร่งด่วนก่อนที่จะเกิดอันตราย เมื่อใดก็ตามที่สังเกตว่า มีอาการปวดรุนแรง และ เปลี่ยนไปจากเดิมร่วมกับการโผล่ของไส้เลื่อนเกิดขึ้นโดยไม่ยอมหายไปจำเป็นจะต้องไปพบแพทย์ทันที ระยะเวลานับตั้งแต่เริ่มปวดจนถึงมือแพทย์ไม่ควรเกิน 4-6 ชั่วโมง หากมีไข้ ท้องอืดหรือปวดไปทั่วท้องร่วมด้วยจำเป็นต้องถึงมือแพทย์ให้เร็วที่สุด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ไส้เลื่อน โรคที่ไม่สามารถหายเองได้ แต่รักษาได้ด้วยการผ่าตัด ข้อมูลจาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may-2022/hernia-can-be-treated-with-surgery
ไส้เลื่อน โรคที่ไม่สามารถหายเองได้ แต่รักษาได้ด้วยการผ่าตัด
ภาวะไส้เลื่อน คือ การที่มีเนื้อเยื่อโผล่ผ่านทางจุดหรือพื้นที่ที่มีความอ่อนแอบนผนังหน้าท้องโผล่ออกมานอกช่องท้องแต่อยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้มองเห็นเป็นลักษณะก้อนนูนขึ้นมา โดยเนื้อเยื่อที่โผล่ออกมานี้ อาจจะเป็นเนื้อไขมัน ลำไส้ หรือ กระเพาะปัสสาวะ ก็ได้ เมื่อใดที่เกิดอาการนี้ขึ้นบริเวณหน้าท้องของเรา อาการนี้คือไส้เลื่อน
วิธีการรักษา
ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ ไม่สามารถหายไปได้เอง จะหายได้ด้วยการผ่าตัดเท่านั้น
1. ไส้เลื่อนที่มีขนาดเล็กและยังไม่มีอาการใดๆ อาจจะยังไม่ต้องผ่าตัด เพียงแต่คอยสังเกตอาการและหากเกิดอาการปวดรุนแรงขึ้นมา จำเป็นต้องรีบรักษาก่อนที่จะมีอันตรายเกิดขึ้น การใช้กางเกง หรือ เข็มขัดมากดทับบริเวณนั้น ไม่ใช่การรักษาและไม่มีประโยชน์ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว
2. ไส้เลื่อนที่มีขนาดใหญ่ หรือ ลงถุงอัณฑะ และ ไส้เลื่อนที่มีอาการปวด แม้ว่าจะหายปวดทุกครั้งที่นอนราบ ควรได้รับการรักษาก่อนที่จะเกิดมีภาวะแทรกซ้อนอย่างที่กล่าวมาแล้ว สำหรับไส้เลื่อนที่เกิดภาวะแทรกซ้อน จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเร่งด่วนก่อนที่จะเกิดอันตราย เมื่อใดก็ตามที่สังเกตว่า มีอาการปวดรุนแรง และ เปลี่ยนไปจากเดิมร่วมกับการโผล่ของไส้เลื่อนเกิดขึ้นโดยไม่ยอมหายไปจำเป็นจะต้องไปพบแพทย์ทันที ระยะเวลานับตั้งแต่เริ่มปวดจนถึงมือแพทย์ไม่ควรเกิน 4-6 ชั่วโมง หากมีไข้ ท้องอืดหรือปวดไปทั่วท้องร่วมด้วยจำเป็นต้องถึงมือแพทย์ให้เร็วที่สุด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้